วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ปลูกยางพารา ปลูกป่า ปลูกชีวิต




ปลูกยางพารา ปลูกป่า ปลูกชีวิต
โดยอนุกูล ทองมี
พืชก็ต้องมีสังคมพืช ไม้ต่างเรือนยอดกันต้องการแสงแดด แร่ธาตุอาหารต่างกัน และไม้ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นการปลูกป่าแต่เป็นการปลูกป่ายางพารา ฟื้นให้ดินมีชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจให้ครอบครัว เป็นความยั่งยืนที่น่าเรียนรู้ในยามที่ยางพาราแพงทั้งต้นทั้งน้ำยาง
ปกติในหนึ่งสัปดาห์ผมจะมีผู้เฒ่าหรือผู้อาวุโสวัย 75 ปีที่เป็นที่เคารพนับถือกันแวะเวียนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเป็นประจำ ท่านเป็นผู้ทรงภูมิปัญญาในความคิดผม อดีตเคยเป็นสมาชิกสภาจังหวัดพัทลุง(สจ.)เขตอำเภอเขาชัยสน และท่านรอบรู้หลายอย่างเช่นเรื่อง การเมือง การเกษตรโดยเฉพาะเรื่องยางพารา ทั้งพันธ์ยาง การปลูก การแปรรูปยางแผ่นรมควัน และการตลาดของยางพารา เวลานั่งคุยกันบางครั้งผมต้องตะโกนเพราะสังขารมันอยู่นานแล้ว หูมันไม่ค่อยได้ยิน ท่านบอกว่ายมบาลส่งจดหมายมาเตือนแล้ว และเกือบทุกครั้งผมจะบันทึกเรื่องราวไว้ในแผนที่ความคิด วันนี้ผมขอถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในพุงของ "น้าหนิด" คือ คุณสนิท ณ พัทลุง กัลยาณมิตรผู้สูงวัยของผม

การปลูกยางพาราเท่าที่คุยกับน้าหนิดนั้นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงคือลักษณะดิน ต้องมีน้ำมันดินหรือที่เรียกว่าอินทรีย์สารหรือฮิวมัส ส่วนใหญ่ที่อำเภอตะโหมดบริเวณแนวเทือกเขาบรรทัดจะเป็นป่าใหญ่หรือป่าที่อุดมสมบูรณ์ทั้งพันธ์ไม้ พันธ์สัตว์ และดินชั้นล่างถัดจากหน้าดินเป็นดินลูกรังสีแดงสด ดินลักษณะนี้เหมาะกับการปลูกยางพาราหลายพันธ์เช่น 600 พันธ์ 24 พันธ์พีบี ฯ (เรียกกันในภาษาถิ่นใต้) และอีกอย่างการปลูกยางพาราทางใต้ไม่ต้องรดน้ำ ฝนตกบ่อยมาก
การปลูกพืชคลุมดินจำพวกพืชตระกูลถั่วน้าหนิดว่าเป็นสิ่งจำเป็น ได้ปุ๋ยโดยไม่ต้องซื้อ ไม่ต้องออกแรงใส่ แต่อาจจะต้องเข้าไปดูแลบ่อยขึ้นเพราะเถาพืชคลุมจะเลื้อยพันต้นยางอ่อน อย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง แต่เดี๋ยวนี้เขานิยมปุ๋ยเคมีมากว่าเพราะง่ายต่อการใส่และก่อนใส่ปุ๋ยก็ฉีดยาฆ่าหญ้าลูกเดียวไม่ต้องยั้ง ผลก็คือดินไม่มีชีวิตตายถาวร ที่ผมสนใจมากก็คือน้าหนิดว่าต้นยางพารา ต้นต้องได้ขนาดวงรอบ 60 เซนติเมตรขึ้น ไปถึงกรีดได้ ดี ใบต้องมากรากแก้วต้องลึกและรากฝอยที่โผล่พ้นดินต้องเยอะ ถึงน้ำยางจะข้นและได้มากต่อวัน ผมก็ไม่ค่อยเชื่อตามไปดูที่สวนน้าหนิด นำยางออกมากจนล้น จอกเบอร์ 1 ถ้าให้ดีต้องตัดวันเว้นวันและต้องคัดเลือกคนตัดที่มีฝีมือด้วย
พอไปถึงบ้านน้าหนิดท่านก็หยิบสมุดเก่าๆให้ผมดูปรากฏว่าเป็นตัวเลขน้ำหนักน้ำยางในแต่ละสวนที่บันทึกไว้อย่างละเอียดทุกวันเป็นเวลาหลายปี เพื่อเอาไว้ดูการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักน้ำยางและการเปลี่ยนแปลงราคาในแต่ละวัน ผมทึ่งมากจึงไม่แปลกเลยที่น้าหนิดจะรู้เรื่องกลไกตลาดยางด้วย เป็นกระบวนการของงานวิจัยอย่างหนึ่งของน้าหนิดที่มีความรู้เดิมแค่ ป.4
ผมคุยเรื่องยางพารากับน้าหนิดบ่อยครั้ง พอดีมีที่ดินนาว่างอยู่แปลงหนึ่งก็ชวนกันไปดู และเริ่มปลูกตามวิธีที่ได้ ลปรร.กับน้าหนิดคิดว่าน่าจะได้ผล โดยหลักๆ ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าวัชพืช ปลูกกล้วยน้ำว้าแซมระหว่างต้นยางเพื่อเพิ่มความชื้นให้ดินและปลูกพืชคลุมเพิ่มปุ๋ยที่ไม่ต้องซื้อไม่ต้องใส่ อาจจะมีไม้เนื้อแข็งโตเร็วประเภทสะเดาช้าง กระถินเทพา หรือต้นตำเสา ฯ หรือไม้ไผ่ป่าด้วยก็น่าจะดี ไม้ไผ่ก็ได้ขายลำ ขายหน่อ ไม้อื่นๆ สัก 20 ปี ก็ได้เอาไว้ทำบ้านให้ลูก ๆ ส่วนกล้วยได้ขายก่อนเสริมรายได้ และเป็นอาหารเสริมด้วยโดยมีแนวคิด ว่า พืชก็ต้องมีสังคมพืช ไม้ต่างเรือนยอดกันต้องการแสงแดด แร่ธาตุอาหารต่างกัน และไม้ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน เรียกว่าเป็นการปลูกป่าแต่เป็นการปลูกป่ายางพารา ฟื้นให้ดินมีชีวิต ฟื้นเศรษฐกิจให้ครอบครัว เป็นความยั่งยืนที่น่าเรียนรู้ในยามที่ยางพาราแพงทั้งต้นทั้งน้ำยาง

อ้างอิงที่มา : http://gotoknow.org/blog/hroy45/37723

พืชเสริมรายได้ในสวนยาง





พืชเสริมรายได้ หมายถึง พืชที่นำมาปลูกในระหว่างแถวยางแล้วทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น จำแนกได้ 2 ประเภท คือ พืชแซมยางและพืชร่วมยาง
พืชแซมยาง หมายถึง พืชที่ปลูกในแถวยางในขณะที่ต้นยางอายุไม่เกิน 3 ปี สามารถปลูกจนถึงต้นยางอายุไม่เกิน 4 ปี พื้นที่ระหว่างแถวยางจะต้องมีปริมาณแสงแดดมากกว่า 50% ของปริมาณแสงแดดทั้งหมด พืชแซมยางที่ปลูกควรเป็นพืชที่ตลาดต้องการสูง ราคาดี เป็นพืชล้มลุก อายุสั้น ดูแลรักษาง่าย การปลูกแบ่งตามอายุ คือ
1. อายุน้อยกว่า 1 ปี เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว ผักชนิดต่าง ๆ พริก มะเขือ ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงโม เป็นต้น
2. อายุมากกว่า 1 ปี เช่น กล้วย มะละกอ สับปะรด หวายตัดหน่อ เป็นต้น
การปลูกและดูแลรักษาพืชแซมยาง
1. พื้นที่สวนยางที่ปลูกพืชแซมยางดินควรมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร เมื่อมีการปลูกพืชแซม ควรใส่ปุ๋ยให้กับพืชแซมยางด้วย
2. การปลูกพืชแซมยาง ควรปลูกในสวนยางที่ระยะระหว่างแถวยางกว้าง 7 หรือ 8 เมตร เป็นสวนยางที่ปลูกยางแนวทิศตะวันออก-ทิศตะวันตก เพื่อให้พืชแซมยางได้รับแสงแดดเต็มที่ ถ้าแถวยางแคบกว่านี้จะปลูกพืชแซมได้ไม่เกิน 2 ปี
3. ระยะปลูกพืชแซมต้องปลูกห่างจากแถวยางไม่น้อยกว่า 1 เมตร บวกด้วยครึ่งหนึ่งของระยะห่างระหว่างแถวของพืชแซมนั้น ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงร่มเงาและการแย่งปุ๋ยจากยาง
4. การดูแลรักษา ควรกำจัดวัชพืชระหว่างแถวยางและแถวพืชแซม การใส่ปุ๋ยควรเป็นปุ๋ยคอก,ปุ๋ยหมัก
5. แรงงานควรใช้แรงงานภายในครอบครัว เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ประโยชน์ของพืชแซมยาง
1. ใช้บริโภคและเพิ่มรายได้จากการขายผลผลิต
2. ต้นยางเจริญเติบโตได้ดีกว่าปล่อยพื้นที่ให้ว่าง
3. ประหยัดค่าใช้จ่ายการควบคุมวัชพืช
4. ใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
พืชร่วมยาง หมายถึง พืชที่สามารถปลูกร่วมกับยางได้นานและให้ผลผลิตควบคู่กันไปพืชร่วมยางที่ปลูกควรเป็นพืชยืนต้นหรือล้มลุกที่มีอายุยาว พืชดังกล่าวบางชนิดต้องการแสงแดดในช่วงปีที่ 1-2 บางชนิดอาจต้องการร่มเงาของสวนบาง ดังนั้น พืชที่จะปลูกต้องทนทานต่อโรคที่เกิดกับยางพารา เช่น โรครากขาว โรคเส้นดำ โรคเปลือกดำ และโรคใบจุดก้างปลา เป็นต้น
ชนิดของพืชร่วมยางสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
1. ไม้ป่าเศรษฐกิจ เช่น เทียม
2. ไม้ผล เช่น มังคุด ลองกอง ขนุน จำปาดะ ระกำ
3. ไม้ยืนต้น เช่น สะตอ เนียง เหมียง หวาย
4. พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ เช่น กระวาน ขิง
5. ไม้ดอกไม้ประดับ เช่น ดาหลา หน้าวัว จั๋ง หมากแดง
การปลูกและการดูแลรักษาพืชร่วมยาง
1. สภาพพื้นที่ปลูกสวนยางที่ปลูกพืชร่วมยาง ดินควรมีความอุดมสมบูรณ์ หน้าดินลึก
2. อายุของสวนยาง ไม้ยืนต้นสามารถปลูกพร้อมกับการปลูกยางในระยะแรกควรปลูกกล้วย
3. ระยะปลูกของพืชร่วมยางส่วนใหญ่ปลูกเป็นแถวเดี่ยว อยู่กึ่งกลางระหว่างแถว ยางบางชนิดอาจปลูกแถวคู่ แต่ต้องปลูกห่างจากแถวยางไม่น้อยกว่าข้างละ 2 เมตร
4. การดูแลรักษาพืชร่วมยาง หลังปลูกควรใส่ปุ๋ยตามอัตราคำแนะนำ ตลอดจนการกำจัดวัชพืช การให้น้ำ
5. แรงงาน ควรใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อลดต้นทุนการผลิต
ประโยชน์ของพืชร่วมยาง
1. เพิ่มรายได้เนื่องจากผลตอบแทนจากยางอย่างเดียวไม่เพียงพอ
2. ต้องการผลผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน
3. ลดความเสี่ยงด้านการตลาดในช่วงราคายางตกต่ำ
4. ใช้พื้นที่ว่างระหว่างแถวยางให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
5. ทำให้มีรายได้ในช่วงวันฝนตก ซึ่งไม่สามารถกรีดยางได้
6. ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พืชร่วมยางที่นำมาปลูกนั้นมีหลายชนิดและอยู่ในระหว่างการศึกษา ทดสอบ ได้แก่ ลองกอง มังคุด หวายข้อดำ สำหรับพืชร่วมยางที่ส่งเสริมให้ปลูก คือ เหมียง ซึ่งเป็นพืชผักสำหรับบริโภคใบอ่อน
http://www.doae.go.th/report/last/bt78.htm

วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



ศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชคลุม Calopogonium caeruleumในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนStudy Producing Calopogonium caeruleum Seed In Upper Northeast

อนุสรณ์ แรมลี สุทธาชีพ ศุภเกษร นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์
สมบูรณ์ ภูจอมดาว ปัทมา เพ็ชรสุวรรณ์ เพชรรัตน์ พลชา
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย/กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชคลุมซีรูเลียม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วางแผนการทดลองแบบ Split plot design 7 ซ้ำ ประกอบด้วย Main Plot 2 วิธีการ (ให้น้ำและไม่ให้น้ำช่วงออกดอกติดฝัก), Sub plot 2 วิธีการ (มีค้างและไม่มีค้าง) ทำการทดลองทีศูนย์วิจัยยางหนองคาย กิ่งอ.รัตนวาปี จ.หนองคาย ในระหว่างปี 2541 - 2542 พบว่าทุกวิธีการมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันในทางสถิติ การออกดอกทุกวิธีการออกดอกไม่แตกต่างกัน สำหรับวิธีการให้น้ำและไม่ให้น้ำในช่วงออกดอกและติดฝัก ไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตของเมล็ด แต่วิธีการทำค้างมีจำนวนฝักและผลผลิตเมล็ดดีสูงกว่าการไม่ทำค้างแตกต่างทางสถิติ คือ 79.6 ฝัก และ 336.8 ฝัก, 1.05 และ 0.14 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับจากการทดลองนี้พอสรุปได้ว่าไม่สามารถปลูกเพื่อผลิตเมล็ดได้ เนื่องจากหน้าดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเกินไป การปลูกซีรูเลียมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ประการแรกที่ควรพิจารณา คือความลึกของหน้าดิน ประการต่อมาคือควรมีความอุดมสมบูรณ์ของดินบ้าง จากเหตุผลทั้ง 2 ประการ จะช่วยให้มีความชื้นเพียงพอต่อการติดเมล้ดและสร้างฝัก
จนถึงปี 2541 พบว่ามีชาวสวนยางปลูกยางอยู่กระจัดกระจายใน 19 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ 42,238 ไร่ นครราชสีมา 2,663 ไร่ สุรินทร์ 14,404 ไร่ ศรีสะเกษ 24,654 ไร่ อุบลราชธานี 25,141 ไร่ ยโสธร 8,146 ไร่ อำนาจเจริญ 2,554 ไร่ ขอนแก่น 6,061 ไร่ มหาสารคาม 1,558 ไร่ ร้อยเอ็ด 5,564 ไร่ กาฬสินธ์ 14,659 ไร่ มุกดาหาร 14,147 ไร่ ชัยภูมิ 4,997 ไร่ อุดรธานี 29,612 ไร่ เลย 29,518 ไร่ สกลนคร 18,534 ไร่ นครพนม 17,735 ไร่ และหนองบัวลำภู 3,511 ไร่ รวมเป็นพื้นที่348,082 ไร่ มีพื้นที่กรีด 55,042 ไร่ หรือร้อยละ 15 ผลผลิตรวมปีละ 7,317 ตัน คิดเป็นผลผลิตเพียง 132 กิโลกรัม/ไร่/ปี ทั้งนี้เพราะส่วนมากเป็นยางเพิ่มเริ่มเปิดกรีด
ที่มา : http://www.blogger.com/www.doa.go.th/web-itc/library/libarary/rubber37-46/landuse.pdf