วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ตะกู ไม้เศรษฐกิจ ปลูกแล้วรวยจริงหรือ

ตะกู ไม้เศรษฐกิจ

ในทางวิชาการป่าไม้ ตะกูถือว่าเป็นไม้เบิกนำที่โตเร็วมากเพราะมีความเพิ่มพูนรายปี (MAI: Mean Annual Increment) ของเส้นผ่าศูนย์กลางเพียงอก (DBH: Diameter at Breast Height) เกินกว่า 3.0 เซนติเมตรต่อปี และมีเส้นรอบวงที่ระดับอก (GBH: Girth at Breast Height) เกินกว่า 100 เซนติเมตรเมื่ออายุ 10 ปี ตะกูเป็นไม้ที่มีอายุรอบหมุนเวียนในการตัดฟันที่เหมาะ สมเกินกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 25 ปี นั้นคืออยู่ระหว่าง 10-20 ปีแต่ตะกูจะเป็นไม้เศรษฐกิจโตเร็วที่ควรปลูกหรือไม่ ยังมีปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงอีกหลายประการ เพราะตะกูไม่ใช่ไม้เศรษฐกิจโตเร็วชนิดใหม่ของไทย ส่วนป่าไม้ตะกูของไทยทั้งโดยภาครัฐและภาคเอกชนได้เกิดขึ้นและตายลงเมื่อเกือบสี่สิบปีมาแล้วพิจารณาจากชื่อสามัญแล้วแสดงว่าตะกูเป็นไม้พื้นเมืองของทวีปเอเอเชีย โดยขึ้นอยู่ในเส้นรุ้งที่ 9-27 องศาเหนือกระจายพันธุ์ตามธรรมมาชาติตั้งแต่ประเทศเนปาล ไล่มาทางตะวันออกเรื่อยๆ จนถึงบังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทยมาเลเซีย อินโดนิเชีย ฟิลิปปินส์ ลงไปจนถึงเกาะปาปัวนิวกินี ซึ่งถือว่าเป็นไม้ที่มีขอบเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างมากพอสมควรสำหรับในประเทศไทยก็พบไม้ตะกูขึ้นอยู่ทั่วไปแทบทุกภาคส่วนของประเทศ เพราะเป็นไม้ที่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติได้ค่อนข้างดี จากเหนือสุด คือ เชียงราย เชียงใหม่ จรดใต้สุด สตูล สงขลา และจากตะวันออก คือ ตราด จันทบุรี จรดตะวันตก คือ กาญจนบุรี อุทัยธานี แต่ตะกูมักจะขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ดินเป็นดินกะกอนที่ถูกน้ำพัดพามาทับถมเป็นเวลานาน เป็นดินลึก ระบายน้ำดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง นอกจากนี้ยังพบกลุ่มไม้ตะกูขึ้นอยู่ตามสองข้างถนนตัดใหม่ซึ้งตัดผ่านป่าดิบชื้นหรือป่าดิบแล้งที่มีความชุ่มชื้นสูงทั่วๆ ไป รวมทั้งตามริมลำธารในบริเวณไร่ร้างซึ้งป่าดิบซื้นหรือป่าดิบแล้งถูกแผ้วถางลงตะกูเป็นไม้ที่อ่อนไหวต่อความแห้งแล้งและน้ำค้างแข็งมาก คือไม่ทนแล้งและไม่ทนหนาว ที่อุณหภูมิลดต่ำลงจนถึงจุดเยือกแข็ง แต่แต่ทนน้ำท่วมแช่ขังอยู่ได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ ทว่าน้ำต้องไม้ท่วมยอดและต้องไม่เข้าไปเยียบย่ำดินเหนือเรือนรากในช่วงที่น้ำท่วมขัง จึงมักพบเห็นไม้ตะกูในบริเวณที่ดินมีความชุ่มชื้นสูง ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลปานกลางจนถึงความสูง 1,000 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส สูงสุดเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส แต่จะเจริญเติบโตได้ดีไนที่ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีอยู่ระหว่าง 21 – 32 องศา เซลเซียส ปริมาณน้ำฝน 1,500 – 5,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีความชื้นในบรรยากาศไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์นั่นคือ ตะกูเป็นไม้โตเร็วที่ต้องการแสงสว่างเต็มที่ฝนตกสม่ำเสมอ ดินดี มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี และมีความชุ่มชื้นสูงตลอดปีตะกูเป็นไม้ที่มีขนาดใหญ่ เรือนยอดเป็นพุ่ม ลักษณะเด่นคือ ใบเดี่ยว มีขนาดใหญ่ กิ่งแผ่กว้างตั้งฉากกับลำต้น ส่วนใหญ่ลำต้นเปลาเพราะลิดกิ่งตามธรรมชาติได้ดี แต่บางถิ่นกำเนิดของเมล็ด (Provenance) โดยเฉพาธจากประเทศอินเดีย ลำต้นจะสูงเปลาเพราะมีกิ่งขนาดใหญ่เป็นจำนวนมากเพราะลิดกิ่งตามธรรมชาติได้น้อย เปลือกค่อนข้างเรียบ สีเทาปนน้ำตาล เนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ดอกมีขนาดเล็กเกาะติดกันแน่นเป็นช่อสีขาวปนเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเรียงกันแน่นเป็นก่อนกลม ๆ ภายในมีเมล็ดอยู่เป็นจำนวนมาก เมล็ดตะกูมีขนาดเล็กมาก คือ ประมาณ 0.44 X 0.66 มิลลิเมตร หรือถ้าเอาเมล็ดมาเรียงตามความยาว 1 เซนติเมดรจะมีประมาณ 15 เมล็ด แต่ถ้าเรียงเมล็ดตามความกว่าง 1 เซนติเมตรจะมีประมาณ 23 เมล็ด เมล็ดตะกูแห้ง 1 กิโลกรัมมีจำนวนประมาณ 18 – 26 ล้านเมล็ดผลแก่ของตะกูมีสีเหลืองเข้มซึ้งกวาง เก้ง นก และ สัตว์ป่าหลายชนิดชอบกินมาก ประกอบกับภายในผลมีเมล็ดเล็ก ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก สัตว์ป่าเหล่านี้จึงช่วยให้การสืบต่อพันธุ์ตามธรรมชาติ (Natural Regeneration) ของไม้ตะกูเกิดขึ้นได้ง่ายและทำให้พบเห็นกลู่มอยู่ทั่วไปในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ทั้ง ๆ ที่บางแห่งจะมองไม่เห็นแม่ไม้ในบริเวณข้างเคียงเลยก็ตามเมล็ดตะกูใหม่ ๆ มีอัตราการงอกสูงถึง 90 % แต่ถาเก็บทิ้งไว้ 1 ปีอัตราการงอกจะลดลงเหลือเพียง 5-10 % เท่านั้น ดังนั้นเมล็ดที่นำไปเพาะจะต้องเป็นเมล็ดเก็บใหม่เท่านั้น โดยเมล็ดจะเริ่มงอกภายใน 3 – 4 สัปดาห์หลังการเพาะแต่กว่าจะย้ายต้นกล้าลงถุงพลาสติกได้ต้องรอให้อายุ 2 – 3 เดือน แล้วเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงย้ายซ้ำอีกอย่างน้อย 4 เดือน จึงจะได้ต้นกล้าที่สูงประมาณ 25 – 30 ซม.ซึ่งพร้อมที่จะนำไปปลูกได้จากเมล็ดไม้ตะกูกว่าจะได้ต้นกล้าที่ปลูกได้ต้องใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าการผลิตกล้าไม้กระถินเทพาเล็กน้อย แต่สั้นกว่าการผลิตเหง้าสักซึ่งต้องใช้เวลานานถึง 10 – 12 เดือน นั้นคือ การผลิตไม้ตะกูไม่ยากอย่างที่คิด หาก ลงมือหว่านเมล็ดในเดือนพฤศจิกายนก็จะได้ต้นกล้าที่พร้อมจะนำไปปลูกได้ในตอนเดือนมิถุนายนของปีถัดไปนอกจากจะขยายพันธุ์โดยการอาศัยเพศ (Reproductive Propagation) คือการการเพราะเมล็ดดังกล่าวแล้ว ไม้ตะกูยังสามารถขยายพันธุ์โยไม่อาศัยเพศ (Vegetative Propagation) วิธีต่าง ๆ ได้อีกด้วย เช่น การติดตาการต่อกิ่ง การเสียบยอด การตัดยอดปักชำ และการเพราะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งการแต่งหน่อภายหลังการตัดฟัน (Coppice System)เนื่องจากไม้ตะกูเป็นไม้ที่โตเร็วมาก ประกอบกับมีเรือนยอดแผ่กว้างเพราะกิ่งตั้งฉากกับลำต้น ระยะปลูกที่เหมาะสมจึงไม่ควรจะน้อยกว่า 4 x 4 เมตร คือความหนาแน่นของหมู่ไม้ไม่เกิน 100 ต้นต่อไร่ หากปลูกในระบบเกษตรควรใช้ระยะปลูก 3 x 6 เมตร หรืออาจจะห่างกว่านี่ถึง 4 x 6 เมตรและ 6 x 6 เมตรก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชควบและจำนวนปีที่ต้องการจะปลูกพืชแทรกการสำรวจหาอัตราการรอดตายเพื่อทำการปลูกซ่อม การกำจัดวัชพืช การป้องกันไฟป่า เป็นมาตรการจัดการสวนป่าเบื้องต้นที่จำเป็นสำหลับสวนป่าทุกชนิด แต่สวนป่าที่ต้องการไม้ขนาดใหญ่เพื่อใช้ทำไม้แปรรูปหรือไม้บาง (Veneer) การลิดกิ่งและการตัดสางขยายระยะถือว่าเป็นมาตรการเสริมที่จำเป็นทว่าสวนป่าไม้ตะกูไม่ต้องทำการลิดกิ่ง เพราะสามารถลิดกิ่งตามธรรชาติได้ดีมากไม้ตะกูที่ปลูกเป็นสวนป่า โดยเฉพาะสวนป่าที่มีระยะปลูกค้อนข่างถี่หมู่ไม้ที่ขึ้นอยู่ห่าง ๆ เป็นกลุ่ม ๆ ตามธรรมชาติแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของไม้ตะกูได้แก่ หนอนม้วนใบ (Margaronia hilararis) (Arthroschista hilararis) และนีมาโทดจำพวก Meloidogyne spp. เขาทำลายเรือนรากทำให้ไม้ตะกูยืนต้นตายแต่สาเหตุแห่งความล้มเหลวของสวนป่าไม้ในอดีตนั้นคือความไม้เหมาะสมของพืชที่ปลูก กล่าวคือ ถ้าดินเป็นดินทรายกรวด หิน ซึ้งไม่สามารถเก็บความชุ่มชื้นไว้ไนดินได้ดีเท่าที่ควรไม้ตะกูจะยืนต้นตาย เช่นเดียวกับการปลูกต้นตะกูบนพื้นที่ลาดชันซึ้งอยู่ห่างจากริมแม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง
ที่มา : www.taguluang.com

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับบทความดีๆที่นำมาแบ่งปันให้กัน