ในระยะยางอ่อน ปัญหาสำคัญคือ วัชพืชสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ และลดการชะล้างและพังทลายของดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย
ประโยชน์ของพืชคลุมดิน
· รักษาความชุ่มชื้นในดิน
· เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
· เพิ่มธาตุอาหารโดยเฉพาะไนโตรเจนในดิน และหมุนเวียนธาตุอาหาร
· ควบคุมวัชพืช
· ช่วยลดระยะเวลายางอ่อน
· ผลตกค้างของพืชคลุมดินทำให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น
ข้อจำกัดของพืชคลุมดิน
· เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ในสวนยางได้ง่าย
· เป็นการเพิ่มโรครากให้แก่ต้นยาง
· ขึ้นพันต้นยาง ทำให้เสียหาย
ชนิดของพืชคลุมดินที่ปลูกในสวนยาง
พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ใช้ปลูกในสวนยางที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. คาโลโปโกเนียม (Calopgonium mucunoides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโต
ได้รวดเร็ว สามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดภายหลังปลูกภายใน 2 – 3 เดือน แต่จะตายภายใน 18 – 24 เดือน มีเมล็ดเล็กแบน สีน้ำตาบอ่อนเกือบเหลือง มีเมล็ดประมาณ 65,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
2. เพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตค่อนข้าง
เร็วสามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดหลังปลูกภายใน 5 – 6 เดือน คลุมดินได้ดีเมื่ออายุเกิน 2 ปี ควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นอยู่ภายใต้ร่มเงาได้ดี ใบใหญ่หนา เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม ยาว สีน้ำตามแก่มีเมล็ดประมาณ 76,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
3. เซ็นโตรซีมา (Centrosema pubescens) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตช้า แต่
หนาทึบ และอยู่ได้นานขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา ใบเล็ก เมล็ดเล็กแบนมีลาย และมีเมล็ดประมาณ 40,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
4. ซีรูเลียม (Calopogonium caeruleum) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตใน
ระยะแรกช้าสามารคลุมพื้นที่ได้หนาแน่นภายใน 4 – 6 เดือน ทนทานต่อร่มเงาได้ดี ไม่ตายในหน้าแล้ง ใบสีเขียวเข้มค่อนข้างหนาและเป็นมัน แผ่นใบมีขน เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ ผิวเมล็ดเรียบเป็นมันวาวมีเมล็ดประมาณ 26,200 เมล็ดต่อกิโลกรัม
เนื่องจากลักษณะและการเจริญเติบโตของพืชคลุมดินแต่ละชนิดแตกต่างกัน การปลูกพืชคลุมดินให้คลุมตลอดอายุต้นยางอ่อน ควรปลูกหลายชนิดรวมกันตามสัดส่วน และเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินควรมีความงอกมากกว่าร้อยละ 80 ปลูกโดยวิธีหว่าน ในเขตปลูกยางเดิม ปลูกแบบเป็นหลุมในพื้รที่ปลูกยางแห่งใหม่
การเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน
1. แช่ในน้ำอุ่น ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดพืชคลุมดินคาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรียนำไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำเดือด : น้ำเย็น อัตรา 2:1) นาน 12 ชั่วโมง นำเมล็ดไปผึ่งให้แห้งหมาดๆ แล้วนำไปคลุกกับหินฟอสเฟต (25% Total P2O5) เพื่อนำปลูกต่อไป ควรเตรียมเมล็ดพืชคลุมดินเพื่อปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง การเก็บไว้นานเกินไปจะทำให้ความงอกเสื่อมลง
2. แช่ในน้ำกรด ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดซีรูเลียม โดยแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้นนาน 10 นาที นำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง
ช่วงเวลาการปลูกพืชคลุมดิน
1. ฤดูกาลและเวลา ควรปลูกต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตควบคุมวัชพืช
และติดฝักให้เมล็ดได้ดีกว่าการปลูกล่าช้าออกไปเป็นการป้องกันการชะล้างหน้าดินได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้เพราะมีเถาที่แข็งแรง แม้ว่าใบจะร่วงหล่นไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูฝนถัดไปเถาที่มีชีวิตอยู่นี้ และเมล็ดที่ร่วงหล่นอยู่บางส่วนก็จะเจริญงอกงามต่อไป ในสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือในเขตแห้งแล้งไม่ควรปลูกพืชคลุมดินทิ้งไว้ข้ามฤดูกาลก่อนการปลูกยางเพราะพืชคลุมดินอาจทำความเสียหายให้กับต้นยาง โดยแย่งความชื้นในดินในช่วงฤดูแล้ง
2. การปลูกพืชคลุมดินหลังปลูกพืชแซมยาง เมื่อเลิกปลูกพืชแซมยาง และยางมี อายุไม่เกิน 2 ปี ควรปลูกพืชคลุมดินตามคำแนะนำ โดยเพิ่มจำนวนแถวให้มากขึ้นเป็น 4 และ 3 แถว สำหรับระยะปลูกยาง 8 และ 7 เมตรหรือต่ำกว่า 7 เมตรตามลำดับ ซึ่งปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 33 และร้อยละ 50 ของปริมาณที่ปลูกตามปกติ สำหรับยางอายุประมาณ 3 ปี ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินควรปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมเพราะซีรูเลียมทนต่อสภาพร่มเงา
การดูแลรักษาพืชคลุมดิน
1. การควบคุมและกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชก่อนปลูกพืชคลุมดิน โดยการไถพรวนหรือปลูกพืชคลุมดินโดยไม่ต้องไถพรวน ซึ่งต้องใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เมื่อปลูกพืชคลุมดินแล้วให้กำจัดวัชพืช ดังนี้
1.1 ใช้สารเคมี มี 2 ประเภท คือ
1) สารเคมีประเภทก่อนวัชพืชงอก (Pre-emergence herbicides) ได้แก่ alachlor 258 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ หรือ oxyfluorfen 36 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ สารเคมีดังกล่าวผสมน้ำ 80 ลิตร เพื่อใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) ควรฉีดพ่นสารเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นจึงจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช
2) สารเคมีประเภทหลังวัชพืชงอก (Pose-emergence herbicides) ได้แก่ fluazifop-buty1 80-120 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ สามารถฉีดได้ทั่วทั้งแปลงพืชคลุมดิน เพื่อทำลายวัชพืชตระกูลหญ้าที่มีอายุปีเดียว และข้ามปีการผสมน้ำเช่นเดียวกับการเคมี 2 ชนิดแรก
1.2 ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น ใช้แรงงานขุด หรือใช้รถแทรกเตอร์ลากขอนไม้หรือลูกกลิ้งทับลงไปบนพืชคลุมดิน เพื่อให้วัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคาล้มลงเปิดโอกาสให้พืชคลุมดินเจริญได้ดี
1.3 ใช้วิธีผสมผสานระหว่างวิธีกายภาพ และใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ควรปฏิบัติ เพราะสามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และประหยัดค่าใช้จ่าย
2. การใส่ปุ๋ยพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ปุ๋ยหินฟอสเฟต
วิธีใส่ปุ๋ย ก่อนปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง ใช้เมล็ดพืชคลุมดินคลุกกับปุ๋ยหินฟอสเฟต 1.5 เท่าของน้ำหนักเมล็ดพืชคลุมดิน กล่าวคือ ถ้าในพื้นที่ 1 ไร่ จะต้องใช้เมล็ดพืชคลุมดิน 1.5 กิโลกรัมต่อไร่ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 2.3 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตในอัตราต่างๆ บำรุงพืชคลุมดินเป็นระยะ
3. การป้องกัน และกำจัดแมลง
3.2 ศัตรูประเภททำลายกัดกินราก เช่น ไส้เดือนฝอยและหนอนทราย อาจทำให้พืชคลุมดินชะงักการเจริญเติบโตได้ ใช้สารเคมีประเภทดูดซึมหว่านเป็นจุดๆ
4. โรคที่พบมาก คือโรคที่เกิดจากเชื้อรา Rhiaoctonia solani
5. การควบคุมพืชคลุมดิน และการปฏิบัติรักษาอื่นๆ เพื่อให้ต้นยาง
เจริญเติบโตเป็นปกติ ไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงแรก ควรปฏิบัติดังนี้
5.1 การปลูกพืชคลุมดินใกล้เคียงกับการปลูกยาง ในปีแรกให้ควบคุมพืชคลุมดินห่างจากแถวยาง 1.5 – 2 เมตร ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพดิน ถ้าดินค่อนข้างเป็นดินทราย ควรให้ห่างแถวยางมากขึ้นเพื่อไม่ให้รากพืชคลุมดินแย่งความชื้นในดิน
5.2 การปลูกพืชคลุมดินหลังปลูกยาง 1 ปีขึ้นไป ควรควบคุมให้พืชคลุมดินห่างแถวยางได้ไม่เกิน 1 เมตร เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และป้องกันไม่ให้พืชคลุมดินเลื้อยพันต้นยาง
5.3 การปฏิบัติต่อพืชคลุมดินในฤดูแล้ง ควรทำแนวกันไฟกว้าง 8 เมตร รอบสวนยางและไถเปิดร่องตรงกลางระหว่างแถวยาง หรือขุดหลุมเป็นระยะๆ แล้วกวาดเศษซากลงในร่องหรือหลุมนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น