วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ข่าว ปชส.ศรย.ฉบับที่๗/๒๕๕๔

เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายจักรี สุจริตธรรม ผู้ตรวจราชการเขต ๑๐,๑๒ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางมาเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้ยางพารา จังหวัดขอนแก่น และให้เกียรติเป็นประธานพิธีกล่าวเปิด หลักสูตร “งานผลิตภัณฑ์ยางแห้งเบื้องต้น” สำหรับกลุ่มผู้นำสถาบันเกษตรกร ให้แก่ผู้นำสถาบันเกษตรกร รุ่นที่ ๓ ณ โรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกรจังหวัดขอนแก่น และช่วงบ่ายได้เดินทางไปเป็นประธานการประชุมติดตามงานหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ของจังหวัดขอนแก่น ณ สกย.จ.ขอนแก่น ในการนี้ผู้ตรวจราชการฯ ได้เสนอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดขอนแก่น เสนอโครงการเพิ่มศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ใน ศูนย์เรียนรู้ยางพารา อ.เขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น จำนวน ๑ ศูนย์







ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯนายจักรี สุจริตธรรม เยี่ยม ศูนย์เรียนรู้ยางพารา จ.ขอนแก่น

และตรวจเยี่ยมโรงงานต้นแบบฯ




ช่วงบ่ายวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ผู้ตรวจจักรีฯ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ สังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่ห้องประชุม สกย.จ.ขอนแก่น




อบรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางแห้ง




ใบประกาศผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ



กิจกรรมในศูนย์เรียนรู้ยางพารา สกย.จ.ขอนแก่น

เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ศูนย์เรียนรู้ยางพาราจังหวัดขอนแก่น โดยพนักงานและลูกจ้าง ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้หน้าศูนย์เรียนรู้ยางพารา และได้จัดกิจกรรม "วันสปอร์ตเดย์" เพื่อเป็นการออกกำลังเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้กับพนักงานและลูกจ้าง ต่อจากนั้นในช่วงค่ำได้จัดงาน "วันเปิดกรีดยางพารา ประจำปี ๒๕๕๔" ด้วย






ปลูกต้นคูน ด้านหน้าศูนย์เรียนรู้



สปอร์ตเดย์ ทุกวันพุธในศูนย์เรียนรู้



จัดงานวันเปิดกรีด ร่วมสังสรรค์ระหว่างลูกจ้างกรีดยางและพนักงาน ในงาน "วันเปิดกรีดยางพารา ปี๒๕๕๔"


เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. นายกิติศักดิ์ คงธนไพศาลโสภณเลขาธิการสภาอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น ได้เดินทางมาเป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรม หลักสูตร “งานผลิตภัณฑ์ยางแห้งเบื้องต้น” สำหรับกลุ่มผู้นำสถาบันเกษตรกร รุ่นที่ ๔ ณ โรงงานต้นแบบอุสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร ณ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา ต.คำม่วง อ.เขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น





เลขาสภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น ให้เกียรติมาเปิดอบรมเกษตรกรฯ วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๔

หน้าที่ของการบริหาร (Function of Management)

การจำแนกหน้าที่การบริหารของผู้บริหารนั้น ได้มีนักวิชาการจำแนกเอาไว้หลายท่าน ที่น่าสนใจ ดังนี้ ลูเธอร์ กูลวิลด์ (Luther Gulick) ได้จำแนกหน้าที่ของการบริการเอาไว้ 7 ประการ ที่เรียกว่าเป็นแบบการบริหาร คือ “POSDCORB MODELS” ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้

P คือ Planning หมายถึง การวางแผน
O คือ Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S คือ Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D คือ Directing หมายถึง การสั่งการ
Co คือ Co-ordination หมายถึง การประสานงาน
R คือ Reporting หมายถึง การรายงาน
B คือ Budgeting หมายถึง การจัดทำงบประมาณ
เฮนรี่ ฟาโย (Henri Fayol) วิศวกรชาวฝรั่งเศส เกิดในปี ค.ศ. 1841 ในระหว่างเป็น ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของ บริษัทเหมืองแร่แห่งหนึ่งในปี ค.ศ. 1888-1918 ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือ General And Industrial Management เป็นหนังสือหลักบริหาร ซึ่งในหนังสือนั้นได้จำแนกหน้าที่ของนักบริหารเอาไว้ 5 ประการ หรือที่เรียกว่า หลักการบริหารแบบ POCCC ดังนี้

P คือ Planning หมายถึง การวางแผน
O คือ Organizing หมายถึง การจัดการองค์การ
C คือ Commanding หมายถึง การบังคับบัญชา
C คือ Co-ordinating หมายถึง การประสานงาน
C คือ Controlling หมายถึง การควบคุม
เออเนสย์ เดลล์ (Ernest Dale) ได้จำแนกหน้าที่ของผู้บริหารเอาไว้ 7 ประการ และการบริหารตามแนวคิดของ เดลล์ นั้นนิยมนำไปบริหารวงการธุรกิจ (Business Administration) เป็นอย่างมาก การบริหารของเดลล์นั้นใช้หลักการบริหาร POSDCIR ดังนี้

P คือ Planning หมายถึง การวางแผน
O คือ Organizing หมายถึง การจัดองค์การ
S คือ Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D คือ Directing หมายถึง การสั่งการ
C คือ Controlling หมายถึง การควบคุม
I คือ Innovation หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่
R คือ Representation หมายถึง การเป็นตัวแทน
ฮาลอร์ด ดี. คูลย์ (Haroled D.Knootz) ได้จำแนกหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติของนักบริหาร เอาไว้เป็นกระบวนการ ดังนี้ (อ้างจาก พรรณี ประเสริฐวงษ์ และวีรนารถ มานะกิจ, 2533 : 4)
1. การวางแผน (Planning)
2. การจัดองค์การ (Organizing)
3. การรับคนเข้าทำงาน (Staffing)
4. การสั่งการ (Directing)
5. การควบคุม (Controlling)

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยางพันธุ์ใหม่ "RRIT 408"

ยางพันธุ์ใหม่ "RRIT 408" ผลงานวิจัยล่าสุดของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จุดเด่น ปลูกง่าย โตไว ให้ปริมาณน้ำยางสูง เฉลี่ย 352 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี มากกว่า RRIM 600 ถึงร้อยละ 62 ค่อนข้างต้านทานต่อใบร่วงไฟทอฟธอรา,ใบจุดก้างปลา ต้านทานปานกลางต่อราแป้ง,ใบจุดคอลเลโทตริกัม, โรคเส้นดำ และราสีชมพู ที่สำคัญ ทนความแห้งแล้งได้ดี ต้านทานลม ปานกลาง เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่ภาคอีสาน เปิดตัวแล้วในงาน "111 ปีแห่งการเรียนรู้ยางพาราไทย" โดยสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตรัง อ.ปะเหลียน จ.ตรัง

"ในวันงานเราจะแจกกิ่งพันธุ์ยาง RRIT 408 นี้ด้วย โดยจะแจกคนละ 3 กิ่ง เฉพาะผู้ประกอบการผลิตกิ่งตาขาย เพื่อให้นำไปทดลองติดตาดู เพราะคนกลุ่มนี้จะชำนาญการติดตาอยู่แล้ว คือในวันนั้นเราตั้งใจจะเปิดตัวยางพันธุ์ RRIT 408 นี้ด้วย"

สุจินต์ แม้นเหมือน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เผยถึงกล้ายางพันธุ์ใหม่ล่าสุดที่เป็นผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยยางที่จะนำมาเปิดตัวในวันงาน "111 ปีแห่งการเรียนรู้ยางพาราไทย" ซึ่งยางพันธุ์นี้กรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยยางใช้เวลากว่า 25 ปีในการทดสอบสายพันธุ์ที่ผ่านแปลงทดลองตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงการเปิดกรีดและขณะนี้ได้เปิดกรีดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ณ แปลงทดลองของศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา ซึ่งผลผลิตน้ำยางดีมาก และเตรียมขยายผลไปยังพื้นที่ปลูกในภาคอีสานต่อไป เนื่องจากยางพาราสายพันธุ์นี้ปลูกง่าย โตไว ให้ผลผลิตน้ำยางสูง ที่สำคัญสามารถทนความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่น

สุจินต์ ระบุอีกว่า สำหรับการเลือกพันธุ์ยางปลูกในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกัน เพราะยางแต่ละพันธุ์มีความเหมาะสมต่างกัน ในพื้นที่ปลูกที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ปลูกยางเดิมในภาคใต้และภาคตะวันออก หรือพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคอีสาน เหนือและกลาง ซึ่งเจ้าของสวนยางจะต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่จะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นน้ำยางหรือเนื้อไม้ หรือทั้งน้ำยางและเนื้อไม้เพื่อจะได้เลือกพันธุ์ยางได้ถูกต้องและได้ผลตอบแทนตามที่หวัง

"บางครั้งระดับน้ำในดินมีผลต่อการทำงานของรากยางด้วย อย่างพันธุ์ RRIT 251 และอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ไม่เหมาะที่จะปลูกในแปลงที่มีระดับน้ำใต้ดินตื้น แต่บางพันธุ์สามารถปลูกได้ดีเช่น บีพีเอ็ม (BPM) 24 หรืออย่างโรคใบร่วงที่เกิดจากเชื้อไฟทอปโทรา ยางพันธุ์อาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 มักจะมีปัญหา แต่พันธุ์พีบี (PB) 255 กลับมีความต้านทานได้ดีกว่า แม้ผลผลิตน้ำยางจะน้อยกว่าอาร์อาร์ไอเอ็ม (RRIM) 600 ก็ตาม"

จากอดีตจนปัจจุบันมียางหลายพันธุ์ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันวิจัยยางส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเป้าหมายของผู้ปลูกหรือเจ้าของสวนยางว่าจะเน้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตน้ำยางเป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้เป็นหลัก หรือพันธุ์ที่ให้ทั้งน้ำยางและเนื้อไม้ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะเหมาะกับพื้นที่ปลูกที่แตกต่างกันไปด้วย

"พันธุ์ยาง RRIT408 นี่ เราใช้เวลาในการปรับปรุงพันธุ์นานถึง 25 ปี โดยพัฒนามาจากพันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 หรือ RRIT402 หลังได้ต้นพันธุ์มาแล้วก็ต้องทดลองปลูกในแปลงทดลอง ก็ประมาณ 15 ปี กว่าจะโตเปิดกรีดได้ก็ใช้เวลาอีก 6 ปีรวมแล้วก็ 25 ปีเต็ม ต้องบอกก่อนว่าการวิจัยพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ยางนั้นไม่เหมือนพืชชนิดอื่น เพราะต้องใช้ระยะเวลานาน กว่าจะได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 20 ปี จึงจะเห็นผล" ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยางกล่าวย้ำ

ยางพันธุ์ "RRIT408" นับเป็นอีกก้าวของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตรในการปรับปรุงพัฒนาสายพันธุ์ยางพาราให้มีคุณภาพดี ก่อนจะนำมาส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกต่อไป

ข้อมูลจาก "สุรัตน์ อัตตะ" หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2554

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา ฉบับที่ ๖/๒๕๕๔




ศูนย์เรียนรู้ยางพารา สกย.จ.ขอนแก่น ส่งวิทยากรมืออาชีพไปช่วย ฝึกอบรมเกษตรกร หลักสูตร“เทคนิคกรีดยาง” แก่ศปจ.อุตรดิตถ์/สกย.จ.แพร่
เมื่อวันที่ ๑๑ – ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา สกย.จ.ขอนแก่น ร่วมกับ ศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดอุตรดิตถ์ สกย.จ.แพร่ อบรมเกษตรกรหลักสูตร “เทคนิคการกรีดยาง” ณ บ้านปางหมิ่น ม.๑๑ ต.น้ำหมัน อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โดยมีเกษตรเข้ารับการอบรม ๓๒ คน

กิจกรรมในศูนย์เรียนรู้ยางพารา จังหวัดขอนแก่น
ศูนย์เรียนรู้ยางพารา จังหวัดขอนแก่น จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การพัฒนาฝีมือช่างกรีดยาง” รุ่นที่ ๔ ระหว่างวันที่ ๒๓ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ ศูนย์เรียนรู้ยางพารา อ.เขาสวนกวาง มีเกษตรกรโครงการปลูกยางเพื่อยกระดับรายได้ฯ(ล้านไร่) จาก อ.น้ำพอง อ.อุบลรัตน์ และ อ.กระนวน เข้าร่วมอบรมจำนวน ๔๒ คน โดยได้รับเกียรติจาก นายประดิษฐ์ ธีระปฐวี เกษตรอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม ในการนี้มีนาย Stephen Punker ชาวเบลเยี่ยมพร้อมภรรยาชาวน้ำพอง สนใจเข้าเยี่ยมชมการฝึกอบรม พร้อมขอข้อมูลวิธีการปลูกสร้างสวนยาง และผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกยางพาราด้วย

เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๐.๐๐ น. คณะครูยางจำนวน ๓๐ คนจาก จ.ชัยภูมิ ในความรับผิดชอบของศูนย์ปฏิบัติการสงเคราะห์สวนยางจังหวัดชัยภูมิ/ สกย.จ.นครราชสีมา เข้าเยี่ยมชมทัศนศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์เรียนรู้ยางพารา อาทิ เช่น การปลูกปาล์มน้ำมัน แปลงผลิตกิ่งตายางพันธุ์ดี การกรีดยางและการทำยางแผ่นชั้นดี และโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางสำหรับเกษตรกร ในการนี้คณะครูยางฯ ให้ความสนใจในการขยายพันธุ์ยาง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางเบื้องต้นเป็นพิเศษ ที่พิเศษสุดคือครูยางได้ลงมือทดลองทำการแปรรูปยางคอมปาวด์เป็นไม้กวาดน้ำยาง และยางรองพื้นในรถยนต์ด้วย โดยมี นายโกศล บุญคง หัวหน้าศูนย์เรียนรู้ยางพารา พร้อมคณะพนักงาน ให้การต้อนรับและบรรยายกิจกรรมต่างๆ ในศูนย์เรียนรู้ยางพาราอย่างเป็นกันเอง