วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

การปลูกยางในจีน


กระทั่งหยุนหนัน รับเบอร์เองก็ยอมรับผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
“สวนยางพาราเป็นป่าที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงเป็นความจริงที่ว่าไม่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากนักที่นี่” อิ่น ซือหมิง หัวหน้าฝ่ายผลิตของหยุนหนัน รับเบอร์กล่าว

ในส่วนของหยุนหนัน รับเบอร์เองนั้น ได้นำมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อมมาใช้ เช่น ปล่อยให้วัชพืชขึ้นรกในพื้นที่ว่างระหว่างแนวต้นยาง นอกจากนั้น ยังมีการวิจัยวิธีทำให้ต้นยางโตเร็ว ซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งในการเพิ่มผลผลิต โดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ปลูก ทั้งนี้ ตามปกติแล้ว ต้นยางพร้อมให้กรีดน้ำยางได้หลังมีอายุได้ 7 ปีไปแล้ว

นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ยังไม่สายเกินไปที่จะรักษาป่าฝนในมณฑลหยุนหนันไว้ ทว่าตราบใดที่ราคายางยังคงพุ่งสูง และรัฐบาลไม่เข้าแทรกแซง ตราบนั้น การรุกล้ำป่าเพื่อขยายสวนยางพาราก็ยังคงเกิดขึ้นได้

อาสาสมัครตรวจสวน


อาสาสมัครตรวจสวน

1. ความหมายของอาสาสมัครตรวจสวน

อาสาสมัครตรวจสวน หมายความว่า เกษตรกรหรือบุคคล ที่ได้รับการคัดเลือกหรือสมัครใจเข้าเป็นอาสาสมัครภายใต้หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางกำหนดเพื่อเป็นเครือข่ายในการช่วยเหลือการปฏิบัติงาน ของหน่วยงานในการตรวจสวนยาง พร้อมทั้งให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องในการแก้ไขปัญหาแก่เกษตรกรชาวสวนยาง รวมทั้งงานของชุมชนซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกษตร

2. อำนาจหน้าที่

อาสาสมัครตรวจสวน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
• ประชาสัมพันธ์งานหรือโครงการของ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ข้อมูลและแจ้งเตือนภัยธรรมชาติ

• ประสานงานช่วยเหลือและให้ข้อเสนอแนะแก่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร
• ถ่ายทอดความรู้ให้คำแนะนำให้คำปรึกษาด้านการเกษตรและเป็นวิทยากรเกี่ยวกับยางพารา หรือ ปฏิบัติงานใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชนหรือตามที่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ขอความช่วยเหลือ

* ตรวจสวนยางแก่สมาชิก ให้คำแนะนำที่ถูกต้องในการดูแลบำรุงรักษาสวนยาง พร้อมข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไข และเขียนรายงานตรวจสวนตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ในหนังสือประจำตัวสมาชิกเจ้าของสวนยางเพื่อรวบรวมส่งแก่สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางตามระยะเวลาที่กำหนด