วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การปลูกพืชคลุมดินเป็นไม้ดอกไม้ประดับ




ตามบ้านเรือนและอาคารสถานที่ต่าง ๆ นั้น การปลูกต้นไม้ช่วยคลายเครียด ทำให้จิตใจแจ่มใส การจัดสวนประดับ พันธุ์ไม้ที่นำมาจัดตกแต่งมีมากมายหลายชนิดหลายแบบ เพื่อให้การจัดสวนนั้น มีความกลมกลืนสวยงามและเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ระดับความ สูงต่ำ ของต้นไม้ นับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการจัด สวนประดับ กล่าวคือ ในสวนหย่อมหนึ่ง ๆ หรือมุมหนึ่ง จะประกอบไปด้วยต้นไม้หลัก ซึ่งจะเป็นจุดเด่นของมุมนั้น และมีต้นไม้รองเป็นส่วนประกอบอีก ซึ่งจะมีความสูงลดหลั่นกันไป ต้นไม้ประเภทหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้ ในการจัดสวนก็คือ ต้นไม้ประเภท พืชคลุมดิน หรือ ไม้คลุมดิน พืชคลุมดินเป็นพืชที่มีความสูงจากพื้นดินไม่มากนัก นับตั้งแต่ผิวดินไปจนถึงสูงประมาณ 30 ซ.ม. ประโยชน์ของพืชคลุมดินในแง่ของการจัดสวนก็คือ ใช้เป็นพืชรองรับไม้ประธานและไม้พุ่มใช้เพิ่มสีสันของสวน ใช้ตัดสีของต้นไม้กับสนามหญ้า หรือใช้ปลูกเป็นแปลงในรูปร่างต่าง ๆ ที่ออกแบบขึ้นเช่น รูปนาฬิกา รูปตัวอักษรต่าง ๆ เป็นต้น ประโยชน์ของพืชคลุมดินในอีกแง่หนึ่ง ก็คือ พืชคลุมดินจะช่วยให้พื้นดินเก็บรักษาความชุ่มชื้นของน้ำได้ดีขึ้น ช่วยรักษาผิวหน้าดินไม่ให้ถูกน้ำไหลเซาะ ช่วยป้องกันการเจริญของวัชพืช และพืชคลุมดินบางชนิด เช่น พืชตระกูลถั่ว ยังช่วยบำรุงดินให้มีสภาพดีขึ้นด้วย พืชคลุมดินนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีดอก และไม่มีดอก แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ พืชคลุมดินในร่ม และ พืชคลุมดินกลางแจ้ง พืชคลุมดินในร่ม เป็นพืชที่ชอบแสงแดดน้อย สามารถปลูกได้ดีในสวนหย่อม บริเวณที่มีแสง-แดดส่องรำไร เช่น บริเวณใต้ชายคา ใต้ต้นไม้ใหญ่ ริมผนัง เป็นต้น ส่วนมากเป็นพืชที่มีสีใบสวยงาม ลำต้นค่อนข้างอวบน้ำ มีหลายชนิดที่สามารถปรับตัวเองให้รับแสงแดดมากได้ แต่จะมีสีและความยาวของข้อปล้องแตกต่างกันออกไปบ้าง พืชคลุมดินที่นิยมปลูกในร่มเงา ได้แก่ ก้ามปูหลุด หนวดปลาดุก เปปเปอร์โรเมียกาบหอยแครง หัวใจม่วง อีพีเซีย เศรษฐีเรือนใน-เรือนนอก ฯลฯ พืชคลุมดินกลางแจ้ง เป็นพืชที่ชอบแสงแดดมากหรือแสงแดดจัด สามารถปลูกอยู่กลางแจ้งได้ดี ส่วนใหญ่จะเป็นพืชที่มีดอกสวยงามและมีการนำไปใช้จัดสวนได้อย่างกว้างขวาง ประโยชน์ในด้านการตกแต่งมีมาก เช่น ปลูกประดับในแปลง ปลูกในรูปร่างต่าง ๆ ขนานกับผิวดิน ปลูกประกอบกับไม้พุ่ม ฯลฯ พืชคลุมดินกลางแจ้งที่นิยมใช้กัน ได้แก่ ผกากรองเลื้อย ฟ้าประดิษฐ์ ปอร์ทูลากา ผักเป็ดสีต่าง ๆ เกร็ดแก้ว บุษบาฮาวาย ไวท์ฮาวาย เวอร์บีน่า เดซี่เหลือง ฯลฯ นายสิมา โมรากุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวแนะวิธีการปลูกพืชคลุมดิน ควรปลูกเป็นจำนวนมากหรือปลูกเป็นกลุ่ม เพื่อความสวยงาม ดินที่ปลูกควรเป็นดินผสมอินทรียวัตถุ เช่น แกลบ ขุยมะพร้าว เปลือกมะพร้าวสับ และปุ๋ยคอก เพราะรากของพืชคลุมดินมีขนาดเล็ก และอยู่ใต้ระดับผิวดินลงไปไม่มากนัก ถ้าปลูกในดินเหนียวแข็ง พืชจะชะงักการเจริญเติบโต เพราะรากอยู่กับที่ ขยายออกไปไม่ได้ การปลูกพืชคลุมดินควรทำขอบที่แปลงด้วย โดยอาจทำเป็นร่องก็ได้ เพื่อแบ่งส่วนที่ปลูกพืชกับสนามหญ้าออกจากกัน เป็นการรักษาความชื้นและทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษา การดูแลรักษาพืชคลุมดิน จำเป็นต้องเอาใจใส่ดูแลรักษามากในเรื่องของการตัดแต่งกิ่งและการควบคุมขนาด เนื่องจากพืชคลุมดิน มีการเจริญเติบโตรวดเร็วมาก ต้องมีการตัดแต่งอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะเจริญเติบโตมากจนเกินไป ทำให้มองดูรก ไม่เป็นระเบียบ พืชคลุมดินนั้น หากยิ่งตัดแต่งมากจะมีความสวยงามมาก เพราะทำให้แตกกิ่งก้านสาขาและยอดออกมามาก ทำให้ทรงต้นแน่นเป็นระเบียบ โดยเฉพาะพืชคลุมดินที่ให้ดอก จำเป็นต้องตัดดอกออก เมื่อดอกเริ่มโรย หมั่นตัดดอก และเล็มยอดจะทำให้พืชแตกยอดและออกดอกมากขึ้น หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น15-15-15 หรือ 16-16-16 กรณีที่พืชคลุมดินในลักษณะเป็นกระถางแขวน ควรใส่ปุ๋ยอัตรา 1 ช้อนชา บริเวณขอบ-กระถาง อาทิตย์ละครั้ง แล้วกลบทับด้วยปุ๋ยหมักและปลูกรดน้ำให้ชุ่ม เคล็ดลับของการปลูกใน ลักษณะกระถาง ดินผสมจะต้องสามารถระบายน้ำได้ดี เพราะไม้กระถางชอบชื้นไม่ชอบแฉะ พืชคลุมดินจะสดชื่นออกดอก ออกผลสวยงามอยู่ตลอดไป

ในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำการปลูกข้าวโพด โดยไม่ไถพรวนดินและใช้พืชคลุมดิน



ในปัจจุบันมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้ส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาทำการปลูกข้าวโพด โดยไม่ไถพรวนดินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นผลดีในการอนุรักษ์ดินคือ สามารถลดการพังทลายของผิวหน้าดิน ลดแรงงาน และต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตาม ถ้าการควบคุมวัชพืชในการปลูกพืชโดยไม่พรวนดินไม่ดีพอจะเกิดปัญหามากในระบบการปลูกพืชแบบนี้
การใช้ประโยชน์จากพืชคลุมดินทางการเกษตรด้านต่าง ๆ นั้นมีมานานแล้ว เช่น เพื่อลดการพังทลายของผิวดิน การปรับปรุงโครงสร้างดิน ตรึงไนโตรเจน และเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของดิน นอกจากนี้พืชคลุมดินหลายชนิดยังปลดปล่อยสารพิษที่สามารถควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืชโดยไม่เป็นพิษต่อพืชปลูก และต้นพืชคลุมผิวดินยังป้องกันเมล็ดวัชพืชไม่ให้งอกได้ด้วย ที่รู้จักกันดีและนิยมใช้ ได้แก่ ไมยราบไร้หนาม ถั่วแปบ ถั่วพร้า ถั่วนิ้วนางแดง ซึ่งพืชเหล่านี้มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีชีวมวลสูงโดยเฉพาะไมยราบ
กรมพัฒนาที่ดินแนะนำให้ใช้ถั่วพร้าเป็นปุ๋ยพืชสด เพื่อปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินในภาคตะวันออก ซึ่งส่วนใหญ่เนื้อดินเป็นทรายขาดความสมบูรณ์ ง่ายต่อการชะล้างพังทลายทำให้ผลผลิตพืชเศรษฐกิจต่ำ ประโยชน์ของถั่วพร้า นอกจากเป็นปุ๋ยพืชสดแล้วยังป้องกันกำจัดวัชพืชและใช้ฝักอ่อน ยอดอ่อน เป็นอาหารคนและสัตว์ได้ มีข้อดีคือปลูกง่าย ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภทและทุกภูมิอากาศ ทนทานต่อโรคและแมลง น้ำหนักต้นสดประมาณ 7,000 กิโลกรัมต่อไร่
ในประเทศสหรัฐอเมริกาศึกษาการใช้พืชคลุมดินควบคุมวัชพืชในข้าวโพดที่ปลูกโดยไม่ไถพรวนดิน ได้แก่ rye และพืชตระกูลถั่ว 3 ชนิดคือ crimson clover, subterranean และ hairy vetch ซึ่งมีผลทำให้ biomass ของวัชพืชลดลงคล้ายคลึงกันอยู่ระหว่าง 19-95% ซึ่งน้อยกว่าการไม่ใช้พืชคลุม/ไถพรวนดิน การใช้ hairy vetch และไม่ใช่พืชคลุม/ไถพรวน จะมี biomass คล้ายคลึงกันในช่วงระหว่าง 0-49% ซึ่งน้อยกว่าการใช้ rye, crimson clover และ subterranean การใช้สารเคมีควบคุมวัชพืชทั้งแบบก่อนงอกอย่างเดียว หรือแบบก่อนงอกและหลังงอกด้วย พบว่า biomass ของวัชพืชจะใกล้เคียงกันและผลผลิตข้าวโพดเฉลี่ยยังสูงที่สุดด้วยคือ สูงกว่าการไม่ใช้สารเคมี 16-100%
ในปัจจุบันเกษตรกรไทยที่ปลูกข้าวโพดจำนวนมาก นิยมใช้สารกำจัดวัชพืชกันแทบทุกรายอย่างน้อยที่สุดจำนวน 1 ครั้ง ซึ่งอาจจะใช้แบบก่อนงอก หรือแบบหลังงอก การใช้แบบงอกจะมีวัชพืชเกิดขึ้นใหม่ได้อีก ดังนั้นเกษตรกรจึงต้องมีการกำจัดวัชพืชอีก 1 ครั้ง โดยอาจจะกำจัดด้วยจอบหรือใช้รถแทรกเตอร์เปิดระหว่างร่อง หรือแถวข้าวโพด หรือการใช้แบบหลังงอกเพียงครั้งเดียว หรือใช้แบบก่อนงอก แล้วใช้แบบหลังงอกหลังจากใช้แบบก่อนงอกประมาณ 1 เดือน
บางครั้งการใช้สารกำจัดวัชพืชเพียงครั้งเดียวอาจไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องใช้ 2-3 ครั้ง จึงจะควบคุมวัชพืชได้ ทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิต หากมีการนำพืชคลุมดินมาใช้ร่วมกับการปลูกข้าวโพด โดยอาจจะปลูกก่อนข้าวโพดให้พืชคลุมเจริญเติบโตเต็มพื้นที่นั้น แล้วใช้สารกำจัดวัชพืชฆ่าพืชคลุมดิน เพื่อไม่ให้พืชคลุมเจริญแข่งขันกับข้าวโพด หรือปลูกในระหว่างแถวพร้อมกับข้าวโพด ไม่ให้มีช่องว่าง ทำให้วัชพืชไม่สามารถงอกขึ้นมาได้หรือขึ้นได้น้อย จะช่วยควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าแปลงที่ปลูกข้าวโพดอย่างเดียว ซึ่งมีช่องว่างและวัชพืชสามารถงอกได้มากกว่า
สดใส ช่างสลัก จากศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ และรังสิต สุวรรณเขตนิคม ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาการใช้พืชคลุมดินทดแทนสารเคมีควบคุมวัชพืชในการปลูกข้าวโพด โดยไม่ไถพรวน โดยใช้ถั่วแปบ ไมยราบ ถั่วพร้า ถั่วขอเมล็ดดำ และสารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก ได้แก่ pendimenthalin อัตรา 800 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อไร่ สารกำจัดวัชพืชแบบหลังงอก ได้แก่ fluacifopbutyl อัตรา 200 กรัมต่อไร่ ร่วมกับ formesafen อัตรา 100 กรัมต่อไร่ สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกแล้วตามด้วยแบบหลังงอก ก่อนงอกใช้ pendimethalin อัตรา 1.65 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ หลังงอกใช้ fluacifbo butyl อัตราสารออกฤทธิ์ต่อเฮกตาร์ 187.5 กรัม ร่วมกับ fomesafen อัตราสารออกฤทธิ์ 250 กรัมต่อเฮกตาร์ ในพืชคลุมและ 2, 4-D อัตรา 1,200 กรัมต่อเฮกตาร์ ในข้าวโพด
ผลการทดลองพบว่า ถั่วขอเมล็ดดำและถั่วพร้า สามารถเจริญเติบโตคลุมพื้นที่เร็วมากที่สุดภายใน 1 เดือน และมีน้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงสุด พืชคลุมดินทั้ง 4 ชนิด ช่วยลดปริมาณวัชพืชโดยเฉพาะวัชพืชพวกหญ้าได้ดีมากกว่าพวกกกและพวกใบกว้าง การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอก และแบบก่อนงอก แล้วตามด้วยแบบหลังงอก สามารถควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าแบบหลังงอก โดยมีน้ำหนักแห้งน้อยกว่า
พืชคลุมดินทั้ง 4 ชนิด ให้ผลผลิตใกล้เคียงกันมาก สารกำจัดวัชพืชไม่มีผลกระทบต่อผลผลิตข้าวโพด รวมทั้งองค์ประกอบผลผลิตและความสูงต้นในช่วงการเจริญเติบโตระยะแรก แต่ระยะหลัง 6 สัปดาห์หลังปลูกถึงระยะเก็บเกี่ยว การใช้สารกำจัดวัชพืชแบบก่อนงอกมีความสูงน้อยที่สุด
ที่มา : http://www.ku.ac.th/e-magazine/october44/agri/plant.html

วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551



บูรณาการวิถีใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อแนะเกษตรกรทั่ว ประเทศ
[17 ก.ค. 51 - 00:27]

นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการจัดทำแผนส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ได้เร่งรัดให้กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมการข้าว ร่วมกันทำแผนส่งเสริมเกษตรกรให้มีความรู้ในการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ “ลดปุ๋ยเคมี ใช้แต่พอดี ช่วยลดรายจ่าย” ในปี 2551 นี้จะดำเนินการในพื้นที่ปลูกข้าวรวม 8.5 ล้านไร่ และจะขยายผลสู่พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และข้าวโพด
“ขณะนี้โปรแกรมแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สำหรับข้าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการอบรมการใช้โปรแกรมดังกล่าวให้กับเจ้าหน้าที่ของ 4 หน่วยงานหลักรวม 345 คน เพื่อเป็นวิทยากรไปถ่ายทอดความรู้ต่อไปยังเจ้าหน้าที่ ในพื้นที่ของหน่วยงานนั้นๆเพื่อไปถ่ายทอดสู่เกษตรกรต่อไป คาดว่าจะอบรมเสร็จภายในเดือนกรกฎาคมนี้” นายสมพัฒน์กล่าว
ด้านนายบัณฑิต ตันศิริ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า การเผยแพร่โปรแกรมแนะนำการใช้ปุ๋ยเคมีสู่เกษตรกรแบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ จัดทำ CD-ROM โปรแกรมดังกล่าวไปติดตั้งที่หน่วยงานในสังกัดของทั้ง 4 กรมทั่วประเทศพร้อมกับติดตั้ง ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบลและโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพชุมชน ส่วนรูปแบบที่สอง จัดทำเป็นข้อมูลแผนที่ติดไว้ที่ศูนย์เรียนรู้การพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพชุมชน หมอดินตำบล ศูนย์ข้าวชุมชน และโรงเรียนเกษตรกร ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล ส่งผลให้มีการนำโปรแกรมดังกล่าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.

ที่มา : http://www.thayruth.co.th/

วันพุธที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นิยมใช้ทางการค้าและเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะ


สายพันธุ์ไส้เดือนดินที่นิยมใช้ทางการค้าและเลี้ยงเพื่อกำจัดขยะ

อายซิเนีย ฟูทิดา ( Eisenia foetida )
ชื่อสามัญ The Tiger worm , Manure Worm , Compost Worm

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ อายซิเนีย ฟูทิดา เป็นไส้เดือนสีแดงที่มีลำตัวกลม ขนาดเล็ก ลำตัวมีสีแดงสด เห็นปล้องแต่ละปล้องแบ่งอย่างชัดเจน สามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและมีกลิ่นตัวที่รุนแรงซึ่งมีลักษณะทั่วไปดังนี้
· ลำตัวมีขนาด 35-130 x 3-5 มิลลิเมตร
· ลำตัวมีสีแดง ร่องระหว่างปล้องและบริเวณปลายมีสีเหลือง
· มีอายุยืนยาว 4 - 5 ปี แต่มักอยู่ได้ 1- 2 ปี เมื่อเลี้ยงภายในบ่อ
· สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
· สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 150 – 198 ถุง/ตัว/ปี
· สร้างไข่ได้ประมาณ 900 ฟอง/ตัว/ปี
· ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 32 – 40 วัน ( ขึ้นอยู่กับฤดูกาล ) โดยเฉลี่ยฟัก 3 ตัว/ถุงไข่
· ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 3 – 6 เดือน ( ขึ้นอยู่กับฤดูกาล )
· อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายและมีอนุภาคขนาดเล็ก

โดยทั่วไปประเทศในแถบยุโรป และ อเมริกา ส่วนมากมักจะใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida
หรือ สายพันธุ์ใกล้เคียงกันคือ สายพันธุ์ Eisenia Andrei ในการกำจัดขยะอินทรีย์ซึ่งมีหลายเหตุผลที่ทำให้เลือกใช้ใส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ คือไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วไปในบริเวณที่มีขยะอินทรีย์อยู่ โดยพวกมันจะสร้างกลุ่มและเจริญเติบโตอยู่ในกองขยะอินทรีย์เหล่านั้น และมีความทนทานต่อช่วงอุณหภูมิที่กว้างและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในขยะอินทรีย์ที่มีความชื้นได้หลายระดับ โดยรวมแล้วจะเป็นไส้เดือนสายพันธุ์ที่มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมดีมากและเลี้ยงง่ายเหมาะสมในการนำมาเลี้ยงในขยะอินทรีย์ได้หลายชนิดที่ปะปนกันและพบว่าเมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกับไส้เดือนดินสายพันธุ์อื่นภายในฟาร์ม พบว่า จะมีความทนทานมากกว่าไส้เดือนสายพันธุ์อื่นๆ

ยูดริลลัส ยูจีนิแอ ( Eudrilus eugeniae )
ชื่อสามัญ African Night Crawler

· ลำตัวมีขนาด 130 – 250 x 5 – 8 มิลลิเมตร
· ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงปนเทา
· สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
· จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
· สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 162 – 188 ถุง/ตัว/ปี
· ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 13 – 27 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
· ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 6 – 10 เดือน
· อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลายเป็นอาหาร
· มีอายุยืนยาว 4 – 5 ปี


ไส้เดือนดินสายพันธุ์ African Night Crawler มีขนาดลำตัวค่อนข้างใหญ่ สามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและไต่ขึ้นขอบบ่อได้เก่งมาก มีการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กันอย่างกว้างขวาง ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความเหมาะสมมากในการนำมาผลิตเป็นโปรตีนสำหรับเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากมีขนาดใหญ่และมีอัตราการแพร่พันธุ์สูงมากแต่มีข้อเสียตรงที่ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ไม่ค่อยทนทานต่ออุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมเลี้ยงยากและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยากด้วยสำหรับในด้านการนำมาใช้จัดการขยะพบว่า ไส้เดือนสายพันธุ์มีความสามารถในการย่อยสลายขยะในปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว เป็นไส้เดือนดินสายพันธุ์ในเขตร้อน ซึ่งจะชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างร้อน โดยจะเจริญเติบโตได้ไม่ดีในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 16 องศาเซลเซียส และจะตายในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียล ดังนั้นการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในประเทศไทยเขตหนาวจะถูกจำกัดการเลี้ยงเฉพาะภายในโรงเรือนที่มีการควบคุมอุณหภูมิในช่วงฤดูหนาวเท่านั้นถึงจะเลี้ยงได้ สำหรับการเลี้ยงแบบภายนอกโรงเรือน จะเหมาสมกับเฉพาะพื้นที่ในเขตร้อนหรือกึ่งร้อนเท่านั้น

ลัมบริคัส รูเบลลัส ( Lumbricus rebellus )
ชื่อสามัญ Red worm , Red Marsh Worm , Red Wriggler

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ ลัมบริคัส รูเบลคัส รูเบลลัส เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวแบนและมีลำตัวขนาดกลางไม่ใหญ่มาก โดยจะมีลำตัวใหญ่กว่าไส้เดือนินสายพันธุ์อายซิเนีย ฟูทิดา และเล็กกว่าไส้เดือนดิน สายพันธุ์อัฟริกัน ไนท์ ครอเลอร์

· ลำตัวมีขนาด 60 – 150 x 4 – 6 มิลลิเมตร
· ผิวบริเวณท้องมีสีขาวขุ่น บริเวณด้านหลังมีสีแดงสด ร่องระหว่างปล้องมีสีเหลือง
· เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม อิพิจีนิค อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน หรือในกองมูลสัตว์
· กินเศษซากพืชที่เน่าเปื่อย ขยะอินทรีย์ และมูลสัตว์เป็นอาหาร
· สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง
· จับคู่ผสมพันธุ์ใต้ดิน
· สามารถผลิตถุงไข่ได้ 79 – 106 ถุง/ตัว/ปี
· ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 24 – 45 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 2 ตัว/ถุงไข่
· ใช้เวลาเจริญเติบโตเต็มวัย 5 – 6 เดือน
· มีชีวิตยืนยาว 2 – 3 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้พบได้ทั่วไปในดินที่มีความชุ่มชื้น หรือบริเวณที่มีมูลสัตว์หรือกากสิ่งปฏิกูล ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีความทนทานต่อสภาพอุณหภูมิและความชื้นในช่วงกว้าง ไม่ค่อยเคลื่อนไหวมาก กินเศษซากอินทรียวัตถุได้มากและเร็ว เป็นไส้เดือนดินพันธุ์การค้าที่มีความเหมาะสมและนิยมนำมาใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยหมักในต่างประเทศ

ฟีเรททิมา พีกัวนา ( Pheretima peguana )
ชื่อท้องถิ่น ขี้ตาแร่

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่มีลำตัวกลมขนาดปานกลาง โดยมีขนาดใกล้เคียงกับใส้เดือนสายพันธุ์ แอฟริกัน ไนท์ครอเลอร์

· ลำตัวมีขนาด 130 – 200 x 5 – 6 มิลลิเมตร
· ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม
· สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
· จับคู่ผสมพันธุ์บริเวณผิวดิน
· สร้างถุงไข่ได้โดยเฉลี่ยประมาณ 24 – 40 ถุง/ตัว/ปี
· ใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 25 – 30 วัน โดยเฉลี่ยฟัก 10 ตัว/ถุงไข่
· ใช้เวลาในการเติบโตเต็มวัย 5 – 6 เดือน
· อาศัยอยู่บริเวณผิวดิน ใต้กองมูลสัตว์ เศษหญ้า กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าสลาย และมูลสัตว์เป็นอาหาร
· มีอายุยืนยาว 2 – 4 ปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา เป็นไส้เดือนดินสีแดงที่พบได้ทั่วไปในแถบเอเซีย ซึ่งในประเทศไทยก็พบเช่นกัน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป็นไส้เดือนดิน ที่มีลำตัวขนาดกลาง อาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุมาก เช่นใต้กองปุ๋ยหมัก ใต้กองมูลวัวในโรงเลี้ยงวัวนม ใต้เศษหญ้าที่ตัดทิ้ง โดยจะอาศัยอยู่บริเวณผิวดินไม่ขุดรูอยู่ในดินที่ลึกเหมือนกับไส้เดือนพันธุ์สีเทา ที่จะอาศัยอยู่ในสวนผลไม้ หรืออยู่ในชั้นดินที่ลึกลงไป ไส้เดือนพันธุ์นี้โดยทั่วไปในภาคเหนือ เรียกว่า “ขี้ตาแร่” ซึ่งชาวบ้านมักใช้เป็นเหยื่อตกปลา ลักษณะพิเศษของไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ คือมีความตื่นตัวสูงมาก เมื่อถูกจับตัวจะดิ้นอย่างรุนแรงและเคลื่อนที่หนีเร็วมาก นอกจากนี้การนำไปใช้กำจัดขยะอินทรีย์ พบว่าไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้สามารถกินขยะอินทรีย์จำพวกเศษผัก ผลไม้ หมดอย่างรวดเร็ว ซึ่งจาการทดลองนำไส้เดือนสายพันธุ์ ขี้ตาแร่ มากำจัดขยะ จะถูกย่อยหมดภายใน 2-3 วัน นอกจากไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้กินอาหรแก่งแล้วยังสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว

ฟีเรททิมา โพสธูมา ( Pheretima posthuma )
ชื่อท้องถิ่น ขี้คู้

ไส้เดือนดินสายพันธุ์ ฟีเรททิมา โพสธูมา เป็นไส้เดือนดินสีเทาที่มีลำตัวกลมขนาดใหญ่ โดยมีขนาดใหญ่กว่า ไส้เดือนแดงพันธุ์ ฟีเรททิมา พีกัวนา
· ลำตัวมีขนาด 200 – 250 x 6 – 10 มิลลิเมตร
· ลำตัวมีสีเทาวาว
· สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ
· อาศัยอยุ่บริเวณผิวดินในฤดูฝน กินเศษซากอินทรียวัตถุที่เน่าเปื่อย ในฤดูร้อนและฤดูหนาวจะอาศัยอยู่ในดินที่ลึกลงไปและกินดินหรืออินทรียวัตถุในดินที่เน่าเปื่อย
· เข้าสู่สภาพการหยุดนิ่ง ในช่วงที่สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
· มีอายุยืนยาวหลายปี

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มักพบอยู่ใต้ดินภายในสวน สนามหญ้า หรือพื้นดินในป่า ซึ่งลำตัวจะมีสีเทาผิวเป็นมันวาว สะท้อนกับแสงอาทิตย์จะออกเป็นสีรุ้ง เมื่อจับจะดิ้นอย่างรุ่นแรง และเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็วมาก แพร่พันธุ์และเจริญเติบโตได้น้อย อาศัยอยู่ในดินที่ค่อนข้างลึก และจะขุดรูแบบชั่วคราว จากลักษณะนิสัยดังที่กล่าวไส้เดือนสายพันธุ์นี้ ไม่เหมาะในการนำมาใช้ย่อยสลายขยะอินทรีย์

ลัมบริคัส เทอเรสทริส ( Lumbricus terrestris )
ชื่อสามัญ Nightcrawler

· ลำตัวมีขนาด 90 – 300 x 6 – 10 มิลลิเมตร
· ผิวบริเวณท้องมีสีเทาขุ่น ผิวบริเวณด้านหลังมีสีเทา
· เป็นไส้เดือนดินในกลุ่ม แอนเนซิค
· กินเศษซากใบไม้ที่เน่าเปื่อยที่อยู่ใต้ดินและดินบางส่วนที่เป็นอาหาร
· อาศัยอยู่ในรูที่ถาวร ที่ความลึก 2.4 เมตร
· สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศอย่างแท้จริง
· สร้างถุงไข่ได้ 38 ถุง/ตัว/ปี
· ใช้เวลาเติบโตเต็มไวประมาณ 1 ปี
· สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 862-887 วัน หรือมากกว่า 6 ปี
· สามารถแพร่กระจายกลุ่มได้ประมาณ 3 – 5 เมตร/ปี

โพลีฟีเรททิมา อีลองกาตา ( Polypheretima elongate )

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เคยนำมาทดลองใช้ในกระบวนการกำจัดขยะอินทรีย์ เช่น ขยะที่ได้จากเทศบาลขยะหรือของเสียที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ ของเสียจากมนุษย์ สัตว์ปีก มูลวัว และเศษเหลือทิ้งจากการผลิตเห็ดในอินเดีย ซึ่งในประเทศอินเดียได้ใช้ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ในการทำปุ๋ยหมักทางการค้าที่สะดวกและได้ผลดีโดยสามารถย่อยสลายขยะที่เป็นกากได้ 8 ตัน/วัน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้พบเฉพาะในเขตร้อน และไม่สามารถดำรงชีวิตรอดได้ในเขตหนาว


เดนโดรแบนา วีนาตา ( Dendrobaena veneta )

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้มีลำตัวขนาดใหญ่ และมีศักยภาพพอสำหรับนำไปใช้ในขบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้จะอาศัยอยู่ในดิน เจริญเติบโตได้ช้าและแพร่พันธุ์ได้ไม่ค่อยเร็วนัก ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ไม่เหมาะสมหรือมีความเหมาะสมน้อยมากสำหรับนำไปใช้ในการย่อยสลายขยะอินทรีย์

เพอริโอนีกซ์ เอกซ์คาวาตัส ( Perionyx excavatus )

ไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้เป้นไส้เดือนดินในเขตร้อน ซึ่งขยายพันธุ์ได้รวดเร็วและเลี้ยงง่ายเหมือนกับไส้เดือนดินสายพันธุ์ Eisenia foetida และในการเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือแยกไส้เดือนดินออกจากปุ๋ยหมักได้ง่ายมาก แต่มีข้อเสียคือ มีความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสมได้ค่อนข้างต่ำสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนสายพันธุ์นี้ในเขตหนาว แต่ในสภาพเขตร้อน จะเหมาะสมมากสำหรับการเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นี้ เนื่องจากเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่พบได้ทั่วไปในเอเชีย และมีการนำมาใช้ในขบวนการผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินในประเทศฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย

ที่มา : http://www.thaiworm.com/

วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ตะกูยักษ์ปลูกแล้วรวยจริงหรือ? หรือแค่เพียงสร้างกระแสปั่นราคาต้นกล้า


ตะกูยักษ์ปลูกแล้วรวยจริงหรือ? หรือแค่เพียงสร้างกระแสปั่นราคาต้นกล้า


เมื่อวันก่อนเกษตรกรชาวสวนยางจากอำเภอเทพสถิตโทร.มาถามความคิดเห็นเพราะว่าบิดากำลังจะเซ็นสัญญาปลูกตะกูยักษ์อยู่เลยขอพูดถึงตะกูยักษือีกสักรอบหนึ่งคงยังไม่เบื่อ เหตุที่กระแสปัญหาปัญหาโลกร้อน พัดระบือไปทั่วทุกมุมโลก ตามยุค Globalizationและความเจริญก้าวหน้าของ IT และไม้ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใช้สอยได้ในเมืองไทยและทั่วโลกได้ประสบปัญหาการขาดแคลนอย่างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องมาจากการตัดไม้ธรรมชาติเพื่อนำมาสนองความต้องการ ในการใช้ประโยชน์จากไม้ของมนุษย์โดยไม่ได้มีการปลูกไม้ขึ้นมาทดแทนกันอย่างจริงจัง และถึงมีการปลูกก็ไม่สามารถเจริญ เติบโตได้ทันกับความต้องการใช้ไม้ของมนุษย์ หลายประเทศได้มีการห้ามตัดไม้ ธรรมชาติเพื่อนำมาใช้งาน เช่น ประเทศไทยมีการออกกฏหมาย ห้ามตัดไม้ในปี พศ. 2532 สมัยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ชื่อ พล.ต.สนั่น ขจรประสาสน์นั่นเองคิดว่าหลายท่านคงจำได้ บางท่านให้ฉายาว่ารัฐมนตรีป่าลั่น สำหรับในต่างประเทศ หลายๆประเทศได้ออกกฏหมายห้ามตัดไม้มานานหลายสิบปี ซึ่งทางออกของการแก้ปัญหา คือการปลูกไม้ขึ้นเองเพื่อใช้งาน เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไม้ได้ทันเวลา หลายประเทศจึงศึกษาและเสาะแสวงหา พันธุ์ไม้โตเร็วที่มีศักยภาพในการเจริญเติบโตได้ดี เหมาะกับภูมิประเทศและสภาพอากาศในพื้นที่ประเทศนั้นๆ โดยเนื้อไม้สามารถสนองความต้องการทางเศรษฐกิจได้ ดังนั้นในประเทศไทย ถ้าเราไม่หาทางออกไว้แต่เนิ่นๆ เชื่อว่าในอนาคตไทยต้องเจอวิกฤติการขาดแคลนไม้เศรษฐกิจอย่างรุนแรงอย่างแน่นอนจากตัวเลขการนำเข้าไม้จากต่างประเทศปีละหลายพันล้านบาท และปัจจุบันการผลิตไม้เพื่อใช้แปรรูปในเมืองไทยมีเพียงไม้ยางพาราแปรรูปเท่านั้นที่มีปริมาณในตลาด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการตัดโค่นยางพาราที่หมดอายุที่เอาผลผลิตน้ำยางจากต้นแล้วคืออายุประมาณ 20-25 ปี แต่ก็เป็นปริมาณที่ไม่พอเพียงเมื่อเทียบกับตัวเลขการนำเข้าในแต่ละปี ทำให้จำนวนไม้ ที่ต้องแปรรูปเพื่อป้อนตลาดนั้นชะลอตัวและมีปริมาณลดลง โรงงานผู้ผลิตเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ในประเทศไทย ที่เคยใช้ไม้ยางพาราเป็นวัตถุดิบหลักสำหรับผลิตเฟอร์นิเจอร์และเครื่องเรือนส่งออก จึงต้องทำข้อตกลงนำเข้าไม้หลากชนิดจากต่างประเทศแทน เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนไม้ ถ้ากล่าวถึงไม้ชนิดอื่น เช่นไม้ยมหอมที่เคยฮือฮาเมื่อหลายปีก่อนก็หวังเมื่อสิบปีจะหยิบเงินล้าน ก็มาพบว่ามีปัญหาหนอนกินยอดอย่างรุนแรงทำให้มีผลต่อการเจริญเติบโตของไม้ หลายท่านคงเห็นได้จากที่เคยมีเกษตรกรทางภาคอีสานนำไม้บางชนิดเป็นไม้เฉพาะถิ่น เช่นสะเดาช้าง เป็นไม้แถบทางใต้ เมื่อนำมาปลูกในเขตอื่นก็จะโตได้ไม่ดีเท่าภาคใต้ ไม้ที่ปลูกบางชนิดเป็นพันธุ์ไม้ต่างประเทศเหมาะที่จะปลูกในสภาพอากาศหนาวเย็นไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ดีในไทย บางท่านก็เคยเสียเงินซื้อต้นกล้าเช่นเพาโลเนีย เมื่อปลูกในภาคอีสานใบจะแห้งกรอบและเจริญเติบโตช้า
ส่วนตะกูยักษ์ก็เริ่มสร้างกระแสอย่างรุนแรงในช่วงนี้ ยังไม่เห็นภาครัฐได้ออกมาให้ข้อมูลเพิ่มเติมแต่อย่างใด สร้างความสับสนแก่ประชาชนที่ยังรับข้อมูลข่าวสาร หลายด้าน ทั่งผู้จัดจำหน่ายต้นกล้า ก็บอกว่ามีสัญญา ซื้อคืน ในราคาต้นละประมาณ ๕,๐๐๐ บาท จึงขอให้ประชาชนได้ศึกษาอย่างถ่องแท้ ประเภทต้องอ่านคำเตื่อนเหมือนการลงทุนในหุ้นว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดใช้วิจารณญานก่อนตัดสินใจลงทุน” และพึงคำนึงว่าไม่มีสิ่งใดได้มาง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทุน

“RRIM 600 ยอดดำ” นวัตกรรมใหม่แห่งมาร์เก็ตติ้งหรือการแหกตากันแน่



ทุกวันนี้ หากใครไม่เคยได้ยินคำว่า “RRIM 600 ยอดดำ” อาจถือได้ว่าอยู่ห่างไกลกับการปลูกยางพาราหรือเกษตรกรชาวสวนยางพารา เพราะเรื่องนี้มีการพูดถึงกันมาก ๆ ผู้เขียนเองก็ได้รับฟังเรื่องนี้มาประมาณ 2-3 ปี เห็นจะได้ และในตอนนั้น ก็ไม่ได้สืบเสาะหรือค้นหาความจริงในเรื่องนี้มากนัก จนปัจจุบันนี้ เมื่อได้พิจารณาในบางมุมมอง ก็ทำให้ต้องสืบเสาะค้นหาเพื่อจะได้นำมาเล่าสู่กันฟัง และไม่ต้องการให้พี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางพารา ต้องจ่ายค่าพันธุ์ยางมากกว่าที่ควรเป็น (จ่ายค่าปุ๋ยก็แสนแพงอยู่แล้ว) เนื่องจากพันธุ์ยางที่ว่า มีราคาแพงกว่า RRIM 600 ต้นละ 1 บาท(เป็นอย่างน้อย)เจ้าของสวนยางพาราจำนวนไม่น้อยมีความเชื่อ(แม้จะไม่ถึงขั้นเต็มร้อย)ว่าพันธุ์ยางดังกล่าวมีอยู่จริง และเมื่อถึงเวลาที่ต้องจัดหา จัดซื้อพันธุ์ยางเพื่อมาปลูกในแปลงใหม่ ก็จะขับรถไป และสอบถามเจ้าของแปลงที่จำหน่ายยางชำถุงว่า “มีพันธุ์ 600 ยอดดำหรือไม่?” ผู้ขายบางคนก็ดี มีสัมมาอาชีพ ก็จะตอบว่า “ไม่มี มีแต่พันธุ์ RRIM 600 ที่ขายอยู่เป็นประจำนี่แหละ” ผลปรากฎว่า ส่วนมาก ผู้ขาย ขายไม่ได้ เพราะว่า ผู้ซื้อ ต้องการ 600 ยอดดำ เมื่อผู้ขายโดนเข้าแบบนี้หลาย ๆ ครั้ง ก็เลยต้องเปลี่ยนวิธีขายใหม่ทั้ง ๆ ที่ไม่อยากทำ ก็ต้องทำ ต้องไปตามกระแส ต้องไปตามน้ำ เมื่อมีผู้มาถามหาพันธุ์ยอดดำอีก ผู้ขายก็จะพาเดินเข้าไปข้างในหน่อยหนึ่ง หรือเดินออกมาด้านหน้าหน่อยหนึ่ง แล้วชี้ว่า “แถวนี้แหละ” หรือ “สองแถวนี้แหละ เป็น 600 ยอดดำ” และถ้าถูกถามต่อว่ารู้ได้อย่างไรว่าเป็นยอดดำ เขาก็จะชี้ให้เห็นสีม่วง ๆ คล้ำ ๆ บริเวณโคนกิ่ง(ที่อยู่ติดกับต้น) ผลที่เกิดขึ้นคือ ผู้ขาย ขายได้และได้ราคาเพิ่มอีกต้นละ 1 บาท ส่วนผู้ซื้อ ก็มีความสุขที่ได้พันธุ์ยอดดำกลับบ้านเจ้าของแปลงจำหน่ายพันธุ์ยางบางแปลง เคยเล่าให้ฟังว่า เขาบอกผู้ซื้อว่าพันธุ์600 ยอดดำ ไม่มีจริงหรอก อย่าไปเชื่อข่าวลือเลย คุยกันอยู่พักหนึ่งเจ้าของแปลงจำหน่ายพันธุ์ยางยื่นเงินให้ 1000 บาท พร้อมกับบอกกับผู้ซื้อว่า “ถ้าคิดว่าพันธุ์ที่ว่ามีจริง ช่วยซื้อมาให้ดูสัก 2 ต้น แม้ว่าราคาจะต้นละ สิบกว่าบาท แต่เอาไปเลย 1000 บาท” ผลปรากฎว่า ผู้ที่มาซื้อ ไม่กล้ารับเงินดังกล่าว
ที่มา : www.live-rubber.com

พืชคลุมดิน โดย นายวิจิตร วังใน และนายปวิณ ปุณศรี


พืชคลุมดิน

โดย นายวิจิตร วังใน และนายปวิณ ปุณศรี


การปลูกพืชคลุมดินเป็นการปลูกพืชที่มีลำต้นอ่อนเพียงชนิดเดียว หรือหลายชนิดรวมกัน เพื่อให้คลุมดินตลอดปี หรือชั่วระยะเวลาใดเวลาหนึ่งเราอาจทิ้งพืชเหล่านี้ไว้เพื่อยึดผิวดิน กันดินพังทลายเวลามีฝนตกหนัก น้ำบ่าหรือมีลมแรงพัดเข้าสู่ผิวดินบริเวณนั้น หรืออาจไถกลบลงไปในดินเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด พืชที่จะนำมาปลูกเป็นพืชคลุมนั้น ควรเป็นพืชที่ขึ้นง่ายทั้งในดินดีและดินเลว มีการเจริญเติบโตเร็ว มีกิ่งก้านสาขามาก และส่วนยอดอ่อนนุ่มมีน้ำมาก พืชคลุมดินที่นิยมกันในสวนผลไม้ ได้แก่ ถั่วลาย คาโลโปโกเนียม คุดซู เวลเวทขาว เป็นต้นการทำสวนผลไม้โดยทั่วไปแล้วเจ้าของสวนไม่สามารถไถพรวนได้บ่อยๆ เหมือนการปลูกพืชไร่การปลูกพืชคลุมดินจึงเป็นของจำเป็นมากในการทำสวนผลไม้ แม้ว่าจะมีดินดีอยู่แล้วก็ตาม พืชคลุม ดินจะช่วยให้ต้นไม้ได้รับประโยชน์หลายประการ คือ

๑. เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดิน เมื่อเศษกิ่งใบของพืชคลุมร่วงหล่นทับถมบนผิวดิน ในที่สุดจะผุพังรวมตัวกับดินซึ่งจะเป็นแหล่งอาหารของต้นไม้ต่อไป นอกจากนี้จะช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมี ทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืชและเพิ่มจำนวนไส้เดือน และจุลินทรีย์ในดิน

๒. ป้องกันการชะล้างของหน้าดิน พืชคลุมจะส่งรากลงไปในดินและยึดเม็ดดินไว้ ทำให้ผิวดินไม่ถูกเซาะได้ง่ายเมื่อมีน้ำไหลแรง หรือฝนตกหนักการทำสวนบนเนินลาดจึงจำเป็นต้องปลูกพืชคลุมโดยปลูกพืชคลุมไว้ตามขั้นบันไดที่ทำไว้จะช่วยยับยั้งความแรงของกระแสน้ำที่ไหลลงได้ จึงเป็นการป้องกันการพังทลายของดิน นอกจากนี้ใบหรือเถาพืชคลุมที่เจริญอย่างหนาแน่น จะช่วยป้องกันไม่ให้เม็ดฝนที่มีขนาดโตๆ กระทบผิวดินโดยตรงอันจะเป็นการลดการชะล้างหน้าดินอีกทางหนึ่งด้วย

๓. ทำให้โครงสร้างและสภาพของดินดีขึ้น ดินที่มีพืชคลุมขึ้นอยู่จะไม่เกาะกันแน่นเหมือนดินที่ไม่มีพืชขึ้นเลย ถ้าเราเลือกพืชคลุมที่มีรากชอนไชไปในดิน และเป็นพืชที่ให้อินทรียวัตถุมาก จะทำให้ดินบริเวณนั้นร่วนซุย อากาศถ่ายเทได้สะดวกและอุ้มน้ำได้ดี ก็จะทำให้ดินมีโครงสร้างเหมาะแก่การเจริญเติบโตของไม้ผล อินทรียวัตถุจากพืชคลุมจะช่วยทำให้เม็ดดินเหนียวติดกันเป็นก้อนๆ มีขนาดโตกว่าปกติ ทำให้ดินร่วนขึ้น ทั้งนี้เพราะสารที่มีลักษณะคล้ายวุ้นในอินทรียวัตถุจะมาเคลือบเม็ดดินเหนียวซึ่งมีขนาดเล็กมาก ให้เป็นก้อนโตขึ้น นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยทำให้เม็ดทรายในดินทรายให้ติดกันแน่นทำให้เหนียวขึ้นกว่าเดิม เมื่อรวมกับซากพืชเข้าแล้ว ดินทรายก็จะอุ้มน้ำได้ดีขึ้น

๔. ช่วยเก็บความชื้นให้กับดิน การปล่อยให้พืชคลุมคลุมตามผิวดิน โดยเฉพาะพืชคลุมที่ปลูกในดินที่พรวนแล้วอย่างดี หลังจากฝนตกใหญ่ครั้งสุดท้ายจะช่วยให้ดินเก็บน้ำได้ดีขึ้น และช่วยลดการระเหยของน้ำ เพราะพืชคลุมจะช่วยบังแสงแดดไม่ให้โดนผิวดินโดยตรง นอกจากนี้อินทรียวัตถุที่หล่นปกคลุมผิวดิน จะเป็นวัตถุคลุมดินที่ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำเป็นอย่างดี พืชคลุมจะช่วยดูดเอาน้ำที่จะไหลผ่านลงไปสู่ดินชั้นล่างไว้แทนที่จะปล่อยให้สูญไปโดยเปล่าประโยชน์ จึงทำให้ผิวดินชื้นอยู่เสมอ

๕. ช่วยกำจัดวัชพืช พืชคลุมดินส่วนมากจะมีใบเป็นจำนวนมาก และหล่นทับถมบนผิวดินจนแสงสว่างส่องไม่ถึงผิวดิน เมื่อเป็นเช่นนี้วัชพืชก็ไม่มีโอกาสงอกได้ แม้แต่วัชพืชที่ตั้งตัวได้แล้วเช่น หญ้าคา ถ้าเราปลูกพืชคลุม เช่น ถั่วลายขึ้นคลุมจะทำให้หญ้าคาตายได้ เพราะถูกบังแสงแดดจนมีไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ การปลูกพืชคลุมก็มีข้อเสียอยู่เหมือนกัน คือ อาจเป็นที่อยู่อาศัยของโรคและแมลง เถาของมันอาจเลื้อยขึ้นพันต้นไม้ผลของเราได้ ต้องเสียเวลาคอยตัด หรือกันไม่ให้เข้าไปติดกับต้นไม้ผล เศษเถาและใบที่กองทับถมกันอยู่ในสวน อาจเป็นเชื้อไฟจะทำให้เกิดไฟไหม้สวนได้ ดังนั้นการทำสวนผลไม้ใกล้ป่าหรือใกล้เขตรกร้างอื่นๆ จึงควรทำแนวกันไฟไว้รอบๆ บริเวณสวน นอกจากนี้พืชคลุมที่เจริญมากๆ อาจแย่งน้ำและอาหารจากต้นไม้ที่เราปลูกไว้ได้

คลอดแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีีย์


คลอดแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์
วิฑูรย์ ปัญญากุล (23 พ.ค. 51)
ที่ประชุมของคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติเมื่อ 22 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีมติอนุมัติแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2551 - 2554 ภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2551 - 54 โดยแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีหลักการ-แนวคิด 4 ด้าน คือ(ก) การพัฒนาแบบองค์รวม ที่มีคนเป็นศูนย์กลาง(ข) บูรณาการการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ(ค) การพัฒนาอยู่บนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(ง) ยุทธศาสตร์ระยะ 4 ปี ที่ต่อยอดการพัฒนาที่ผ่านมา
ยุทธศาสตร์หลักของแผนประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ คือ การเสริมสร้างและจัดการองค์ควมรู้และนวัตกรรม, การพัฒนาการเกษตรอินทรีย์ตามวิถีพื้นบ้าน, การเสริมสร้างศักยภาพการเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์

ในแผนปฏิบัติการนี้ มีหน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งได้จัดทำโครงการต่างๆ 104 โครงการภายใต้แผนงาน 12 แผน โดยมีกรอบงบประมาณรวม 4 ปีเป็นเงิน 4,826.8 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2551 มีการเสนอที่จะทำกิจกรรม 36 โครงการใน 11 แผนงาน และมีแผนที่จะใช้งบประมาณราว 1,118.42 ล้านบาท โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ของบประมาณไว้เป็นวงเงินสูงสุด คือ 1,011.69 ล้านบาท สำหรับปี 2551 (90%) และ 4,158.06 ล้านสำหรับแผน 4 ปี (86%) ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ที่ของบประมาณไว้เกินกว่าระดับ 50 ล้าน คือ
โครงการส่งเสริมการใช้สารอินทรีย์ทดแทนสารเคมีทางการเกษตร/เกษตรอินทรีย์ 1,863.34 ล้านบาท (กรมพัฒนาที่ดิน)
โครงการอบรมผู้นำกลุ่มเกษตรกรแกนหลัก/ผู้บริหารโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 277.48 ล้านบาท (กรมพัฒนาที่ดิน)
โครงการหนึ่งอำเภอหนี่งโรงงานปุ๋ย 180.65 ล้านบาท (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย)
โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐาน 138.84 ล้านบาท (กรมส่งเสริมการเกษตร)
โครงการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในสถาบันเกษตรกร 138.30 ล้านบาท (กรมส่งเสริมสหกรณ์)
โครงการปรับระบบการทำเกษตรของเกษตรกรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 134.54 ล้านบาท (กรมส่งเสริมการเกษตร)
โครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และจัดงานมหกรรมเกษตรอินทรีย์ 120.00 ล้านบาท (กรมพัฒนาที่ดิน)
โครงการการเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการนวัตกรรมด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์ 78.30 ล้านบาท (สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)
โครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในโรงเรียน 78.00 ล้านบาท (กรมพัฒนาที่ดิน)
โครงการตรวจรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์ 75.14 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร)
โครงการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรเพื่อสนับสนุนแนวทางการดำเนินงานด้านเกษตรอินทรีย์ 70.00 ล้านบาท (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)
โครงการตรวจสอบและรับรองข้าวอินทรีย์ 60.00 ล้านบาท (กรมการข้าว)
โครงการศึกษาเทคโนโลยีการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสากล 55.22 ล้านบาท (กรมวิชาการเกษตร)
โครงการวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ/เกษตรอินทรีย์ 55.00 ล้านบาท (กรมพัฒนาที่ดิน)
นายธวัชชัย โตสิตระกูล รองประธานมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ซึ่งเป็นตัวแทนที่เข้าร่วมประชุมในคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ได้ให้ความเห็นต่อแผนปฏิบัติการเหล่านี้ว่า โครงการต่างๆ เป็นโครงการของภาครัฐ ที่ดำเนินงานโดยภาคราชการเองเกือบทั้งหมด โดยภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนหรือบริษัทเอกชน และองค์กรเกษตรกร ไม่ได้มีส่วนในการเสนอแผนงานของตัวเองเลย ทั้งๆ ที่ในแผนยุทธศาสตร์เองก็ระบุว่า "ภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โดยมีภาครัฐให้การสนับสนุน" แต่ในแผนปฏิบัติการและโครงการต่างๆ ดูเหมือนว่า ภาคราชการจะเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด
นอกจากนี้ นายธวัชชัยยังให้ข้อเสนอแนะ 3 ประการดังนี้
1. ภาครัฐควรจัดสรรเงินอุดหนุนต่อภาคเอกชนโดยตรง เช่นเดียวกับที่กระทรวงสาธารณสุข เคยจัดสารรเงินอุดหนุนให้กับองค์การพัฒนาเอกชนด้านสาธารณสุข โดยถือว่า องค์กรภาคเอกชนเหล่านี้ได้มาช่วยทำงานเสริมกับภาครัฐ และมีตัวอย่างในหลายประเทศที่ภาครัฐส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ด้วยการให้ทุนอุดหนุนผ่านองค์กรภาคเอกชน
2. ขณะนี้ มีกลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์หลายแห่งที่ดำเนินการส่งเสริมการผลิต การแปรรูป และกาตลาดผลผลิตเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร เช่น กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ในจังหวัดยโสธร จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น องค์กรเหล่านี้ประสบปัญหาเรื่องเงินทุนในการรับซื้อและสต็อคผลผลิตเกษตรอินทรีย์จากสมาชิก ภาครัฐโดยเฉพาะกรมส่งเสริมสหกรณ์ควรให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ และสนับสนุนด้วยการให้วงเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำแก่องค์กรเกษตรกรเหล่านี้ เพราะเขามีตลาดรองรับอยู่แล้ว เพียงแต่ขาดเงินทุนรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกเท่านั้น และที่ผ่านมา เริ่มมีสมาชิกบางรายขายผลผลิตเกษตรอินทรีย์เป็นผลผลิตทั่วไป เพื่อให้ได้เงินสดมาใช้ให้ทันความจำเป็น
3. ในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ ผลผลิตในระยะ 1-3 ปีแรกของเกษตรกร ถือว่าเป็นเกษตรอินทรีย์ระยะปรับเปลี่ยน ซึ่งไม่สามารถขายเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ได้ ภาครัฐควรมีมาตรการที่จะสนับสนุนเกษตรกรในระยะปรับเปลี่ยน เช่น การให้เงินอุดหนุนต่อไร่ หรือเงินชดเชยผลผลิตแก่เกษตรกร เป็นต้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม
Greening the Farm, Tunya Sukpanich, Bangkokok Post, Perspective, 8 June 08
บูรณาการแผนยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์, วิฑูรย์ ปัญญากุล, 21 ธ.ค. 50
ที่มา : www.greennet.or.th

อาหาร 12 อย่างที่ควรเป็น Organic

อาหาร 12 อย่างที่ควรเป็น Organic
ประภาพร วีรกิจ (1 พฤษภาคม 2551)

จากบทความเรื่อง “The Dirty Doze: Top 12 Foods to Eat Organic ” จากเว็บไซด์ http://www.thedailygreen.com/ เมื่อปลายเดือนมีนาคม เกี่ยวกับปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหาร ซึ่งบทความนี้ได้กล่าวถึงอาหาร 12 ชนิด ที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรค่อนข้างสูง ซึ่งผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังในการเลือกบริโภค และถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกซื้ออาหารที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ หรือผู้บริโภคที่ไม่สามารถที่จะบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ได้ทั้งหมด 100 % แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้บริโภคควรเลือกอาหาร 12 ชนิดจากระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากอาหาร 12 ชนิดนี้มีความเสี่ยงในการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นสารกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโต และฮอร์โมนต่างๆ
อาหาร 12 ชนิดใน 4 กล่ม ที่ต้องระมัดระวัง คือ
เนื้อสัตว์ (1): เนื่องจากในระบบการเลี้ยงสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไก่ หมู หรือวัว ยังมีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีอื่น ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะตกค้างสะสมอยู่ในเนื้อสัตว์ต่างๆ และเมื่อเราบริโภคเนื้อสัตว์ต่างๆ สารเคมีเหล่านั้นก็จะถ่ายทอดมาถึงผู้บริโภค และสะสมอยู่ในร่างกายของเรา ถึงแม้ว่าปริมาณสารเคมีตกค้างดังกล่าวจะต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดมาตรฐานขององค์กรอาหารและยา แต่เมื่อมีการสะสมในร่างกายของเรามากขึ้น ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
นม (2): ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ ก็จะมีปัญหาในลักษณะเดียวกันกับเนื้อสัตว์ คือมีการใช้สารเคมีต่างๆ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงสัตว์และการแปรรูป ที่สามารถตกค้างในผลิตภัณฑ์นม เนย และชีสด้วย แต่ในกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์นั้น จะไม่ไมีการใช้ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เช่น rGBH or rbST
ผักและผลไม้ ได้แก่ ผักสลัด (3), มันฝรั่ง (4), เซอราลี่ (5), พริกหวาน (6), ลูกพีช (7), สตอเบอร์รี่ (8), องุ่น (9), แอปเปิ้ล (10) และมะเขือเทศ (11) เนื่องจากในระบบการปลูก พีชดังกล่าว จะมีการใช้สารเคมีการเกษตรเฉลี่ยมากกว่า 29 ชนิดเพื่อปกป้องให้ผิวสวย ดูน่ากิน สารเคมีเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในเนื้อของผักและผลไม้ ทำให้การล้างและปอกเปลือกไม่สามารถที่จะชะล้างสารเคมีตกค้างได้ โดยเฉพาะสตอเบอร์รี่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากถึง 89 กิโลกรัม/ไร่ และถ้าเป็นสตอเบอร์รี่ที่ปลูกนอกฤดูก็จะยิ่งมากกว่านี้ ดังนั้น ถ้าหาผักผลไม้ที่เป็นเกษตรอินทรีย์ม่ได้ ผู้บริโภคก็ควรหันมาบริโภคผลไม้ ที่มีการผลิตแบบธรรมชาติ เช่น กล้วยน้ำว้า เป็นต้น
กาแฟ (12): ในกลุ่มประเทศที่ผลิตกาแฟส่วนใหญ่ไม่ได้มีข้อกำหนดในการใช้สารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ดังนั้น กาแฟเองก็มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนสูง แต่ถ้าสามารถเลือกได้ ควรเลือกซื้อกาแฟไม่ใช่เฉพาะที่เป็นเกษตรอินทรีย์ แต่เป็นกาแฟที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพราะกาแฟอินทรีย์-แฟร์เทรด เป็นกาแฟที่ได้จากระบบการผลิตและการแปรรูป ที่ไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังเป็นกาแฟที่ผู้ผลิตได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในระบบการค้าด้วย
อ่านรายละเอียดบทความเต็ม คลิกที่นี่้
ที่มา : www.greennet.or.th

วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Cost of Production of Smallholder


Cost of Production of Smallholder
อเนก กุณาละสิริ สุภาพร บัวแก้ว สมจิตต์ ศิขรินมาศจุมพฏ สุขเกื้อ พัชรินทร์ ศรีวารินทร์ส่วนเศรษฐกิจการยาง สถาบันวิจัยยาง
บทคัดย่อ
การศึกษาต้นทุนการผลิตของสวนยางขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบค่าใช้จ่ายในการผลิตยางแผ่นดิบของเกษตรกร ตั้งแต่เริ่มปลูกสร้างสวนยาง การดูแลรักษา การกรีดยางเก็บน้ำยางและทำแผ่น โดยสร้างแบบจำลองต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของต้นทุนการผลิต จะอยู่ที่ราคาที่ได้รับในแต่ละวัน เป็นหลัก เพราะส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตคือ ค่าจ้างกรีดยาง จะแบ่งผลผลิต โดยคนกรีดยาง จะได้รับร้อยละ 40 ของผลผลิตซึ่งถ้าราคายางมีการเปลี่ยนแปลง ต้นทุนก็จะแปรผันไปตามราคายางแผ่นดิบที่เปลี่ยนไป จากการนำข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของแต่ละภาคการผลิตยางมีการวิเคราะห์ผลที่ได้ คือ ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบเฉลี่ย กิโลกรัมละ 39.12 บาท ณ ระดับราคายางท้องถิ่นเฉลี่ย (ม.ค. 47 – ธ.ค. 47) กิโลกรัมละ 45.46 บาท ผลผลิตตลอดอายุยาง 22 ปี เฉลี่ยไร่ละ 276 กิโลกรัม โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็นต้นทุนก่อนเปิดกรีด (ปีที่ 1-6) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท หรือร้อยละ 18.76 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนการบำรุงรักษาช่วงยางให้ผลผลิต (ปีที่ 7-22 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.72 บาท หรือร้อยละ 14.61 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนการกรีดเก็บน้ำยางและทำแผ่น (ปีที่ 7-22) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.06 บาท หรือร้อยละ 53.84 ของ ต้นทุนทั้งหมด ส่วนค่าอุปกรณ์ทำยางแผ่นดิบ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.23 บาท หรือร้อยละ 5.71 ของต้นทุนทั้งหมด และค่าที่ดินเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.77 บาท หรือร้อยละ 7.08 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าจ้างแรงงานกรีดเก็บน้ำยางและทำแผ่น ซึ่งเป็นต้นทุนที่ผันแปรไปตามสภาวะราคาแผ่นดิบตลาดท้องถิ่น ถ้าเกษตรกรหรีดยางด้วยแรงงานของครอบครัว ก็จะรับรายได้ส่วนนี้ไปด้วย ณ ระดับราคากิโลกรัมละ 45.46 บาท เกษตรกรจะคุ้มทุนในการปลูกสร้างสวนยาง ในปีที่ 13 โดยรายได้จะสูงกว่าค่าใช้จ่าย ซึ่งการคิดต้นทุนต่อกิโลกรัมใช้มูลค่าปัจจุบัน (Net present Value) มาเป็นตัวปรับและใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินช่วงที่ยางยังไม่ให้ผลผลิตปีที่ 1-6 ไร่ละ 16,944 บาท ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาช่วงยางให้ผลผลิตปีที่ 7-22 ไร่ละ 25,675 บาท ค่าใช้จ่ายการกรีดเก็บน้ำยางและทำแผ่น ไร่ละ 93,506 บาท ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ทำยางแผ่นดิบ ไร่ละ 9,846 บาท ค่าใช้จ่ายด้านที่ดิน ไร่ละ 10,076 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายตลอดอายุยางปีที่ 1-22 ไร่ละ 157,047 บาท การคิดต้นทุนเป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายและสามารถคาดการสถานการณ์การผลิต และสามารถการผลิต และสามารถกำหนดปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม ในการแข่งขันด้านการผลิตของประเทศต่อไป


ที่มา : http://www.rubberthai.com/

ค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างสวนยาง





ค่าใช้จ่ายการปลูกสร้างสวนยาง
สวัสดีค่ะ เพิ่งได้ข้อมูลมาใหม่ เพื่อบอกกล่าวผู้ที่จะปลูกสร้างสวนยางในแหล่งปลูกยางใหม่ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1 ไร่ขั้นตอนการปลูก1. ไถเตรียมพื้นที่2. ค่าวางแนวปลูก3. ค่าเจาะหลุมปลูก4. ต้นพันธุ์ยาง5. ค่าขนส่งต้นยาง6. ปุ๋ย Rock phosphate รองก้นหลุม7. ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม + ค่าจ้าง8. ค่าจ้างปลูก9. ค่ากำจัดวัชพืช + ค่าจ้าง10. ค่าไถพื้นที่ระหว่างแถวยาง11. ค่าปุ๋ยบำรุงต้นยาง + ค่าจ้าง12. ค่าฟาง + ค่าจ้าง13. ค่าจ้างทำแนวกันไฟ14. ค่าจ้างตัดแต่งกิ่งรวมค่าใช้จ่าย ปีแรก 3,876 บาท ค่าใช้จ่ายรวม 1-7 ปี 11,398 บาท ข้อมูลจากการปฏิบัติจริง โดยคำนวณจากต้นยาง 76 ต้น/ไร่ (ข้อมูล ปี 2548 )




จากเว็บบอร์ดที่ใหนจำไม่ได้แล้ว

การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดและสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง


การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดและสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง

Tapping Exploitation Physiology Research and Development on Increasing Rubber Productivity
อารักษ์ จันทุมา พิชิต สมพโชค พิสมัย จันทุมา พนัส แพชนะศจีรัตน์ แรมลี นภาวรรณ เลขะวิวัฒน์ รัชนี รัตนวงศ์ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6ศูนย์วิจัยยางสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยประกอบด้วย 4 งานทดลอง งานที่ 1) การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดกับพันธ์ยางในเขตปลูกยางเดิม ผลทดลอง RRIT 226 ตอบสนองกรีดถี่ และสารเร่งน้ำยาง ยืดอายุกรีดยาง BPM 24 กรีด 1/2S 2d/3 ผลผลิต สูงสุ 10.6 กก./ต้น/ปี กรีด 1/4S d/1 สลับหน้าให้ผลผลิตมากกว่า กรีดหน้าเดียว AVROS 2037 และ MT/c/11-9/70 ไม่มีผลกระทบจากกรีด PB260 และ BPM 24 เส้นรอบต้นลดจากไม่กรีด 4.8 และ 6.8 เซนติเมตร งานที่ 2) ระบบกรีดยางกับพันธุ์ยางในเขต ปลูกยางใหม่ ผลทดลอง RRIM 600 กรีด 1/3S วันกรีด 3d/4 และ 2d/3 ให้ผลผลิตสะสมสูงกว่า 1/2S แต่สิ้นเปลืองเปลือกมากกว่า 1/3S d/2 ตั้งแต่ 18-29% การเพิ่มจำนวนวันกรีดในพื้นที่แห้งแล้ว 3d/4 กรีด 141 วัน/ปี 2d/3 กรีด 126 วัน/ปี d/2 กรีด 91 วัน/ปี d/3 กรีด 64 วัน/ปี 1/3S 2d/3 เหมาะสุด 288 กก./ไร่/ปี งานที่ 3) ระบบกรีดที่มีผลกับต้นยางสภาพแวดล้อมต่างๆ การกรีดปรกติและเจาะอัดแก๊สเร่งน้ำยาง 9 ปี กับต้นยางอายุ 20 ปี 6 พันธุ์ การเจาะอัดแก๊สให้ผลผลิตมากกว่า กรีดปรกติ 157-332% ผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อไม้ การเจาะอัดแก๊สไม่ทำให้สมบัติเชิงกลของไม้ยางลดต่ำลงผิดไปกรีดปกติ การเก็บรักษาก๊าซคาร์บอนในสวนยาง RRIM600 อายุ 2-25 ปี มวลชีวภาพ(กก./ต้น)Y=0.0082X2.5623 , R2 = 0.96, X เส้นรอบต้น (ซม.) ที่1.7 เมตร สูงจากพื้นดิน มวลชีวภาพ RRIM 600 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มากกว่า ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มากกว่าภาคตะวันออกและมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์ประกอบชีวเคมีน้ำยางต่อระบบกรีดกับยาง 6 พันธุ์ ใช้สารเร่งน้ำยาง 0, 2, 4, 8, และ 12 ครั้ง/ปี กรีด 1/2S d/3 6d/7 พันธุ์ยาง GT 1 เมทาโบลิซึมปานกลาง น้ำตาลปานกลาง RRIM 600, RRIC 110, PR 261, PR 255, BPM 25 เมทาลิซึมปานกลางน้ำตาลสูงและ PB235 เมทาโบลิซึมสูงน้ำตาลปานกลาง กลาง การกรีดสลับหน้าเร่งเพิ่มการให้ผลผลิตโดยเปิดกรีด 2 หน้าต่างระดับ 0.8 เมตร กรีด ? S d/2 สลับวันกรีด ผลผลิต 3 ปีแรก 3.07, 4.46 และ 5.62 กก./ต้น/ปี ใช้กับ RRIM 600 ที่เริ่มเปิดกรีด 3 ปี แรก ได้ผลผลิตสูงกว่า กรีดปรกติ 27% โดยไม่ใช้สารเร่งน้ำยาง ปีที่4-5 ผลผลิต สูงกว่ากรีดปรกติ 15% งานที่ 4) ทำแผนที่อาหารสะสมในต้นยาง วัดการกระจาย แป้งน้ำตาลตามระดับความสูงจากโคนถึง 3 เมตร สูงจากพื้น ตามฤดูกาล ใบร่วง ผลิใบ ฤดูร้อนและฤดูฝน ต้นยางไม่กรีด, กรีดปรกติ, กรีด+ET. ผลทดลองฤดูใบร่วงแป้งน้ำตาลมาก 60-80 มิลลิกรัมน้ำตาล กลูโคส ต่อ กรัมตัวอย่างแห้ง ฤดูผลิใบมีน้ำตาล 20-60 และผลการกรีดมีแป้งมากที่รากแก้ว
ที่มา : www.rubberthai.com

เกษตรฯดันกองทุนพืชพลังงาน สร้างความมั่นใจขยายพื้นที่ปลูก

เกษตรฯดันกองทุนพืชพลังงาน สร้างความมั่นใจขยายพื้นที่ปลูก
เกษตรฯเล็งตั้งกองทุนพืชพลังงานทดแทน เร่งร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริม เดินตาม พ.ร.บ.ยางพารา เรียกเก็บค่าธรรมเนียมก่อนจ่ายเงินสงเคราะห์ไร่ละ 9,000 บาท สร้างความมั่นใจเกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเกษตรกรนิยมหันมาปลูกพืชพลังงานทดแทนมากขึ้น ทั้งปาล์มน้ำมัน อ้อย มันสำปะหลัง และ ข้าวโพด กระทรวงเกษตรฯ จึงเห็นว่าพืชเหล่านี้ควรได้รับการคุ้มครองและส่งเสริม ดังนั้นจึงได้มอบให้นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ ไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมพืชพลังงาน และผลักดันให้มีผลทางปฏิบัติโดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว จะยึดหลักการ พ.ร.บ.ยางพารา เป็นต้นแบบและแนวทาง โดยเฉพาะการสงเคราะห์ปลูกยางอัตราไร่ละ 9,000 บาท ซึ่งใช้เงินจากค่าธรรมเนียมพิเศษ หรือเงินเซส ซึ่งพืชพลังงานแม้ว่าผลผลิตส่วนใหญ่จะใช้อยู่ภายในประเทศ แต่ก็ควรเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษในอัตราที่เหมาะสม โดยมีความเป็นไปได้ที่ในอนาคตพืชพลังงานของไทยจะเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ
“หากพืชเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนเต็มที่ มีกฎหมายคุ้มครองชัดเจน จะทำให้เกษตรกรมีความมั่นใจที่จะขยายพื้นที่ปลูกและพัฒนาประสิทธิภาพมากขึ้น โดย พ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรกรณีราคาสินค้าตกต่ำด้วย“ นายสมศักดิ์ กล่าว
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า การคุ้มครองและส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานทดแทน ขณะนี้มีสองแนวทาง คือ 1.ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ยาง ให้คุ้มครองและส่งเสริมการปลูกพืชพลังงานด้วย และ 2. ร่าง พ.ร.บ. ขึ้นใหม่ ส่วนการปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ยางพารานั้น กระทรวงเกษตรฯ เห็นว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน มีพื้นที่ทับซ้อนอยู่ ประกอบกับการโค่นยางเก่าเพื่อปลูกปาล์ม กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจะจ่ายเงินสงเคราะห์ในอัตราไร่ละ 9,000 บาท แต่กรณีที่โค่นปาล์มใหม่อีกจะไม่ได้รับเงินสงเคราะห์นี้ ทำให้ชาวสวนปาล์มเรียกร้องให้ กระทรวงเกษตรฯ ตั้งกองทุนปลูกปาล์มขึ้นมา
"ส่วนการร่าง พ.ร.บ.ขึ้นใหม่ ต้องนำ พ.ร.บ.ฉบับอื่นและกองทุนที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณาร่วมด้วย โดยเฉพาะกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ส่วนพืชอื่นๆ ยังไม่มีกองทุนสนับสนุนที่ชัดเจน จึงไม่น่ามีปัญหา และกรณีที่ทุกฝ่ายเห็นชอบให้จัดตั้งกองทุนพืชพลังงานขึ้นมา คาดว่าจะเสนอให้ใช้งบจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาเป็นทุนประเดิม" นายอภิชาต กล่าว

จาก.. หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันที่ 4 กรกฎาคม 2551

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปุ๋ยสั่งตัดพูดกันในที่ประชุมสรุปผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นะ อย่าทำเป็นงง

วันนี้ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ ได้มีโอกาสเข้าอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ สกย. จัดขึ้นที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น ได้รับฟังบรรยายจากอาจารย์นุชนารถ กังพิสดาร จากสถาบันวิจัยยาง และ ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ จากมูลนิธิพลังเวศและชุมชน ฟังๆ ดูคน สกย.
ยังงงงวยกับนิยามคำว่า "ปุ๋ยสั่งตัด" เสียเหลือเกินกลับมาจากอบรมเลยนั่ง เสริชกูเกิลดูปรากฎว่าพูดกันหนาหูในที่ประชุมผู้บริหารระดัยสูงของกระทรวงเกษตรฯ
เพื่อไม่ต้องงงอีกต่อไปโปรดติดตามบัดเดี๋ยวนี้

สรุปผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันพุธที่ 4 มิถุนายน 2551 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชั้น 3
-----------------------------------------------
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

เรื่อง
ข้อสรุป
1. ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
รมว. กษ. แจ้งว่า ปัจจุบันภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพการเกษตรและกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งนโยบาย กษ. เกษตรเพื่อประชาชน การเพิ่มรายได้โดยการเพิ่มผลผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการลดรายจ่ายโดยการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน โครงการปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น กสก. ควรให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทราบ

- รับทราบ
- มอบ กสก. ดำเนินการ
1.2 พืชพลังงาน
รมช. ธีระชัย แจ้งว่า ครม.ได้เห็นชอบให้ใช้ E 85 และมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนร่วมกัน สำหรับในส่วนของ กษ. ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการ โดยได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเห็นว่าผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังมีเพียงพอสำหรับการผลิตเอธานอล
- รับทราบ
1.3 ปุ๋ยปลอมและปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
รมช. ธีระชัย แจ้งผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ตรวจสอบตัวอย่างปุ๋ยจากโรงงานจำนวน 52 ตัวอย่างปรากฏว่า พบปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐานจำนวน 48 ตัวอย่างและยังพบการขายปุ๋ยเกินราคา แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเป็นเรื่องซับซ้อน เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ จึงเสนอข่าวในการป้องปราม
รมว. กษ. ขอให้ วก.และ กสก. ช่วยติดตาม ดูแลเกี่ยวกับการซื้อ ขายปุ๋ย สารเคมีต่าง ๆ ของเกษตรกรและร้านค้า เนื่องจากปัจจุบันปุ๋ยมีราคาสูงมาก ขอให้ทำการปราบปรามอย่างจริงจังเพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ
- รับทราบ
- มอบ วก. และ กสก. ดำเนินการ
1.4 การแสดงความเห็นในการปกป้องอาชีพของเกษตรกร
รมว. กษ. ชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการนำชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกข้าวในประเทศไทยนั้น ในฐานะ รมว. กษ. ต้องการปกป้องคนที่ประกอบอาชีพการเกษตร คุ้มครองพื้นที่ คุ้มครองอาชีพของเกษตรกร เพราะการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทำนาในประเทศจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนาไทย เพราะอาชีพการเกษตรถือเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของประเทศ
นักวิชาการโดยเฉพาะ อ.ระพี สาคริก อ.ประเวศ วสีและภาคประชาชนหลายภาคส่วนได้มีข้อคิดเห็นว่า ควรจะรื้อฟื้นประเพณีการทำพิธีงานรับขวัญแม่โภสพ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงคุณค่าของข้าวและชาวนา ซึ่งได้มอบให้ ที่ปรึกษาฯ ประพัฒน์ หารือกับ อ.ระพี และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดรูปแบบ วันและ เวลาที่เหมาะสม
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาบุกรุกการทำนาในประเทศหลายพื้นที่ และจากการที่ รมว. กษ. มีดำริให้ปกป้องเกษตรกร จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลในระดับพื้นที่
- รับทราบ






- มอบ ทปษ.ฯ ประพัฒน์ ดำเนินการพิธีรับขวัญแม่โภสพ


- ให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอและเกษตรตำบล ติดตามและรายงานข้อมูล

2. สรุปผลการประชุม เมื่อวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2551
- รับรองสรุปผลการประชุม
3. เรื่องสืบเนื่อง
3.1 สถานการณ์ศัตรูพืชระบาด
กสก. รายงานสถานการณ์หอยเชอรี่ระบาด เมื่อกลางเดือน พฤษภาคม 2551 ที่ จ.กำแพงเพชรซึ่งทำความเสียหายเล็กน้อยและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรกำจัดหอยเชอรี่โดยวิธีกล เพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์และทำปุ๋ยชีวภาพ

ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ควรขยายผลให้มากขึ้น และประกาศเป็นแนวทางในการกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะการทำน้ำหมักชีวภาพ
พด. แจ้งว่า ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บหอยเชอรี่มาทำน้ำหมักเพื่อทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งได้ผลค่อนข้างสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่าควรมีผู้รับผิดชอบ จัดทำเป็น Agenda ว่าด้วยเรื่องการป้องกันศัตรูพืชเป็นรายปี
รมว. กษ. เห็นว่า โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ในช่วงเกิดศัตรูพืช โดย เกษตรตำบล น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือได้

-รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.2 โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่และโครงการจัดตั้งนิคมการเกษตร
สปก. รายงานความก้าวหน้าโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ขณะนี้ได้จัดทำ Action Plan เรียบร้อยแล้วทุกจังหวัด โดยจะเปิดโครงการนำร่องครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน2551 ณ จังหวัดชลบุรี สำหรับในปี 2552 ได้รับงบประมาณจำนวน 107.51 ล้านบาทและได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบรองอธิบดีเพื่อติดตาม กำกับ ดูแลและสนับสนุนการทำงานในระดับจังหวัดพร้อมทั้งได้เสนอแผนให้ผู้ตรวจฯ กษ.เพื่อนำไปจัดทำแผนในการตรวจราชการต่อไป
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเป็นนโยบายหลัก ต้องรีบดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ กษ. ได้ดำเนินการก้าวหน้าไปมากแล้วและจะต้องแสดงผลงานให้เห็นถึงความสำคัญ เพื่อของบกลางมาสนับสนุนเพิ่มเติม
- รับทราบ
- มอบ สปก. ดำเนินการและรายงานความคืบหน้า
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นการสร้างอนาคตของชาติ เกษตรกรรุ่นใหม่ควรรับช่วงการทำนาจากพ่อแม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันช่วงปิดเทอมไม่ตรงกับฤดูทำนา จึงเห็นควรหารือกระทรวงศึกษาธิการถึงความเป็นไปได้ในการที่จะปรับระบบการศึกษาให้ปิดเทอมนักเรียนระดับประถมให้สอดคล้องกับฤดูการผลิต
รมว. กษ. กล่าวว่าเนื่องจากโครงการนี้เป็นการสร้างอนาคตทางการเกษตรให้กับคนรุ่นใหม่และเป็นนโยบายสำคัญ ซึ่งทุกหน่วยงานได้ให้ความร่วมมือ เพื่อจะผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรม หลังจากที่โครงการได้ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างความรู้ การแก้ไขปัญหาในเรื่องครบวงจรและเฉพาะทาง ซึ่งจะได้จัดทำรายงานเสนอ ครม. เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนต่อไป
สปก. รายงานผลการดำเนินงานนิคมการเกษตร พื้นที่นำร่องนิคมการเกษตรประกอบด้วย สปก. 10 แห่ง กสส. 4 แห่ง ชป. 1 แห่ง ซึ่งจะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหารูปแบบการบริหารจัดการรายนิคมและองค์ประกอบการดำเนินงานในขนาดที่เหมาะสม ในวันที่ 5 มิถุนายน 2551 และกำหนดเปิดโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ณ นิคมการเกษตร จ. นครราชสีมา
รมว. กษ. กล่าวว่า นิคมการเกษตรคือการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร จัดเป็น Zoning พื้นที่ใดปลูกพืชชนิดใดจะได้ทราบผลผลิตได้ชัดเจน สามารถควบคุมความเสียหายได้ง่าย และให้ พด.ดูแลพื้นที่นาร้างและที่ปรับปรุงแล้ว ถ้ามีความพร้อมอาจประกาศเป็นพื้นที่นิคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการโดยสามารถประสานกับคณะทำงาน รมว. กษ.ได้คือคุณทองแท่ง คุณประภาศรี และคุณสมชาย

3.3 การติดตามความก้าวหน้านโยบายการเกษตรเพื่อความมั่นคง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สป. กษ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2551 ดังนี้ 1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผลงานร้อยละ 26.91 2. การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรฯ ยางพารา (ปรับปรุงสวนยางเดิมและเพิ่มพื้นที่ใหม่ ผลงานร้อยละ 93 และ 36 ตามลำดับ) ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มพื้นที่ใหม่และก่อสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ผลงานร้อยละ 69 และ 78 ตามลำดับ) ลองกอง ผลงานร้อยละ 34.19 ข้าว อยู่ระหว่างดำเนินการ ด้านปศุสัตว์ (ติดตามดูแลแม่โคเนื้อและผสมเทียมผลงานร้อยละ 90 และ 16 ตามลำดับ) แพะ ผลงานร้อยละ 100 และด้านประมง (ผลิตพันธุ์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงโรงเรียนผลงานร้อยละ 59.1 , 22.02 และ 15.5 ตามลำดับ) 3. การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรฯ ( ด้านดินและน้ำ ผลงานร้อยละ 53 และ 36 ตามลำดับ ปะการังเทียมอยู่ระหว่างดำเนินการ) 4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรฯ (พัฒนาเกษตรอาสาผลงานร้อยละ77) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 34.06
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่า ตามข้อกำหนดของรัฐบาลจะต้องสรุปผลการดำเนินงานเสนอ ครม. ทุกเดือนในรูปแบบของข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรคและประเด็นที่ต้องเร่งรัด
รองปลัดฯ ยุคล ให้ข้อคิดเห็นว่า ผลการใช้จ่ายเป็นเงินงบประมาณ ฝ่ายเลขาฯ ควรประสานในพื้นที่ว่ามีงบประมาณที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกันเงินไว้แล้วจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
รองปลัดฯ ฉกรรจ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรรายงานเพิ่มเติมว่านอกจากแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงแล้ว กษ.สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ลดรายจ่ายและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อใช้ในการของบประมาณต่อไป
รมว. กษ. เห็นว่าเรื่องความมั่นคงเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ กษ.ได้รับมอบหมาย ควรเร่งรัดการดำเนินงานและรายงานให้ชัดเจนให้ครอบคลุมตามข้อสังเกตพร้อมทั้งบอกข้อจำกัด เพื่อ ครม. จะได้หาทางแก้ไข
- รับทราบและมอบฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.4 ปราชญ์ชาวบ้าน
รมว. กษ. ให้ข้อสังเกตว่า เรื่องปราชญ์เกษตรเป็นหน้าที่ของ กษ.ที่จะต้องทำนุและบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคลทางด้านการเกษตรซึ่งมีคุณค่าไม่ต่างจากศิลปินแห่งชาติ เพราะถือว่าได้ทำประโยชน์และสร้างคุณูปการให้กับภาคเกษตรมาก เรียกว่าเป็นโครงการปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จึงควรกำหนดคุณสมบัติ ทำการคัดเลือกบุคคลที่สมควรจะได้รับเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ยกย่อง เชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ โดยจัดหาสวัสดิการบางส่วนให้ อาทิ บัตรพิเศษในการเดินทางของปราชญ์ เป็นสิ่งที่ กษ. ควรสืบทอดและรักษาสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินไว้
ให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมอบ สปก.เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- รับทราบและมอบ สปก. ดำเนินการ

4. เรื่องเพื่อทราบ
4.1 สถานการณ์น้ำ
ชป. รายงานการคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงเดือนมิถุนายนของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า การที่เกิดฝนตกในประเทศไทยในช่วงนี้เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านจากทะเลอันดามันผ่านประเทศไทยและ อ่าวไทย โดยครึ่งเดือนแรกมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง และในครึ่งเดือนหลังจะอ่อนกำลังลง ทำให้ครึ่งเดือนแรกเกิดฝนตกมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นจะมีฝนตกลดน้อยลง สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในอ่างทั้งหมดรวม 43,413 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างทั้งหมด โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 มี 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสัก เขื่อนแม่กวง เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนบางพระ และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 มี 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนบางลาง และเขื่อนประแสร์ และสถานการณ์น้ำท่าในลำน้ำสายหลักอยู่ในสภาพปกติ
รมว.กษ. ขอให้มีการระบายน้ำเป็นระยะๆ กรณีมีปริมาณน้ำอยู่ในระดับสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรมีการรายงานการวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
4.2 โครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง
กป. รายงานมติ ค.ร.ม. 27 พ.ค. 2551 ซึ่งเป็นการทบทวน มติ ค.ร.ม. 14 มี.ค. 2549 ที่ให้การช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่ง โดยลดราคาจำหน่ายน้ำมันลิตรละ 2 บาท แต่จะต้องไปเติมน้ำมันที่ห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 5 ไมล์ทะเล ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปใช้บริการได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องคลื่นลมและค่าใช้จ่ายในการออกไปใช้บริการ จึงขอปรับปรุงให้สามารถจำหน่ายน้ำมันบริเวณใกล้ฝั่ง หรือสถานีที่องค์การสะพานปลากำกับดูแลบนฝั่ง ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน โดยจำหน่ายน้ำมันเดือนละ 15 ล้านลิตร ปัจจุบันมีสถานีเข้าร่วมโครงการ 28 สถานี และจะเริ่มจำหน่ายน้ำมันอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มิถุนายน 2551
รมว.กษ. แจ้งว่า สส. ฝ่ายค้านจังหวัดชายทะเล 23 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดสมุทรปราการได้เข้าพบ รมว.กษ. และขอให้หาทางช่วยเหลือ ชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือในขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันอยู่ในระดับลิตรละ 29 บาท แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันขึ้นมากแล้วคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยชาวประมงอีกทางหนึ่ง คือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สทดแทนการใช้น้ำมัน โดยใช้เงินส่วนหนึ่งจากโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร วงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งมี กสส. เป็นเจ้าภาพ และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาในอาทิตย์หน้า
กสส. เสนอขอให้มีการนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอีกรอบหนึ่งก่อนเข้า ค.ร.ม. เนื่องจากเดิมวัตถุประสงค์โครงการฯ เป็นการเสนอให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต และเสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งว่า หากเป็นสหกรณ์ประมงที่มีศักยภาพยังสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางหนึ่ง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่านอกจาก สส. ฝ่ายค้านได้ติดตามการให้ความช่วยเหลือชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวประมง จึงขอให้จัดเตรียมแผนหรือจัดทำกรอบแนวทางช่วยเหลือให้ชัดเจน เพราะคาดว่า สส. ฝ่ายค้านจะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงเสนอให้ กป. เป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลชาวประมง โดยอาจมีการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมาจัดการเรื่องนี้โดยตรง เพราะที่ผ่านมามีหน่วยงานที่มาดำเนินการในเรื่องนี้หลายหน่วยงาน ทำให้การให้ความช่วยเหลือชาวประมงเกิดความล่าช้าและไม่ชัดเจน
รองปลัดฯ ยุคล ชี้แจงว่าเรื่องปัญหาหนี้สินชาวประมง ได้ให้ กป. ประสานกับสมาคมชาวประมงเพื่อแจ้งข้อมูลหนี้แต่ละราย เพื่อจะได้นำมาพิจารณา ในรายละเอียด
กป. รายงานว่าได้เตรียมการเบื้องต้นแล้ว โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง ซึ่งกรรมการฯ ชุดนี้สามารถแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อศึกษาในรายละเอียดแต่ละเรื่องได้ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเสี่ยงภัยหรือแรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะรวมกลุ่มเกษตรกรชาวประมงที่มีจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถขอกู้เงินจาก กสส. ได้

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปพิจารณา
4.3 โครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
กสส. ได้รายงานว่า สืบเนื่องจาก ธ.ก.ส. ได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม. เมื่อ 1 เม.ย.2551 ให้ดำเนินโครงการพักหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งในส่วน กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่มีวงเงินหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกร้อยละ 3 เป็นเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการในลักษณะเงินอุดหนุนเพื่อตั้งเป็นกองทุน เฉลี่ยรายละ 3,000 บาท โดยให้มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้รวบรวมเสนอเป็นโครงการขึ้นมาตามความต้องการของสมาชิก และเนื่องจากในปีงบประมาณ 2552 กสส. ได้รับงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี จำนวน 865 ล้านบาท และไม่ได้รับงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพ ดังนั้น กสส. จึงได้ขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณในปี 2551 มาใช้ จำนวน 19 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอ ค.ร.ม. และจะมีการจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูอาชีพสำหรับเสนอของบประมาณในปีต่อไป
- รับทราบ
4.4 แผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
พด. ได้รายงานผลการประชุมสัมมนา เรื่องแผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อ 18 พ.ค. 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เกษตรกร กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย และผู้ประกอบการ จำนวน 1,235 ราย ซึ่งผลการสัมมนาสรุปได้ 4 ประเด็น คือ การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพชุมชน ให้แก้ไข พรบ. ปุ๋ย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 และให้หน่วยงานภาครัฐศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในไทย ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะนำเสนอ ค.ร.ม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันมีโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชุมชนจำนวนมากที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงขอให้ พด. และผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเข้าไปแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และให้เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนในระยะต่อไป ควรมีการให้ความรู้และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยแก่องค์กรที่จะดำเนินการสร้างให้มากขึ้น เพื่อเป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะงบประมาณส่วนท้องถิ่น จึงขอให้ พด. ประสานกับ อบต. เพื่อเข้ามาดูแลการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้การบูรณาการกับ ปศ. เพื่อนำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ที่ปรึกษาฯ บัวสอน ให้ข้อสังเกตว่า กรณีการให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. อาจเป็นช่องทางเปิดโอกาสให้มีการผลิตปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้คุณภาพมากขึ้น จึงควรมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ชัดเจน
สศก. ได้รายงานความคืบหน้าในการศึกษาถึงความจำเป็นในการสร้างโรงงานปุ๋ยเคมีว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าพอสมควร และยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามกรอบระยะเวลา
พด. รายงานว่า ได้มีการจัดทำร่างแผนแม่บทการขับเคลื่อนการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเฉพาะเรื่องข้าว ขณะนี้ยกร่างเรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงปุ๋ยที่มีปัญหาไม่ว่าจะใช้งบจากแหล่งใด พด. จะเข้าไปดูแล ซึ่งได้มอบให้สถานีพัฒนาที่ดินรายงานการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ซึ่งผลการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งโรงปุ๋ยฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จำนวน 40 กว่าแห่ง ขณะนี้ได้แก้ไขให้สามารถ ขับเคลื่อนได้แล้วบางส่วน สำหรับโรงปุ๋ยฯ ที่มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ คาดว่าประมาณ 3 เดือน สามารถแก้ไขให้ดำเนินการได้
วก. รายงานว่า ตามข้อเสนอของที่ประชุมสัมมนาให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยภายในชุมชนไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. ซึ่ง ตามกฎหมายนั้น ถ้าเป็นการผลิตใช้เองไม่ต้องขออนุญาตจาก วก. แต่หากเป็นการผลิตแล้วมีเหลือสำหรับจำหน่าย จะต้องนำเสนอคณะกรรมการดินและปุ๋ยพิจารณา
กสก. รายงานว่า กสก. ได้ทำการวิจัยทดสอบร่วมกับ มก. พบว่าองค์ประกอบของการลดต้นทุนการผลิตหากดำเนินงาน 4 เรื่อง จะสามารถ ลดต้นทุนการผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 500 บาท คือ การใช้พันธุ์ดี การบริหารจัดการศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การไถกลบตอซัง และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งจากการประชุมร่วมกับ พด. วก. และ กข. สรุปแนวทางดำเนินเป็น 2 ระดับ คือ
1. การใช้ฐานโปรแกรมชุดดินไทยของ พด. เป็นหลักในการเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกร
2. กสก. ได้จัดทำคู่มือเรื่องปุ๋ยสั่งตัด โดยให้ พด. และ กสก. จัดอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 504 ราย ใน 56 จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรไปทำแปลงตัวอย่าง และขยายแนวร่วมรายละ 50 คน
สปก. รายงานว่าได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว ใน 5 จังหวัด เขตพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ 2 แสนไร่ โดยสนับสนุนเครื่องมือตรวจสอบให้กับวิสาหกิจชุมชน และได้ขยายแนวคิดเรื่องนี้ไปสู่วิสาหกิจชุมชนพื้นที่ สปก. 1 ล้านไร่ ใน 18 จังหวัด มีการใช้เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ดินโดยละเอียดร่วมกับ พด. โดยวัดเป็นระวาง และมีการสุ่มตัวอย่างดินอย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในฤดูเพาะปลูกนี้ นอกจากนี้ สปก. ร่วมกับ พด. และ กสก. ให้มีการส่งข้อมูลเรื่องการใช้ปุ๋ยไป ยังมือถือของเกษตรกรในระบบ SMS โดยจะนำร่องในเกษตรกร 2,000 คน
ที่ปรึกษาฯ นิกร เสนอว่า ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนใน 2 ระดับ คือ ในเชิงนโยบาย ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ กษ. ต้องทำอย่างเร่งด่วนในลักษณะการรณรงค์ ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการในเชิงพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินการอยู่แล้ว สำหรับเรื่องโรงปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ วก. นั้น ได้มีข้อตกลงที่ชัดเจนแล้วว่าหากมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายต้องยืนค่ามาตรฐานของ วก. หากมีการใช้ในกลุ่มเกษตรกรก็สามารถใช้ตามค่ามาตรฐานของ พด. ได้
รมว. กษ. เสนอให้ พด. แถลงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะๆและขอให้หน่วยงาน กษ. ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์เรื่องปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นโครงการที่ชี้ให้เห็นถึงจุดคุ้มทุนในการผลิต ซึ่งจะมีส่วนทำให้เกษตรกรปรับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี และถ้าหากจัดในภูมิภาคต่างๆ ก็จะทำให้เกษตรกรกรได้รับประโยชน์รวดเร็ว และกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนขอให้ พด. และ วก. พิจารณามีแนวทางการแก้ไข พรบ. ปุ๋ย เพื่อให้สามารถให้การคุ้มครองเกษตรกรได้ กรณีมีการค้าขายปุ๋ยกำไรเกินควร โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี โดยให้ กษ. สามารถมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ สำหรับข้อเสนอเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำเสนอ ค.ร.ม. ขอให้ พด. นำมาหารือ รมว.กษ. เพื่อปรับปรุงความชัดเจนในบางประเด็น
- รับทราบและรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการ
4.5 โครงการเพิ่มปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
กข. รายงานการจัดทำโครงการฯ เนื่องจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว รมว.กษ.ได้มีนโยบายให้ กข. ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มจากเดิมที่เคยผลิตได้ ปีละ 70,000 ตัน เป็น 100,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 30,000 ตัน) ระยะเวลา 5 ปี รวม 500,000 ตัน แต่เนื่องจาก กข. มีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณจึงขอกู้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อสมทบกับงบประมาณ กข. 42.50 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช 955.50 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,398 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกษตรกร มีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเพื่อปลูกในพื้นที่ 6.7 ล้านไร่ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรไร่ละ 300 บาท
รมว.กษ. มีข้อสังเกตว่า ให้ กข. แนะนำเกษตรกรที่นำพันธุ์ข้าวไปปลูกให้เข้าใจเกี่ยวกับอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ที่เหมาะสม และให้เตรียมข้อมูลชี้แจง ครม. ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 10 มิย. 2551 โดยเฉพาะเกี่ยวกับการขอตั้งงบประมาณใช้คืนกองทุนฯ ให้หารือกับสำนักงบประมาณ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ

4.6 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร
กสส. รายงานความก้าวหน้าผลการจัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ได้มีมติเมื่อ 21 พค. 2551 เห็นชอบโครงการและให้นำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติจัดสรรเงิน กองทุนฯ ให้ กสส. วงเงิน 1,000 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ยและเงินจ่ายขาด 12 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร รวม 3,400 แห่งทั่วประเทศ กำหนดชำระคืนภายในระยะเวลา 5 ปี
สถาบันเกษตรกรต้องจัดทำแผนความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ส่งให้กรมพิจารณา เงินกู้ยืมระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยมีเงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยดังนี้
- ชำระคืนภายในระยะเวลา 12 เดือน ถือว่าชำระเงินสด ไม่คิดดอกเบี้ย
- ชำระคืนเกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี
- รับทราบ

4.7 รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน
ชป. รายงานผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่ 27 พค. 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนการลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ประกอบด้วย แผนปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และแผนบรรเทาอุทกภัย ระยะเวลา 12 ปี (ปี 2552-2563) วงเงินทั้งสิ้น 322,703 ล้านบาท โดยมอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการดังนี้
1. มอบให้ ทส. กษ. และ มท. ดำเนินการตามแผนการฟื้นฟู แหล่งน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน แผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลาง แผนบรรเทาอุทกภัย โดยมีกรอบวงเงินลงทุนในปี 2552-2554 จำนวน 73,885 ล้านบาท
2. มอบให้ กษ. ดำเนินการตามแผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและดำเนินการครบถ้วนตามกฎระเบียบแล้ว จำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี- พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี 2) โครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ไปยังแหล่งเก็บกักน้ำ จ.ระยอง 3) โครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกไปอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี 4) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี ระยะที่ 2 วงเงิน 18,717 ล้านบาท โดยให้เสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติเปิดโครงการเป็นรายโครงการต่อไป
3. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในลุ่มแม่น้ำยม โครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านรองนายกฯ สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนให้เกิดเป็นรูปธรรม
4. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการลงทุน โดยมี รมว.กค. เป็นประธาน พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนและวิธีการระดมทุนที่เหมาะสมต่อไป
5. มอบหมายให้ กษ. และ ทส. เตรียมความพร้อม 16 โครงการ ในการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว โดยให้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการต่างๆ
เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการผันน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนของประเทศ โดยมีรองนายกฯ สหัส บัณฑิตกุล เป็นประธาน
- รับทราบ

4.8 โครงการทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีแก่บุตรหลานเกษตรกรภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง สวก.และธกส.
สวก.รายงานผลการดำเนินงานโครงการซึ่งคณะกรรมการบริหารสำนักงานการวิจัยการเกษตรได้ให้ความเห็นชอบโครงการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2551 ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการจะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบใหม่ที่เหมาะสมมาพัฒนาใช้กับเกษตรกรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมให้เป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.) ได้ทำบันทึกความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยระดับชุมชนกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อจัดทำโครงการร่วมกัน โดยสนับสนุนทุนการศึกษาสาขาการบริหารจัดการน้ำ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการบริหารธุรกิจการเกษตร ให้กับบุตรหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 27 ทุน/ทุนละ 240,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี (2552 – 2554) วงเงินสนับสนุน 6.48 ล้านบาท (สวก. 3.24 ล้านบาท ธกส. 3.24 ล้านบาท)

ทปษ. นิกร และรองฯ ฉกรรจ์ ให้ข้องสังเกตว่ากลุ่มบุคคลเป้าหมายไม่ควรจำกัดเฉพาะลูกหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปปฏิบัติ

4.9 รายงานผลการดำเนินงานเรื่องพืชพลังงานทดแทน
สศก. รายงานความก้าวหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องพืชพลังงาน จำนวน 2 คณะ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ตามข้อสังเกตของ ทปษ.นิกร เกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ซึ่งให้มีเกษตรกรร่วมองค์คณะ ด้วย และให้เป็นอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ
วก. รายงานสถานการณ์การผลิตพืชพลังงานทดแทนดังนี้
1) อ้อยมีพื้นที่เพาะปลูก 6.4 ล้านไร่ ผลผลิต 69.9ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 10.9 ตัน เป็นผลผลิตน้ำตาล 7.2 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันจะใช้เฉพาะกากน้ำตาลมาผลิตเอทานอล ซึ่งนโยบายจะไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยแต่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 10.9 ตันเป็น 11.9 ตัน
2) มันสำปะหลังมีพื้นที่เพาะปลูก 7.42 ล้านไร่ ผลผลิต 27.40 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย3.7 ตัน สำหรับปริมาณการใช้ขณะนี้ใช้ภายในประเทศ (ผลิตมันเส้น แป้งมัน และเอทานอล) และส่งออก ความต้องการ 27.66 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่และผลผลิตมีเพียงพอ สำหรับอนาคตภายใน 5 ปี คาดว่าผลผลิตเพียงพอจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร
ปัจจุบันโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ที่เปิดดำเนินการแล้วมี 1 โรง ได้รับอนุญาตแล้ว พร้อมจะผลิต จำนวน 32 โรง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 11 โรง ในส่วนของอ้อยและกากน้ำตาลมีโรงงานที่ดำเนินการผลิตแล้ว 9 โรง
รมช.ธีระชัย ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องภาคเกษตรโรงน้ำมัน และตัวแทนผู้บริโภคมาร่วมหารือ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ผลิตภาคเกษตรสามารถผลิตวัตถุดิบได้อย่างเพียงพอ โดยได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนการผลิตวัตถุดิบและเอทานอล พร้อมทั้งแผนการส่งเสริมการใช้เอทานอล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอ ค.ร.ม.
3) ปาล์มน้ำมัน ปี 2551 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 2.9 ล้านไร่ ผลผลิตปาล์มสด 7.87 ตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2.72 ตัน ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 1.38 ล้านตัน ใช้ในประเทศ 9 แสนตัน ส่งออก 1.3 แสนตัน และผลิตไบโอดีเซลประมาณ 3.5 แสนตัน ขณะนี้มีโครงการที่จะส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นโครงการของธกส. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
ทปษ.ฯ นิกร แจ้งว่า รมว.กษ. ได้มอบหมายให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ซึ่งสืบเนื่องมาจากคณะทูตได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และท่านฑูตวสินจากกรุงโซลขอพระราชทานวินิจฉัยว่าปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตด้านพลังงานทำให้หลายประเทศมีการนำพื้นที่มาปลูกพืชผลิตพลังงานทดแทนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีแนวพระราชดำริ ต้องการให้ทุกฝ่ายพิจารณา ให้รอบครอบในการที่จะกำหนด จัดสรรพื้นที่ เพื่อปลูกพืชต่างๆ โดยให้มีความสมดุล ซึ่ง ถ้าหากอะไรมากเกินไปก็จะเหลือเฟือทำให้เกิดความเดือดร้อน
รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ กษ. จัดนิคมการเกษตรและจัดโซนนิ่งอยู่แล้ว เพราะเป็นการพิจารณาสภาพความเหมาะสมของลักษณะภูมิศาสตร์ควบคู่ด้วย
ปลัด กษ. แจ้งว่าเกี่ยวกับพืชพลังงาน จากการไปประชุม UN-Convention เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศเยอรมันได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าประเด็นการใช้พื้นที่ปลูกพืชพลังงาน ขณะนี้เป็นประเด็นที่หยิบยกมาเป็นเรื่องสำคัญของทั่วโลกและปรากฏว่ามีผู้ที่พยายามจะตำหนิเกี่ยวกับการนำพื้นที่ปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงาน ซึ่งประเทศกลุ่มโอเปคเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องดังกล่าว และไม่อยากให้มีการนำสิ่งอื่นมาทดแทนน้ำมัน รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่า กษ. ควรดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงต่อไป
- รับทราบ และดำเนินการตามแนวทางของกษ.

4.10 รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
สศก.รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ กษ.ปี2551 จากระบบ
GFMIS ณ 31 พ.ค. 2551 ดังนี้
1) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดได้รับงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงรวม 67,209 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 34,331 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.1 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (ปีก่อนร้อยละ 44.6) แยกเป็น
(1) ส่วนราชการ ได้รับ 64,772 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 32,884 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ของงบส่วนราชการ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 60.2 ของรายจ่ายประจำ (ปีก่อนร้อยละ 52.2) และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 41.0 ของรายจ่ายลงทุน (ปีก่อนร้อยละ 35.6)
(2) รัฐวิสาหกิจ ได้รับ 2,436 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 1,448 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.4 ของงบรัฐวิสาหกิจ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 59.1 ของรายจ่ายประจำ และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 78.26 ของรายจ่ายลงทุน
2) เงินกันเหลื่อมปี 10,706 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 5,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.6
3) งบประมาณปี 2551 คงเหลือ ณ 31 พ.ค. 2551 จำนวน 32,877 ล้านบาทเงินกันเหลื่อมปี คงเหลือ 4,856 ล้านบาท รวมงบประมาณคงเหลือทั้งสิ้น 37,734 ล้านบาท
รมว.กษ. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 เนื่องจากใกล้สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 และจากประสบการณ์ในสภา การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะนำผลการใช้จ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันมาประกอบในการพิจารณางบประมาณปี 2552 ขอให้แต่ละหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามปฏิทินงบประมาณและให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ
- รับทราบ และให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
4.11 มติคณะรัฐมนตรีที่เสนอโดย กษ.
สศก. รายงานมติคณะรัฐมนตรีที่ กษ. ได้นำเสนอ นับตั้งแต่ รมว.กษ. เข้ามาบริหาร กษ. ถึง 3 มิ.ย. 2551 ได้ผลักดันงานสำคัญตามกรอบนโยบาย โดยได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 19 เรื่อง
- รับทราบ
5. เรื่องอื่น ๆ
5.1 การเตรียมการจัดทำคำชี้แจงงบประมาณประจำปี 2552
(เสนอสภาวาระ 1)
สศก. แจ้งกำหนดการจัดเตรียมคำชี้แจงงบประมาณฯ ตามปฏิทินงบประมาณ 2552 สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2551 ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานกลางในการจัดทำคำชี้แจงภาพรวมของ กษ. ขอให้หน่วยงาน จัดเตรียมข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญและผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2551 ข้อมูลสำคัญงบประมาณปี 2552 และประเด็นที่คาดว่าจะถูกอภิปรายโดยสำเนาให้ สศก. ดำเนินการภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2551
รมว. กษ. ขอความร่วมมือให้แต่ละหน่วยงานจัดทำคำชี้แจงและให้แต่ละหน่วยงานไปประจำศูนย์ปฏิบัติการฯ เพื่อรับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปประเด็นคำถาม คำตอบเพื่อ รมต. สามารถตอบข้อซักถามได้ และเตรียมความพร้อมการชี้แจงงบประมาณในคณะกรรมาธิการด้วย

- รับทราบและ มอบให้ทุกหน่วยงานดำเนินการ

5.2 การจัดงานวันกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่าตามที่ ปศ.ได้จัดงานดังกล่าว ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ จ.นครราชสีมา นั้นว่าเป็นเรื่องที่ดี เห็นควรให้มีการจัดงานในพื้นที่เดิม หลังการเก็บเกี่ยวประจำทุกปี และให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายระยะเวลาการจัดงาน พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้โค กระบือทำนา เพื่อลดพลังงานและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
- มอบ ปศ.ดำเนินการ
5.3 การแก้ปัญหาผลไม้
กสส. รายงานการแก้ไขปัญหาผลไม้ โดย กสส.สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรจำหน่ายผลไม้ที่มีคุณภาพ ภาคตะวันออกและภาคใต้ วงเงิน 170 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ภาคตะวันออก จำนวน 11 สหกรณ์ได้กู้ยืมเงินจำนวน 70 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อนำไปรวบรวมผลไม้จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าจังหวัดปลายทางและห้างสรรพสินค้าในราคานำตลาดซึ่งราคาสูงกว่าผู้ซื้อทั่วไป และจัดEvent ต่างๆ ขายได้มูลค่า 1.55 ล้านบาท
- รับทราบ
5.4 โครงการตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพ
มาตรฐานอาหารปลอดภัยภายใต้สัญลักษณ์ Q
มกอช. รายงานว่าตั้งแต่ปี 2549 ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบแหล่งจำหน่ายสินค้า Q
และได้ตรวจประเมินตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมทั้ง
มอบสัญลักษณ์ Q จำนวน 34 แห่งและห้างสรรพสินค้าจำนวน 7 แห่งและ
ได้อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลในการตรวจรับรองทั่วประเทศ ในปี 2551 ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง
- รับทราบ
5.5 พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551
มกอช.แจ้งว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
22 ก.พ.2551 และจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ตรงกับวันที่ 20 ส.ค.2551
ที่ปรีกษาฯ นิกร แจ้งว่ากฎหมายที่ผ่านสภาในช่วงที่ผ่านมาบางฉบับ
เสียงรับรองไม่ครบ ซึ่งทางรัฐบาลได้มีดำริให้พิจารณาหาก พ.ร.บ.ใดมี
เสียงไม่ครบให้นำเสนอใหม่ เพราะถ้าปล่อยไว้จะมีปัญหา สำหรับ พ.ร.บ.
ดังกล่าวให้ไปตรวจสอบ ซึ่ง ที่ปรึกษาฯ นิกร จะรับไปติดตามให้อีกทาง
- มกอช. ดำเนินการ
5.6 การขอคืนเงินประกันลำไย
รมว. กษ. แจ้งว่าได้รับหนังสือจากจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับเกษตรกรขอคืนเงินประกันลำไยปี 2546 กิโลกรัมละ 3 บาท วงเงิน 3 แสนบาทเศษขอให้ อตก.ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดผลกระทบและให้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานอย่างเข้มงวด
- รับทราบและมอบ อตก. ดำเนินการ
5.7 การประกันภัยความเสี่ยงให้เกษตรกร
ที่ปรึกษาฯนิกร กล่าวว่าเรื่องการประกันความเสี่ยงเกษตรกรมีผล
การศึกษารายละเอียดเรียบร้อยแล้วโดย สศก.(คุณวัลลาภ์ นุตะมาน) ได้
กำหนดรายละเอียดไว้ครบถ้วนแล้วและได้มีการยกร่าง พรบ.เรียบร้อยแล้ว หากจะดำเนินการก็สามารถสั่งการให้ สศก.ดำเนินการต่อไป
รองฯ ยุคล ชี้แจงว่า รมว.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยมีรองฯ ยุคล
เป็นประธานและได้ประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมานำเสนอข้อมูล และได้ข้อสรุปโดยให้ สศก.นำเสนอภาพรวมพร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานและได้แต่งตั้งคณะทำงาน ขณะเดียวกันได้
ศึกษาการดำเนินงานของ ธกส.ซึ่งมีความชัดเจนและได้ดำเนินการมาแล้ว
3 ปี และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเริ่มมีความเข้าใจและทราบประโยชน์
ของการประกัน
รมว.กษ. แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่าง กษ.กับ กค. ซึ่งไม่มีผู้รับเป็นเจ้าภาพ ทั้งๆที่ ธกส.ดำเนินการและเป็นผู้ถือเงินซึ่งน่าจะรับเป็นเจ้าภาพ และ กษ.ควรเป็นผู้นำเสนอเรื่อง ปกติทุกปีรัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน
ชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัย ประมาณไร่ละ 400 กว่าบาท ซึ่งใช้งบกลาง ดังนั้น ควรนำเงินดังกล่าวมาดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุน โดยให้สำรวจพื้นที่การเกษตรจากจำนวน 130 ล้านไร่ ว่ามีพื้นที่ที่จะต้องประกันภัยจากภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากจำนวนเท่าไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับคำนวณงบประมาณในการจัดตั้งเป็นกองทุนประกันภัย โดยให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวจ่ายสมทบ และให้ กษ.พิจารณารูปแบบที่ได้ศึกษาไว้แล้วผนวกกับรูปแบบของ ธกส. เพื่อเสนอ ครม.และมอบให้ กค. รับผิดชอบเพราะต้องใช้งบประมาณจากงบกลางเพื่อสมทบกองทุนเบื้องต้น
- รับทราบ มอบคณะกรรมการฯดำเนินการ โดยรับข้อสังเกตไปพิจารณา

สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
มิถุนายน 2551




สรุปผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันพุธที่ 4 มิถุนายน 2551 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชั้น 3
-----------------------------------------------
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

เรื่อง
ข้อสรุป
1. ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
รมว. กษ. แจ้งว่า ปัจจุบันภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพการเกษตรและกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งนโยบาย กษ. เกษตรเพื่อประชาชน การเพิ่มรายได้โดยการเพิ่มผลผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการลดรายจ่ายโดยการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน โครงการปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น กสก. ควรให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทราบ

- รับทราบ
- มอบ กสก. ดำเนินการ
1.2 พืชพลังงาน
รมช. ธีระชัย แจ้งว่า ครม.ได้เห็นชอบให้ใช้ E 85 และมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนร่วมกัน สำหรับในส่วนของ กษ. ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการ โดยได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเห็นว่าผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังมีเพียงพอสำหรับการผลิตเอธานอล
- รับทราบ
1.3 ปุ๋ยปลอมและปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
รมช. ธีระชัย แจ้งผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ตรวจสอบตัวอย่างปุ๋ยจากโรงงานจำนวน 52 ตัวอย่างปรากฏว่า พบปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐานจำนวน 48 ตัวอย่างและยังพบการขายปุ๋ยเกินราคา แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเป็นเรื่องซับซ้อน เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ จึงเสนอข่าวในการป้องปราม
รมว. กษ. ขอให้ วก.และ กสก. ช่วยติดตาม ดูแลเกี่ยวกับการซื้อ ขายปุ๋ย สารเคมีต่าง ๆ ของเกษตรกรและร้านค้า เนื่องจากปัจจุบันปุ๋ยมีราคาสูงมาก ขอให้ทำการปราบปรามอย่างจริงจังเพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ
- รับทราบ
- มอบ วก. และ กสก. ดำเนินการ
1.4 การแสดงความเห็นในการปกป้องอาชีพของเกษตรกร
รมว. กษ. ชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการนำชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกข้าวในประเทศไทยนั้น ในฐานะ รมว. กษ. ต้องการปกป้องคนที่ประกอบอาชีพการเกษตร คุ้มครองพื้นที่ คุ้มครองอาชีพของเกษตรกร เพราะการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทำนาในประเทศจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนาไทย เพราะอาชีพการเกษตรถือเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของประเทศ
นักวิชาการโดยเฉพาะ อ.ระพี สาคริก อ.ประเวศ วสีและภาคประชาชนหลายภาคส่วนได้มีข้อคิดเห็นว่า ควรจะรื้อฟื้นประเพณีการทำพิธีงานรับขวัญแม่โภสพ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงคุณค่าของข้าวและชาวนา ซึ่งได้มอบให้ ที่ปรึกษาฯ ประพัฒน์ หารือกับ อ.ระพี และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดรูปแบบ วันและ เวลาที่เหมาะสม
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาบุกรุกการทำนาในประเทศหลายพื้นที่ และจากการที่ รมว. กษ. มีดำริให้ปกป้องเกษตรกร จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลในระดับพื้นที่
- รับทราบ






- มอบ ทปษ.ฯ ประพัฒน์ ดำเนินการพิธีรับขวัญแม่โภสพ


- ให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอและเกษตรตำบล ติดตามและรายงานข้อมูล

2. สรุปผลการประชุม เมื่อวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2551
- รับรองสรุปผลการประชุม
3. เรื่องสืบเนื่อง
3.1 สถานการณ์ศัตรูพืชระบาด
กสก. รายงานสถานการณ์หอยเชอรี่ระบาด เมื่อกลางเดือน พฤษภาคม 2551 ที่ จ.กำแพงเพชรซึ่งทำความเสียหายเล็กน้อยและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรกำจัดหอยเชอรี่โดยวิธีกล เพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์และทำปุ๋ยชีวภาพ

ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ควรขยายผลให้มากขึ้น และประกาศเป็นแนวทางในการกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะการทำน้ำหมักชีวภาพ
พด. แจ้งว่า ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บหอยเชอรี่มาทำน้ำหมักเพื่อทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งได้ผลค่อนข้างสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่าควรมีผู้รับผิดชอบ จัดทำเป็น Agenda ว่าด้วยเรื่องการป้องกันศัตรูพืชเป็นรายปี
รมว. กษ. เห็นว่า โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ในช่วงเกิดศัตรูพืช โดย เกษตรตำบล น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือได้

-รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.2 โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่และโครงการจัดตั้งนิคมการเกษตร
สปก. รายงานความก้าวหน้าโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ขณะนี้ได้จัดทำ Action Plan เรียบร้อยแล้วทุกจังหวัด โดยจะเปิดโครงการนำร่องครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน2551 ณ จังหวัดชลบุรี สำหรับในปี 2552 ได้รับงบประมาณจำนวน 107.51 ล้านบาทและได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบรองอธิบดีเพื่อติดตาม กำกับ ดูแลและสนับสนุนการทำงานในระดับจังหวัดพร้อมทั้งได้เสนอแผนให้ผู้ตรวจฯ กษ.เพื่อนำไปจัดทำแผนในการตรวจราชการต่อไป
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเป็นนโยบายหลัก ต้องรีบดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ กษ. ได้ดำเนินการก้าวหน้าไปมากแล้วและจะต้องแสดงผลงานให้เห็นถึงความสำคัญ เพื่อของบกลางมาสนับสนุนเพิ่มเติม
- รับทราบ
- มอบ สปก. ดำเนินการและรายงานความคืบหน้า
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นการสร้างอนาคตของชาติ เกษตรกรรุ่นใหม่ควรรับช่วงการทำนาจากพ่อแม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันช่วงปิดเทอมไม่ตรงกับฤดูทำนา จึงเห็นควรหารือกระทรวงศึกษาธิการถึงความเป็นไปได้ในการที่จะปรับระบบการศึกษาให้ปิดเทอมนักเรียนระดับประถมให้สอดคล้องกับฤดูการผลิต
รมว. กษ. กล่าวว่าเนื่องจากโครงการนี้เป็นการสร้างอนาคตทางการเกษตรให้กับคนรุ่นใหม่และเป็นนโยบายสำคัญ ซึ่งทุกหน่วยงานได้ให้ความร่วมมือ เพื่อจะผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรม หลังจากที่โครงการได้ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างความรู้ การแก้ไขปัญหาในเรื่องครบวงจรและเฉพาะทาง ซึ่งจะได้จัดทำรายงานเสนอ ครม. เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนต่อไป
สปก. รายงานผลการดำเนินงานนิคมการเกษตร พื้นที่นำร่องนิคมการเกษตรประกอบด้วย สปก. 10 แห่ง กสส. 4 แห่ง ชป. 1 แห่ง ซึ่งจะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหารูปแบบการบริหารจัดการรายนิคมและองค์ประกอบการดำเนินงานในขนาดที่เหมาะสม ในวันที่ 5 มิถุนายน 2551 และกำหนดเปิดโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ณ นิคมการเกษตร จ. นครราชสีมา
รมว. กษ. กล่าวว่า นิคมการเกษตรคือการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร จัดเป็น Zoning พื้นที่ใดปลูกพืชชนิดใดจะได้ทราบผลผลิตได้ชัดเจน สามารถควบคุมความเสียหายได้ง่าย และให้ พด.ดูแลพื้นที่นาร้างและที่ปรับปรุงแล้ว ถ้ามีความพร้อมอาจประกาศเป็นพื้นที่นิคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการโดยสามารถประสานกับคณะทำงาน รมว. กษ.ได้คือคุณทองแท่ง คุณประภาศรี และคุณสมชาย

3.3 การติดตามความก้าวหน้านโยบายการเกษตรเพื่อความมั่นคง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สป. กษ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2551 ดังนี้ 1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผลงานร้อยละ 26.91 2. การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรฯ ยางพารา (ปรับปรุงสวนยางเดิมและเพิ่มพื้นที่ใหม่ ผลงานร้อยละ 93 และ 36 ตามลำดับ) ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มพื้นที่ใหม่และก่อสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ผลงานร้อยละ 69 และ 78 ตามลำดับ) ลองกอง ผลงานร้อยละ 34.19 ข้าว อยู่ระหว่างดำเนินการ ด้านปศุสัตว์ (ติดตามดูแลแม่โคเนื้อและผสมเทียมผลงานร้อยละ 90 และ 16 ตามลำดับ) แพะ ผลงานร้อยละ 100 และด้านประมง (ผลิตพันธุ์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงโรงเรียนผลงานร้อยละ 59.1 , 22.02 และ 15.5 ตามลำดับ) 3. การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรฯ ( ด้านดินและน้ำ ผลงานร้อยละ 53 และ 36 ตามลำดับ ปะการังเทียมอยู่ระหว่างดำเนินการ) 4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรฯ (พัฒนาเกษตรอาสาผลงานร้อยละ77) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 34.06
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่า ตามข้อกำหนดของรัฐบาลจะต้องสรุปผลการดำเนินงานเสนอ ครม. ทุกเดือนในรูปแบบของข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรคและประเด็นที่ต้องเร่งรัด
รองปลัดฯ ยุคล ให้ข้อคิดเห็นว่า ผลการใช้จ่ายเป็นเงินงบประมาณ ฝ่ายเลขาฯ ควรประสานในพื้นที่ว่ามีงบประมาณที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกันเงินไว้แล้วจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
รองปลัดฯ ฉกรรจ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรรายงานเพิ่มเติมว่านอกจากแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงแล้ว กษ.สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ลดรายจ่ายและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อใช้ในการของบประมาณต่อไป
รมว. กษ. เห็นว่าเรื่องความมั่นคงเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ กษ.ได้รับมอบหมาย ควรเร่งรัดการดำเนินงานและรายงานให้ชัดเจนให้ครอบคลุมตามข้อสังเกตพร้อมทั้งบอกข้อจำกัด เพื่อ ครม. จะได้หาทางแก้ไข
- รับทราบและมอบฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.4 ปราชญ์ชาวบ้าน
รมว. กษ. ให้ข้อสังเกตว่า เรื่องปราชญ์เกษตรเป็นหน้าที่ของ กษ.ที่จะต้องทำนุและบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคลทางด้านการเกษตรซึ่งมีคุณค่าไม่ต่างจากศิลปินแห่งชาติ เพราะถือว่าได้ทำประโยชน์และสร้างคุณูปการให้กับภาคเกษตรมาก เรียกว่าเป็นโครงการปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จึงควรกำหนดคุณสมบัติ ทำการคัดเลือกบุคคลที่สมควรจะได้รับเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ยกย่อง เชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ โดยจัดหาสวัสดิการบางส่วนให้ อาทิ บัตรพิเศษในการเดินทางของปราชญ์ เป็นสิ่งที่ กษ. ควรสืบทอดและรักษาสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินไว้
ให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมอบ สปก.เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- รับทราบและมอบ สปก. ดำเนินการ

4. เรื่องเพื่อทราบ
4.1 สถานการณ์น้ำ
ชป. รายงานการคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงเดือนมิถุนายนของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า การที่เกิดฝนตกในประเทศไทยในช่วงนี้เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านจากทะเลอันดามันผ่านประเทศไทยและ อ่าวไทย โดยครึ่งเดือนแรกมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง และในครึ่งเดือนหลังจะอ่อนกำลังลง ทำให้ครึ่งเดือนแรกเกิดฝนตกมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นจะมีฝนตกลดน้อยลง สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในอ่างทั้งหมดรวม 43,413 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างทั้งหมด โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 มี 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสัก เขื่อนแม่กวง เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนบางพระ และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 มี 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนบางลาง และเขื่อนประแสร์ และสถานการณ์น้ำท่าในลำน้ำสายหลักอยู่ในสภาพปกติ
รมว.กษ. ขอให้มีการระบายน้ำเป็นระยะๆ กรณีมีปริมาณน้ำอยู่ในระดับสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรมีการรายงานการวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
4.2 โครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง
กป. รายงานมติ ค.ร.ม. 27 พ.ค. 2551 ซึ่งเป็นการทบทวน มติ ค.ร.ม. 14 มี.ค. 2549 ที่ให้การช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่ง โดยลดราคาจำหน่ายน้ำมันลิตรละ 2 บาท แต่จะต้องไปเติมน้ำมันที่ห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 5 ไมล์ทะเล ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปใช้บริการได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องคลื่นลมและค่าใช้จ่ายในการออกไปใช้บริการ จึงขอปรับปรุงให้สามารถจำหน่ายน้ำมันบริเวณใกล้ฝั่ง หรือสถานีที่องค์การสะพานปลากำกับดูแลบนฝั่ง ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน โดยจำหน่ายน้ำมันเดือนละ 15 ล้านลิตร ปัจจุบันมีสถานีเข้าร่วมโครงการ 28 สถานี และจะเริ่มจำหน่ายน้ำมันอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มิถุนายน 2551
รมว.กษ. แจ้งว่า สส. ฝ่ายค้านจังหวัดชายทะเล 23 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดสมุทรปราการได้เข้าพบ รมว.กษ. และขอให้หาทางช่วยเหลือ ชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือในขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันอยู่ในระดับลิตรละ 29 บาท แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันขึ้นมากแล้วคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยชาวประมงอีกทางหนึ่ง คือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สทดแทนการใช้น้ำมัน โดยใช้เงินส่วนหนึ่งจากโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร วงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งมี กสส. เป็นเจ้าภาพ และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาในอาทิตย์หน้า
กสส. เสนอขอให้มีการนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอีกรอบหนึ่งก่อนเข้า ค.ร.ม. เนื่องจากเดิมวัตถุประสงค์โครงการฯ เป็นการเสนอให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต และเสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งว่า หากเป็นสหกรณ์ประมงที่มีศักยภาพยังสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางหนึ่ง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่านอกจาก สส. ฝ่ายค้านได้ติดตามการให้ความช่วยเหลือชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวประมง จึงขอให้จัดเตรียมแผนหรือจัดทำกรอบแนวทางช่วยเหลือให้ชัดเจน เพราะคาดว่า สส. ฝ่ายค้านจะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงเสนอให้ กป. เป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลชาวประมง โดยอาจมีการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมาจัดการเรื่องนี้โดยตรง เพราะที่ผ่านมามีหน่วยงานที่มาดำเนินการในเรื่องนี้หลายหน่วยงาน ทำให้การให้ความช่วยเหลือชาวประมงเกิดความล่าช้าและไม่ชัดเจน
รองปลัดฯ ยุคล ชี้แจงว่าเรื่องปัญหาหนี้สินชาวประมง ได้ให้ กป. ประสานกับสมาคมชาวประมงเพื่อแจ้งข้อมูลหนี้แต่ละราย เพื่อจะได้นำมาพิจารณา ในรายละเอียด
กป. รายงานว่าได้เตรียมการเบื้องต้นแล้ว โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง ซึ่งกรรมการฯ ชุดนี้สามารถแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อศึกษาในรายละเอียดแต่ละเรื่องได้ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเสี่ยงภัยหรือแรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะรวมกลุ่มเกษตรกรชาวประมงที่มีจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถขอกู้เงินจาก กสส. ได้

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปพิจารณา
4.3 โครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
กสส. ได้รายงานว่า สืบเนื่องจาก ธ.ก.ส. ได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม. เมื่อ 1 เม.ย.2551 ให้ดำเนินโครงการพักหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งในส่วน กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่มีวงเงินหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกร้อยละ 3 เป็นเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการในลักษณะเงินอุดหนุนเพื่อตั้งเป็นกองทุน เฉลี่ยรายละ 3,000 บาท โดยให้มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้รวบรวมเสนอเป็นโครงการขึ้นมาตามความต้องการของสมาชิก และเนื่องจากในปีงบประมาณ 2552 กสส. ได้รับงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี จำนวน 865 ล้านบาท และไม่ได้รับงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพ ดังนั้น กสส. จึงได้ขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณในปี 2551 มาใช้ จำนวน 19 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอ ค.ร.ม. และจะมีการจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูอาชีพสำหรับเสนอของบประมาณในปีต่อไป
- รับทราบ
4.4 แผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
พด. ได้รายงานผลการประชุมสัมมนา เรื่องแผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อ 18 พ.ค. 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เกษตรกร กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย และผู้ประกอบการ จำนวน 1,235 ราย ซึ่งผลการสัมมนาสรุปได้ 4 ประเด็น คือ การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพชุมชน ให้แก้ไข พรบ. ปุ๋ย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 และให้หน่วยงานภาครัฐศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในไทย ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะนำเสนอ ค.ร.ม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันมีโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชุมชนจำนวนมากที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงขอให้ พด. และผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเข้าไปแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และให้เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนในระยะต่อไป ควรมีการให้ความรู้และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยแก่องค์กรที่จะดำเนินการสร้างให้มากขึ้น เพื่อเป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะงบประมาณส่วนท้องถิ่น จึงขอให้ พด. ประสานกับ อบต. เพื่อเข้ามาดูแลการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้การบูรณาการกับ ปศ. เพื่อนำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ที่ปรึกษาฯ บัวสอน ให้ข้อสังเกตว่า กรณีการให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. อาจเป็นช่องทางเปิดโอกาสให้มีการผลิตปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้คุณภาพมากขึ้น จึงควรมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ชัดเจน
สศก. ได้รายงานความคืบหน้าในการศึกษาถึงความจำเป็นในการสร้างโรงงานปุ๋ยเคมีว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าพอสมควร และยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามกรอบระยะเวลา
พด. รายงานว่า ได้มีการจัดทำร่างแผนแม่บทการขับเคลื่อนการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเฉพาะเรื่องข้าว ขณะนี้ยกร่างเรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงปุ๋ยที่มีปัญหาไม่ว่าจะใช้งบจากแหล่งใด พด. จะเข้าไปดูแล ซึ่งได้มอบให้สถานีพัฒนาที่ดินรายงานการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ซึ่งผลการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งโรงปุ๋ยฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จำนวน 40 กว่าแห่ง ขณะนี้ได้แก้ไขให้สามารถ ขับเคลื่อนได้แล้วบางส่วน สำหรับโรงปุ๋ยฯ ที่มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ คาดว่าประมาณ 3 เดือน สามารถแก้ไขให้ดำเนินการได้
วก. รายงานว่า ตามข้อเสนอของที่ประชุมสัมมนาให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยภายในชุมชนไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. ซึ่ง ตามกฎหมายนั้น ถ้าเป็นการผลิตใช้เองไม่ต้องขออนุญาตจาก วก. แต่หากเป็นการผลิตแล้วมีเหลือสำหรับจำหน่าย จะต้องนำเสนอคณะกรรมการดินและปุ๋ยพิจารณา
กสก. รายงานว่า กสก. ได้ทำการวิจัยทดสอบร่วมกับ มก. พบว่าองค์ประกอบของการลดต้นทุนการผลิตหากดำเนินงาน 4 เรื่อง จะสามารถ ลดต้นทุนการผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 500 บาท คือ การใช้พันธุ์ดี การบริหารจัดการศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การไถกลบตอซัง และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งจากการประชุมร่วมกับ พด. วก. และ กข. สรุปแนวทางดำเนินเป็น 2 ระดับ คือ
1. การใช้ฐานโปรแกรมชุดดินไทยของ พด. เป็นหลักในการเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกร
2. กสก. ได้จัดทำคู่มือเรื่องปุ๋ยสั่งตัด โดยให้ พด. และ กสก. จัดอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 504 ราย ใน 56 จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรไปทำแปลงตัวอย่าง และขยายแนวร่วมรายละ 50 คน
สปก. รายงานว่าได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว ใน 5 จังหวัด เขตพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ 2 แสนไร่ โดยสนับสนุนเครื่องมือตรวจสอบให้กับวิสาหกิจชุมชน และได้ขยายแนวคิดเรื่องนี้ไปสู่วิสาหกิจชุมชนพื้นที่ สปก. 1 ล้านไร่ ใน 18 จังหวัด มีการใช้เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ดินโดยละเอียดร่วมกับ พด. โดยวัดเป็นระวาง และมีการสุ่มตัวอย่างดินอย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในฤดูเพาะปลูกนี้ นอกจากนี้ สปก. ร่วมกับ พด. และ กสก. ให้มีการส่งข้อมูลเรื่องการใช้ปุ๋ยไป ยังมือถือของเกษตรกรในระบบ SMS โดยจะนำร่องในเกษตรกร 2,000 คน
ที่ปรึกษาฯ นิกร เสนอว่า ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนใน 2 ระดับ คือ ในเชิงนโยบาย ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ กษ. ต้องทำอย่างเร่งด่วนในลักษณะการรณรงค์ ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการในเชิงพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินการอยู่แล้ว สำหรับเรื่องโรงปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ วก. นั้น ได้มีข้อตกลงที่ชัดเจนแล้วว่าหากมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายต้องยืนค่ามาตรฐานของ วก. หากมีการใช้ในกลุ่มเกษตรกรก็สามารถใช้ตามค่ามาตรฐานของ พด. ได้
รมว. กษ. เสนอให้ พด. แถลงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะๆและขอให้หน่วยงาน กษ. ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์เรื่องปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นโครงการที่ชี้ให้เห็นถึงจุดคุ้มทุนในการผลิต ซึ่งจะมีส่วนทำให้เกษตรกรปรับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี และถ้าหากจัดในภูมิภาคต่างๆ ก็จะทำให้เกษตรกรกรได้รับประโยชน์รวดเร็ว และกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนขอให้ พด. และ วก. พิจารณามีแนวทางการแก้ไข พรบ. ปุ๋ย เพื่อให้สามารถให้การคุ้มครองเกษตรกรได้ กรณีมีการค้าขายปุ๋ยกำไรเกินควร โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี โดยให้ กษ. สามารถมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ สำหรับข้อเสนอเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำเสนอ ค.ร.ม. ขอให้ พด. นำมาหารือ รมว.กษ. เพื่อปรับปรุงความชัดเจนในบางประเด็น
- รับทราบและรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการ
4.5 โครงการเพิ่มปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
กข. รายงานการจัดทำโครงการฯ เนื่องจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว รมว.กษ.ได้มีนโยบายให้ กข. ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มจากเดิมที่เคยผลิตได้ ปีละ 70,000 ตัน เป็น 100,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 30,000 ตัน) ระยะเวลา 5 ปี รวม 500,000 ตัน แต่เนื่องจาก กข. มีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณจึงขอกู้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อสมทบกับงบประมาณ กข. 42.50 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช 955.50 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,398 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกษตรกร มีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเพื่อปลูกในพื้นที่ 6.7 ล้านไร่ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรไร่ละ 300 บาท
รมว.กษ. มีข้อสังเกตว่า ให้ กข. แนะนำเกษตรกรที่นำพันธุ์ข้าวไปปลูกให้เข้าใจเกี่ยวกับอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ที่เหมาะสม และให้เตรียมข้อมูลชี้แจง ครม. ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 10 มิย. 2551 โดยเฉพาะเกี่ยวกับการขอตั้งงบประมาณใช้คืนกองทุนฯ ให้หารือกับสำนักงบประมาณ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ

4.6 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร
กสส. รายงานความก้าวหน้าผลการจัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ได้มีมติเมื่อ 21 พค. 2551 เห็นชอบโครงการและให้นำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติจัดสรรเงิน กองทุนฯ ให้ กสส. วงเงิน 1,000 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ยและเงินจ่ายขาด 12 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร รวม 3,400 แห่งทั่วประเทศ กำหนดชำระคืนภายในระยะเวลา 5 ปี
สถาบันเกษตรกรต้องจัดทำแผนความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ส่งให้กรมพิจารณา เงินกู้ยืมระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยมีเงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยดังนี้
- ชำระคืนภายในระยะเวลา 12 เดือน ถือว่าชำระเงินสด ไม่คิดดอกเบี้ย
- ชำระคืนเกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี
- รับทราบ

4.7 รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน
ชป. รายงานผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่ 27 พค. 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนการลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ประกอบด้วย แผนปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และแผนบรรเทาอุทกภัย ระยะเวลา 12 ปี (ปี 2552-2563) วงเงินทั้งสิ้น 322,703 ล้านบาท โดยมอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการดังนี้
1. มอบให้ ทส. กษ. และ มท. ดำเนินการตามแผนการฟื้นฟู แหล่งน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน แผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลาง แผนบรรเทาอุทกภัย โดยมีกรอบวงเงินลงทุนในปี 2552-2554 จำนวน 73,885 ล้านบาท
2. มอบให้ กษ. ดำเนินการตามแผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและดำเนินการครบถ้วนตามกฎระเบียบแล้ว จำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี- พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี 2) โครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ไปยังแหล่งเก็บกักน้ำ จ.ระยอง 3) โครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกไปอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี 4) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี ระยะที่ 2 วงเงิน 18,717 ล้านบาท โดยให้เสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติเปิดโครงการเป็นรายโครงการต่อไป
3. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในลุ่มแม่น้ำยม โครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านรองนายกฯ สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนให้เกิดเป็นรูปธรรม
4. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการลงทุน โดยมี รมว.กค. เป็นประธาน พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนและวิธีการระดมทุนที่เหมาะสมต่อไป
5. มอบหมายให้ กษ. และ ทส. เตรียมความพร้อม 16 โครงการ ในการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว โดยให้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการต่างๆ
เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการผันน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนของประเทศ โดยมีรองนายกฯ สหัส บัณฑิตกุล เป็นประธาน
- รับทราบ

4.8 โครงการทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีแก่บุตรหลานเกษตรกรภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง สวก.และธกส.
สวก.รายงานผลการดำเนินงานโครงการซึ่งคณะกรรมการบริหารสำนักงานการวิจัยการเกษตรได้ให้ความเห็นชอบโครงการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2551 ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการจะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบใหม่ที่เหมาะสมมาพัฒนาใช้กับเกษตรกรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมให้เป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.) ได้ทำบันทึกความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยระดับชุมชนกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อจัดทำโครงการร่วมกัน โดยสนับสนุนทุนการศึกษาสาขาการบริหารจัดการน้ำ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการบริหารธุรกิจการเกษตร ให้กับบุตรหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 27 ทุน/ทุนละ 240,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี (2552 – 2554) วงเงินสนับสนุน 6.48 ล้านบาท (สวก. 3.24 ล้านบาท ธกส. 3.24 ล้านบาท)

ทปษ. นิกร และรองฯ ฉกรรจ์ ให้ข้องสังเกตว่ากลุ่มบุคคลเป้าหมายไม่ควรจำกัดเฉพาะลูกหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปปฏิบัติ

4.9 รายงานผลการดำเนินงานเรื่องพืชพลังงานทดแทน
สศก. รายงานความก้าวหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องพืชพลังงาน จำนวน 2 คณะ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ตามข้อสังเกตของ ทปษ.นิกร เกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ซึ่งให้มีเกษตรกรร่วมองค์คณะ ด้วย และให้เป็นอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ
วก. รายงานสถานการณ์การผลิตพืชพลังงานทดแทนดังนี้
1) อ้อยมีพื้นที่เพาะปลูก 6.4 ล้านไร่ ผลผลิต 69.9ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 10.9 ตัน เป็นผลผลิตน้ำตาล 7.2 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันจะใช้เฉพาะกากน้ำตาลมาผลิตเอทานอล ซึ่งนโยบายจะไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยแต่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 10.9 ตันเป็น 11.9 ตัน
2) มันสำปะหลังมีพื้นที่เพาะปลูก 7.42 ล้านไร่ ผลผลิต 27.40 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย3.7 ตัน สำหรับปริมาณการใช้ขณะนี้ใช้ภายในประเทศ (ผลิตมันเส้น แป้งมัน และเอทานอล) และส่งออก ความต้องการ 27.66 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่และผลผลิตมีเพียงพอ สำหรับอนาคตภายใน 5 ปี คาดว่าผลผลิตเพียงพอจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร
ปัจจุบันโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ที่เปิดดำเนินการแล้วมี 1 โรง ได้รับอนุญาตแล้ว พร้อมจะผลิต จำนวน 32 โรง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 11 โรง ในส่วนของอ้อยและกากน้ำตาลมีโรงงานที่ดำเนินการผลิตแล้ว 9 โรง
รมช.ธีระชัย ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องภาคเกษตรโรงน้ำมัน และตัวแทนผู้บริโภคมาร่วมหารือ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ผลิตภาคเกษตรสามารถผลิตวัตถุดิบได้อย่างเพียงพอ โดยได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนการผลิตวัตถุดิบและเอทานอล พร้อมทั้งแผนการส่งเสริมการใช้เอทานอล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอ ค.ร.ม.
3) ปาล์มน้ำมัน ปี 2551 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 2.9 ล้านไร่ ผลผลิตปาล์มสด 7.87 ตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2.72 ตัน ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 1.38 ล้านตัน ใช้ในประเทศ 9 แสนตัน ส่งออก 1.3 แสนตัน และผลิตไบโอดีเซลประมาณ 3.5 แสนตัน ขณะนี้มีโครงการที่จะส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นโครงการของธกส. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
ทปษ.ฯ นิกร แจ้งว่า รมว.กษ. ได้มอบหมายให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ซึ่งสืบเนื่องมาจากคณะทูตได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และท่านฑูตวสินจากกรุงโซลขอพระราชทานวินิจฉัยว่าปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตด้านพลังงานทำให้หลายประเทศมีการนำพื้นที่มาปลูกพืชผลิตพลังงานทดแทนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีแนวพระราชดำริ ต้องการให้ทุกฝ่ายพิจารณา ให้รอบครอบในการที่จะกำหนด จัดสรรพื้นที่ เพื่อปลูกพืชต่างๆ โดยให้มีความสมดุล ซึ่ง ถ้าหากอะไรมากเกินไปก็จะเหลือเฟือทำให้เกิดความเดือดร้อน
รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ กษ. จัดนิคมการเกษตรและจัดโซนนิ่งอยู่แล้ว เพราะเป็นการพิจารณาสภาพความเหมาะสมของลักษณะภูมิศาสตร์ควบคู่ด้วย
ปลัด กษ. แจ้งว่าเกี่ยวกับพืชพลังงาน จากการไปประชุม UN-Convention เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศเยอรมันได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าประเด็นการใช้พื้นที่ปลูกพืชพลังงาน ขณะนี้เป็นประเด็นที่หยิบยกมาเป็นเรื่องสำคัญของทั่วโลกและปรากฏว่ามีผู้ที่พยายามจะตำหนิเกี่ยวกับการนำพื้นที่ปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงาน ซึ่งประเทศกลุ่มโอเปคเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องดังกล่าว และไม่อยากให้มีการนำสิ่งอื่นมาทดแทนน้ำมัน รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่า กษ. ควรดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงต่อไป
- รับทราบ และดำเนินการตามแนวทางของกษ.

4.10 รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
สศก.รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ กษ.ปี2551 จากระบบ
GFMIS ณ 31 พ.ค. 2551 ดังนี้
1) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดได้รับงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงรวม 67,209 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 34,331 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.1 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (ปีก่อนร้อยละ 44.6) แยกเป็น
(1) ส่วนราชการ ได้รับ 64,772 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 32,884 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ของงบส่วนราชการ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 60.2 ของรายจ่ายประจำ (ปีก่อนร้อยละ 52.2) และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 41.0 ของรายจ่ายลงทุน (ปีก่อนร้อยละ 35.6)
(2) รัฐวิสาหกิจ ได้รับ 2,436 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 1,448 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.4 ของงบรัฐวิสาหกิจ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 59.1 ของรายจ่ายประจำ และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 78.26 ของรายจ่ายลงทุน
2) เงินกันเหลื่อมปี 10,706 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 5,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.6
3) งบประมาณปี 2551 คงเหลือ ณ 31 พ.ค. 2551 จำนวน 32,877 ล้านบาทเงินกันเหลื่อมปี คงเหลือ 4,856 ล้านบาท รวมงบประมาณคงเหลือทั้งสิ้น 37,734 ล้านบาท
รมว.กษ. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 เนื่องจากใกล้สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 และจากประสบการณ์ในสภา การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะนำผลการใช้จ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันมาประกอบในการพิจารณางบประมาณปี 2552 ขอให้แต่ละหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามปฏิทินงบประมาณและให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ
- รับทราบ และให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
4.11 มติคณะรัฐมนตรีที่เสนอโดย กษ.
สศก. รายงานมติคณะรัฐมนตรีที่ กษ. ได้นำเสนอ นับตั้งแต่ รมว.กษ. เข้ามาบริหาร กษ. ถึง 3 มิ.ย. 2551 ได้ผลักดันงานสำคัญตามกรอบนโยบาย โดยได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 19 เรื่อง
- รับทราบ
5. เรื่องอื่น ๆ
5.1 การเตรียมการจัดทำคำชี้แจงงบประมาณประจำปี 2552
(เสนอสภาวาระ 1)
สศก. แจ้งกำหนดการจัดเตรียมคำชี้แจงงบประมาณฯ ตามปฏิทินงบประมาณ 2552 สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2551 ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานกลางในการจัดทำคำชี้แจงภาพรวมของ กษ. ขอให้หน่วยงาน จัดเตรียมข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญและผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2551 ข้อมูลสำคัญงบประมาณปี 2552 และประเด็นที่คาดว่าจะถูกอภิปรายโดยสำเนาให้ สศก. ดำเนินการภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2551
รมว. กษ. ขอความร่วมมือให้แต่ละหน่วยงานจัดทำคำชี้แจงและให้แต่ละหน่วยงานไปประจำศูนย์ปฏิบัติการฯ เพื่อรับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปประเด็นคำถาม คำตอบเพื่อ รมต. สามารถตอบข้อซักถามได้ และเตรียมความพร้อมการชี้แจงงบประมาณในคณะกรรมาธิการด้วย

- รับทราบและ มอบให้ทุกหน่วยงานดำเนินการ

5.2 การจัดงานวันกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่าตามที่ ปศ.ได้จัดงานดังกล่าว ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ จ.นครราชสีมา นั้นว่าเป็นเรื่องที่ดี เห็นควรให้มีการจัดงานในพื้นที่เดิม หลังการเก็บเกี่ยวประจำทุกปี และให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายระยะเวลาการจัดงาน พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้โค กระบือทำนา เพื่อลดพลังงานและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
- มอบ ปศ.ดำเนินการ
5.3 การแก้ปัญหาผลไม้
กสส. รายงานการแก้ไขปัญหาผลไม้ โดย กสส.สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรจำหน่ายผลไม้ที่มีคุณภาพ ภาคตะวันออกและภาคใต้ วงเงิน 170 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ภาคตะวันออก จำนวน 11 สหกรณ์ได้กู้ยืมเงินจำนวน 70 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อนำไปรวบรวมผลไม้จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าจังหวัดปลายทางและห้างสรรพสินค้าในราคานำตลาดซึ่งราคาสูงกว่าผู้ซื้อทั่วไป และจัดEvent ต่างๆ ขายได้มูลค่า 1.55 ล้านบาท
- รับทราบ
5.4 โครงการตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพ
มาตรฐานอาหารปลอดภัยภายใต้สัญลักษณ์ Q
มกอช. รายงานว่าตั้งแต่ปี 2549 ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบแหล่งจำหน่ายสินค้า Q
และได้ตรวจประเมินตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมทั้ง
มอบสัญลักษณ์ Q จำนวน 34 แห่งและห้างสรรพสินค้าจำนวน 7 แห่งและ
ได้อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลในการตรวจรับรองทั่วประเทศ ในปี 2551 ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง
- รับทราบ
5.5 พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551
มกอช.แจ้งว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
22 ก.พ.2551 และจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ตรงกับวันที่ 20 ส.ค.2551
ที่ปรีกษาฯ นิกร แจ้งว่ากฎหมายที่ผ่านสภาในช่วงที่ผ่านมาบางฉบับ
เสียงรับรองไม่ครบ ซึ่งทางรัฐบาลได้มีดำริให้พิจารณาหาก พ.ร.บ.ใดมี
เสียงไม่ครบให้นำเสนอใหม่ เพราะถ้าปล่อยไว้จะมีปัญหา สำหรับ พ.ร.บ.
ดังกล่าวให้ไปตรวจสอบ ซึ่ง ที่ปรึกษาฯ นิกร จะรับไปติดตามให้อีกทาง
- มกอช. ดำเนินการ
5.6 การขอคืนเงินประกันลำไย
รมว. กษ. แจ้งว่าได้รับหนังสือจากจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับเกษตรกรขอคืนเงินประกันลำไยปี 2546 กิโลกรัมละ 3 บาท วงเงิน 3 แสนบาทเศษขอให้ อตก.ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดผลกระทบและให้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานอย่างเข้มงวด
- รับทราบและมอบ อตก. ดำเนินการ
5.7 การประกันภัยความเสี่ยงให้เกษตรกร
ที่ปรึกษาฯนิกร กล่าวว่าเรื่องการประกันความเสี่ยงเกษตรกรมีผล
การศึกษารายละเอียดเรียบร้อยแล้วโดย สศก.(คุณวัลลาภ์ นุตะมาน) ได้
กำหนดรายละเอียดไว้ครบถ้วนแล้วและได้มีการยกร่าง พรบ.เรียบร้อยแล้ว หากจะดำเนินการก็สามารถสั่งการให้ สศก.ดำเนินการต่อไป
รองฯ ยุคล ชี้แจงว่า รมว.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยมีรองฯ ยุคล
เป็นประธานและได้ประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมานำเสนอข้อมูล และได้ข้อสรุปโดยให้ สศก.นำเสนอภาพรวมพร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานและได้แต่งตั้งคณะทำงาน ขณะเดียวกันได้
ศึกษาการดำเนินงานของ ธกส.ซึ่งมีความชัดเจนและได้ดำเนินการมาแล้ว
3 ปี และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเริ่มมีความเข้าใจและทราบประโยชน์
ของการประกัน
รมว.กษ. แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่าง กษ.กับ กค. ซึ่งไม่มีผู้รับเป็นเจ้าภาพ ทั้งๆที่ ธกส.ดำเนินการและเป็นผู้ถือเงินซึ่งน่าจะรับเป็นเจ้าภาพ และ กษ.ควรเป็นผู้นำเสนอเรื่อง ปกติทุกปีรัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน
ชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัย ประมาณไร่ละ 400 กว่าบาท ซึ่งใช้งบกลาง ดังนั้น ควรนำเงินดังกล่าวมาดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุน โดยให้สำรวจพื้นที่การเกษตรจากจำนวน 130 ล้านไร่ ว่ามีพื้นที่ที่จะต้องประกันภัยจากภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากจำนวนเท่าไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับคำนวณงบประมาณในการจัดตั้งเป็นกองทุนประกันภัย โดยให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวจ่ายสมทบ และให้ กษ.พิจารณารูปแบบที่ได้ศึกษาไว้แล้วผนวกกับรูปแบบของ ธกส. เพื่อเสนอ ครม.และมอบให้ กค. รับผิดชอบเพราะต้องใช้งบประมาณจากงบกลางเพื่อสมทบกองทุนเบื้องต้น
- รับทราบ มอบคณะกรรมการฯดำเนินการ โดยรับข้อสังเกตไปพิจารณา

สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
มิถุนายน 2551