วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551

การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1-2 ปี


การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 1-2 ปี
1. คอยหมั่นดูแล หากพบต้นยางตายต้องรีบปลูกซ่อมด้วยยางชำถุง 2 ฉัตร แต่ถ้าสวนยางมีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางที่มีขนาดใก้ลเคีย งกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหน้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
4. หากต้องการปลูกไม้ป่าร่วมยาง ก็สามารถปลูกได้ ไม่เกิน 15 ต้น/ไร่ ตามระเบียบสำนักงานกองทุนสงเคราห์การทำสวนยาง(หากท่านขอรับทุนฯ)
5. เมื่อต้นยางพาราอายุครบ 12, 15 และ 18 เดือน ให้กำจัดวัชพืชโดยการถาก แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็กสูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 ตามอัตรา สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใช้สูตร 20-10-12 ตามอัตรา (โดยไม่แยกชนิดของดิน)
6. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
7. วิธีการใส่ปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นที่ราบ, ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันไดหรือที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ให้ใส่ปุ๋ยโดยโรยรอบโคนต้นในรัศมีพุ่มใบพร้อมพรวนดิน
8. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
9. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ ขนาด 2.4 เมตร การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
10. เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทังแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไหม้ที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 2-3 ปี
1. เมื่อสวนยางที่มีอายุมากกว่า 2 ปีไปแล้ว ไม่ควรปลูกซ่อม แต่ถ้าต้องการปลูกซ่อมจริง ๆ ก็อาจทำได้โดยใช้ต้นยางที่มีขนาดใก้ลเคียงกัน การปลูกซ่อมต้องกระทำก่อนฝนจะหมดไม่น้อยกว่า 2 เดือน
2. ควรปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางเพื่อให้มีรายได้เสริมและเพื่อเป็นการคลุมดินไม่ให้มีวัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคา หากปล่อยให้พื้นดินได้รับแสงแดด จะมีปัญหาในเรื่องหญ้าคาอย่างแน่นอน
3. หากไม่ปลูกพืชแซม ก็ต้องปลูกพืชคลุมดิน เพื่อคลุมวัชพืช และยังเป็นการสร้างหรือใส่ปุ๋ยลงในดินโดยไม่ต้องขนปุ๋ย ไม่ต้องหว่านปุ๋ย พืชคลุมจะทำให้ต้นยางเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว
4. เมื่อต้นยางอายุครบ 24 และ 30 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
5. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
6. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
7. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
8. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
9. เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ควรคลุมโคนต้นยางด้วยฟางข้าวหรือเศษวัสดุทางการเกษตรที่หาง่ายในท้องถิ่น โดยเว้นระยะจากโคนต้นยางไว้ 5-10 ซม. หากจะคลุมทั้งแถวเลยโดยคลุมเป็นแถบกว้างข้างละ 1 เมตรจากแนวต้นยาง ก็จะรักษาความชื้นในดินได้ดีกว่าคลุมเฉพาะโคนต้น แต่ต้องระวังเรื่องไฟไห้มที่อาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การทิ้งก้นบุหรี่
10. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางใหม่ เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคน ไปจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 3-4 ปี
1. หากต้องปลูกพืชคลุมดิน ก็สามารถทำได้แต่ต้องเป็นพืชคลุมชนิดซีลูเรียม ซึ่งมีความทนทานต่อสภาพร่มเงาได้ดี
2. เมื่อต้นยางอายุครบ 36 และ 42 เดือน ให้กำจัดวัชพืชด้วยการถาก, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) แล้วใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางเล็ก สูตร 20-8-20 หรือสูตรใก้ลเคียง เช่น 20-10-5 หรือ 18-4-5 หรือ 19-6-5 หรือ 25-7-7 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
3. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
4. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
6. ควรทำการตัดแต่งกิ่งเพื่อให้ได้ทรงพุ่มที่ดี เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเร็ว และได้ไม้ที่มีขนาดความยาวของเปลาตามที่โรงเลื่อยไม้ต้องการ คือเปลายาว 2.4 เมตร ฉะนัน กิ่งที่อยู่ในระดับต่ำกว่านี้จะต้องตัดออกให้หมด การตัดแต่งกิ่งควรทำก่อนที่จะหมดฝน ไม่ควรตัดแต่งกิ่งในหน้าแล้ง
7. เมื่อยางอายุมากกว่านี้ จะต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
8. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
9. ในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด เช่น ในเขตปลูกยางใหม่ เมื่อสวนยางเข้าหน้าแล้ง ให้ป้องกันเปลือกหรือลำต้นยางเป็นรอยไหม้จากการถูกแสงแดดเผา ด้วยการใช้ปูนขาว 1 ส่วน ผสมน้ำ 2 ส่วน แช่หรือหมักค้างคืนไว้ 1 คืน แล้วนำมาทาลำต้นยางตั้งแต่โคน ไปจนถึงส่วนที่เป็นสีน้ำตาลปนเขียว
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 4-5 ปี
1. เมื่อต้นยางอายุครบ 48 และ 54 เดือน ให้กำจัดวัชพืชในแถวต้นยางด้วยการหวดหรือตัดชิดดิน, ถาก หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) ในระหว่างแถวต้นยาง ควรหวดหรือตัดชิดดิน, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี
2. ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางใหญ่ เช่น สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
3. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
4. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
6. เมื่อต้นยางอายุครบ 48 เดือน ต้องกำจัดพืชแซมระหว่างแซมยางออกให้หมด
7. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
การจัดการสวนยางพารา หรือการบำรุงดูแลรักษาสวนยางพาราในระยะ 5-6 ปี
1. เมื่อต้นยางอายุครบ 60 และ 66 เดือน ให้กำจัดวัชพืชในแถวต้นยางด้วยการหวดหรือตัดชิดดิน, ถาก หรือพ่นด้วยสารเคมี(ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ) ในระหว่างแถวต้นยาง ควรหวดหรือตัดชิดดิน, ไถ หรือพ่นด้วยสารเคมี
2. ทำการใส่ปุ๋ยบำรุงสำหรับยางใหญ่ เช่น สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ให้ใส่ปุ๋ยบำรุงสูตร 20-10-12
3. สำหรับเขตปลูกยางใหม่ ในปีที่ 2-6 ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี หากสามารถทำได้ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนสัก 15-20 วัน แล้วตามด้วยปุ๋ยเคมี
4. วิธีการใส่ปุ๋ย
o ที่ราบ ควรใส่เป็นแถบซึ่งควรอยู่ตรงแนวทรงพุ่มต้นยางทั้ง 2 ด้าน โดยขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ
o ที่ลาดชันที่ไม่ได้ทำขั้นบันได ควรใส่เป็นหลุมแล้วกลบ โดยขุดหลุมลึก 5-10 ซม.ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
o ที่ลาดชันและทำขั้นบันไดแล้ว ควรขุดดินเป็นแถบหรือร่องลึก 5-10 ซม. ใส่ปุ๋ยแล้วกลบ หรือใส่เป็นหลุม ต้นละ 2 หลุมเป็นอย่างน้อย
5. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการใส่ปุ๋ยคือ ช่วงที่ดินมีความชื้นหรือความนุ่มพอเพียงที่จะทำการขุดได้นั่นเอง และขณะใส่ต้องไม่ใช่ช่วงที่ยอดยางกำลังผลิใบอ่อน (ต้องรอให้ยอดอ่อนกลายเป็นใบเพสลาดก่อน)
6. หมั่นสังเกตสีของใบยางในกรณีที่อาจมีโรครากเข้าทำลาย
7. ก่อนเข้าหน้าแล้ง ควรทำทางป้องกันไฟ โดยเฉพาะสวนยางที่อยู่ใก้ล ๆ กับสวนยางที่กำลังโค่นใหม่ซึ่งต้องทำการเผาปรนเศษกิ่งและรากไม้
เมื่อคุณภาพดินใก้ลมาถึงทางตัน หรือมีการใช้แต่เฉพาะปุ๋ยเคมีซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนดินสูญเสียคุณสมบัติทางชีวะ, เคมี และฟิสิกส์ สิ่งที่ดีที่สุดที่ควรทำสำหรับเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นชาวสวนยางพาราหรือเกษตกรผู้ปลูกพืชอื่น คือการหันกลับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือใช้ธรรมชาติฟื้นฟูธรรมชาติ นั่นเอง ในดินที่มีอินทรีย์วัตถุต่ำ เช่นดินในเขตปลูกยางพาราใหม่อย่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถาบันวิจัยยางได้แนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุในดิน, ช่วยให้ดินอุ้มความชื้นได้มากขึ้น, ปรับปรุงโครงสร้างของดิน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งจะมีผลให้ต้นยางพาราเจริญเติบโตเร็วขึ้น กว่าไม่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์
เริ่มจากในขั้นตอนการขุดหลุม-กลบดินลงหลุม นอกจากจะคลุกเคล้าปุ๋ยหินฟอสเฟต 170 กรัม/หลุม กับดินชั้นล่างแล้ว ชาวสวนยางพาราควรผสมปุ๋ยอินทรีย์ในอัตร 5 กิโลกรัม/หลุม ลงไปด้วย หลังจากปลูกยางพาราแล้ว ก็ควรหาช่วงจังหวะเวลาที่เหมาะสมเพื่อใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ปีละ 1 ครั้ง โดยในปีแรกเมื่อต้นยางพาราอายุได้ 6 เดือน ก็ควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น และเมื่อต้นยางพารามีอายุย่างเข้าปีที่ 2,3,4,5 และปีที่ 6 ควรใส่ปุ๋ยปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ อัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี (สามารถใส่ได้มากกว่านี้แต่ควรคำนึงถึงต้นทุนด้วย)
หลักการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ควรใส่ให้ปุ๋ยสัมผัสกับดิน(กระจาย)มากที่สุดเพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพมีโอกาสได้ปรับปรุงดินอย่างทั่วถึง หลังจากใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้ว 15-20 วัน เมื่อดินเริ่มร่วนซุย จึงตามด้วยปุ๋ยเคมีตามอัตราแนะนำ หากทำได้ตามขั้นตอนที่กล่าว(อาจเหนื่อยและใช้เวลาหน่อยน่ะ)ก็จะได้ผลต่อดิน และต่อคนอย่างคุ้มค่า
สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางพาราในภาคใต้ แม้ว่าจะโชคดีที่พื้นที่ปลูกยางพาราเป็นดินที่มีอินทรีย์วัตถุมากกว่าทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ก็ยังมีพื้นที่บางส่วน บางแปลงที่มีอินทรีย์วัตถุน้อย หรือที่ดินบางแปลงที่กำลังปลูกยางพาราเป็นที่ดินที่ปลูกยางเป็นรอบที่ 2 หรือรอบที่ 3 แล้ว ดังนั้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรืออินทรีย์ชีวภาพ ก็จะช่วยให้ดินดีขึ้น ส่งผลต่อต้นยางพาราทำให้เจริญเติบโตดีกว่า การใช้แต่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว อย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น: