วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543

สาระที่เน้นตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543

กฎหมายแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับมาตรฐานสิทธิประโยชน์และความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายบริหาร และลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจเป็นกฎหมายที่กำหนดสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรองตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้อง
เพื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การระงับ ข้อพิพาทแรงงาน การจัด ตั้งสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ
เพื่อแสวงหา และคุ้มครองประโยชน์เกี่ยวกับการจ้างให้รัฐวิสาหกิจ
การกำหนดให้มีคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
ซึ่งเป็นคณะกรรมการไตรภาคีที่จะกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ การกำหนดให้มีคณะกรรมการ กิจการสัมพันธ์ในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นคณะกรรมการทวิภาคีเพื่อการปรึกษาหารือให้เกิดความเข้าใจซึ่งกัน และกันและหาทางปรองดองให้การทำงานของฝ่ายบริหารและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเกิดสันติสุข ดูหน้าที่คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ องค์ประกอบของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของสกย.ฝ่ายลูกจ้าง ๗ คน(ที่สร.กสย.ส่ง) นายจ้าง๗ คน นางสาวสุพัตรา ธนเสรีวัฒน์(รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ) ก.ส.ย. เป็นประธาน ข้อตกลงสภาพการจ้างต้องเจรจากันภายในกี่วัน ตกลงกันได้ประกาศในกี่วัน(เน้นสีแดง) ดูประกอบประกาศมาตรฐานการจ้างขั้นต่ำ ๒๙ พค ๒๕๔๙ เพวเวอร์พอยท์ที่แนบมา


พระราชบัญญัติ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543
--------------------------------------------------------------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2543
เป็นปีที่ 55 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543"
มาตรา 2* พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
*[รก.2543/31ก/1/7 เมษายน 2543]
มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534
มาตรา 4 พระราชบัญญัตินี้เป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดเสรีภาพในเคหสถาน และ การจำกัดเสรีภาพในการรวมกันเป็น สมาคม สหภาพ สหพันธ์สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน หรือหมู่คณะอื่น ซึ่งตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 35และมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 5 พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ให้รัฐวิสาหกิจทั้งหลายอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่ว่ากฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจนั้นหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องจะกำหนดไว้เช่นใดก็ตาม เว้นแต่รัฐวิสาหกิจที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 6 ในพระราชบัญญัตินี้
"รัฐวิสาหกิจ" หมายความว่า
(1) องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือกิจการของรัฐตามกฎหมายที่จัดตั้งกิจการนั้น และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานธุรกิจที่รัฐเป็นเจ้าของ
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่กระทรวง ทบวง กรม หรือทบวงการเมืองที่มีฐานะเทียบเท่า หรือรัฐวิสาหกิจตาม (1) มีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละห้าสิบ
"ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง
"นายจ้าง" หมายความว่า รัฐวิสาหกิจซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนรัฐวิสาหกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนรัฐวิสาหกิจด้วย
"ฝ่ายบริหาร" หมายความว่า ลูกจ้างระดับผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจในการจ้างเลิกจ้าง ขึ้นค่าจ้าง ตัดค่าจ้าง หรือลดค่าจ้าง
"สภาพการจ้าง" หมายความว่า หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานกำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้าง หรือลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้าง หรือการทำงาน
"ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง" หมายความว่า ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้
"ข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่า ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
"ปิดงาน" หมายความว่า การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
"นัดหยุดงาน" หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงาน เฉื่อยงานหรือถ่วงงานเพื่อให้การดำเนินงานบางส่วน หรือทั้งหมดของรัฐวิสาหกิจต้องหยุดชะงักหรือช้าลง
"สหภาพแรงงาน" หมายความว่า สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
"สหพันธ์แรงงาน" หมายความว่า สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้
"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
"นายทะเบียน" หมายความว่า อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย
"พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"พนักงานเจ้าหน้าที่" หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้ซึ่งรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 7 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานและพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้การแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

--------------------------------------------------------------------------------
หมวด 1
คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
มาตรา 8 ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์" ประกอบด้วย รัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นกรรมการโดยตำแหน่งและกรรมการอื่นซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากฝ่ายนายจ้างห้าคนและฝ่ายลูกจ้างห้าคน และให้อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นกรรมการและ เลขานุการ
ฝ่ายนายจ้างตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า ผู้ว่าการ ผู้อำนวยการ กรรมการผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่คล้ายคลึงกันแต่เรียกชื่ออย่างอื่นในรัฐวิสาหกิจ
ฝ่ายลูกจ้างตามวรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งจากผู้ซึ่งได้รับการเลือกตั้งในระหว่างประธานสหภาพแรงงานด้วยกัน
การเลือกตั้งให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 9 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่ง อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา 10 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 9 กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) รัฐมนตรีให้ออกเพราะมีการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ หรือมีความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(4) พ้นจากการเป็นนายจ้างหรือพ้นจากการเป็นประธานสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณี
(5) เป็นบุคคลล้มละลาย
(6) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือ
(7) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
ในกรณีที่กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างและให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
การแต่งตั้งกรรมการแทนตำแหน่งที่ว่างก่อนครบวาระของกรรมการฝ่ายลูกจ้างให้แต่งตั้งจากประธานสหภาพแรงงาน ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งที่อยู่ลำดับถัดไปของการเลือกตั้งคราวที่กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระได้รับเลือกตั้ง
มาตรา 11 ในกรณีที่กรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งดำรงตำแหน่งครบตามวาระแล้วแต่ยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระปฏิบัติหน้าที่ไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่จะเข้ารับหน้าที่
มาตรา 12 การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด และต้องมีกรรมการฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคน จึงเป็นองค์ประชุม
ในการประชุมคราวใด ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
มติที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ในการประชุมคราวใด ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่งให้จัดให้มีการประชุมอีกครั้งหนึ่งภายในสิบห้าวันนับตั้งแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก การประชุมครั้งหลังนี้แม้จะไม่มีกรรมการฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายลูกจ้างมาประชุม ถ้ามีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด ก็ให้ถือเป็นองค์ประชุม
มาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้าง
(2) เสนอคณะรัฐมนตรีกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้
(3) พิจารณาให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามวรรคสาม และมาตรา 28
(4) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 31
(5) แต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานก่อนมีคำวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 31 วรรคห้า
(6) พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดตามมาตรา 38
(7) พิจารณาวินิจฉัยและออกคำสั่งตามมาตรา 39
(8) เสนอความเห็นและให้คำแนะนำแก่รัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย
(9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างตาม (1) เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใด เห็นสมควรปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามมาตรา 13 (2) จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้
มาตรา 14 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกินห้าคน เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการเพื่อให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นในเรื่องที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา 15 คณะกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่คณะกรรมการมอบหมาย
มาตรา 16 ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ให้คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมายมีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในสถานที่ทำงานของนายจ้าง สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือสำนักงานของนายจ้าง สหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน ในระหว่างเวลาทำการเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงหรือตรวจสอบเอกสารได้ตามความจำเป็น
(2) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ตอบหนังสือสอบถามหรือส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 17 คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการจะมีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิมาแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องก็ได้
มาตรา 18 ให้มีสำนักงานคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานและให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ปฏิบัติงานธุรการของคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้
(2) ปฏิบัติหน้าที่ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการมอบหมาย

--------------------------------------------------------------------------------
หมวด 2
คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์
มาตรา 19 ให้มีคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ขึ้นในรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งประกอบด้วย กรรมการของรัฐวิสาหกิจนั้นคนหนึ่งซึ่งคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแห่งนั้นกำหนดเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้างซึ่งรัฐวิสาหกิจแห่งนั้น แต่งตั้งจากฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น ตามจำนวนที่รัฐวิสาหกิจกำหนด ซึ่งต้องไม่น้อยกว่าห้าคนแต่ไม่เกินเก้าคน และผู้แทนฝ่ายลูกจ้างซึ่งแต่งตั้งจากสมาชิกของสหภาพแรงงาน ในรัฐวิสาหกิจนั้นตามที่สห ภาพแรงงานเสนอ มีจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนฝ่ายนายจ้างเป็นกรรมการ
ในกรณีที่ไม่มีสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจใดหรือในระหว่างที่สหภาพแรงงานต้องเลิกไปตามมาตรา 65 ให้รัฐวิสาหกิจนั้นจัดให้ลูกจ้างที่มิใช่ฝ่ายบริหารเลือกตั้งผู้แทนฝ่ายลูกจ้างจำนวนเท่ากับจำนวนผู้แทนฝ่ายนายจ้างเข้าร่วมเป็นกรรมการ
ให้ลูกจ้างซึ่งได้รับเลือกตั้งตามวรรคสองอยู่ในตำแหน่งกรรมการจนกว่าจะสามารถเลือกตั้งผู้แทนของสหภาพแรงงานตามวรรคหนึ่งได้
มาตรา 20 กรรมการกิจการสัมพันธ์มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้
มาตรา 21 นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 20 กรรมการกิจการสัมพันธ์พ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
(4) พ้นจากการเป็นฝ่ายบริหารหรือเมื่อรัฐวิสาหกิจเห็นควรให้มีการเปลี่ยนผู้แทนใหม่ สำหรับกรณีของผู้แทนฝ่ายนายจ้าง
(5) พ้นจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานหรือเมื่อสหภาพแรงงานเห็นควรให้มีการเปลี่ยนผู้แทนใหม่หรือพ้นจากการเป็นลูกจ้าง สำหรับกรณีของผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง
(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษในกรณีที่กรรมการกิจการสัมพันธ์พ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ให้มีการแต่งตั้ง กรรมการกิจการสัมพันธ์แทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ผู้ซึ่งได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน
มาตรา 22 ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และให้นำความในมาตรา 12 มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์โดยอนุโลม
ในกรณีที่กรรมการกิจการสัมพันธ์ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามร้องขอ ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์จัดให้มีการประชุมภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
มาตรา 23 ให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) พิจารณาให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาการแรงงานสัมพันธ์
(2) หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในรัฐวิสาหกิจนั้น
(3) พิจารณาปรับปรุงระเบียบข้อบังคับในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์ต่อนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐวิสาหกิจนั้น
(4) ปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาตามคำร้องทุกข์ของลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานรวมถึงการร้องทุกข์ที่เกี่ยวกับการลงโทษทางวินัย
(5) ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง
มาตรา 24 ให้นายจ้างอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการกิจการสัมพันธ์หรืองดเว้นการกระทำใด ๆ อันเป็นผลให้กรรมการกิจการสัมพันธ์ไม่สามารถทำงานตามอำนาจหน้าที่ต่อไปได้
นายจ้างจะเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง หรือตัดค่าจ้าง กรรมการกิจการสัมพันธ์ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน เว้นแต่กรรมการกิจการสัมพันธ์ผู้นั้นจะให้ความยินยอมเป็นหนังสือ หรือเป็นการเลิกจ้างเพราะเหตุเกษียณอายุ

--------------------------------------------------------------------------------
หมวด 3
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างและวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน
มาตรา 25 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้มีระยะเวลาใช้บังคับตามที่นายจ้างและสหภาพแรงงานได้ตกลงกัน แต่จะตกลงกันให้มีผลใช้บังคับเกินกว่าสามปีไม่ได้ถ้ามิได้กำหนดระยะเวลาไว้ ให้ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับหนึ่งปีนับแต่วันที่นายจ้างและลูกจ้างได้ตกลงกันหรือนับแต่วันที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงานแล้วแต่กรณี
ในกรณีที่ระยะเวลาที่กำหนดตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสิ้นสุดลงถ้ามิได้มีการเจรจาตกลงกันใหม่ ให้ถือว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นมีผลใช้บังคับต่อไปอีกคราวละหนึ่งปี
การเรียกร้องให้มีการกำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หรือการแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง นายจ้างหรือสหภาพแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบและให้ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องส่งสำเนาข้อเรียกร้องให้นายทะเบียนทราบโดยมิชักช้า
ให้ฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องระบุชื่อผู้ซึ่งมีอำนาจทำการแทนเป็นผู้แทนในการเจรจาซึ่งต้องมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน
ผู้แทนในการเจรจาฝ่ายนายจ้างต้องแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารของรัฐวิสาหกิจนั้น และผู้แทนในการเจรจา ฝ่ายสหภาพแรงงานต้องแต่งตั้งจากกรรมการหรือสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น
มาตรา 26 เมื่อได้รับข้อเรียกร้องแล้ว ให้ฝ่ายที่รับข้อเรียกร้องแจ้งชื่อผู้แทนในการเจรจาจำนวนไม่เกินเจ็ดคนเป็นหนังสือให้ฝ่ายที่ยื่นข้อเรียกร้องทราบโดยมิชักช้าและให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มเจรจากันภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับข้อเรียกร้อง
นายจ้างหรือสหภาพแรงงานจะแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้แทนของตนก็ได้แต่ต้องมีจำนวนฝ่ายละไม่เกินสองคน
มาตรา 27 ถ้านายจ้างกับสหภาพแรงงานสามารถตกลงเกี่ยวกับข้อเรียกร้องได้แล้วให้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนั้นเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้แทนในการเจรจาของนายจ้างและสหภาพแรงงาน ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้แทนฝ่ายตนและให้นายจ้างประกาศข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยเปิดเผยไว้ ณ สถานที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน โดยเริ่มประกาศภายในสามวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน
ให้นายจ้างนำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามวรรคหนึ่งไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนหรือผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้ตกลงกัน
มาตรา 28 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดตามมาตรา 13 (2) นายจ้างจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการและคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินการได้
มาตรา 29 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลผูกพันนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
ห้ามมิให้นายจ้างทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้นจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า
มาตรา 30 ในกรณีที่ไม่มีการเจรจากันภายในกำหนดตามมาตรา 26 หรือมีการเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้ถือว่าได้มีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้น และให้ฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานทราบภายในเจ็ดสิบสองชั่วโมงนับแต่เวลาที่พ้นกำหนดหรือนับแต่เวลาที่ตกลงกันไม่ได้แล้วแต่กรณี
มาตรา 31 เมื่อพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับแจ้งตามมาตรา 30 แล้วให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานดำเนินการประนอมข้อพิพาทภายในกำหนดสิบวันนับแต่วันที่พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานได้รับหนังสือแจ้ง
ถ้าได้มีการตกลงกันภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้นำมาตรา 27 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ภายในระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าข้อพิพาทแรงงานนั้นเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ และให้ฝ่ายที่แจ้งข้อเรียกร้องนำข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ส่งให้คณะกรรมการภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้
เมื่อคณะกรรมการได้รับข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับข้อพิพาทแรงงานดังกล่าว
ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควร คณะกรรมการจะแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานดังกล่าวก่อนมีการวินิจฉัยชี้ขาดก็ได้
มาตรา 32 คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด ฝ่ายยื่นข้อเรียกร้องและฝ่ายรับข้อเรียกร้องต้องปฏิบัติตาม แต่ถ้าเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือกำหนดตามมาตรา 13 (2) จะมีผลใช้บังคับได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วและให้คำวินิจฉัยชี้ขาดมีผลใช้บังคับได้เป็นเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณี
มาตรา 33 ไม่ว่ากรณีใดห้ามมิให้นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างนัดหยุดงาน
มาตรา 34 เมื่อได้มีการยื่นข้อเรียกร้องตามมาตรา 25 แล้ว ถ้าข้อเรียกร้องนั้นยังอยู่ในระหว่างการเจรจา การประนอม การไกล่เกลี่ย หรือการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามมาตรา 26มาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 31 ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง หรือโยกย้ายหน้าที่การงานลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ หรือ อนุกรรมการซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่บุคคลดังกล่าว
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใดทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้วและยังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือนนั้น ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น ต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำต้องตักเตือน
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ห้ามมิให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง สนับสนุน หรือก่อเหตุการณ์นัดหยุดงาน
มาตรา 35 ห้ามมิให้นายจ้าง
(1) เลิกจ้างหรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างได้ดำเนินการขอจัดตั้งสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน หรือเข้าเป็นสมาชิก หรือกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหพันธ์แรงงาน กรรมการกิจการสัมพันธ์กรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรืออนุกรรมการ หรือ ดำเนินการฟ้องร้อง เป็นพยาน หรือให้หลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นายทะเบียนหรือคณะกรรมการ หรือต่อศาล
แรงงาน
(2) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน สหพันธ์แรงงาน กรรมการกิจการสัมพันธ์ หรือให้ หรือตกลงจะให้เงิน หรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้างหรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงาน เพื่อมิให้สมัคร หรือรับสมัครลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
(3) ขัดขวางการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวางการใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
(4) เข้าแทรกแซงการดำเนินการของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงานโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 36 ห้ามมิให้ผู้ใด
(1) บังคับหรือขู่เข็ญ ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ให้ลูกจ้างต้องเป็นหรือห้ามไม่ให้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือต้องออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานหรือ
(2) กระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้ฝ่ายนายจ้างฝ่าฝืนมาตรา 35
มาตรา 37 ในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งหรือคำชี้ขาดตามมาตรา 32 มีผลใช้บังคับ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของกรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกสหภาพแรงงาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่มีการยุบเลิกรัฐวิสาหกิจหรืองานส่วนหนึ่งส่วนใดของรัฐวิสาหกิจหรือบุคคลดังกล่าวได้กระทำการดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างโดยนายจ้างได้ว่ากล่าวตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว และยังไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้รับทราบหนังสือเตือนนั้น ทั้งนี้ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น ต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำต้องตักเตือน
(4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
(5) กระทำการใด ๆ เป็นการยุยง สนับสนุน หรือชักชวนให้มีการฝ่าฝืนข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือคำชี้ขาด
มาตรา 38 ให้ผู้เสียหายเนื่องจากการฝ่าฝืนมาตรา 35 หรือมาตรา 37 มีสิทธิยื่นคำร้องได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับความเสียหายกล่าวหาผู้ฝ่าฝืนต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาด
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดและออกคำสั่งภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง และให้ฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ในกรณีนี้ ให้คณะกรรมการมีอำนาจออกคำสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน หรือให้จ่ายค่าเสียหาย หรือให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่เห็นสมควรได้
มาตรา 39 ในกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่า กรรมการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานผู้ใดดำเนินการผิดวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงาน แล้วแต่กรณี และการดำเนินการนั้นเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน หรือความมั่นคงของประเทศ ให้ส่งเรื่องต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยมิชักช้า
ให้คณะกรรมการวินิจฉัยและออกคำสั่งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและให้ผู้ฝ่าฝืนปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

--------------------------------------------------------------------------------
หมวด 4
สหภาพแรงงาน
มาตรา 40 สหภาพแรงงานจะมีขึ้นได้ ก็แต่โดยอาศัยอำนาจตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้สหภาพแรงงานต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง และระหว่างลูกจ้างด้วยกัน
(2) พิจารณาช่วยเหลือสมาชิกตามคำร้องทุกข์
(3) แสวงหาและคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างของลูกจ้าง
(4) ดำเนินการและให้ความร่วมมือเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจ
ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งมีสหภาพแรงงานได้เพียงสหภาพแรงงานเดียว
มาตรา 41 บุคคลดังต่อไปนี้ มีสิทธิรวมตัวกันจัดตั้งสหภาพแรงงานได้
(1) เป็นลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจเดียวกันที่มิใช่ฝ่ายบริหาร
(2) บรรลุนิติภาวะแล้ว และ
(3) มีสัญชาติไทย
มาตรา 42 สหภาพแรงงานจะตั้งขึ้นได้ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดแต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ ต้องมีข้อบังคับ และต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน และเมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ให้สหภาพแรงงานเป็นนิติบุคคล
มาตรา 43 การขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน ให้ลูกจ้างมีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานจำนวนไม่น้อยกว่าสิบคน เป็นผู้เริ่มก่อการ ยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน พร้อมด้วยร่างข้อบังคับของสหภาพแรงงานอย่างน้อยสามฉบับ บัญชีรายชื่อและลายมือชื่อของผู้แสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของลูกจ้างทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ
คำขอและบัญชีรายชื่อให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด
ลูกจ้างคนหนึ่งจะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้เพียงแห่งเดียว
เมื่อนายทะเบียนรับคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานแล้ว ให้นายทะเบียนปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างทั้งหมดทราบ
มาตรา 44 ข้อบังคับของสหภาพแรงงาน ต้องมีข้อความดังต่อไปนี้
(1) ชื่อ ซึ่งต้องมีคำว่า "สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ" กำกับไว้หน้าชื่อนั้นด้วย
(2) วัตถุประสงค์
(3) ที่ตั้งสำนักงาน
(4) วิธีรับสมาชิกและการขาดจากสมาชิกภาพ
(5) อัตราเงินค่าสมัครและค่าบำรุงและวิธีการชำระเงิน
(6) ข้อกำหนดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของสมาชิก
(7) ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการ ได้แก่ จำนวนกรรมการ การเลือกตั้งกรรมการ วาระของการเป็นกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการประชุมของคณะกรรมการ
(8) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
(9) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารสหภาพแรงงาน
(10) ข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้จ่าย การเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินอื่น ตลอดจนการทำบัญชีและการตรวจบัญชี
ข้อบังคับตามวรรคหนึ่ง ต้องมีสาระที่สามารถเอื้ออำนวยให้การดำเนินงานของสหภาพแรงงานเป็นไปโดยเกิดความเป็นธรรม และรักษาประโยชน์ของสมาชิกและลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจ และต้องไม่มีสาระเป็นการกีดกันการเข้าเป็นสมาชิกหรือต้องขาดจากสมาชิกภาพโดยไม่มีเหตุอันควร
มาตรา 45 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจใดและตรวจสอบแล้วเห็นว่า วัตถุประสงค์ถูกต้องตามขอบเขตของมาตรา 40 และไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติถูกต้องตามมาตรา 41 คำขอดังกล่าว มีข้อความตลอดจนเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ตามมาตรา 43 และข้อบังคับถูกต้องตามมาตรา 44 มีรายชื่อและลายมือชื่อผู้แสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของลูกจ้างทั้งหมด แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ และยังไม่มีการจดทะเบียนสหภาพแรงงานขึ้นในรัฐวิสาหกิจนั้น ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสหภาพแรงงาน ให้แก่สห
ภาพแรงงานนั้น
คำขอจดทะเบียนรายใด มีข้อความตลอดจนเอกสารหลักฐานไม่ครบถ้วนถูกต้องอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีผู้แสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่ถึงร้อยละยี่สิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนรายดังกล่าวดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องครบถ้วนภายในกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีหนังสือแจ้งให้ทราบถ้าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่ดำเนินการดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลานั้น
ให้ถือว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานรายดังกล่าวเป็นอันตกไป
มาตรา 46 ในกรณีที่มีผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจใดเกินหนึ่งราย ถ้าปรากฏว่าคำขอจดทะเบียนรายใดมีข้อความและเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้องตลอดจนได้แจ้งจำนวนผู้แสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานถึงร้อยละยี่สิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดตามมาตรา 45 เป็นลำดับแรก ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนสหภาพแรงงานนั้นแต่ถ้ามีคำขอที่มีลักษณะครบถ้วนดังกล่าวเกินหนึ่งราย ให้นายทะเบียนดำเนินการให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแต่ละรายมาร่วมพิจารณาทำความตกลงเพื่อรวมเป็นคำขอเดียวกัน ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ ให้รับจดทะเบียนสหภาพแรงงานที่มีจำนวนผู้แสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกมากที่สุด ถ้ายังปรากฏว่ามีคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงาน โดยมีจำนวนรายชื่อผู้แสดงความจำนงเข้าเป็นสมาชิกมากที่สุดเท่ากันเกินหนึ่งราย ให้นาย
ทะเบียนดำเนินการจับสลากโดยเปิดเผยระหว่างผู้ยื่นคำขอดังกล่าวและรับจดทะเบียนสหภาพแรงงานรายที่จับสลากได้
มาตรา 47 ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งดังกล่าว
ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์ และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา 48 เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศการจดทะเบียนสหภาพแรงงานในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 49 ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกภายในหนึ่งร้อยยี่สิบนับแต่วันที่จดทะเบียน เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงานและมอบหมายการทั้งปวงให้แก่คณะกรรมการสหภาพแรงงานเลือกตั้งผู้สอบบัญชี และอนุมัติร่างข้อบังคับที่ได้ยื่นต่อนายทะเบียนตามมาตรา 45
เมื่อที่ประชุมใหญ่ได้เลือกตั้งคณะกรรมการสหภาพแรงงาน และอนุมัติร่างข้อบังคับแล้ว ให้นำสำเนาข้อบังคับและรายชื่อ ที่อยู่ อาชีพ หรือวิชาชีพของกรรมการสหภาพแรงงานไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ
มาตรา 50 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสหภาพแรงงานและการเปลี่ยนแปลงกรรมการสหภาพแรงงาน จะกระทำได้โดยมติของที่ประชุมใหญ่และต้องนำไปจดทะเบียนภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ
การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับและการเปลี่ยนแปลงกรรมการสหภาพแรงงานตามวรรคหนึ่ง จะมีผลใช้บังคับต่อเมื่อนายทะเบียนได้รับจดทะเบียนแล้ว
ให้นำมาตรา 45 มาใช้บังคับแก่การขอแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับและการเปลี่ยนแปลงกรรมการสหภาพแรงงานโดยอนุโลม
มาตรา 51 สมาชิกของสหภาพแรงงานในรัฐวิสาหกิจใดจะต้องเป็นลูกจ้างในรัฐวิสาหกิจนั้นตลอดเวลาที่ยังเป็นสมาชิก
ห้ามมิให้ฝ่ายบริหารเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
มาตรา 52 สมาชิกของสหภาพแรงงานมีสิทธิขอตรวจสอบทะเบียนสมาชิกเอกสาร หรือบัญชีเพื่อทราบการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานได้ในเวลาเปิดทำการ
ในการขอตรวจสอบตามวรรคหนึ่ง เจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานต้องให้ความสะดวกตามสมควร
มาตรา 53 สมาชิกภาพของสมาชิกสหภาพแรงงานสิ้นสุดลง เมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ที่ประชุมใหญ่ให้ออก เพราะมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
(4) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 51
มาตรา 54 เพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงาน ให้สหภาพแรงงานมีสิทธิหน้าที่ดังต่อไปนี้
(1) ยื่นข้อเรียกร้องต่อฝ่ายนายจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้างแทนสมาชิก
(2) ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์เพื่อพิจารณาตามมาตรา 23 (4)
(3) ตั้งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์
(4) จัดให้มีการให้บริการเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์ ทั้งนี้ ตามที่ที่ประชุมใหญ่เห็นสมควร
(5) เรียกเก็บเงินค่าสมัครเป็นสมาชิกและเงินค่าบำรุงตามอัตราที่กำหนดในข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
(6) ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 40
มาตรา 55 ให้สหภาพแรงงานมีคณะกรรมการสหภาพแรงงานเป็นผู้ดำเนินกิจการและเป็นผู้แทนของสหภาพแรงงานในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก เพื่อการนี้คณะกรรมการสหภาพแรงงานจะมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนทำแทนก็ได้
คณะกรรมการสหภาพแรงงานอาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสหภาพแรงงานเพื่อปฏิบัติงานตามที่มอบหมายได้
คณะกรรมการสหภาพแรงงานประกอบด้วย ประธานสหภาพแรงงานเป็นประธานกรรมการและมีกรรมการอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ
มาตรา 56 กรรมการสหภาพแรงงานหรืออนุกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 55 ต้องเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานนั้น
กรรมการสหภาพแรงงานซึ่งนายทะเบียนสั่งให้ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 63จะดำรงตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงานใหม่ได้ ต่อเมื่อพ้นกำหนดเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่นายทะเบียนสั่งให้ออกจากตำแหน่ง
มาตรา 57 สหภาพแรงงานจะกระทำการดังต่อไปนี้ได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่
(1) แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
(2) เลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน เลือกตั้งผู้สอบบัญชี รับรองงบดุล รายงานประจำปีและงบประมาณ
(3) จัดให้มีการให้บริการเพื่อสวัสดิการของสมาชิก หรือจัดสรรเงินหรือทรัพย์สินเพื่อสาธารณประโยชน์
(4) ร่วมจัดตั้งหรือเข้าเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงาน
(5) รับเงินช่วยเหลือจากบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย หรือคนต่างด้าวตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(6) เลิกสหภาพแรงงาน
มาตรา 58 เมื่อสหภาพแรงงานปฏิบัติการดังต่อไปนี้ เพื่อประโยชน์ของสมาชิกสหภาพแรงงาน ให้สหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพแรงงาน อนุกรรมการสหภาพแรงงาน และเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงานได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกกล่าวหา หรือฟ้องร้องทางอาญาหรือทางแพ่ง
(1) เข้าร่วมเจรจาทำความตกลงกับนายจ้าง เพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
(2) ชี้แจงหรือโฆษณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง หรือข้อพิพาทแรงงานหรือการดำเนินงานของสหภาพแรงงาน
ทั้งนี้ เว้นแต่เป็นความผิดทางอาญาในลักษณะความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน เกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย เกี่ยวกับเสรีภาพ และชื่อเสียง เกี่ยวกับทรัพย์และความผิดในทางแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดทางอาญาในลักษณะดังกล่าว
มาตรา 59 การให้กรรมการสหภาพแรงงานไปดำเนินงานสหภาพแรงงานหรือไปร่วมการประชุมสหภาพแรงงานหรือสัมมนาใด ๆ โดยถือเสมือนว่าการไปดำเนินงานดังกล่าวเป็นการทำงานให้กับนายจ้างให้เป็นไปตามที่สหภาพแรงงานและนายจ้างจะได้ตกลงกัน
ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการของสหภาพแรงงานมีสิทธิลาไปร่วมประชุมสหภาพแรงงานหรือร่วมการประชุมหรือสัมมนาอื่นได้ ทั้งนี้ ให้สหภาพแรงงานแจ้งให้นายจ้างทราบล่วงหน้า และให้ถือว่าวันเวลาที่ลูกจ้างไปดำเนินงานดังกล่าวเป็นวันทำงานให้กับนายจ้าง
มาตรา 60 สหภาพแรงงานต้องจัดให้มีทะเบียนสมาชิกตามแบบที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด และเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานพร้อมที่จะให้ตรวจสอบได้ในเวลาทำการ
ให้สหภาพแรงงานประกาศวันและเวลาเปิดทำการไว้ที่สำนักงานของสหภาพแรงงาน
มาตรา 61 สหภาพแรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบบัญชีและต้องเสนองบดุลพร้อมด้วยรายงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีต่อที่ประชุมใหญ่
เมื่อที่ประชุมใหญ่รับรองงบดุลและรายงานการสอบบัญชีแล้ว ให้ส่งสำเนาหนึ่งชุดให้แก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ที่ประชุมใหญ่มีมติรับรอง
มาตรา 62 ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายมีอำนาจสั่งให้นายจ้าง กรรมการของสหภาพแรงงาน หรือสมาชิกของสหภาพแรงงาน กระทำการหรืองดเว้นการกระทำใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือที่กำหนดไว้ในกฎหมาย หรือข้อบังคับของสหภาพแรงงานแล้วแต่กรณี และให้มีอำนาจดังต่อไปนี้
(1) เข้าไปในรัฐวิสาหกิจหรือสำนักงานของสหภาพแรงงานในเวลาทำการ เพื่อสอบข้อเท็จจริงหรือตรวจสอบกิจการของสหภาพแรงงาน
(2) สั่งให้ฝ่ายนายจ้าง กรรมการสหภาพแรงงาน อนุกรรมการสหภาพแรงงาน หรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรงงาน ส่งหรือแสดงเอกสาร หรือบัญชีของสหภาพแรงงาน เพื่อประกอบการพิจารณากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้น
(3) สอบถามบุคคลใน (2) หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาเพื่อสอบถามหรือให้ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน
มาตรา 63 นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการสหภาพแรงงานผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการสหภาพแรงงาน ออกจากตำแหน่งได้ เมื่อปรากฏว่า
(1) กระทำการอันมิชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่
(2) ฝ่าฝืนมาตรา 57 (5)
(3) ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา 62
(4) ดำเนินการไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของสหภาพแรงงานอันเป็นการขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจจะเป็นภัยต่อเศรษฐกิจหรือความมั่นคงของประเทศ หรือ
(5) ให้หรือยินยอมให้ผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งมิใช่กรรมการสหภาพแรงงานเป็นผู้ดำเนินกิจการของสหภาพแรงงาน
คำสั่งตามวรรคหนึ่งให้ทำเป็นหนังสือและแจ้งให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องและสหภาพแรงงานทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 64 ผู้ซึ่งได้รับคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 63 มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรีโดยทำเป็นหนังสือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยชี้ขาดของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
มาตรา 65 สหภาพแรงงานย่อมเลิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้
(1) ถ้ามีข้อบังคับของสหภาพแรงงานกำหนดให้เลิกในกรณีใด เมื่อมีกรณีนั้น
(2) ที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก
(3) ล้มละลาย
(4) นายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกตามมาตรา 66
มาตรา 66 นายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกสหภาพแรงงานได้ในกรณีดังต่อไปนี้
(1) เมื่อนายทะเบียนตรวจสอบและพบภายหลังว่า การรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสหภาพแรงงานแก่ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนนั้นไม่เป็นไปตามมาตรา 45หรือมาตรา 46
(2) เมื่อปรากฏว่าการดำเนินการของสหภาพแรงงานขัดต่อวัตถุประสงค์ ขัดต่อกฎหมาย หรือเป็นภัยต่อเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของประเทศ หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
(3) เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้เลือกตั้งกรรมการขึ้นใหม่ทั้งคณะ และไม่ดำเนินการเลือกตั้งภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด หรือภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนขยายระยะเวลาให้จนสิ้นระยะเวลาดังกล่าว
(4) เมื่อสหภาพแรงงานไม่ดำเนินกิจการติดต่อกันเป็นเวลาเกินสองปี หรือ
(5) เมื่อมีจำนวนสมาชิกเหลือน้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดแต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งเป็นฝ่ายบริหารหรือทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร เป็นไปตามฤดูกาล หรือเป็นงานตามโครงการ
เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้เลิกสหภาพแรงงานใด ให้แจ้งคำสั่งเป็นหนังสือให้สหภาพแรงงานนั้นทราบโดยมิชักช้า
มาตรา 67 คำสั่งให้เลิกสหภาพแรงงานตามมาตรา 66 กรรมการเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่ถูกสั่งให้เลิก มีสิทธิเข้าชื่อกันอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อรัฐมนตรี โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
การอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่ง ไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่งของนายทะเบียน
ให้รัฐมนตรีวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่รับอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
คำสั่งเลิกสหภาพแรงงานให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการยื่นอุทธรณ์หรือเมื่อรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด แล้วแต่กรณี
มาตรา 68 เมื่อสหภาพแรงงานต้องเลิกตามมาตรา 65 ให้แต่งตั้งผู้ชำระบัญชีและให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีสหภาพแรงงานโดยอนุโลม
มาตรา 69 เมื่อชำระบัญชีแล้ว ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่ ห้ามมิให้นำไปแบ่งให้แก่สมาชิกของสหภาพแรงงาน แต่ให้โอนทรัพย์สินนั้นไปให้แก่สหภาพแรงงานอื่นตามที่ได้ระบุไว้ในข้อบังคับว่าด้วยวิธีการจัดการของสหภาพแรงงาน หรือตามมติของที่ประชุมใหญ่
ในกรณีที่ในข้อบังคับหรือที่ประชุมใหญ่ มิได้ระบุให้สหภาพแรงงานใดเป็นผู้รับทรัพย์สินที่เหลือนั้น ให้ผู้ชำระบัญชีมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่มูลนิธิหรือสมาคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงเคราะห์ช่วยเหลือหรือส่งเสริมสวัสดิการของผู้ใช้แรงงาน

--------------------------------------------------------------------------------
หมวด 5
สหพันธ์แรงงาน
มาตรา 70 สหภาพแรงงานตั้งแต่สิบสหภาพแรงงานขึ้นไป อาจรวมกันจัดตั้งสหพันธ์แรงงานได้เพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้างและเพื่อส่งเสริมการศึกษาและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในรัฐวิสาหกิจ
สหพันธ์แรงงานต้องมีข้อบังคับและต้องจดทะเบียนต่อนายทะเบียน เมื่อได้จดทะเบียนแล้วให้สหพันธ์แรงงานเป็นนิติบุคคล
มาตรา 71 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสหภาพแรงงานในหมวด 4 มาใช้บังคับแก่สหพันธ์แรงงานโดยอนุโลม
มาตรา 72 สหพันธ์แรงงานอาจเข้าเป็นสมาชิกสภาองค์การลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ได้

--------------------------------------------------------------------------------
หมวด 6
บทกำหนดโทษ
มาตรา 73 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 วรรคสอง หรือมาตรา 24 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 74 ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวก ไม่ตอบหนังสือสอบถาม ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือไม่ส่งสิ่งของหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา 16 หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ซึ่งนายทะเบียนมอบหมายตามมาตรา 62 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 75 ผู้แทนฝ่ายนายจ้างหรือผู้แทนฝ่ายสหภาพแรงงานตามมาตรา 25หรือที่ปรึกษาฝ่ายนายจ้างหรือฝ่ายสหภาพแรงงานตามมาตรา 26 ผู้ใดรับหรือยอมจะรับเงินหรือทรัพย์สินจากผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อกระทำการอันเป็นเหตุให้รัฐวิสาหกิจหรือสหภาพแรงงานต้องเสียผลประโยชน์ที่ควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 76 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามมาตรา 27 วรรคสอง หรือฝ่าฝืนมาตรา 29 วรรคสอง หรือไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการตามมาตรา 32ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 77 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 33 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดยุยงปลุกปั่นเพื่อให้มีการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 78 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา 39วรรคสอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 34 หรือมาตรา 36 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการตามมาตรา 38 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 80 ผู้ใดเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานโดยรู้อยู่ว่าสหภาพแรงงานนั้นยังไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 45 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดเป็นผู้ดำเนินการสหภาพแรงงานที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 81 ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 49 หรือกรรมการสหภาพแรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 50 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินวันละห้าสิบบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 82 สหภาพแรงงานใดรับบุคคลเข้าเป็นสมาชิกโดยฝ่าฝืนมาตรา 51 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 83 สหภาพแรงงานใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 60 หรือมาตรา 61ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน สองพันบาท
กรรมการสหภาพแรงงานผู้ใดรู้เห็นเป็นใจให้สหภาพแรงงานกระทำการตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 84 ผู้ใดเป็นสมาชิกสหพันธ์แรงงานโดยรู้อยู่ว่าสหพันธ์แรงงานนั้นยังไม่ได้จดทะเบียนตามมาตรา 70 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดดำเนินการสหพันธ์แรงงานที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 85 สหพันธ์แรงงานใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71 ประกอบด้วยมาตรา 60 หรือมาตรา 61 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท
กรรมการสหพันธ์แรงงานผู้ใดรู้เห็นเป็นใจให้สหพันธ์แรงงานเข้ากระทำการตามวรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 86 ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหพันธ์แรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 49 หรือกรรมการสหพันธ์แรงงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 71 ประกอบด้วยมาตรา 50 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินวันละห้าสิบบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
มาตรา 87 สหพันธ์แรงงานใดรับบุคคลเข้าเป็นสมาชิกโดยฝ่าฝืนมาตรา 71ประกอบด้วยมาตรา 51 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท
มาตรา 88 ผู้ใดใช้คำว่า "สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ" หรือ "สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ" หรืออักษรต่างประเทศซึ่งมีความหมายทำนองเดียวกัน ประกอบกับชื่อในดวงตราป้ายชื่อ จดหมาย ใบแจ้งความ หรือเอกสารอย่างอื่นเกี่ยวกับกิจการธุรกิจโดยมิได้เป็นสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท และปรับอีกเป็นรายวันไม่เกินวันละห้าร้อยบาทจนกว่าจะเลิกใช้
มาตรา 89 เมื่อสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานได้เลิกตามพระราชบัญญัตินี้กรรมการ อนุกรรมการ หรือสมาชิกของสหภาพแรงงาน หรือสหพันธ์แรงงานผู้ใดขัดขวางการดำเนินการของผู้ชำระบัญชี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 90 ผู้ใดยังคงดำเนินกิจการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานซึ่งได้เลิกไปแล้วตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่การชำระบัญชีของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงานต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 91 บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษปรับหรือโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับให้นายทะเบียนมีอำนาจเปรียบเทียบได้
ภายใต้บังคับของบทบัญญัติตามวรรคหนึ่งในการสอบสวนถ้าพนักงานสอบสวนพบว่าบุคคลใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และบุคคลนั้นยินยอมให้เปรียบเทียบให้พนักงานสอบสวนส่งเรื่องมายังนายทะเบียนภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ผู้นั้นแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบ
เมื่อผู้กระทำผิดได้ชำระเงินค่าปรับตามจำนวนที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันแล้วให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถ้าผู้กระทำผิดไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบ หรือเมื่อยินยอมแล้วไม่ชำระเงินค่าปรับภายในกำหนดเวลาตามวรรคสามให้ดำเนินคดีต่อไปได้

--------------------------------------------------------------------------------
บทเฉพาะกาล

มาตรา 92 ให้ถือว่าสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งได้จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 เป็นสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้และมีสิทธิหน้าที่ดำเนินการได้เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้
เมื่อครบกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าสหภาพแรงงานตามวรรคหนึ่งแห่งใดมีสมาชิกไม่ครบตามที่กำหนดในมาตรา 42 ให้ถือว่าสหภาพแรงงานนั้นเป็นอันสิ้นสุดและให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 68 และมาตรา 69 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 93 เมื่อครบกำหนดตามมาตรา 92 วรรคสอง ให้สหภาพแรงงานตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่มีสมาชิกครบตามที่กำหนดในมาตรา 42 จัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงานขึ้นใหม่โดยมิชักช้า
ให้กรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 92 พ้นจากตำแหน่งเมื่อจัดให้มีการเลือกตั้งกรรมการสหภาพแรงงานขึ้นใหม่แล้ว หรือเมื่อพ้นหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อบังคับของสหภาพแรงงานนั้นจะกำหนดไว้อย่างไร
มาตรา 94 ให้ถือว่าคำขอจัดตั้งสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเป็นคำขอจัดตั้งสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 95 บรรดาระเบียบ ประกาศ มติ คำวินิจฉัยชี้ขาด หรือคำสั่งของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ถึงที่สุดแล้วตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ. 2534 ซึ่งมีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ยังคงใช้บังคับต่อไป
ให้ถือว่าบรรดาสภาพการจ้างที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 96 บรรดาคำร้อง คำร้องทุกข์ และข้อเสนอเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ได้ยื่นไว้ตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 และยังมิได้มีการพิจารณาวินิจฉัยถึงที่สุดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 97 บทบัญญัติกฎหมายใด อ้างถึงกฎหมายว่าด้วยกฎหมายพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ให้ถือว่าอ้างถึงพระราชบัญญัตินี้ และคำว่า "พนักงาน" ตามกฎหมายดังกล่าวให้หมายถึง "ลูกจ้าง" ตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ชวน หลีกภัย
นายกรัฐมนตรี

--------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยเป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เพื่อให้ฝ่ายบริหารกับพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบในขอบเขตที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมตลอดจนความมั่นคงของประเทศ และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 [รก.2543/31ก/1/7 เมษายน 2543]

การบริหารงานพัสดุของราชการ

การบริหารงานพัสดุ

1. งบประมาณงานปรับปรุงวงเงิน 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานของ ชคบ. แต่พื้นที่ทำงานอยู่ต่างสำนักงานของ ชคบ. ขอทราบว่าจะดำเนินการประกวดราคา ที่ สชป. ที่ ชคบ. สังกัดหรือที่จังหวัดต่างสำนักงาน
ตอบ การดำเนินการประกวดราคาในกรณีดังกล่าว ขอให้พิจารณาว่าการเบิกจ่ายจะต้องเบิกจ่ายเงิน ณ จังหวัดใด ก็ให้ดำเนินการรับและเปิดซองประกวดราคา ณ ศาลากลางจังหวัด นั้น ไม่ว่าสำนักตั้งอยู่ที่จังหวัดใดก็ตาม

2. ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยระเบียบบริหารงบประมาณระดับจังหวัด พ.ศ.2524 ได้
ถูกยกเลิกโดยระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยระเบียบบริหารงบประมาณแบบบูรณาการ
ดังนั้น แผนจัดซื้อ/จัดจ้าง จะต้องส่งหารือผู้ว่าอีกหรือไม่ โปรดชี้แจงด้วย เพราะขณะนี้มีปัญหาทางปฏิบัติ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การดำเนินการจัดหาต้องล่าช้าออกไป
ตอบ ในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานของหน่วยตรวจสอบภายใน

3. การมอบอำนาจในการดำเนินงานด้านพัสดุ
- การมอบอำนาจให้ข้าราชการสังกัดกรมชลประทาน จะกล่าวถึง การสั่งซื้อหรือการสั่งจ้าง ดำเนินงาน วิธีพิเศษ
- การมอบอำนาจด้านบริหารงานพัสดุให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กล่าวถึง การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง การดำเนินงาน วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ
ขอทราบว่า “วิธีพิเศษ” และ “วิธีกรณีพิเศษ” เป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร และจะดำเนินการได้เมื่อใด
ตอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ได้กำหนดวิธีการซื้อและวิธีการจ้าง โดยวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษไว้ดังนี้
การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
1. เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่างประเทศ
2. เป็นพัสดุที่ซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
3. เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
4. เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือ
เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการและจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม ( Repeat Order )
5. เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศหรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
6. เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึงอะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อยาสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ
7. เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
8. เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำ
ได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
1. เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญพิเศษ
2. เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสีย
หายก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อม เครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3. เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
4. เป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของทางราชการ
5. เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่ม ในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อ
ประโยชน์ของส่วนราชการและจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม ( Repeat Order )
6. เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณีดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง
2. มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้างและกรณีนี้ให้รวมถึง
หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย

4. ตามคำสั่งกรมฯ ที่ ข.1350/2546 การอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเฉพาะส่วนที่เกินอำนาจ ชคป. มอบอำนาจอนุมัติให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับกรณีของ ชคบ. ในส่วนที่เกินอำนาจการอนุมัติจะเป็นอำนาจของ ผส.ชป. ใช่หรือไม่
ตอบ ได้มีการยกเลิกคำสั่งกรมฯ ที่ ข.1350 / 2546 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546และให้ใช้คำสั่งที่ 1378 / 2546 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 แทน ซึ่งได้ระบุชัดเจน แล้วว่า การจัดซื้อจัดจ้างที่เกินอำนาจของ ชคป. ชคบ. ชศพ. ชคน. ชคส. ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเครื่องจักรกล 1 – 7 และหัวหน้า สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

5. ในกรณีในเรื่องการประกวดราคา หากโครงการไม่ดำเนินการเอง จะให้สำนักฯ เป็นผู้ดำเนินการประกวดราคาได้หรือไม่ และขอให้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
ตอบ นโยบายของกรมฯ ต้องการให้โครงการชลประทานเป็นผู้ดำเนินการเองในกรณีที่วงเงินดำเนินการเป็นไปตามที่ได้มอบอำนาจให้

6. การมอบอำนาจในการดำเนินงานด้านพัสดุ ให้แก่ข้าราชการของกรมชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัด
- ได้มอบหมายอำนาจให้ ผู้อำนวยการสำนักชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีปกติ วงเงินไม่เกิน 50,000,000.- บาท และกรณีพิเศษวงเงินไม่เกิน 25,000,000.- บาท ซึ่งมีวงเงินเท่ากันจะให้โครงการดำเนินการอย่างไร เมื่อการสั่งซื้อหรือการสั่งจ้างเกินอำนาจของโครงการ
ตอบ ให้โครงการชลประทานส่งเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างที่เกินอำนาจของตน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการเอง หรือส่งเรื่องให้กรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการต่อไป

7. คำสั่งกรมฯ ที่ ข.1350/2546 ลว. 31 ตค.46 ข้อ 1) เขียนว่า มอบอำนาจให้ ผวจ. มีอำนาจจัดซื้อ-จัดจ้างเฉพาะส่วนเกินไปจากที่กรมฯ มอบหมายให้แก่ ชคป. ฉะนั้น ถ้าในส่วนที่อยู่นอกเหนือจาก ชคป. ถ้าจะมอบให้ ผวจ. ควรกำหนดให้ชัดเจนเป็นเฉพาะส่วนที่เกินไปจากที่กรมฯ มอบหมายให้ ชคป. จะแก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่

ตอบ ได้แก้ไขคำสั่งกรม ฯ ที่ 1350 / 2546 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เป็นคำสั่งกรม ฯ
ที่ข.1378 / 2546 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 แล้ว ซึ่งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ

ให้เน้นประเภทของการลา ลาได้กี่วัน ใครมีอำนาจอนุมัติ ดูหนังสือเทียบดอำนาจของผู้อนุมัติของสกย.ที่อดีตผอ.สกย.(สายันห์)ลงนามปี2550


ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการพ.ศ. ๒๕๓๕
----------------------


โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๐
(๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๕
(๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๗
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานใน
องค์การระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๙บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้ว
ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทนข้อ ๔ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบ และมีอำนาจตีความและ
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ส่วนการลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม
ตามหมวด ๓ ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รักษาการ และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
ในกรณีที่การตีความหรือวินิจฉัยปัญหาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง
ยุติธรรมขัดแย้งกัน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด


หมวด ๑บททั่วไป
-------------------
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้

"ปลัดกระทรวง" ให้หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดทบวงและ
ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย


"หัวหน้าส่วนราชการ" หมายความว่า อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และมีฐานะเป็นกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด และให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการสำนักในสังกัด
กรุงเทพมหานคร นายกราชบัณฑิตยสถาน และเลขานุการรัฐมนตรีในฐานะบังคับบัญชาสำนักงาน
เลขานุการรัฐมนตรีด้วย

"หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง" หมายความว่า ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีปลัดกระทรวง
ปลัดทบวงหรือปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนัก
งานปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดทบวง หรือสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่มี
ฐานะเป็นกรมซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งไม่สังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง

"เข้ารับการตรวจเลือก" หมายความว่า เข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็น
ทหารกองประจำการ"เข้ารับการเตรียมพล" หมายความว่า เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล
เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร"องค์การระหว่างประเทศ" หมายความว่า องค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นด้วย
ความตกลงระหว่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและระดับเอกชน และสำหรับองค์การสหประชาชาติ
ให้หมายความรวมถึง ทบวงการชำนัญพิเศษและองค์การอื่นใดในเครือสหประชาชาติด้วย"องค์การต่างประเทศ" หมายความว่า องค์การหรือสถาบันต่างประเทศตามที่
ผู้รักษาการตามระเบียบจะได้ประกาศรายชื่อให้ทราบ"การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ" หมายความรวมถึง การไปปฏิบัติงาน
ตามโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ การไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศการไปปฏิบัติงานใน

ต่างประเทศในลักษณะเดียวกันกับการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งการไป
ปฏิบัติงานในหน่วยงานขององค์การระหว่างประเทศหน่วยงานขององค์การต่างประเทศ หรือ
หน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนใน
ลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศหน่วยงานของ
รัฐบาลต่างประเทศหรือจากประเทศที่ไปปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเดินทางไปราชการ
ตามระเบียบว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการหรือการจัดการประชุมของทางราชการ
การไปรับราชการประจำในต่างประเทศ การไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ตาม
ระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ

"ลาติดตามคู่สมรส" หมายความว่า ลาติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็น
ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ หรือ
ทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตามความต้องการของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วย
การกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการหรือเต็ม
เวลาทำงาน ตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป แต่ไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติ
การวิจัย ณ ต่างประเทศ


ข้อ ๖ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยยระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
พลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และ
ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษซึ่งจะต้องวางหลักเกณฑ์และขั้นตอนวิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับการลาประเภทใดเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่ระเบียบนี้กำหนด ให้กระทรวง หรือทบวง
เจ้าสังกัดขอความเห็นผู้รักษาการตามระเบียบเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นระเบียบของกระทรวง
หรือทบวง นั้นได้

ข้อ ๗ การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรี
กำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ ผู้ลาและผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะต้อง

ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย


ข้อ ๘ ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตและอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับ
ข้าราชการแต่ละประเภทให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีข้าราชการหลายประเภทให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต
การลาของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นมีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการทุก
ประเภทที่อยู่ในสังกัดส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาตามระเบียบนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
และมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจรอขออนุญาตจากผู้มีอำนาจได้ ให้ผู้ลาเสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้มี
อำนาจอนุญาตการลาชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อพิจารณา และเมื่ออนุญาตแล้วให้แจ้งให้ผู้มีอำนาจอนุญาต
ตามระเบียบทราบด้วย
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะมอบหมายหรือมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่
ผู้ดำรงตำแหน่งใด เป็นผู้พิจารณาหรืออนุญาตแทนก็ได้

ข้อ ๙ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นใดของทางราชการ
หากประสงค์จะลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือ
เข้ารับการเตรียมพล ในช่วงเวลาที่ไปช่วยราชการ ให้เสนอขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาของ
หน่วยงานที่ไปช่วยราชการ แล้วให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้น
ทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
การลาประเภทอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เสนอขออนุญาตลาต่อส่วนราชการ
เจ้าสังกัดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการลาประเภทนั้น

ข้อ ๑๐ การนับวันลาตามระเบียบนี้ให้นับตามปีงบประมาณ
การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวณวันลา
ให้นับต่อเนื่องกันโดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย
เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับวันลาป่วยที่มิใช่วันลาป่วยตามกฏหมายว่าด้วย
การสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ วันลากิจส่วนตัว
และวันลาพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ
การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะเป็นในปีเดียวกันหรือไม่ก็
ตาม ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่ง ถ้าจำนวนวันลาครั้งหนึ่งรวมกันเกินอำนาจของผู้มีอำนาจอนุญาต

ระดับใด ให้นำใบลาเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างลา ให้ถือว่าการลาเป็นอัน
หมดเขตเพียงวันก่อนวันเดินทางกลับ และวันราชการเริ่มต้นตั้งแต่วันออกเดินทางกลับเป็นต้นไป
การลาครึ่งวันในตอนเช้าหรือตอนบ่าย ให้นับเป็นการลาครึ่งวันตามประเภทของการลา
นั้นๆ
ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลา หากประสงค์จะยกเลิกวันที่ยังไม่ได้หยุดราชการ
ให้เสนอขอถอนวันลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลา และให้ถือว่าการลา
เป็นอันหมดเขตเพียงวันที่ขอถอนวันลานั้น

ข้อ ๑๑ เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีลงเวลา
การปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด โดยมีสาระสำคัญตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้ หรือจะ
ใช้เครื่องบันทึกเวลาการปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ในกรณีจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง จะกำหนดวิธี
ลงเวลาปฏิบัติราชการหรือวิธีควบคุมการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่มีการปฏิบัติราชการใน
ลักษณะพิเศษเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องมีหลักฐานให้สามารถตรวจสอบวัน
เวลา การปฏิบัติราชการได้ด้วย

ข้อ ๑๒ การลาให้ใช้ใบลาตามแบบท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วน
จะใช้ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือจะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องส่งใบ
ลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

ข้อ ๑๓ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบนี้ หรือ
ในระหว่างวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ
หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอขออนุญาตต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอขออนุญาตต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การอนุญาตของหัวหน้าส่วน ราชการตามวรรคหนึ่ง เมื่ออนุญาตแล้วให้รายงาน
ปลัดกระทรวงทราบด้วย

ข้อ ๑๔ การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้ว่าราชการ

จังหวัดและนายอำเภอในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการ
ในราชการบริหารส่วนภูมิภาคในสังกัดจังหวัดหรืออำเภอนั้นๆ ไปประเทศนั้นได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน
๗ วัน และ ๓ วันตามลำดับข้อ

๑๕ ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษ
ซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปในท้องที่นั้น หรือพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้นกับข้าราชการผู้นั้นและมีได้เกิดจาก
ความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของข้าราชการผู้นั้นเอง โดยพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวร้ายแรง
จนเป็นเหตุขัดขวางทำให้ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการ ณ สถานที่ตั้งตามปกติ ให้ข้าราชการผู้นั้นรีบ
รายงานพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งอุปสรรคขัดขวางที่ทำให้มาปฏิบัติราชการไม่ได้ต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงทันทีในวันแรกที่สามารถมาปฏิบัติ
ราชการได้
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานต่อปลัดกระทรวงหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้
รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานคร ให้รายงานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เห็นว่าการที่ข้าราชการผู้นั้นมาปฏิบัติราชการไม่ได้ เป็น
เพราะพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่งจริง ให้สั่งให้การหยุดราชการของข้าราชการผู้นั้นไม่นับเป็น
วันลาตามจำนวนวันที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เห็นว่าการที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการยังไม่สมควรถือ
เป็นพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวันที่ข้าราชการผู้นั้นไม่มาปฏิบัติราชการเป็นวันลากิจส่วนตัว


หมวด ๒
ประเภทการลา
-------------------------
ข้อ ๑๖ การลาแบ่งออกเป็น ๙ ประเภท คือ
(๑) การลาป่วย
(๒) การลาคลอดบุตร
(๓) การลากิจส่วนตัว
(๔) การลาพักผ่อน
(๕) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
(๖) การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(๗) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
(๘) การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
(๙) การลาติดตามคู่สมรส


ส่วนที่ 1 การลาป่วย
--------------------

ข้อ ๑๗ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ
ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะเสนอหรือ
จัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่ข้าราชการผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่น
ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
การลาป่วยตั้งแต่ ๓๐ วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองของแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและ
รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลาด้วย ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควรผู้มี
อำนาจอนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์ซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้
การลาป่วยไม่ถึง ๓๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน
ถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ตามวรรคสามประกอบใบลา หรือสั่งให้
ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้


ส่วนที่ ๒การลาคลอดบุตร
------------------------
ข้อ ๑๘ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่น
ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว และมีสิทธิลาคลอดบุตร
โดยได้รับเงินเดือนครั้นหนึ่งได้ ๙๐ วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาของการลา
ประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลา
คลอดบุตร



ส่วนที่ ๓การลากิจส่วนตัว
-------------------------
ข้อ ๑๙ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลากิจส่วนตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
ไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทันจะเสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมด้วยระบุเหตุจำเป็นไว้แล้ว หยุดราชการ
ไปก่อนก็ได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
ในกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่งได้ ให้เสนอหรือจัดส่ง
ใบลาพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทันทีในวันแรก
ที่มาปฏิบัติราชการ

ข้อ ๒๐ ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ ๑๘ แล้ว หากประสงค์จะลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร
เพิ่มอีก ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือน
ได้อีกไม่เกิน ๓๐ วันทำการ


ข้อ ๒๑ ข้าราชการมีสิทธิลากิจส่วนตัว รวมทั้งลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่อง
จากการลาคลอดบุตร โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน ๔๕ วันทำการ
ข้าราชการผู้ที่ได้ใช้สิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร
ตามข้อ 20 ในปีใดแล้ว ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนได้อีกตามจำนวนวันที่เหลืออยู่



ข้อ ๒๒ ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรและลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการ
ลาคลอดบุตร โดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามข้อ ๑๘ และข้อ ๒๐ แล้ว หากประสงค์จะลากิจส่วนตัว
เพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อไปอีก ให้ลาได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา

ข้อ ๒๓ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว เว้นแต่กรณีการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร

ตามข้อ 20 และข้อ 22 ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้น
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้

ส่วนที่ ๔
การลาพักผ่อน
----------------------

ข้อ ๒๔ ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ ๑๐ วันทำการ เว้นแต่
ข้าราชการดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง ๖ เดือน (๑) ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก (๒) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก (๓) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัคร
รับเลือกตั้ง แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง ๖ เดือน นับแต่วันออกจากราชการ (๔) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหาร
ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และกรณีไปปฏิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก


ข้อ ๒๕ ถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือลาพักผ่อนประจำปีแล้ว
แต่ไม่ครบ ๑๐ วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ แต่วันลาพักผ่อน
สะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน ๒๐ วันทำการ
สำหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อน
สะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน ๓๐ วันทำการ

ข้อ ๒๖ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาพักผ่อน ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้


ข้อ ๒๗ การอนุญาตให้ลาพักผ่อน ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งก็ได้ โดยมิได้เสียหายแก่ราชการ


ข้อ ๒๘ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนซึ่งหยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการ
จำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้


ข้อ ๒๙ ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา
หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้ ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้



ส่วนที่ ๕การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
-------------------------

ข้อ ๓๐ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่
นับถือศาสนาอิสลามซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบท
หรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
ในกรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่ง ให้ชี้แจงเหตุผล
ความจำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้

ข้อ ๓๑ ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับ
อนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ตามข้อ ๓๐ แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบ
พิธีฮัจย์ภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน
๕ วันนับแต่วันที่ลาสิกขา หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังจากการเดินทางไปประกอบ
พิธีฮัจย์
ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลา
ไปประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว หากปรากฎว่ามีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบท
หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปฏิบัติและขอถอน
วันลา ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต พิจารณาหรืออนุญาตให้ถอนวันลาอุปสมบทหรือไปประกอบ
พิธีฮัจย์ได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว




ส่วนที่ ๖การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
----------------------------

ข้อ ๓๒ ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับ
บัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้า
รับการเตรียมพลให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียก
เป็นต้นไป และให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพลตามวันเวลาในหมายเรียกนั้น
โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาตและให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงหัวหน้า
ส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการ ให้รายงานลาต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
ให้รายงานลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้รายงานลาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อ ๓๓ เมื่อข้าราชการที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
แล้วให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๗ วัน เว้นแต่กรณีที่
มีเหตุจำเป็นหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามข้อ ๓๒ อาจขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน ๑๕ วัน



ส่วนที่ ๗การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
--------------------------
ข้อ ๓๔ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ
ต่างประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้า
ส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
สำหรับการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศ ให้เสนอหรือ
จัดส่งใบลาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อ
พิจารณาอนุญาต เว้นแต่ข้าราชการกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วน

ราชการขึ้นตรงและข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุญาต




ส่วนที่ ๘การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
-------------------------
ข้อ ๓๕ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้เสนอ
หรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณา โดยถือปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้

ข้อ 36 การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ มี ๒ ประเภท คือ
"ประเภทที่ ๑" ได้แก่ การไปปฏิบัติงานในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก
และเป็นวาระที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานในองค์การนั้น
(๒) รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันธ์ที่จะต้องนำไปปฏิบัติงานตามความตกลงระหว่าง
ประเทศ
(๓) ประเทศไทยต้องส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
ตามความต้องการของรับบาลไทย

"ประเภทที่ ๒" ได้แก่ การไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากประเภทที่ ๑ข้อ ๓๗ ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) เป็นข้าราชการประจำตอลดมาเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
ก่อนถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงาน เว้นแต่ผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติกำหนด
เวลาห้าปีให้ลดเป็นสองปี
สำหรับผู้ที่เคยไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ มาแล้ว
จะต้องมีเวลาปฏิบัติราชการในส่วนราชการไม่น้อยกว่าสองปี นับแต่วันเริ่มกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่
ราชการ หลังจากที่เดินทางกลับจากการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒

ครั้งสุดท้าย
(๒) ผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ ต้องมีอายุ
ไม่เกินห้าสิบสองปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ได้รับอนุญาติให้ไปปฏิบัติงาน
(๓) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความรู้ความสามารถเหมาะสม มีความประพฤติ
เรียบร้อยและไม่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัย
การขอยกเว้นหรือผ่อนผันคุณสมบัติตาม (๑) วรรคสอง และ (๒) ให้เสนอเหตุผล
ความจำเป็นต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไปข้อ ๓๘ ให้ข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศยื่น
ใบลาต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาต และมีคำสั่งให้
ข้าราชการผู้นั้นลาไปปฏิบัติงานได้โดยถือว่าเป็นการไปทำการใดๆ อันจะนับเวลาระหว่างนั้นเหมือน
เต็มเวลาราชการ มีกำหนดเวลาไม่เกินสี่ปีสำหรับการไปปฏิบัติงานประเภทที่ ๑ หรือมีกำหนดเวลา
ไม่เกินหนึ่งปีสำหรับการไปปฏิบัติงานประเภทที่ ๒ โดยไม่รับเงินเดือน เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่
ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น
ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่าง
ประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น

ข้อ ๓๙ ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
หากประสงค์จะอยู่ปฏิบัติงานต่อ ให้ยื่นเรื่องราวพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทาง
ราชการจะได้รับต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาตและ
มีคำสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นไปปฏิบัติงานได้โดยถือว่าไปเป็นการกระทำใดๆ อันจะนับเวลา
ระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการ
ไปทำการ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการได้อีกแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี
การอนุญาตให้ข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานประเภทที่ ๒ เกินกว่าหนึ่งปี ให้ผู้บังคับบัญชา
สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการในช่วงเวลาที่ไปปฏิบัติงานเกินหนึ่งปีด้วย

ข้อ ๔๐ ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด ได้มีคำสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานตามข้อ
๓๘ หรือให้ไปปฏิบัติงานต่อหรือให้ออกจากราชการตามข้อ ๓๙ แล้ว ให้ส่วนข้าราชการส่งสำเนาคำสั่ง
ดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบด้วย

ข้อ ๔๑ ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด จัดทำสัญญาผูกมัดข้าราชการที่ไปปฏิบัติงาน

ในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ ให้กลับมารับราชการในส่วนราชการเป็นเวลาหนึ่งเท่า
ของระยะเวลาที่ไปปฏิบัติงาน ข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศแล้ว
ไม่กลับมารับราชการ หรือกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ชดใช้เงินเบี้ยปรับแก่
ทางราชการดังนี้ (๑) ไม่กลับเข้ารับราชการเลย ให้ชดใช้เป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนเดือน
สุดท้ายที่ได้รับ คูณด้วยระยะเวลาที่ลาไปปฏิบัติงานที่คิดเป็นเดือน เศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวัน
ให้คิดเป็นหนึ่งเดือน (๒) กลับมาเข้ารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ชดใช้เบี้ยปรับตาม (๑)
ลดลงตามส่วนการทำสัญญาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
เมื่อจัดทำแล้วให้ส่งให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งละ ๑ ชุดด้วย

ข้อ (๔๒) ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์ระหว่างประเทศ เมื่อปฏิบัติงานแล้ว
เสร็จให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายในสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน
และให้รายงานผลการไปปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันกลับ
มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
การรายงานผลการไปปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบรายงานการไปปฏิบัติงาน
ในองค์การระหว่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้

ส่วนที่ ๙การลาติดตามคู่สมรส
--------------------------
ข้อ ๔๓ ข้าราชการซึ่งประสงค์ติดตามคู่สมรส ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับ
บัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาต
ให้ลาได้ไม่เกินสองปี และในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาได้อีกสองปี แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน
สี่ปี ถ้าเกินสี่ปี ให้ลาออกจากราชการสำหรับปลัดกระทรวงสำหรับปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถาน
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุญาต

ข้อ ๔๔ การพิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการติดตามคู่สมรส ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาต
ให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ แต่เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะ
เวลาตามที่กำหนดในข้อ ๔๓ ละจะต้องเป็นกรณีที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงาน
ในต่างประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ว่าจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในประเทศเดียว
กันหรือไม่ข้อ ๔๕ ข้าราชการที่ได้ลาติดตามคู่สมรสครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๔๓ ในช่วง
เวลาที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศติดต่อกันคราวหนึ่งแล้ว ไม่มี
สิทธิขอลาติดตามคู่สมรสอีก ว้นแต่คู่สมรสจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานประจำ
ในประเทศไทยแล้วต่อมาได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศอีก
ในช่วงเวลาใหม่จึงจะมีสิทธิของลาติดตามคู่สมรสตามข้อ ๔๓ ได้ใหม่

หมวด ๓
การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม
----------------------------
ข้อ ๔๖ การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน
หมวดนี้ เว้นแต่กรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด ๑ และหมวด ๒

ข้อ ๔๗ การลาทุกประเภท การลาหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษและการไป
ต่างประเทศของประธานศาลฎีกาให้อยู่ในดุลพินิจของประธานศาลฎีกาและแจ้งให้คณะกรรมการ
ตุลาการทราบ ทั้งนี้ ให้เลาขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งให้กระทรวงยุติธรรมทราบด้วย

ข้อ ๔๘ การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ การไปต่างประเทศและการลา
ทุกประเภทนอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ของอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
อธิบดีผู้พิพากษาภาค ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการตุลาการเป็นผ็พิจารณาอนุญาตและ
แจ้งให้คณะกรรมการตุลาการทราบ ทั้งนี้ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งให้กระทรวงยุติธรรม
ทราบด้วย

ข้อ ๔๙ การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ การไปต่างประเทศและการลาทุกประเภทนอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะ
ยุติธรรม ให้เป็นไปตามตาราง หมายเลข ๖ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๕๐ และข้อ ๕๑

ข้อ ๕๐ การลาทุกประเภทและการหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษของข้าราชการ
ตุลาการที่ไปทำงานตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่งการเมืองในกระทรวงยุติธรรมรวมทั้ง
ผู้ช่วยพิพากษาที่มิได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในศาล ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาอนุญาต


ข้อ ๕๑ ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมผู้ประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การ
ระหว่างประเทศ ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่จะพิจารณาอนุญาตโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมตุลาการข้อ


๕๒ การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้พิพากษาหัวหน้า
ศาลในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจให้ผู้พิพากษา ผู้ช่วยผู้พิพากษา ดะโต๊ะ
ยุติธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในศาลนั้นๆ ไปประเทศดังกล่าวได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๗ วัน
หมวด ๔การลาของข้าราชการเมือง และข้าราชการเมืองกรุงเทพมหานคร
---------------------------
ข้อ ๕๓ การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลพินิจ
ของนายกรับมนตรี และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ

ข้อ ๕๔ การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของข้าราชการเมือง ให้เป็น
อำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด รองนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

ข้อ ๕๕ การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของข้าราชการเมืองกรุงเทพ
มหานครให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่
กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต


ประกาศ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕



อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี

ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539
----------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ.2535 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (8)
แห่งพระราชบัญญัติรพะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต่อไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 18 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร ให้เสนอหรือ
จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่
ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว และมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้
การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันที่คลอดบุตร
ก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน
ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดราชการไปแล้ว
แต่ไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด หากประสงค์จะถอนวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป ให้ผู้มี











อำนาจอนุญาต อนุญาตให้ถอนวันลาคลอดบุตรได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้ว
เป็นวันลากิจส่วนตัว
การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งไม่ครบกำหนด
วันลาของการลาประเถทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลา
คลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอดบุตร
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ.2535
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 21 ข้าราชการมีสิทธิลากิจส่วนตัว โดยได้รับเงินเดือนปีละ
ไม่เกิน 45 วันทำการ
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 22 ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ 18 แล้ว หากประสงค์
จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนื้แทน
ข้อ 23 ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว เว้นแต่กรณีการลากิจส่วนตัว
เพื่อเลี้ยงดูบุตรตามข้อ 22 ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็น
เกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้

ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2539
(ลงชื่อ) บรรหาร ศิลปอาชา
(นายบรรหาร ศิลปอาชา)
นายกรัฐมนตรี

การเขียนโครงการฝึกอบรม

แบบฟอร์มการเขียนโครงการฝึกอบรม

1. ชื่อโครงการ .................................
2. เลขที่โครงการ ..............................
3. เจ้าของโครงการ ..........................
4. หลักการและเหตุผล ........................
............................................................
..........................................................
5. วัตถุประสงค์
5.1 .....................................................
5.2 ........................................................
5.3 ...........................................................
6. กลุ่มเป้าหมาย ....................................
7. กำหนดเวลาและสถานที่ ......................
8. หลักสูตร ประกอบด้วยหัวข้อวิชาดังนี้
8.1 ........................................................ ชั่วโมง
8.2 ......................................................... ชั่วโมง
8.3 ........................................................... ชั่วโมง
9. วิธีการฝึกอบรม .................................
10. วิทยากร .................................................
11. ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย
11.1 ....................................... ..................... บาท
11.2 ....................................... ..................... บาท
11.3 ........................................ ..................... บาท
12. วิธีการประเมินและติดตามผล
...........................................................................
13. ผู้รับผิดชอบโครงการ
............................................................................
..........................................................................
..........................................................................
14. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ........................................
.............................................................................

การเขียนโครงการฝึกอบรม

แบบฟอร์มการเขียนโครงการฝึกอบรม

1. ชื่อโครงการ ................................................................................................................
2. เลขที่โครงการ ................................................................................................................
3. เจ้าของโครงการ ................................................................................................................
4. หลักการและเหตุผล ................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................
5. วัตถุประสงค์
5.1 ..................................................................................................................................
5.2 ..................................................................................................................................
5.3 ..................................................................................................................................
6. กลุ่มเป้าหมาย ..........................................................................................................................
7. กำหนดเวลาและสถานที่ ............................................................................................................
8. หลักสูตร ประกอบด้วยหัวข้อวิชาดังนี้
8.1 .................................................................................... ..................... ชั่วโมง
8.2 .................................................................................... ..................... ชั่วโมง
8.3 .................................................................................... ..................... ชั่วโมง
9. วิธีการฝึกอบรม ...........................................................................................................................
10. วิทยากร ..................................................................................................................................
11. ค่าใช้จ่าย ประกอบด้วย
11.1 .................................................................................... ..................... บาท
11.2 .................................................................................... ..................... บาท
11.3 .................................................................................... ..................... บาท
12. วิธีการประเมินและติดตามผล
............................................................................................................................................
13. ผู้รับผิดชอบโครงการ
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
............................................................................................................................................
14. ผลที่คาดว่าจะได้รับ ...................................................................................................................
........................................................................................................................................................

เน้น พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.๒๔๐๓

ให้เน้นมาตรา ๓ คำจำกัดความ ขนาดสวน มาตรา ๕มาตรา ๘ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ ตรงที่เน้น(เน้นสีเขียว) พรบ.ฉบับนี้มันหม้อข้าว หรือเครื่องมือยังชีพของทุกคนอยู่แล้วไม่น่าจะเอามะพร้าวมาขายสวนเลยนะขอรับ เจ้านายยยยยย

พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพ.ศ. 2503 แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530


-----------------------
ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสังวาลย์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ไว้ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2503เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยางปรับปรุงสวนยางให้ดีขึ้นพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไปมาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"ต้นยาง" หมายความว่า ต้นยางพารา (HEVEA SPP)
"ยางพันธุ์ดี" หมายความว่า ต้นยางพันธุ์ที่ให้ผลดีตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำแนะนำของกรมกสิกรรม
"สวนยาง" หมายความว่า ที่ดินปลูกต้นยางเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
"สวนขนาดเล็ก" หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่

"สวนขนาดกลาง" หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่

"สวนขนาดใหญ่" หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป

"เจ้าของสวนยาง" หมายความว่า ผู้ทำสวนยางและมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
"ยาง" หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยาง แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
"การปลูกแทน" หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตามที่คณะกรรมการกำหนดแทนต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเก่า ทั้งหมดหรือบางส่วน"ปีสงเคราะห์" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่ง ถึง วันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีสงเคราะห์นั้น
"เจ้าพนักงานสงเคราะห์" หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
"ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้[ มาตรานี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505 และมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518 ]
มาตรา 4 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง ประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า "กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง" เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้นให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ที่จำเป็น หรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ รวมทั้งการทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้อง เป็นการสาธิต และส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์ กับให้รวมตลอดถึง การดำเนินการส่งเสริม หรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่รัฐมอบหมายให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เรียกว่า " สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง "[มาตรานี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518]
มาตรา 4 ทวิ ในการดำเนินการส่งเสริม หรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นตามมาตรา 4 ให้ใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล หรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518]
มาตรา 5 บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียงเงินสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเงินสงเคราะห์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำหรับการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ จะต้องได้ รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนในการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่ง ให้นำจำนวนเงินสงเคราะห์ ที่กองทุนสงเคราะการทำสวนยาง ต้องจ่ายเพื่อการสงเคราะห์ในแต่ละปี และอัตราอากรขาออก ตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ที่เรียกเก็บจากการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร มาเป็นหลักในการพิจารณาด้วย โดยถือ อัตราต่อน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัมเป็นเกณฑ์การคำนวณจำนวนเงินสงเคราะห์ที่บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องเสีย ถ้าเศษของน้ำหนักยางเกินครึ่งกิโลกรัม ให้คิดเงินสงเคราะห์เท่ากับน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัม ถ้าเศษของน้ำหนักยางไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ให้ถือเป็นน้ำหนักที่ไม่ต้องนำมาคำนวณสำหรับยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร เพื่อเป็นตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัม หรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ส่งออกเพื่อเป็นประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า ไม่ว่าจะมีน้ำหนักเท่าใด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์ จากบุคคลผู้ส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องเสียตามมาตรา 5 ได้ โดยกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ จะงดเว้นการเรียกเก็บสำหรับยางทุกชนิดหรือเฉพาะบางชนิดก็ได้
มาตรา 7 เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 ให้ส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และให้ใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะ
มาตรา 8 ผู้จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นเจ้าของสวนยาง ที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อยการสงเคราะห์ต้องจัดทำด้วยการปลูกแทน และจะสงเคราะห์ประการอื่นเพื่อประโยชน์ในการปลูกแทน โดยจ่ายให้แก่เจ้าของสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย เครื่องมือ เครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือหรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้ จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
มาตรา 9 ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า " ก.ส.ย." ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนายการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินหกคน ซี่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าของสวนยางสี่คนและบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยางสองคนให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 10 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่ กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งแทน หรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่ง เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วเมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป จนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 11 นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 10 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(1) ตาย(2) ลาออก(3) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก(4) เป็นบุคคลล้มละลาย(5) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ(7) พ้นจากการเป็นเจ้าของสวนยาง หรือเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการยาง[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 12 การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]มาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ(1) ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง(2) วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานหรือการเงิน เพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยาง (3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน และเงินที่ควรจะจ่ายอย่างอื่น(4) วางข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานคณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้ โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (2)[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 14 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 15 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับด้วย[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 16 ให้ ผู้อำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการ ให้เป็นไปตามมติของกรรมการ และให้มีอำนาจบังคับบัญชา พนักงานทุกตำแหน่ง ในเมื่อผู้อำนวยการ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ เว้นแต่อำนาจ และหน้าที่ของผู้อำนวยการ ในฐานะกรรมการ
มาตรา 17 ในกิจการเกี่ยวแก่บุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติการบางอย่างแทนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการก็ได้
มาตรา 18 ทุก ๆ ปีสงเคราะห์ ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 ดังต่อไปนี้(1) จำนวนไม่เกินร้อยละห้า เป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยาง ในอันที่จะป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ มอบไว้แก่กรมวิชาการเกษตรเป็นงวด ๆ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด เงินที่กรมวิชาการเกษตรได้รับนี้ มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ(2) จำนวนไม่เกินร้อยละสิบ เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางของสำนักงานกองทุนสงเเคราะห์การทำสวนยาง หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น(3) จำนวนเงินนอกจาก (1) และ (2) เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น และจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 ถ้าหากมี ให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม (2) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น ส่วนจำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้ เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยาง ในปีสงเคราะห์ถัดไปเงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (3) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (3) ในปีสงเคราะห์ถัดไป[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505 และ มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]มาตรา 19 เงินสงเคราะห์ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามมาตรา 18 (3) นั้น แต่ละปี ให้แบ่งส่วนสงเคราะห์ เจ้าของสวนยางตามประเภทของสวนยาง ดังต่อไปนี้ประเภทสวนขนาดใหญ่ ร้อยละสิบประเภทสวนขนาดกลาง ร้อยละยี่สิบประเภทสวนขนาดเล็ก ร้อยละเจ็ดสิบแต่ถ้าสวนประเภทหนึ่งมีผู้ได้รับการสงเคราะห์น้อยกว่าส่วนที่กำหนด ให้คณะกรรมการ มีอำนาจพิจารณานำส่วนที่เหลือ ไปเพิ่มให้แก่สวนประเภทอื่นได้ ในกรณีเช่นว่านี้มิให้นำอัตราส่วนเงินสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับเจ้าของสวนยางประเภทเดียวกันอาจได้รับการสงเคราะห์มากน้อยกว่ากัน หรืออาจได้รับการสงเคราะห์ก่อนหลังกัน หรืออาจไม่ได้รับการสงเคราะห์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรตามกำลังเงินสงเคราะห์ที่จัดสรรไว้ และโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเพิ่มปริมาณผลจากต้นยางเป็นส่วนรวมการที่เจ้าของสวนยางรายใดไม่ได้รับการสงเคราะห์ตามวรรคก่อน ย่อมไม่เป็นเหตุ ให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับ การสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไปมาตรา 20 เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทำสวนยาง ในที่ดินที่ตนเช่า หรืออาศัยบุคคลอื่น ผู้ขอรับการสงเคราะห์ ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ ให้เป็นที่พอใจด้วยว่า ผู้ให้เช่า หรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอม ในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้วเพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของคณะกรรมการในการพิจารณาให้การสงเคราะห์ ผู้รับการสงเคราะห์ต้องอำนวยความสะดวก และปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามความจำเป็น
มาตรา 21 เจ้าของสวนยาง ซึ่งมีสวนยางแปลงเดียว มีเนื้อที่ไม่เกินสิบห้าไร่ หรือหลายแปลง มีเนื้อที่รวมกัน ไม่เกินสิบห้าไร่ จะขอรับการสงเคราะห์ ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดี ในที่ดินแปลงใหม่ ซึ่งที่ดินแปลงนั้น มีเนื้อที่ตั้งแต่ สิบห้าไร่ขึ้นไป แทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมก็ได้ แต่จะได้รับการสงเคราะห์เพียงเท่าที่จะได้รับ สำหรับสวนยางที่มีอยู่เดิมเท่านั้น[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505]
มาตรา 21 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม ให้มีการทำสวนยางพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ผู้ซึ่ง ไม่มีสวนยางมาก่อน และมีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่น้อยกว่าสองไร่ มีความประสงค์จะขอรับ การสงเคราะห์ในการทำสวนยาง ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามแบบและวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวงในการดำเนินการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้เงินอุดหนุนหรือเงินจากงบประมาณประจำปีหรือเงินกู้ที่รัฐบาลจัดให้ให้คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รายละไม่เกินสิบห้าไร่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้นำความในมาตรา 22 และมาตรา 23 มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรานี้โดยอนุโลมในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับการสงเคราะห์ ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 22 เจ้าของสวนยางผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของคณะกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการ มีอำนาจสั่งให้ระงับ การสงเคราะห์เสียได้
มาตรา 23 เงินสงเคราะห์ที่เจ้าของสวนยางได้รับสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ
มาตรา 24 เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้(1) เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องกับสวนยางนั้น เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด(2) มีหนังสือเรียกเจ้าของสวนยางผู้ขอรับการสงเคราะห์ และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใด ๆ เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้มาให้ถ้อยคำ(3) มีหนังสือเรียกให้บุคคลดังกล่าวใน (2) ส่งหรือแสดงเอกสารใด ๆ อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 25 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีสงเคราะห์ทุกปี ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลแสดงฐานะการเงิน โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุล และรายงานดังกล่าวในวรรคก่อนในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505]
มาตรา 26 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตาม มาตรา 5 หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสิบเท่า ของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 และให้นำส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา 27 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการในการปฏิบัติการตามมาตรา 24 (1) หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกซึ่งบุคคลดังกล่าวได้เรียกตามมาตรา 24 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 28 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้ง เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และออกกฎหมายกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.บ. พ.ศ. 2503 และ พ.ร.บ. พ.ศ. 2505
จอมพล ส. ธนะรัชต์นายกรัฐมนตรี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.บ. พ.ศ. 2518
สัญญา ธรรมศักดิ์นายกรัฐมนตรี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.บ. พ.ศ. 2530
พลเอก ป. ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ. 2503 คือ โดยที่สวนยางในประเทศไทย ส่วนมากเป็นสวนเก่า และเป็นยางที่มิใช่ยาง พันธุ์ดี เป็นเหตุให้การผลิตยาง ไม่ได้ผลตามที่ควรจะได้ และโดยที่การแก้ไข สภาพที่เป็นอยู่ดังกล่าวให้ดีขึ้น ต้องกระทำด้วยการปลูกยางพันธุ์ดี แทนยางเก่า จึงสมควรให้มีกฎหมาย จัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการนี้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2505 คือ เพื่อให้มีบทบัญญัติ ให้คณะกรรมการ สงเคราะห์การทำสวนยาง มีอำนาจนำเงินที่เป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ ถ้าหากมีมาใช้จ่าย ในการบริหารงาน สงเคราะห์การทำสวนยาง และสงเคราะห์ผู้ทำสวนยางได้ตามความเหมาะสม และแก้บทบัญญัติ ให้เจ้าของสวนยางสขนาดเล็ก มีโอกาสได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยาง ในที่ดินแปลงใหม่ได้ มากยิ่งขึ้นเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2518 คือ เนื่องจากไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลต่าง ๆ เป็นพืชทางเศรษฐกิจ สมควรจะได้ดำเนินการส่งเสริม หรือสงเคราะห์ให้มีการปลูกแทน ต้นเก่าที่ให้ผลน้อย เพื่อให้ได้ผลยิ่งขี้น เช่นเดียวกับต้นยางพารา จึงจำเป็นต้อง ขยายวัตถุประสงค์ของ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้สามารถให้ การสงเคราะห์การปลูกแทน สวนไม้ยืนต้นได้ด้วย โดยใช้เงินทุน ค่าใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์ จากรัฐบาลหรือ จากกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2530 คือ เนื่องจากบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเงินสงเคราะห์ ในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ยังไม่เหมาะสม กับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บ เงินสงเคราะห์ ตลอดจน อัตราเงินสงเคราะห์เสียใหม่ โดยกำหนดให้ อัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์สัมพันธ์กับ ระดับอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ และอัตราอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร เพื่อให้เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ มีอัตราคงที่แน่นอน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ การจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้การสงเคราะห์แก่เจ้าของสวนยาง ได้แน่นอนยิ่งขึ้น และเพื่อให้อัตราการจัดเก็บ เงินสงเคราะห์ และอัตราอากรขาออก รวมกันแล้ว สามารถแข่งขันกับประเทศ เพื่อนบ้านได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ในด้านการป้องกัน การลักลอบส่งยางออกนอกประเทศ และยังสอดคล้องกับนโยบาย ทางด้านการเงิน ของประเทศ และนอกจากนี้ สมควรแก้ไของค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตลอดจน วาระการดำรงตำแหน่ง ของกรรมการ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เพื่อให้การบริหารงาน ของสำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้ง สมควรกำหนดอัตรา การจัดสรรเงินสงเคราะห์เสียใหม่ เพื่อให้เพียงพอกับการที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์ และเพื่อจะได้ผู้มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ให้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกยางพันธุ์ดี รายย่อย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2518มีบทบัญญัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะดังนี้
มาตรา 6 การให้การสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนในสวนไม้ยืนต้นเก่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2530มีบทบัญญัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะดังนี้
มาตรา 9 ในระหว่างที่ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเสียงเงินสงเคราะห์ และอัตราเงินสงเคราะห์ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้การเสียเงินสงเคราะห์และอัตราเงินสงเคราะห์เป็นไปตามกฎกระทรวง และประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 10 ให้คณะกรรมการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะตั้งคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งอย่างช้าต้อง ไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ