วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ภาครัฐทำอะไรได้บ้างกับปัญหาปุ๋ยแพง


“เกษตรฯ-พาณิชย์”เคาะราคาปุ๋ยพบสูงผิดปกติส่อเอาเปรียบเกษตรกร เตรียมเจรจาผู้นำเข้าปุ๋ยปรับลดราคา ชงพาณิชย์เดินหน้ามาตรการเด็ดขาดตามเกณฑ์สินค้าควบคุม พร้อมสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อที่ประชุมครม.


เกษตรฯ-พาณิชย์”เคาะราคาปุ๋ยพบสูงผิดปกติส่อเอาเปรียบเกษตรกร เตรียมเจรจาผู้นำเข้าปุ๋ยปรับลดราคา ชงพาณิชย์เดินหน้ามาตรการเด็ดขาดตามเกณฑ์สินค้าควบคุม พร้อมสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อที่ประชุมครม. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมของคณะกรรมการปุ๋ยที่ประกอบด้วยตัวแทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับปัญหาราคาปุ๋ยแพงในขณะนี้ ได้มีข้อสรุปร่วมกัน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1 การคงโครงสร้างอัตราการกำหนดราคาปุ๋ยเดิมที่กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันในสัดส่วนค่าต้นทุนปุ๋ย 95 % ค่าการบริหารจัดการและค่าบรรจุ 5 % นำมารวมกับผลต่างก็คือกำไรอีก 2% เนื่องจากปริมาณปุ๋ยที่นำเข้ามาในแต่ละล๊อตมีจำนวนมาก ดังนั้น การกำหนดผลต่างด้านราคาเพียง 2 % จึงมีความเหมาะสม เนื่องจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยแต่ละล็อตมีจำนวนมาก การคิดผลต่างกำไรอัตรา 2 % นั้น ทั้งสองกระทรวงก็เห็นพ้องกันว่ามีความเหมาะสมแล้ว 2. การพิจารณาในส่วนที่มาของราคาปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การคิดราคาต้นทุน โดยจากการตรวจสอบที่มาของราคาการนำเข้าปุ๋ยยูเรียสูตร 46 -0 – 0 ของกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ไม่ต่างกัน อยู่ประมาณ 12,000 บาท/ตัน ในขณะที่การนำเข้าปุ๋ยสูตรอื่น ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งเป็นปุ๋ยสูตรที่เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงเกษตรฯ พบข้อมูลว่าปุ๋ยทั้งสองสูตรนั้นมีส่วนต่างของที่มา ระหว่างราคาที่ทางกระทรวงเกษตรฯตรวจสอบ กับราคา CIF ในใบอินวอยส์ที่บริษัทผู้นำเข้านำเสนอมีราคาที่ต่างกัน ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ที่มีอำนาจในการกำกับดูแลราคาปุ๋ย ซึ่งถือเป็นสินค้าควบคุมเพื่อหาแนวทางในการเจรจาปรับลดราคาปุ๋ยกับเอกชนผู้นำเข้า โดยจะเร่งดำเนินการหารือร่วมกับเอกชนผู้นำเข้าปุ๋ยโดยเร็วที่สุด ซึ่งหากเป็นไปได้คาดว่าจะมีการหารือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการปรับลดราคาและแก้ปัญหาราคาปุ๋ยต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารหน้า 3. ทางกระทรวงพาณิชย์ จะเร่งดำเนินการเช็คสต๊อกปุ๋ยอย่างละเอียด ทั้งระยะเวลาที่ดำเนินการสั่งซื้อ และปริมาณการสั่งซื้อ เพื่อจะได้ทราบว่ามีการค้ากำไรปุ๋ยเกินควรหรือไม่ ขณะเดียวกันก็จะสามารถทราบสาเหตุของการที่ทำให้ราคาปุ๋ยขยับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และประเด็นสุดท้าย คือ กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้คณะทำงานเรื่องปุ๋ยประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการร่วมกันตรวจสอบปริมาณความต้องการการใช้ปุ๋ยภายในประเทศ และช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยมาก เพื่อป้องกันปุ๋ยขาดตลาด “จากข้อมูลราคาปุ๋ยที่กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตรวจพบ พบข้อสังเกตว่าราคาปุ๋ยปี 2550 กับปัจจุบันมีความต่างกันมาก จากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในปีผ่านมามีการนำเข้า 4 แสนกว่าตัน ราคาต้นทุนตันละ 8,177 บาท เมื่อรวมกับค่าบริหารจัดการ 5% และกำไร 2 % แล้ว ราคานำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 10,700 บาท แต่ปัจจุบันกลับพบว่าราคาปุ๋ยขายปลีกอยู่ที่ตันละ 17,700 เมื่อนำมาขายให้แก่เกษตรกรอยู่ที่ตันละ 18,000 ซึ่งเมื่อเทียบราคาปีที่แล้วกับปีนี้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยแพงขึ้นถึง 7 พันบาท/ตัน ส่วนข้อมูลการนำเข้าปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีที่แล้วจำนวน 3.6 แสนตัน เฉลี่ยต้นทุนตันละ 14,517 บาท เมื่อรวมกับค่าบริหารจัดการและกำไรจะอยู่ที่ 16,000/ตัน แต่ปัจจุบันราคาปุ๋ยสูตร 15-15-15 อยู่ที่ 19,300 บาท และขายให้แก่เกษตรกรในราคา 19,500 บาท ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ เห็นว่าเป็นราคาที่มีความผิดปกติและไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ” นายสมศักดิ์ กล่าว ทั้งนี้ หากผลการเจรจากับเอกชนนำเข้าปุ๋ย ซึ่งมีบริษัทผู้นำเข้ารายใหญ่ประมาณ 3 – 4 รายไม่สามารถปรับลดราคาลงได้ หรือเป็นราคาที่เกษตรกรได้รับความเดือนร้อน กระทรวงเกษตรฯ ก็ได้เตรียมมาตรการเสริมที่จะนำเข้าปุ๋ยจากประเทศผู้ผลิตปุ๋ยโดยตรง เพื่อนำเข้าปุ๋ยราคาที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกัน จะเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตเองได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
ที่มา : www.moac.go.th/buider/moaco2/information/view_index.php?id=4531

ตะกู ไม้เศรษฐกิจ ปลูกแล้วรวยจริงหรือ

ตะกู ไม้เศรษฐกิจ

ในทางวิชาการป่าไม้ ตะกูถือว่าเป็นไม้เบิกนำที่โตเร็วมากเพราะมีความเพิ่มพูนรายปี (MAI: Mean Annual Increment) ของเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (DBH: Diameter at Breast Height) เกินกว่า 3.0 เซนติเมตรต่อปี และมีเส้นรอบวงที่ระดับอก (GBH: Girth at Breast Height) เกินกว่า 100 เซนติเมตรเมื่ออายุ 10 ปี ตะกูเป็นไม้ที่มีอายุรอบหมุนเวียนในการตัดฟันที่เหมาะ สมเกินกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี นั้นคืออยู่ระหว่าง 10-20 ปีแต่ตะกูจะเป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วที่ควรปลูกหรือไม่ ยังมีปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงอีกหลายประการ เพราะตะกูไม่ใช่ไม้เศรษฐกิจโตเร็วชนิดใหม่ของไทย ส่วนป่าไม้ตะกูของไทยทั้งโดยภาครัฐและภาคเอกชนได้เกิดขึ้นและตายลงเมื่อเกือบสี่สิบปีมาแล้วพิจารณาจากชื่อสามัญแล้วแสดงว่าตะกูเป็นไม้พื้นเมืองของทวีปเอเอเชีย โดยขึ้นอยู่ในเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือกระจายพันธุ์ตามธรรมมาชาติตั้งแต่ประเทศเนปาล ไล่มาทางตะวันออกเรื่อยๆ จนถึงบังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทยมาเลเซีย อินโดนิเชีย ฟิลิปปินส์ ลงไปจนถึงเกาะปาปัวนิวกินี ซึ่งถือว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างมากพอสมควรสำหรับในประเทศไทยก็พบไม้ตะกูขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคส่วนของประเทศ เพราะเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้ค่อนข้างดี จากเหนือสุด คือ เชียงราย เชียงใหม่ จรดใต้สุด สตูล สงขลา และจากตะวันออก คือ ตราด จันทบุรี จรดตะวันตก คือ กาญจนบุรี อุทัยธานี แต่ตะกูมักจะขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ดินเป็นดินกะกอนที่ถูกน้ำพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน เป็นดินลึก ระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง นอกจากนี้ยังพบกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ตามสองข้างถนนตัดใหม่ซึ้งตัดผ่านป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้งที่มีความชุ่มชื้นสูงทั่วๆ ไป รวมทั้งตามริมลำธารในบริเวณไร่ร้างซึ้งป่าดิบซื้นหรือป่าดิบแล้งถูกแผ้วถางลงตะกูเป็นไม้ที่อ่อนไหวต่อความแห้งแล้งและน้ำค้างแข็งมาก คือไม่ทนแล้งและไม่ทนหนาว ที่อุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงจุดเยือกแข็ง แต่แต่ทนน้ำท่วมแช่ขังอยู่ได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ ทว่าน้ำต้องไม้ท่วมยอดและต้องไม่เข้าไปเยียบย่ำดินเหนือเรือนรากในช่วงที่น้ำท่วมขัง จึงมักพบเห็นไม้ตะกูในบริเวณที่ดินมีความชุ่มชื้นสูง ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปานกลางจนถึงความสูง 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส สูงสุดเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส แต่จะเจริญเติบโตได้ดีไนที่ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 21 – 32 องศา เซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,500 – 5,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีความชื้นในบรรยากาศไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์นั่นคือ ตะกูเป็นไม้โตเร็วที่ต้องการแสงสว่างเต็มที่ฝนตกสม่ำเสมอ ดินดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี และมีความชุ่มชื้นสูงตลอดปีตะกูเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่ม ลักษณะเด่นคือ ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ กิ่งแผ่กว้างตั้งฉากกับลำต้น ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาเพราะลิดกิ่งตามธรรมชาติได้ดี แต่บางถิ่นกำเนิดของเมล็ด (Provenance) โดยเฉพาธจากประเทศอินเดีย ลำต้นจะสูงเปลาเพราะมีกิ่งขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากเพราะลิดกิ่งตามธรรมชาติได้น้อย เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาปนน้ำตาล เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ดอกมีขนาดเล็กเกาะติดกันแน่นเป็นช่อสีขาวปนเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเรียงกันแน่นเป็นก่อนกลม ๆ ภายในมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก เมล็ดตะกูมีขนาดเล็กมาก คือ ประมาณ 0.44 X 0.66 มิลลิเมตร หรือถ้าเอาเมล็ดมาเรียงตามความยาว 1 เซนติเมดรจะมีประมาณ 15 เมล็ด แต่ถ้าเรียงเมล็ดตามความกว่าง 1 เซนติเมตรจะมีประมาณ 23 เมล็ด เมล็ดตะกูแห้ง 1 กิโลกรัมมีจำนวนประมาณ 18 – 26 ล้านเมล็ดผลแก่ของตะกูมีสีเหลืองเข้มซึ้งกวาง เก้ง นก และ สัตว์ป่าหลายชนิดชอบกินมาก ประกอบกับภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก สัตว์ป่าเหล่านี้จึงช่วยให้การสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) ของไม้ตะกูเกิดขึ้นได้ง่ายและทำให้พบเห็นกลู่มอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้ง ๆ ที่บางแห่งจะมองไม่เห็นแม่ไม้ในบริเวณข้างเคียงเลยก็ตามเมล็ดตะกูใหม่ ๆ มีอัตราการงอกสูงถึง 90 % แต่ถาเก็บทิ้งไว้ 1 ปีอัตราการงอกจะลดลงเหลือเพียง 5-10 % เท่านั้น ดังนั้นเมล็ดที่นำไปเพาะจะต้องเป็นเมล็ดเก็บใหม่เท่านั้น โดยเมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 3 – 4 สัปดาห์หลังการเพาะแต่กว่าจะย้ายต้นกล้าลงถุงพลาสติกได้ต้องรอให้อายุ 2 – 3 เดือน แล้วเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงย้ายซ้ำอีกอย่างน้อย 4 เดือน จึงจะได้ต้นกล้าที่สูงประมาณ 25 – 30 ซม.ซึ่งพร้อมที่จะนำไปปลูกได้จากเมล็ดไม้ตะกูกว่าจะได้ต้นกล้าที่ปลูกได้ต้องใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าการผลิตกล้าไม้กระถินเทพาเล็กน้อย แต่สั้นกว่าการผลิตเหง้าสักซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 10 – 12 เดือน นั้นคือ การผลิตไม้ตะกูไม่ยากอย่างที่คิด หาก ลงมือหว่านเมล็ดในเดือนพฤศจิกายนก็จะได้ต้นกล้าที่พร้อมจะนำไปปลูกได้ในตอนเดือนมิถุนายนของปีถัดไปนอกจากจะขยายพันธุ์โดยการอาศัยเพศ (Reproductive Propagation) คือการการเพราะเมล็ดดังกล่าวแล้ว ไม้ตะกูยังสามารถขยายพันธุ์โยไม่อาศัยเพศ (Vegetative Propagation) วิธีต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น การติดตาการต่อกิ่ง การเสียบยอด การตัดยอดปักชำ และการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งการแต่งหน่อภายหลังการตัดฟัน (Coppice System)เนื่องจากไม้ตะกูเป็นไม้ที่โตเร็วมาก ประกอบกับมีเรือนยอดแผ่กว้างเพราะกิ่งตั้งฉากกับลำต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมจึงไม่ควรจะน้อยกว่า 4 x 4 เมตร คือความหนาแน่นของหมู่ไม้ไม่เกิน 100 ต้นต่อไร่ หากปลูกในระบบเกษตรควรใช้ระยะปลูก 3 x 6 เมตร หรืออาจจะห่างกว่านี่ถึง 4 x 6 เมตรและ 6 x 6 เมตรก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชควบและจำนวนปีที่ต้องการจะปลูกพืชแทรกการสำรวจหาอัตราการรอดตายเพื่อทำการปลูกซ่อม การกำจัดวัชพืช การป้องกันไฟป่า เป็นมาตรการจัดการสวนป่าเบื้องต้นที่จำเป็นสำหลับสวนป่าทุกชนิด แต่สวนป่าที่ต้องการไม้ขนาดใหญ่เพื่อใช้ทำไม้แปรรูปหรือไม้บาง (Veneer) การลิดกิ่งและการตัดสางขยายระยะถือว่าเป็นมาตรการเสริมที่จำเป็นทว่าสวนป่าไม้ตะกูไม่ต้องทำการลิดกิ่ง เพราะสามารถลิดกิ่งตามธรรชาติได้ดีมากไม้ตะกูที่ปลูกเป็นสวนป่า โดยเฉพาะสวนป่าที่มีระยะปลูกค้อนข่างถี่หมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เป็นกลุ่ม ๆ ตามธรรมชาติแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของไม้ตะกูได้แก่ หนอนม้วนใบ (Margaronia hilararis) (Arthroschista hilararis) และนีมาโทดจำพวก Meloidogyne spp. เขาทำลายเรือนรากทำให้ไม้ตะกูยืนต้นตายแต่สาเหตุแห่งความล้มเหลวของสวนป่าไม้ในอดีตนั้นคือความไม้เหมาะสมของพืชที่ปลูก กล่าวคือ ถ้าดินเป็นดินทรายกรวด หิน ซึ้งไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นไว้ไนดินได้ดีเท่าที่ควรไม้ตะกูจะยืนต้นตาย เช่นเดียวกับการปลูกต้นตะกูบนพื้นที่ลาดชันซึ้งอยู่ห่างจากริมแม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง
ที่มา : www.taguluang.com

ทำไมต้องเกษตรอินทรีย์


ทำไมต้อง...เกษตรอินทรีย์ ?


ปุ๋ยเคมี หรือ ปุ๋ยสังเคราะห์ เป็นปุ๋ยที่ได้จากการสังเคราะห์ขึ้นมาจากสารอนินทรีย์ต่างๆที่เป็นธาตุอาหารหลักที่พืชต้องการ ซึ่งในที่นี้ก็คือธาตุอาหาร N – P – K โดยจะมีกรรมวิธีและกระบวนการผลิตที่จะปรุงแต่งสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวไปตามความชนิดและช่วงอายุของพืช ทั่วไปจะเรียกกันว่า “ สูตรปุ๋ย ” ซึ่งความหมายของสูตรปุ๋ยจะหมายถึงสัดส่วนของธาตุอาหารหลักแต่ละตัวที่มีอยู่ในเนื้อปุ๋ยรวมทั้งสิ้น 100 ส่วน ตัวอย่างเช่น ปุ๋ยสูตร 15 – 15 – 15 ให้คำอธิบายได้ว่า ในเนื้อปุ๋ย 100 ส่วนจะมี ไนโตรเจน ( N ) อยู่ 15 ส่วน, ฟอสฟอรัส ( P ) อยู่ 15 ส่วน และมี โปแตสเซียม ( K ) อยู่ 15 ส่วน รวมเป็น 45 ส่วน และอีก 55 ส่วนที่เหลือจะเป็นสารเติมแต่งอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คือ ดินขาว หรือ สูตร 16 – 8 – 8 จะหมายถึงว่ามีเนื้อปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารรวมแล้วเพียง 32 ส่วน ที่เหลือก็จะเป็นดินขาว ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมได้ว่าอย่างน้อย 40 ส่วนใน 100 ส่วนของปุ๋ยเคมีจะเป็นดินขาว เพราะดินขาวจะมีส่วนช่วยในการปั้นเม็ดให้กลมสวย ทำให้เม็ดปุ๋ยมีความแข็งไม่แตกร่วนในขณะเก็บไว้นานๆ รวมถึงช่วยเหนี่ยวรั้งไนโตรเจน ( N ) ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักตัวหนึ่งในเนื้อปุ๋ย ไม่ให้สลายตัวไปกับอากาศเร็วเกินไป แต่ดินขาวเองไม่เป็นประโยชน์ต่อต้นพืชในขณะที่ ปุ๋ยอินทรีย์ หรือ หากจะให้นึกภาพได้ชัดเจนก็คือ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ได้จากมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรและวัชพืช ที่ผ่านการหมักให้เน่าเปื่อยผุพังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งจนสลายตัวกลายเป็นอินทรีย์วัตถุ ธาตุอาหารที่พืชจะได้รับจากปุ๋ยอินทรีย์ มาจากแร่ธาตุต่างๆที่มีอยู่ในมูลสัตว์ เศษซากพืชซากสัตว์ เศษผลผลิตเหลือใช้จากการเกษตรหรือวัชพืช ซึ่งจะมีธาตุอาหารสำหรับพืชอยู่ครบทุกกลุ่ม ไม่เฉพาะเพียงธาตุอาหารหลักเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ธาตุอาหารที่ได้จากปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถกำหนดเป็นสูตรอาหารที่ชัดเจนและแน่นอนได้ ทั้งนี้เพราะสัดส่วนของธาตุอาหารที่ได้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นปุ๋ยอะไรและได้จากอะไร เท่าที่มีการตรวจสอบคุณค่าทางอาหารของปุ๋ยอินทรีย์โดยกองเกษตรเคมี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เคยวัดค่า N – P – K ได้สูงสุดไม่เกิน 6 – 10 – 2 เท่านั้นแล้วปุ๋ยเคมี ไม่ดีตรงไหน ?สิ่งที่พืชต้องการมากที่สุดในการเจริญเติบโต ก็คือธาตุอาหารทุกๆกลุ่มอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะผลิตออกมาเป็นดอกเป็นผลให้กับเกษตรกรผู้ปลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธาตุอาหารหลักหรือ N – P – K ปุ๋ยเคมีเองก็สามารถให้ธาตุอาหารหลักที่เป็นประโยชน์แก่พืชได้มากเท่าที่พืชต้องการ สิ่งนี้เป็นส่วนที่ดีของปุ๋ยเคมีแต่ในข้อเท็จจริงแล้ว ธาตุอาหารหลักไม่ได้เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ในปุ๋ยเคมี ในทางกลับกัน ปุ๋ยเคมีแต่ละสูตรที่ใช้กันในภาคการเกษตรมีสัดส่วนของธาตุอาหารหลักทุกตัวรวมกันแล้วไม่เกินร้อยละ 50 ( ชี้แจงไว้แล้วในข้างต้น ) ส่วนที่เหลือเป็นดินขาว ( Clay ) ซึ่งเป็นสารเติมแต่งทั้งหมด และดินขาวนี้เองที่เป็นข้อเสียของปุ๋ยเคมี เพราะดินขาวซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กจะแทรกตัวไปอัดแน่นอยู่ในช่องว่างของดิน เมื่อดินขาวได้รับหรือดูดความชื้นจากดิน ก็จะเปลี่ยนไปมีสภาพคล้ายน้ำแป้งและยึดเกาะเม็ดดินให้จับตัวกันแน่นขึ้น พร้อมกับขับไล่อากาศที่มีอยู่ในดินออกไปจนหมดหรือเหลืออยู่น้อยมาก ดังนั้น แปลงเกษตรที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันมาโดยตลอด ดินจะมีการเปลี่ยนสภาพเป็นแข็งกระด้าง ระบบรากและลำต้นของพืชไม่แข็งแรง เพาะปลูกไม่ได้ผลผลิตที่ดี ที่มา http://www.wayai.com/smfBB/index.php?topic=11.msg%25msg_id%25

วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เชิญชมต้นหม่อนยักษ์แห่งทุ่งลุยลาย



ต้นหม่อนยักษ์แห่งทุ่งลุยลาย




ประวัติของหม่อนไหม
เมื่อ 5,000 ปี ก่อน มนุษย์ยังไม่รู้จักประโยชน์ของต้นหม่อนและตัวไหม ตราบจนกระทั่งเมื่อ 4,500 ปี หนังสือจีนโบราณฉบับหนึ่งชื่อ ไคเภ็ก กล่าวว่า พระนางง่วนฮุย พระมเหสีของพระเจ้าอึ้งตี่ หรืออิ้งตี่ ได้เสด็จสวนหลวง ทอดพระเนตรเห็นตัวหนอนหลายตัวเกาะอยู่ที่ต้นหม่อน ต่อมาทรงเห็นตัวหนอนชักใยพันรอบตัว จึงหยิบมาพิจารณา เมื่อดึงออกมาจะเป็นเส้น ๆ มีความเหนียวดี พระนางทรงพระดำริว่าถ้านำมาทำเป็นผืนแพร เนื้อคงจะดีกว่าปอและป่านที่ใช้ทำเครื่องนุ่งห่มมาแต่ก่อน เมื่อพระนางสามารถเลี้ยงไหมควบเส้นไหมทอเป็นผืนสำเร็จตั้งแต่กาลครั้งนั้น และได้รับการถวายพระฉายาว่า “นางพญาแห่งการหัตกรรมไหม” ตั้งแต่นั้นมา การทำไหมก็แพร่กระจายไปตามตำบลต่าง ๆ ในประเทศจีนก่อนที่จะแพร่กระจายไปสู่นานาประเทศ ในอดีตกาล การปลูกหม่อนก็มุ่งเน้นที่จะนำใบหม่อนไปเลี้ยงไหมเพียงอย่างเดียว การเลี้ยงไหมก็มุ่งเน้นที่จะได้รังไหม ก่อนนำไปสาวเป็นเส้นเพื่อใช้ทอผ้าไหม แม้การเลี้ยงไหมจะพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมมานานแล้วก็ตาม กิจกรรมหลักก็คือ การได้เส้นไหมเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เมื่อไม่นานมานี้ได้มีการนำส่วนต่าง ๆ ของต้นหม่อนเส้นใยไหม หนอนไหม หรือแม้กระทั่งดักแด้ไหม ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ปัจจุบันเมื่อวิทยาการด้านต่าง ๆ เจริญมากขึ้น นักวิทยาศาสตร์เริ่มพัฒนาการใช้ประโยชน์จากหม่อนและไหม เพื่อให้มีคุณค่าและศักยภาพในการให้ประโยชน์มากขึ้นและกว้างขวางขึ้น


หม่อน (mulberry)
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus spp. เป็นไม้ยืนต้นจำพวกไม้พุ่ม อยู่ในวงศ์ Maraceae เช่นเดียวกับปอสา ขนุนและโพธิ์ เป็นต้น ลักษณะที่สำคัญของพืชในวงศ์นี้ คือ มียางมีขนที่ใบ (บางพันธุ์อาจมีน้อยมาก) มีเส้นใย ใบมีรูปร่างแตกต่างกัน ทั้งที่เป็นแฉกและไม่เป็นแฉก หม่อนแต่ละพันธุ์จะมีเพียงเพศเดียว ไม่เพศผู้ก็เพศเมีย มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่พบดอกทั้ง 2 เพศ อยู่ในต้นเดียวกัน หม่อนที่มีดอกเพศเมียจะมีเมล็ดสำหรับขยายพันธุ์แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากจะได้ต้นที่ไม่เหมือนพันธุ์เดิม เพราะมีการผสมข้ามพันธุ์ จึงนิยมขยายพันธุ์ด้วยการปักชำท่อนพันธุ์ หม่อนสามารถเจริญได้ดีตั้งแต่เขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อน ประโยชน์ของหม่อนมีหลากหลายประการด้วยกัน
แตวันนี้จะพาท่านมาชมต้นหม่อนยักษ์ที่บ้านหนองเชียงรอดใต้ หมู่ 7 ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ทางขึ้นเขื่อนจุฬาภรณ์นั้นเอง ท่านจะมองเห็นต้นหม่อนยักษ์ ยืนตระหง่านอยู่ข้างทางจนหลายท่านอาจไม่เชื่อว่าเป็นต้นหม่อนจริงๆ แต่พอท่านลงไปดูใบใกล้ๆ ก็จะทราบว่าเป็นต้นหม่อนจริงๆ เชิญมาแวะชมกันได้นะครับ สันนิษฐานว่า คงจะเป็นหม่อนพันธุ์ป่าที่งอกขึ้นตามธรรมชาติซึ่งยังไม่มีใครทราบประวัติที่แน่นอน ตำบลนี้หลายท่านคงเคยได้ยินจากเพลงลูกทุ่งร้อง โด่งดังสามารถร้องตามกันได้ทั่วเมืองคือเย็นจิตร พรเทวี นั่นเอง เดี๋ยวนี้คนทุ่งลุยลายพบอาชีพใหม่ที่สร้างความมั่นคงในความเป็นอยู่ได้นั่นคือการปลูกยางพาราจนเขียวขจีไปทั้งสองข้างทางแล้ว อยากมาเยี่ยมชมขอข้อมูลเพิ่มเติมมาทางคนเขียนบล็อกนี้ได้ครับ

อ้างอิง : “ ประโยชน์ของหม่อน” http://www.moac.go.th/builder/mu/index.php?page=414&clicksub=414&sub=124