วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552



ศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชคลุม Calopogonium caeruleumในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนStudy Producing Calopogonium caeruleum Seed In Upper Northeast

อนุสรณ์ แรมลี สุทธาชีพ ศุภเกษร นภาวรรณ เลขะวิพัฒน์
สมบูรณ์ ภูจอมดาว ปัทมา เพ็ชรสุวรรณ์ เพชรรัตน์ พลชา
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย/กลุ่มวิจัยและพัฒนาการผลิตยาง สถาบันวิจัยยาง
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชคลุมซีรูเลียม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน วางแผนการทดลองแบบ Split plot design 7 ซ้ำ ประกอบด้วย Main Plot 2 วิธีการ (ให้น้ำและไม่ให้น้ำช่วงออกดอกติดฝัก), Sub plot 2 วิธีการ (มีค้างและไม่มีค้าง) ทำการทดลองทีศูนย์วิจัยยางหนองคาย กิ่งอ.รัตนวาปี จ.หนองคาย ในระหว่างปี 2541 - 2542 พบว่าทุกวิธีการมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันในทางสถิติ การออกดอกทุกวิธีการออกดอกไม่แตกต่างกัน สำหรับวิธีการให้น้ำและไม่ให้น้ำในช่วงออกดอกและติดฝัก ไม่มีผลต่อการให้ผลผลิตของเมล็ด แต่วิธีการทำค้างมีจำนวนฝักและผลผลิตเมล็ดดีสูงกว่าการไม่ทำค้างแตกต่างทางสถิติ คือ 79.6 ฝัก และ 336.8 ฝัก, 1.05 และ 0.14 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับจากการทดลองนี้พอสรุปได้ว่าไม่สามารถปลูกเพื่อผลิตเมล็ดได้ เนื่องจากหน้าดินตื้นและมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเกินไป การปลูกซีรูเลียมเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ประการแรกที่ควรพิจารณา คือความลึกของหน้าดิน ประการต่อมาคือควรมีความอุดมสมบูรณ์ของดินบ้าง จากเหตุผลทั้ง 2 ประการ จะช่วยให้มีความชื้นเพียงพอต่อการติดเมล้ดและสร้างฝัก
จนถึงปี 2541 พบว่ามีชาวสวนยางปลูกยางอยู่กระจัดกระจายใน 19 จังหวัด คือ บุรีรัมย์ 42,238 ไร่ นครราชสีมา 2,663 ไร่ สุรินทร์ 14,404 ไร่ ศรีสะเกษ 24,654 ไร่ อุบลราชธานี 25,141 ไร่ ยโสธร 8,146 ไร่ อำนาจเจริญ 2,554 ไร่ ขอนแก่น 6,061 ไร่ มหาสารคาม 1,558 ไร่ ร้อยเอ็ด 5,564 ไร่ กาฬสินธ์ 14,659 ไร่ มุกดาหาร 14,147 ไร่ ชัยภูมิ 4,997 ไร่ อุดรธานี 29,612 ไร่ เลย 29,518 ไร่ สกลนคร 18,534 ไร่ นครพนม 17,735 ไร่ และหนองบัวลำภู 3,511 ไร่ รวมเป็นพื้นที่348,082 ไร่ มีพื้นที่กรีด 55,042 ไร่ หรือร้อยละ 15 ผลผลิตรวมปีละ 7,317 ตัน คิดเป็นผลผลิตเพียง 132 กิโลกรัม/ไร่/ปี ทั้งนี้เพราะส่วนมากเป็นยางเพิ่มเริ่มเปิดกรีด
ที่มา : http://www.blogger.com/www.doa.go.th/web-itc/library/libarary/rubber37-46/landuse.pdf

ไม่มีความคิดเห็น: