วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ทัศนศึกษาสิบสองปันนา



คณะทัศนศึกษาสิบสองปันนากับ สร.กสย. รวม ๔๕ คน(มี 2 ท่านเป็นพนักงาน ธกส. เดินทางออกจากจังหวัดเชียงใหม่โดยพาหนะส่วนตัว ไปรอสบทบที่อำเภอเชียงของ) ซึ่งประกอบด้วยเจ้าของสวนยาง พนักงาน สกย.พร้อมคู่สมรส เพื่อนพนักงานรัฐวิสาหกิจจาก การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และ ธกส. ออกเดินทางโดย รถโค้ชปรับอากาศจาก สกย. บางขุนนนท์ เวลา 6.00 น. ของวันที่ 22 ตุลาคม 2553 สู่ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย แม้จะออกเดินทางแต่เช้าก็ตาม ปรากฎว่ากว่าจะถึงปลายทางก็ปาเข้าไปสามทุ่มพอดี จากนั้น ก็ได้รับประทานอาหารเย็นพร้อมชมการแสดงสล้อ ซอ ซึง ที่ร้านอาหารบ้านแก้ว จึงพากันแยกย้ายไปพักผ่อนเพราะเหนื่อยกับการนั่งรถมาทั้งวัน ตื่นเช้ารับประทานข้าวมันไก่ไหหลำ แล้วเดินทางผ่านด่านเชียงของไปฝั่งบ่อแก้วของประเทศลาวโดยเรือหางยาวผ่านลำน้ำโขงอันเชี่ยวกราก ต่อจากนั้นคณะจึง แยกกันนั่งรถตู้ จำนวน 5 คัน แวะรับประทานอาหารเที่ยงที่เวียงภูคา ช่วงที่เดินทางผ่านถนนเชื่อมไทย-ลาว-จีน (R3a) ซึ่งช่วงนี้การเดินทางจะผ่านโค้งและผิวถนนซ่อมกันเป็นช่วงๆ น้อยคนที่จะไม่มีอาการเมารถ ซึ่งความเป็นมาของถนนสาย R3 หรือที่เรียกกันติดปากว่า ถนน R3a จากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว - บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ระยะทาง 250 กิโลเมตร (กม.) ทราบข้อมูลว่า หจก.แพร่ธำรง วิทย์ ได้ร่วมกับบริษัทน้ำทา ก่อสร้าง จำกัด ของนายคำเพิง ทองซะบา กลุ่มผู้รับเหมาท้องถิ่นของสปป.ลาว เข้าประมูลโครงการรับเหมาก่อสร้างเส้นทางช่วงเมืองห้วยทราย - เวียงภูคา แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว ระยะ ทาง 84 กม.และเส้นทางในตัวเมืองบ่อแก้ว - ถนนเลี่ยงเมืองอีก 15 กม. มูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 1,086 ล้าน บาทซึ่งเป็น 1 ใน 3 ส่วนของถนน R3a ตลอดทั้งสาย ภายใต้การสนับสนุนด้านงบประมาณจากสำนักงานความร่วมมือ พัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (สพพ.)ขณะที่ถนน R3a ช่วงที่ 2 จาก กม.ที่ 84-260.8 (เวียงภูคา แขวงบ่อแก้ว - บ้าน Nam Lung แขวงหลวงน้ำทา) ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ที่บริษัทนวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างนั้น ส่วนถนนช่วงที่ 3 หรือแพกเกจ C ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลจีน จากบ้าน Nam Lung - บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา (ชายแดน สปป.ลาว-จีน) หรือจาก กม.160.8 - 228.3 ที่กลุ่มผู้รับเหมาจากจีน เมื่อถนนเส้นนี้เสร็จสมบูรณ์ทั้ง 3 ช่วง จะทำให้การ เดินทางจากเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว (ชายแดนติดกับ อ.เชียงของ จ.เชียงราย - เมืองบ่อเต็น แขวง หลวงน้ำทา ติดกับ Mohan เขตเมืองลา สิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน จีน) ใช้เวลาเดินทางเพียง 5-6 ชั่วโมงเท่านั้น จากเดิมที่ต้องใช้เวลา 1-2 วัน หลังจากถนน R3a เสร็จสมบูรณ์ ในอนาคตก็จะเชื่อมต่อกับสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 ภายใต้งบประมาณ 1,600 ล้านบาท ที่ไทย-จีน ตกลงที่จะ สนับสนุนฝ่ายละ 50% ซึ่งขณะนี้ได้กำหนดจุดก่อสร้างแล้วโดยฝั่ง สปป.ลาว จะอยู่ที่บริเวณบ้านดอนขี้นก (กม.9) เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ฝั่งไทยจะอยู่บริเวณบ้านดอนมหาวัน ต.ศรีดอนชัย อ.เชียงของ จ. เชียงราย ห่างจากตัวเมืองเชียงของประมาณ 10 กม.เศษ ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 ปี หากสะพานแห่งนี้แล้วเสร็จ เชื่อมต่อเข้ากับถนน R3a จะทำให้การค้าชาย แดนที่เชียงของ คึกคักขึ้นอย่างมาก เพราะจีนมุ่งที่จะขนส่งสินค้าตามถนนR 3 a อันเป็นถนนเชื่อมคุนหมิง- กรุงเทพ กว่าพวกเราจะเดินทางไปถึงบ่อเต็นก็บ่ายสองกว่าแล้ว ต้องไปรอเช็คชื่อตรวจวีซ่าผ่านด่านโมฮันเข้าจีนอีกชั่วโมงกว่าเพราะเป็นวันหยุดยาวนักท่องเที่ยวมากจริงๆ เราไปถึงจิงหง ประมาณ ทุ่มหนึ่งพอดี รับประทานอาหารเย็นแล้วเข้าพักที่โรงแรมไทการ์เดนท์ ซึ่งใช้เวลาเดินทางออกจากกลางเมืองราว 2 กิโลเมตร


มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้รับการขนานนามว่า "ดินแดนแห่งความลี้ลับ" เพราะเป็นแหล่งรวมความงามทางธรรมชาติ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ตลอดจนเรื่องเล่าที่เต็มไปด้วยอิทธิปาฏิหาริย์
ทางใต้สุดของมณฑล เป็นที่ตั้งของเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา หรือสิบสองพันนา (ภาษาจีนออกเสียง ฉีฉ่วงบั่นนา) มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐฉาน ประเทศพม่า เดียนเบียนฟู ของเวียดนาม และแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ถัดจากลาวลงมาก็คือประเทศไทยความสำคัญของสิบสองปันนาด้านหนึ่งคือเป็นเขตปกครองตนเองของชาวไทลื้อหรือไตลื้อไทลื้อแห่งสิบสองปันนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จีนเรียก จิ่งหง) เมืองนี้แม่น้ำสายสำคัญที่ไหลผ่านคือ แม่น้ำหลานชาง หรือแม่น้ำล้านช้าง ซึ่งก็คือแม่น้ำโขงนั่นเอง
หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ระบุว่า ชาวไทลื้อดำรงความเป็นชนชาติมานานกว่า 2,000 ปี แต่อาณาจักรใหญ่ของพวกเขาสถาปนาขึ้นช่วงก่อนหน้าอาณาจักรสุโขทัยเมื่อประมาณ 800 ปี พงศาวดารกล่าวว่า "ขุนเจือง" หรือพญาเจื่อง คือพระเจ้าแผ่นดินของไทลื้อพระองค์แรก เถลิงพระนามเป็นสมเด็จพระเจ้าหอคำรุ่งเรืองที่ 1 ทรงรวบรวมไทลื้อกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยให้เป็นปึกแผ่น มีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง มีนบธรรมเนียมประเพณี ภาษา ศิลปวัฒนธรรมของตัวเอง ประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นต่อจีนแต่ด้วยความที่ เป็นแคว้นเล็ก อาณาจักรเชียงรุ่งจึงมักถูกรุกรานและยึดครองจากอาณาจักรอื่นรอบด้าน ทั้งจีน พม่า และล้านนา ก่อนจะถูกผนวกเป็นของอาณาจักรจีนเมื่อพ.ศ.1835ชื่อเรียก สิบสองปันนา หรือ สิบสองพันนา มีที่มาจากช่วงที่พม่าเข้ายึดครอง และแบ่งดินแดนออกเป็น 12 เมือง เพื่อสะดวกต่อการเรียกเก็บภาษีอากร 12 หัวเมืองของสิบสองปันนา ได้แก่ เมืองฮาย ม้าง หุน แจ้ ฮิง ลวง อิงู ลา พง อู่ เมืองอ่อง และเชียงรุ่ง แต่ละเมืองครอบครอง 1 พันนา (หรือที่นา 1 พันผืน) จึงเรียกขานว่าเมืองสิบสองปันนาตั้งแต่นั้น คำว่าเชียงรุ่ง แปลความหมายได้ว่าเมืองแห่งรุ่งอรุณ มาจากเรื่องราวในพุทธตำนานของชาวไทลื้อ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ยังดินแดนริมฝั่งแม่น้ำโขงของชาวไท ลื้อ เป็นเวลารุ่งเช้าพอดี ชาวไทลื้อจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "เชียงรุ่ง" หรือตามสำเนียงไทลื้อว่า "เจียงฮุ่ง"



ศูนย์วิจัยสมุนไพรแห่งชาติสิบสองปันนา

เดินชมสวนสมุนไพรก่อนที่ศูนย์จะเปิดเพราะมาเช้าเกินไป






อาซิ่มหั่นเบาๆ กระดาษก็ขาด เฮ้ย สับเหล็กหมดแรงแล้วไม่มีรอยมีดแหว่งสัดนิดเลย
หมู่บ้านมีดเมืองลื้อ(จิ้งฟ้า) ซึ่งหมู่บ้านนี้ในอดีตเคยตีมีดถวายฮ่องเต้ แต่ปัจจุปันได้นำมาแสดงโชว์การใช้มีดและคุณสมบัติของมีดอันโดดเด่นทั้งหั่นทั้งสับที่แตกต่างจากมีดทั่วๆไป


พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่นักท่องเที่ยวชอบมาถ่ายรูปในมุมต่างๆ

มองจากวัดหลวงเมืองลื้อเห็นตัวเมืองเชียงรุ่ง ถ่ายรูปกันก่อนผ่านช่องเก็บบัตรผ่านประตูเข้าชมวัด





วัดหลวงเมืองลื้อ สิบสองปันนา ซึ่งบริษัทพัฒนาการท่องเที่ยวหยวนห้าว จำกัด สิบสองปันนา ยูนนาน ได้ทุ่มเงินลงทุนเองถึง 350 ล้านหยวน เพื่อสร้างวัดนิกายหินยานหรือเถรวาท และพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่สุดในแถบนี้ มาตั้งแต่ปี 2548 สืบเนื่องจากตระหนักดีว่าศาสนาพุทธนิกายเถรวาทมีประวัติอันยาวนานในสิบสองปันนาพอๆ กับในแถบเอเชียอาคเนย์ เช่นไทย ลาว กัมพูชา พม่า การสร้างวัดหลวงเมืองลื้อ แบ่งการสร้างออกเป้นหลายเฟส สถานที่แห่งนี้นอกจากจะเป็นที่แสดงวัฒนธรรมทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมพื้นเมืองที่ตกทอดมาช้านานแล้ว ยังจะเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยศาสนาพุทธสิบสองปันนา เพื่อใช้เป็นที่ศึกษาวิจัยศาสนาพุทธนิกายเถรวาท และท้ายสุด จะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมศาสนาพุทธนิกายเถรวาท อีกทั้งยังเป็นสถานที่ชาวไต หรือไทลื้อในแถบเอเชียอาคเนย์ได้สืบค้นเรื่องราวบรรพบุรุษของตัวเองได้ นอกเหนือจากที่สามารถสืบค้นจาก "ชุมนุมพระคัมภีร์อักษรธรรมใบลาน" ซึ่งเป็นพระคัมภีร์ใบลานของนิกายเถรวาทที่มีอยู่อย่างแพร่หลายตามวัดวาอารามในสิบสองปันนา ที่ได้รับการรวบรวมชำระขึ้นเป็นครั้งแรกและเป็นครั้งที่ครบถ้วนที่สุด แล้วพิมพ์เป็นอักษรไทลื้อเก่า ไทลื้อใหม่ ภาษาจีนและภาษาอังกฤษ รวม 6 ภาคแต่ที่แน่ๆ ก็คือ เชื่อว่าวัดหลวงเมืองลื้อจะเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวเลื่องชื่อของสิบสองปันนาในอนาคต ไม่ใช่สำหรับชาวพุทธนิกายเถรวาทเพียงอย่างเดียว อันเนื่องจากวัดนี้ได้สร้างอย่างสวยงามบนเนื้อที่หลายพันไร่ริมเชิงเขา โดยผสมผสานศิลปะพุทธทั้งหินยาน มหายาน และทิเบต รอบๆ วัดจะมีท้าวจตุรบาลแบบจีนยืนตระหง่านอยู่สุดเชิงบันไดนาค ตรงกลางของที่พักช่วงแรกเป็นที่สถิตของพระพรหมสี่หน้าองค์ทองอร่าม ถัดขึ้นไปพระพุทธรูปปางประสูติ ซึ่งเป็นรูปปั้นเด็กมีเพียงผ้าคลุมกายพองาม ประทับยืนชี้นิ้วชี้ขึ้นฟ้าและลงดิน เหมือนกับเป็นปริศนาธรรมให้ขบคิด ในส่วนของตัวโบสถ์ได้สร้างด้วยศิลปะผสมผสานกันระหว่างไทลื้อ พม่า ลาว แถมยังมีลวดลายคล้ายลายประจำยามและลายขนดแบบของไทยสอดแทรกอยู่ ภายในเป็นจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่เล่าเรื่องพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติเรื่อยไปจนถึงปรินิพพาน หลังจากชมวัดเสร็จแล้งก็ลงมาชมการแสดงของชาวพื้นเมือง มีการสาดน้ำสงกรานต์ให้ดูด้วย จากนั้นก่อนขึ้นรถบัสกลับ ทางคณะก็ได้เข้าชมเครื่องประดับจากคริสตัล



ต่อด้วยการเที่ยวชมสวนม่านทิง ห่างจากตัวเมืองเชียงรุ่งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นสวนโบราณของพระราชวังกษัตริย์ในอดีต มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,300 ปี ถูกทิ้งร้างมานาน ก่อนได้รับการฟื้นฟูเมื่อปี พ.ศ.2523

เครื่องใช้ในครัวเรือนของเผ่าอาข่า
เมื่อเข้ามาในสวนสิ่งแรกที่สะดุดตาคือ รูปปั้นทองสำริดเต็มตัวสูง 3.2 เมตร ของ นายโจวเอินไหล อดีตนายกรัฐมนตรีจีน ในชุดพื้นเมืองชนชาติไต เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่ท่านเข้าร่วมงานเทศกาลสงกรานต์ของชนชาติไตที่สวนสาธารณะแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2504 นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีท่านนี้ยังเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท แนวชายแดนของสิบสองปันนากับรัฐฉานของประเทศพม่าด้วย ด้านซ้ายของ รูปปั้นมีต้นไทร 2 ต้น ที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงปลูกเอาไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์อันดีของไทยและจีน ที่สวนแห่งนี้ยังมีลานแสดงช้าง นกยูง และยังมีวัดพุทธศาสนาอยู่ติดกับสวน มีกลุ่มเจดีย์ขาว 9 ยอดตามแบบฉบับสิบสองปันนาให้ชม ที่นี่ยังถือเป็นศูนย์กลางการเพาะพันธุ์นกยูงของสิบสองปันนาอีกด้วย ในสวนมีนกยูงมากกว่า 2,000 ตัว


สำหรับการโชว์เมืองพาราณสี เป็นการนำเสนอถึงพระพุทธศาสนาที่เดินทางเข้ามาถึงเมืองสิบสองปันนา การแสดงงานประเพณีสงกรานต์ และการโชว์ถึงวัฒนธรรมชนเผ่าต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสิบสองปันนา ดูสวยงามและอลังการครับ สำหรับราคาค่าเข้าชม 120 - 160 หยวน หากใครไปถึงเมืองเชียงรุ่งแล้วไม่ได้ดูชุดแสดงเมืองพาราณสีแล้ว คงบอกได้คำเดียวว่ามาไม่ถึงเมืองสิบสองปันนาครับ... ก่อนที่จะเข้าไปชมภายในโรงละคร ก็มีการแสดงเรียกน้ำย่อยที่หน้าโรงกันก่อน มีการแสดงวัฒนธรรมประเพณีและวีถีชีวิตของชนเผ่าต่างๆ สาวๆนักแสดงก็แต่งชุดเอวลอย โชว์สะดือกันเต็มที่

ปัจจุบันจีนปลูกยางพารา ในมณฑลยูนนาน โดยเฉพาะที่แคว้นสิบสองปันนามีถึงประมาณ 6.9 ล้านมู่สอบถามเจ้าของสวนยางที่นี่บอกว่า 1 มู่ปลูกยางได้ 30 ต้น(ข้อมูลจากนายปรีชา เพชรมาลาอดีตรอง ผอ.สกย.ระบุว่า 2.5 มู่เท่ากับ 1 ไร่ ) และกรีดได้แล้วราว 2.36 ล้านมู่ ตลอดสองข้างทางตั้งแต่เราเดินทางผ่านด่านโมฮันจนถึงเมืองเชียงรุ่งหรือสิบสองปันนา ลอดอุโมงค์ถึง 32 แห่ง และที่ยาวสุดประมารเกือบ 4 กิโลเมตรแต่เพื่อการประหยัดจีนจะไม่ค่อยเปิดไฟในอุโมงค์

น้องมุก นักศึกษาฝึกงานสาขาการท่องเที่ยว และอ้ายแก้ว เป็นไกด์ดูแลคณะแนะนำตลอดการเดินทางในจีน
เมื่อมองทัศนียภาพทั้งสองฝากฝั่งถนนสวยงามมาก เต็มไปด้วยขุนเขาใหญ่น้อย ภูเขาทุกลูกถูกเนรมิตรเป็นสวนยางพาราแม้กระทั่งบนยอดเขาสูงลิบๆ จะมองเห็นแนวต้นยางสูงชะลูดอยู่ทั่วทุกหนแห่งและจะปลูกบนพื้นที่สูงชันและมีการขุดขั้นบันไดเรียบร้อย โดยรัฐบาลจะให้แบ่งพื้นที่ปลูกยางกันเองตามจำนวนครอบครัวในแต่ละหมู่บ้านจะแบ่งกันได้ครอบครัวละ 600 ต้น ในแถบหมูบ้านจะปลูกอยู่ติด ๆ กับสวนกล้วยในไร่นา หรือแม้กระทั่งรอบ ๆ บ้านของชาวนา แทนที่ต้นไผ่ กลายเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงลักษณะเฉพาะของภูมิทัศน์ท้องถิ่นที่นี่ การกรีดยางจะใช้มีดเก๊าท์ ใช้ระบบกรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน และมีการจำหน่ายเป็นน้ำยางสดตอน 10.00 น. ในแต่ละวัน ตรงจุดรับซื้อในหมู่บ้านจะมีการแบ่งกรีดวันละครึ่งสวนทำให้กรีดยางได้ทุกวัน มีรายได้วันละประมาณ 400 -500 หยวนต่อครอบครัว เพื่อให้บริษัทที่รับซื้อจะนำไปผลิตยางแท่งต่อไป

๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕๕


มีดกรีดยางในสิบสองปันนา คุยแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำสวนยางกับชาวไทลื้อ ที่เมืองหล้า
และขณะนี้บริษัทเอกชนในจีนยังมีการสนับสนุนให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ส.ป.ป.ลาว ที่ปลูกขนาบเส้นทางถนนสาย อาร์ 3 เอ ตั้งแต่เมืองห้วยทรายตรงกันข้ามกับ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ในรัศมี 10 กิโลเมตร ของสองฟากถนน จนถึงเมืองบ่อเตน จ.หลวงน้ำทา ติดชายแดนระยะทางกว่า 250 กิโลเมตร ประมาณการว่าลาวปลูกยางพาราถึงหลักล้านไร่ โดยจีนจะเป็นผู้รับซื้อทั้งหมด จีนดีกว่าของไทยในเรื่องการดูแลรักษาต้นยางค่อนข้างมีความเข้มงวด มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์ที่จะกรีดยาง เช่น เมื่อไรมีอากาศร้อนเกินไป อากาศหนาวเกินไป เกษตรกรชาวจีนจะหยุดกรีดยางทันที เมื่อมีโรคระบาดรัฐบาลจีนจะเข้ามาดูแลทันที แต่ถ้าในพื้นที่การปลูกไม่น่าห่วง เพราะจีนมีพื้นที่มีจำกัด