วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ(26 ม.ค.55)

นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ(ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช) (26 ม.ค.55) นโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ 25 มกราคม 2555 ปรัชญา พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้กล่าวถึงการศึกษาไว้ว่า "การศึกษาจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ประชาชนที่เข้มแข็งและมีความรู้ คือทุนที่มีพลังในการต่อสู้กับความยากจน" "ต้องมุ่งการกระจายประโยชน์อย่างเท่าเทียม และต้องมองประชาชนที่ลำบากเพื่อจัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับทุกคน" “การศึกษาคือกุญแจสำคัญ เป็นจุดเริ่มต้นที่จำเป็นในการทำให้ความยากจนกลายเป็นอดีต”รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะดูแลพี่น้องประชาชนเหมือนคนในครอบครัว เราจะไม่ทำร้ายประชาชน เราจะไม่โกงเงินประชาชน ในด้านการศึกษา เรา "ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง" เราดูแลลูกหลานประชาชนเหมือนลูกหลานของเรา เราดูแลครูบาอาจารย์เหมือนญาติพี่น้องเรา ดังนั้น กระทรวงศึกษาธิการ จะดูแลประชาชนประหนึ่งญาติในครอบครัวจะต้องไม่มีคอร์รัปชั่น ไม่โกงนักเรียน ไม่บังคับขู่เข็ญครูบาอาจารย์ ต้องไม่เกณฑ์ครูและนักเรียนไปตอนรับผู้ใหญ่โดยไม่จำเป็น ต้องไม่ปล่อยให้ยาเสพติดแพร่กระจายในหมู่ ลูกหลานของเราเราต้องลดกฎระเบียบและงานนอกเหนือการเรียนการสอนของครู เราต้องขจัดการเรียกร้องเงินทองจากครูตอนย้ายตำแหน่ง ตอนย้ายคืนถิ่นที่อยู่ กฎเกณฑ์การประเมินครูในกรณีต่างๆ ต้องชัดเจน ลดการใช้ดุลพินิจลง เราต้องลดการชักจูงให้ครูเป็นหนี้เป็นสินล้นพ้นตัว ในการพัฒนาการศึกษา รัฐบาลพรรคเพื่อไทยเน้นปรัชญา “ความเท่าเทียม”และการนำ “เทคโนโลยี” มาใช้ เราจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน “ที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคนทุกพื้นที่" เราจะจัดการอุดมศึกษาโดย “ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ” นโยบาย 1. "จัดการศึกษาที่มีคุณภาพสำหรับเยาวชนทุกคน" คำว่า เยาวชน คือเด็กตั้งแต่อนุบาลจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 เยาวชนต้องได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าเทียมกันทุกแห่งไม่ว่าในเมืองหรือชนบท ไม่ว่าจะเป็นโดยรัฐหรือเอกชน การประกอบอาชีพเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ รัฐบาลประกันรายได้ 300 บาทต่อคน ต่อวัน 2. “ปั้นนักศึกษาไทยให้เป็นมืออาชีพ” คำว่า นักศึกษา คือ อุดมศึกษา อาชีวศึกษา หรือสูงกว่ามัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป นักศึกษาจบแล้วต้องเป็นมืออาชีพ พร้อมกับรัฐบาลประกันรายได้ปริญญาตรี 15,000 บาท ต่อเดือน โดยกำหนดเป้าหมายให้นักเรียนและนักศึกษา เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่ทันสมัย มีทักษะหลากหลาย มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ และอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่วางอยู่บนฐานความรู้การขยายโอกาสทางการศึกษา 4 ด้าน 1) โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม เนื่องจากความเป็นเลิศมักอยู่ในเมือง แต่นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในชนบทและมีฐานะยากจน รัฐบาลจึงมีโครงการ เช่น - โครงการ One Tablet per Child เด็กไทยฉลาดต้องมี Tablet PC ถือไปโรงเรียน จะดำเนินการแจก Tablet PC ให้เด็กชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไปโรงเรียน ให้มีสัญญาณวายฟาย (Wi-Fi) ฟรี ในที่สาธารณะ - สร้างห้องการเรียนรู้ ในพื้นที่ต่างๆ โดยมีครูมาเปิดสอนพิเศษ (โดยให้รัฐจ่ายค่าจ้างให้) แก่นักเรียนประถมศึกษา โดยติดตั้งซอฟแวร์การศึกษาและ e-Book ซึ่งจะมาแทนหนังสือเรียนตามปกติ ทำให้เกิด e-Learning เพื่อสร้าง nowledge-basedSociety - โครงการ e-Education พัฒนาโปรแกรมและเนื้อหาที่จะพลิกโฉมโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิตและส่งเสริมการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ระบบการศึกษาที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง - โครงการโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในฝันสู่อุดมศึกษาชั้นยอด ให้มีคณะกรรมการโรงเรียน (School Board) ที่สามารถจัดจ้างคุณครูใหญ่และครูที่มีความสามารถเป็นเลิศ สามารถอำนวยความสะดวกแก่นักเรียน เช่น หอพัก รถโรงเรียนจักรยาน ฯลฯ - โครงการพลังครู พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา แก้ไขปัญหาหนี้สินครู โดยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ด้วยการอบรมคุณธรรม ทำบัญชีครัวเรือน ปรับโครงสร้างหนี้ นำหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ และเพิ่มรายได้พิเศษให้เพียงพอ และขยายโอกาสใหม่ๆ - โครงการศูนย์การศึกษานานาชาติ- หนึ่งโรงเรียนหนึ่งพยาบาล เพื่อดูแลเด็กๆ และสามารถสอนหนังสือได้ด้วย - โรงเรียนตัวอย่างในทุกอำเภอ พัฒนาศักยภาพของโรงเรียนให้เป็นเลิศ โดยใช้การติดต่อสื่อสารด้วยวิทยาการที่ทันสมัย 2) โอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุน นักเรียนสามารถเข้าเรียนได้โดยที่ผู้ปกครองและนักเรียนไม่ต้องมีความกังวลในเรื่องทุนการศึกษา รัฐบาลจึงมีโครงการ เช่น - Smart Card เพื่อการศึกษาขั้นพื้นฐาน - โครงการเรียนก่อนผ่อนทีหลัง ส่งคืนเมื่อมีรายได้ (Income ContingencyLoan Program) - ทุนการศึกษาสานฝันนักเรียนไทยไปเรียนต่างประเทศ (โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน) - กองทุนตั้งตัวได้ ประชาชนชาวไทยจะต้องตั้งตัวได้อย่างมีศักดิ์ศรี คนอยากตั้งตัวมักไม่รู้ว่าจะตั้งตัวอย่างไร แต่คนที่จะตั้งตัวมักไม่มีทรัพย์สินติดตัว การที่จะทำให้ตั้งตัวได้ก็คือ ตั้งกองทุนในมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน ตั้งกรรมการ มาควบคุมประกอบด้วยอาจารย์ ศิษย์เก่า ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต ตัวแทนภาครัฐ และเอกชนเราใช้แนวคิดนี้ เพราะที่มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยนักศึกษาที่กำลังจะจบ องค์ความรู้อยู่ในมหาวิทยาลัยทั้งหมด การเป็นนักธุรกิจที่มีฐานความรู้ได้เปรียบกว่า จึงสร้างผู้ประกอบการได้มากกว่า 3) โอกาสในการเพิ่มพูนและฝึกฝนทักษะ นักเรียนทุกคนสามารถเติบโตได้ในโลกที่เป็นจริงการเรียนรู้บนการทำกิจกรรม (Activity-Based Learning) - ส่งเสริมอาชีวศึกษา ให้มีความสำคัญมากขึ้น มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เป็นมืออาชีพ__ - ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix It Center) ตั้งเป้าหมายให้มีเพียงพอ เพื่อให้บริการทุกชุมชน เป็นโครงการที่ใช้ประโยชน์จากทักษะของนักเรียนอาชีวศึกษาเพื่อให้บริการซ่อมราคาประหยัดแก่ประชาชนในชุมชน - โครงการอัจฉริยะสร้างได้ ให้นักเรียนค้นหาความถนัดของตนเอง ในทุกๆ สาขา - โครงการ 1 ดนตรี 1 กีฬา 2 ภาษา สนับสนุนให้เยาวชนได้มีความสามารถที่จะเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อความเป็นเลิศทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ วิชาภาษาอังกฤษภาษาจีน ต้องอยู่ในบรรยากาศของเจ้าของภาษาให้มากที่สุด วิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ จะต้องสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง - ปรับปรุงหลักสูตร เลิกการท่องจำ ใช้การเรียนรู้ เนื้อหาวิชาที่เด็กสามารถเรียนรู้ได้เหมือนกัน เช่น ผ่าน Video Link รวมถึงมีการวัดผลที่มีมาตรฐานทันสมัย - คนไทยที่อายุ 25 ปีขึ้นไปสามารถเทียบประสบการณ์ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ได้ สามารถเรียนในเวลา และนอกเวลา เพื่อให้ทันโลก และทันลูกหลาน -สถาบันการศึกษาราชภัฎและอาชีวศึกษา ค้นหาตัวเองให้รู้ว่าเก่งด้านไหนส่งเสริมอาชีวศึกษา ให้มีความสำคัญมากขึ้น มีความรู้ทางปฏิบัติอย่างแท้จริง เป็นมืออาชีพ จากนั้นเปิดให้ประชาชนไปพัฒนาเพิ่มเติมทักษะด้านต่างๆ ตามที่ต้องการตามความถนัด เรียนก่อนผ่อนทีหลัง หลังจากทำงานแล้วค่อยผ่อนใช้ -จัดศูนย์ฝึกอบรม จะจัดศูนย์ฝึกในอาชีวศึกษา ให้ประชาชนเข้าไปเรียนรู้เรื่องที่สนใจ พัฒนาทักษะให้คนไทยเป็นผู้ชำนาญในสาขาต่างๆ ใช้ระบบเรียนก่อน ผ่อนทีหลัง 4) โอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ส่งเสริมการศึกษานอกระบบ (โดยใช้ห้องสมุดพิพิธภัณฑ์ แกลเลอรี่ ศูนย์วัฒนธรรมต่างๆ) - โครงการ Internet ตำบล และ Internet หมู่บ้าน (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน) เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนค้นหาความถนัดของตนเอง เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เพื่อการต่อยอดในสิ่งที่ต้องการทำ และสำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนวิชาชีพ -สถานที่รวมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์แก่เด็กวัยเรียน โดยมีคอมพิวเตอร์ให้ใช้ มีวายฟาย (Wi-Fi) ให้ มีครูที่จะสอนการบ้าน อ่านต่อ นโยบายภาษาไทย หรือตามแนบ http://www.moe.go.th/moe/upload/File/ST_ED_Speech24Jan12%20NEW2.pdf นโยบายภาษาอังกฤษ http://www.moe.go.th/moe/upload/File/Policies%20of%20Ministry%20of%20Education_24Jan12edit2.pdf ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ

ไม่มีความคิดเห็น: