วันอาทิตย์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คำแนะนำเรื่อง “การคลุมโคนต้นยางพาราในหน้าแล้ง"


การคลุมโคนต้นยางพารา ดูจะเป็นรายการที่เราควรพิจารณาเป็นอันดับต่อไป หรือบางคนก็อาจพิจารณาไว้ล่วงหน้าแล้ว สำหรับทางภาคใต้แล้ว คำแนะนำเรื่อง “การคลุมโคนต้นยางพาราในหน้าแล้งหรือหน้าร้อน” ในทุก ๆ ปีที่ผ่านมาดูจะเป็นเพียงเสียงกระซิบที่แผ่วเบา เพราะแม้ไม่ทำก็ไม่เป็นไร แต่สำหรับพื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เทคนิคการคลุมโคนต้นยางพาราคงเป็นหนึ่งในหลาย ๆ วิธีการที่จะบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดกับต้นยางพาราในหน้าแล้งโดยเฉพาะสำหรับต้นยางพาราที่อายุยังน้อยหรือ 1-3 ปี
การคลุมโคนต้นยางพาราในหน้าแล้งด้วยวัสดุหรือเศษซากพืชล้มลุกหลังจาก เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว เช่น ซังข้าว หรือต้นถั่วชนิดต่าง ๆ เป็นการรักษาหน้าดินและปกป้องความชื้นให้คงอยู่ในดินได้นาน และสุดท้ายก็จะกลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดินและบำรุงต้นยางพาราต่อไป การคลุมโคนต้นยางควรคลุมเป็นแนวกว้างหรือรัศมีประมาณ 80 ซม. คลุมให้หนาสักประมาณหนึ่งฝ่ามือหรือ 10 ซม. โดยเว้นช่องว่างบริเวณโคนต้นยางไว้ประมาณหนึ่งฝ่ามือ อาจจะคลุมรอบต้นแต่ละต้น หรือในกรณีที่มีเศษวัสดุมาก ๆ ก็อาจคลุมยาวไปบนแถวต้นยางโดยอาจจะคลุมให้เป็นพื้นที่ข้างละประมาณ 1 เมตรจากต้นยาง แต่การคลุมแบบนี้ถือว่าเสี่ยงต่อการจะถูกไฟไหม้ได้โดยง่าย หากจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องระมัดระวังกันเป็นพิเศษ
การคลุมโคนต้นยางดูเป็นเรื่องที่น่าทำมาก ๆ สำหรับพื้นที่ในเขตแห้งแล้ง ปัญหาที่อาจจะมีอยู่บ้างก็คือจะหาอะไรมาคลุม เรื่องนี้คงหนีไม่พ้นเรื่องพืชแซมยางประเภทล้มลุก หากชาวสวนยางพาราคาดหวังผลพลอยได้จากพืชแซมในประเด็นนี้ด้วย คงไม่ยากที่ชาวสวนยางจะวางแผนการปลูกพืชแซมให้เหมาะสม ขอยกตัวอย่างการจัดการเรื่องนี้จากสมาชิกเวบ(นี้)ผู้หนึ่งที่ใช้นามแฝงว่า “หนุ่มดอย” หรือ “I Love Yangpara” ซึ่งมีสวนยางพาราอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายไร่ทีเดียว
คุณหนุ่มดอยวางแผนไว้ว่า “ตอนแรกก็ปลูกข้าวโพด มิถุนายน(ฝนเริ่มมา)-กันยายน เสร็จแล้วเก็บเกี่ยวโดยไม่เผาทำลาย ให้ย่อยสลายไปเอง...และต่อจากนั้น ก็หว่านถั่วเขียวปลายกันยายน-ปลายพฤศจิกายน เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จ ถึงตอนนั้นก็หมดฝนแล้ว...ผมก็นำต้นถั่วเขียวมาคลุมโคนต้นยางพาราพร้อมกับใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ทำเอง..และก็รดน้ำ EM ที่หมักไว้...ผมคิดว่าจะลองทำแบบนี้ไปจนกว่ายางพาราอายุได้ 4-5 ปี” นี่ก็เป็นการเตรียมการที่ดีมาก ๆ ในการเตรียมสวนยางพาราให้พร้อมเมื่อหน้าแล้งวนมาเยือน..


ที่มา : http://www.live-rubber.com/

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 3-4 ปี



หากต้องปลูกพืชคลุมดิน ก็สามารถทำได้แต่ต้องเป็นพืชคลุมชนิดซีลูเรียม ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพร่มเงาได้ดี
เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 36 และ 42 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12 ตามอัตรา
สำหรับเขตปลูกยางพาราใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี

วิธีการใส่ปุ๋ย
ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย

ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
เมื่อต้นยางพาราอายุมากกว่านี้ จะต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางพาราที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่(ที่อาจจะทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้)
ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางพาราใหม่ เมื่อสวนยางพาราเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคน ไปจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว

ที่มา : http://www.live-rubber.com/

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1-2 ปี


การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1-2 ปี
1. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางที่มีขนาดใก้ลเคีย งกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหน้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
4. หากต้องการปลูกไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
5. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 12, 15 และ 18 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใช้สูตร 20-10-12 ตามอัตรา (โดยไม่แยกชนิดของดิน)
6. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
7. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดิน
8. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
9. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ ขนาด 2.4 เมตร การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
10. เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทังแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไหม้ที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 2-3 ปี
1. เมื่อสวนยางที่มีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
4. เมื่อต้นยางอายุครบ 24 และ 30 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
5. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
6. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
7. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
8. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
9. เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่
10. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางใหม่ เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคน ไปจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 3-4 ปี
1. หากต้องปลูกพืชคลุมดิน ก็สามารถทำได้แต่ต้องเป็นพืชคลุมชนิดซีลูเรียม ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพร่มเงาได้ดี
2. เมื่อต้นยางอายุครบ 36 และ 42 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
3. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
4. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
6. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
7. เมื่อยางอายุมากกว่านี้ จะต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
8. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
9. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางใหม่ เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคน ไปจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 4-5 ปี
1. เมื่อต้นยางอายุครบ 48 และ 54 เดือน ให้กำจัดวัชพืชในแถวต้นยางด้วยการหวดหรือตัดชิดดิน, ถาก หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) ในระหว่างแถวต้นยาง ควรหวดหรือตัดชิดดิน, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี
2. ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางใหญ่ เช่น สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
3. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
4. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
6. เมื่อต้นยางอายุครบ 48 เดือน ต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
7. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 5-6 ปี
1. เมื่อต้นยางอายุครบ 60 และ 66 เดือน ให้กำจัดวัชพืชในแถวต้นยางด้วยการหวดหรือตัดชิดดิน, ถาก หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) ในระหว่างแถวต้นยาง ควรหวดหรือตัดชิดดิน, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี
2. ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางใหญ่ เช่น สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
3. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
4. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
6. หมั่นสังเกตสีของใบยางในกรณีที่อาจมีโรครากเข้าทำลาย
7. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
เมื่อคุณภาพดินใก้ลมาถึงทางตัน หรือมีการใช้แต่เฉพาะปุ๋ยเคมีซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนดินสูญเสียคุณสมบัติทางชีวะ, เคมี และฟิสิกส์ สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำสำหรับเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นชาวสวนยางพาราหรือเกษตกรผู้ปลูกพืชอื่น คือการหันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใช้ธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ นั่นเอง ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ เช่นดินในเขตปลูกยางพาราใหม่อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยยางได้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน, ช่วยให้ดินอุ้มความชื้นได้มากขึ้น, ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะมีผลให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตเร็วขึ้น กว่าไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
เริ่มจากในขั้นตอนการขุดหลุม-กลบดินลงหลุม นอกจากจะคลุกเคล้าปุ๋ยหินฟอสเฟต 170 กรัม/หลุม กับดินชั้นล่างแล้ว ชาวสวนยางพาราควรผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตร 5 กิโลกรัม/หลุม ลงไปด้วย หลังจากปลูกยางพาราแล้ว ก็ควรหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ปีละ 1 ครั้ง โดยในปีแรกเมื่อต้นยางพาราอายุได้ 6 เดือน ก็ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น และเมื่อต้นยางพารามีอายุย่างเข้าปีที่ 2,3,4,5 และปีที่ 6 ควรใส่ปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี (สามารถใส่ได้มากกว่านี้แต่ควรคำนึงถึงต้นทุนด้วย)
หลักการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ควรใส่ให้ปุ๋ยสัมผัสกับดิน(กระจาย)มากที่สุดเพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพมีโอกาสได้ปรับปรุงดินอย่างทั่วถึง หลังจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว 15-20 วัน เมื่อดินเริ่มร่วนซุย จึงตามด้วยปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำ หากทำได้ตามขั้นตอนที่กล่าว(อาจเหนื่อยและใช้เวลาหน่อยน่ะ)ก็จะได้ผลต่อดิน และต่อคนอย่างคุ้มค่า
สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคใต้ แม้ว่าจะโชคดีที่พื้นที่ปลูกยางพาราเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุมากกว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็ยังมีพื้นที่บางส่วน บางแปลงที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย หรือที่ดินบางแปลงที่กำลังปลูกยางพาราเป็นที่ดินที่ปลูกยางเป็นรอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 แล้ว ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ก็จะช่วยให้ดินดีขึ้น ส่งผลต่อต้นยางพาราทำให้เจริญเติบโตดีกว่า การใช้แต่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว อย่างแน่นอน

การปลูกพืชคลุมดินชนิดผสม





การเตรียมเมล็ดพืชคลุม
เตรียมและผสมเมล็ดพืชคลุมดิน คาโลโปโกเนียม : เซนโตรซิมา : เพอราเรีย ในอัตราส่วน 5 : 4 : 1 หรือ 2 : 2 : 1 หรือ 1 : 1 : 1
เนื่องจากเมล็ดพืชคลุมมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก จึงควรกระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้น โดยนำไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำเดือด:น้ำเย็น อัตรา 2:1 ) นาน 12 ชั่วโมง เทน้ำออก นำไปผึ่งให้พอแห้งหมาด ๆ (หรือจะแช่เมล็ดพันธุ์ในกรดซัลฟูริคเข้มข้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 นาน 30 นาที นำไปล้าง แล้วผึ่งให้แห้งพอหมาด ๆ)
ผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตในอัตราส่วน 1.5 เท่าของน้ำหนักเมล็ดพืชคลุม คลุกเมล็ดพืชคลุมกับปุ๋ยให้เข้ากันให้ทั่ว
ใช้เมล็ดพืชคลุม อัตราไร่ละ 1 กก.
ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการปลูก
ควรทำการปลูกพืชคลุมดิน ต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโต และเถามีความแข็งแรงเพียงพอก่อนเข้าฤดูแล้ง
วิธีการปลูก
เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วและหนาแน่น คลุมพื้นที่และควบคุมวัชพืชได้เร็วขึ้น จึงควรกำจัดวัชพืชและควบคุมวัชพืชก่อนปลูกโดยการไถพรวน หรืออาจใช้สารเคมีฉีดพ่น(กรณีจำเป็น)ซึ่งมีทั้งสารเคมีประเภทก่อนวัชพืชงอกและประเภทหลังวัชพืชงอก เตรียมเมล็ดพันธุ์ไว้ อัตราไร่ละ 1 กก.จากนั้นให้พิจารณาเลือกวิธีปลูก ดังนี้
ปลูกแบบหว่าน โดยหว่านให้ห่างจากแถวต้นยางพาราด้านละ 2 เมตร เหมาะกับสวนยางพาราที่โล่งเตียนและเตรียมพื้นที่อย่างดี
ปลูกแบบเป็นแถว โดยปลูกเป็นแถวห่างกัน 2 เมตร จำนวน 3 แถว เหมาะกับสวนยางพาราที่ปลูกพืชแซม และสวนยางที่อยู่บนที่ลาดเท
ปลูกแบบเป็นหลุม โดยใช้ระยะ 30 x 100 ซม. จำนวน 5 แถว เหมาะสำหรับสวนยางพาราที่มีวัชพืชไม่หนาแน่น
การบำรุงรักษาพืชคลุม


ควรใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟต (0-3-0) เพื่อให้พืชคลุมเจริญเติบโตได้เร็ว แข็งแรง และเพิ่มปริมาณเศษซากทำให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตได้ดีขึ้น โดยหว่านในแถวพืชคลุมดิน ตามช่วงเวลาและอัตราการใส่ ดังนี้
อายุพืชคลุมดิน 2 เดือน อัตราปุ๋ย 15 กิโลกรัมต่อไร่อายุพืชคลุมดิน 5 เดือน อัตราปุ๋ย 30 กิโลกรัมต่อไร่ อายุพืชคลุมดิน 9 เดือน อัตราปุ๋ย 30 กิโลกรัมต่อไร่ปีต่อ ๆ ไป ปีละครั้ง อัตราปุ๋ย 30 กิโลกรัมต่อไร่
ข้อควรปฏิบัติในฤดูแล้ง
ควรทำแนวป้องกันไฟกว้าง 8 เมตร รอบ ๆ สวนและตลบเถาพืชคลุมในระหว่างแถวต้นยางพาราให้ห่างจากต้นยางประมาณ 1 เมตร

การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดและสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง


การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดและสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยางTapping Exploitation Physiology Research and Development on Increasing Rubber Productivity

คณะผู้วิจัย อารักษ์ จันทุมา พิชิต สมพโชค พิสมัย จันทุมา พนัส แพชนะศจีรัตน์ แรมลี นภาวรรณ เลขะวิวัฒน์ รัชนี รัตนวงศ์ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6ศูนย์วิจัยยางสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยประกอบด้วย 4 งานทดลอง งานที่ 1) การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดกับพันธ์ยางในเขตปลูกยางเดิม ผลทดลอง RRIT 226 ตอบสนองกรีดถี่ และสารเร่งน้ำยาง ยืดอายุกรีดยาง BPM 24 กรีด 1/2S 2d/3 ผลผลิต สูงสุ 10.6 กก./ต้น/ปี กรีด 1/4S d/1 สลับหน้าให้ผลผลิตมากกว่า กรีดหน้าเดียว AVROS 2037 และ MT/c/11-9/70 ไม่มีผลกระทบจากกรีด PB260 และ BPM 24 เส้นรอบต้นลดจากไม่กรีด 4.8 และ 6.8 เซนติเมตร งานที่ 2) ระบบกรีดยางกับพันธุ์ยางในเขต ปลูกยางใหม่ ผลทดลอง RRIM 600 กรีด 1/3S วันกรีด 3d/4 และ 2d/3 ให้ผลผลิตสะสมสูงกว่า 1/2S แต่สิ้นเปลืองเปลือกมากกว่า 1/3S d/2 ตั้งแต่ 18-29% การเพิ่มจำนวนวันกรีดในพื้นที่แห้งแล้ว 3d/4 กรีด 141 วัน/ปี 2d/3 กรีด 126 วัน/ปี d/2 กรีด 91 วัน/ปี d/3 กรีด 64 วัน/ปี 1/3S 2d/3 เหมาะสุด 288 กก./ไร่/ปี งานที่ 3) ระบบกรีดที่มีผลกับต้นยางสภาพแวดล้อมต่างๆ การกรีดปรกติและเจาะอัดแก๊สเร่งน้ำยาง 9 ปี กับต้นยางอายุ 20 ปี 6 พันธุ์ การเจาะอัดแก๊สให้ผลผลิตมากกว่า กรีดปรกติ 157-332% ผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อไม้ การเจาะอัดแก๊สไม่ทำให้สมบัติเชิงกลของไม้ยางลดต่ำลงผิดไปกรีดปกติ การเก็บรักษาก๊าซคาร์บอนในสวนยาง RRIM600 อายุ 2-25 ปี มวลชีวภาพ(กก./ต้น)Y=0.0082X2.5623 , R2 = 0.96, X เส้นรอบต้น (ซม.) ที่1.7 เมตร สูงจากพื้นดิน มวลชีวภาพ RRIM 600 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มากกว่า ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มากกว่าภาคตะวันออกและมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์ประกอบชีวเคมีน้ำยางต่อระบบกรีดกับยาง 6 พันธุ์ ใช้สารเร่งน้ำยาง 0, 2, 4, 8, และ 12 ครั้ง/ปี กรีด 1/2S d/3 6d/7 พันธุ์ยาง GT 1 เมทาโบลิซึมปานกลาง น้ำตาลปานกลาง RRIM 600, RRIC 110, PR 261, PR 255, BPM 25 เมทาลิซึมปานกลางน้ำตาลสูงและ PB235 เมทาโบลิซึมสูงน้ำตาลปานกลาง กลาง การกรีดสลับหน้าเร่งเพิ่มการให้ผลผลิตโดยเปิดกรีด 2 หน้าต่างระดับ 0.8 เมตร กรีด ? S d/2 สลับวันกรีด ผลผลิต 3 ปีแรก 3.07, 4.46 และ 5.62 กก./ต้น/ปี ใช้กับ RRIM 600 ที่เริ่มเปิดกรีด 3 ปี แรก ได้ผลผลิตสูงกว่า กรีดปรกติ 27% โดยไม่ใช้สารเร่งน้ำยาง ปีที่4-5 ผลผลิต สูงกว่ากรีดปรกติ 15% งานที่ 4) ทำแผนที่อาหารสะสมในต้นยาง วัดการกระจาย แป้งน้ำตาลตามระดับความสูงจากโคนถึง 3 เมตร สูงจากพื้น ตามฤดูกาล ใบร่วง ผลิใบ ฤดูร้อนและฤดูฝน ต้นยางไม่กรีด, กรีดปรกติ, กรีด+ET. ผลทดลองฤดูใบร่วงแป้งน้ำตาลมาก 60-80 มิลลิกรัมน้ำตาล กลูโคส ต่อ กรัมตัวอย่างแห้ง ฤดูผลิใบมีน้ำตาล 20-60 และผลการกรีดมีแป้งมากที่รากแก้ว
ที่มา : www.rubberthai.com