วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ภาครัฐทำอะไรได้บ้างกับปัญหาปุ๋ยแพง


“เกษตรฯ-พาณิชย์”เคาะราคาปุ๋ยพบสูงผิดปกติส่อเอาเปรียบเกษตรกร เตรียมเจรจาผู้นำเข้าปุ๋ยปรับลดราคา ชงพาณิชย์เดินหน้ามาตรการเด็ดขาดตามเกณฑ์สินค้าควบคุม พร้อมสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อที่ประชุมครม.


เกษตรฯ-พาณิชย์”เคาะราคาปุ๋ยพบสูงผิดปกติส่อเอาเปรียบเกษตรกร เตรียมเจรจาผู้นำเข้าปุ๋ยปรับลดราคา ชงพาณิชย์เดินหน้ามาตรการเด็ดขาดตามเกณฑ์สินค้าควบคุม พร้อมสรุปข้อมูลทั้งหมดเสนอต่อที่ประชุมครม. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการประชุมของคณะกรรมการปุ๋ยที่ประกอบด้วยตัวแทนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ร่วมกันหารือเกี่ยวกับปัญหาราคาปุ๋ยแพงในขณะนี้ ได้มีข้อสรุปร่วมกัน 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1 การคงโครงสร้างอัตราการกำหนดราคาปุ๋ยเดิมที่กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันในสัดส่วนค่าต้นทุนปุ๋ย 95 % ค่าการบริหารจัดการและค่าบรรจุ 5 % นำมารวมกับผลต่างก็คือกำไรอีก 2% เนื่องจากปริมาณปุ๋ยที่นำเข้ามาในแต่ละล๊อตมีจำนวนมาก ดังนั้น การกำหนดผลต่างด้านราคาเพียง 2 % จึงมีความเหมาะสม เนื่องจากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยแต่ละล็อตมีจำนวนมาก การคิดผลต่างกำไรอัตรา 2 % นั้น ทั้งสองกระทรวงก็เห็นพ้องกันว่ามีความเหมาะสมแล้ว 2. การพิจารณาในส่วนที่มาของราคาปุ๋ยซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่การคิดราคาต้นทุน โดยจากการตรวจสอบที่มาของราคาการนำเข้าปุ๋ยยูเรียสูตร 46 -0 – 0 ของกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ไม่ต่างกัน อยู่ประมาณ 12,000 บาท/ตัน ในขณะที่การนำเข้าปุ๋ยสูตรอื่น ได้แก่ ปุ๋ยสูตร 16-20-0 และปุ๋ยสูตร 15-15-15 ซึ่งเป็นปุ๋ยสูตรที่เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ทางกระทรวงเกษตรฯ พบข้อมูลว่าปุ๋ยทั้งสองสูตรนั้นมีส่วนต่างของที่มา ระหว่างราคาที่ทางกระทรวงเกษตรฯตรวจสอบ กับราคา CIF ในใบอินวอยส์ที่บริษัทผู้นำเข้านำเสนอมีราคาที่ต่างกัน ดังนั้น กระทรวงเกษตรฯ จะหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ที่มีอำนาจในการกำกับดูแลราคาปุ๋ย ซึ่งถือเป็นสินค้าควบคุมเพื่อหาแนวทางในการเจรจาปรับลดราคาปุ๋ยกับเอกชนผู้นำเข้า โดยจะเร่งดำเนินการหารือร่วมกับเอกชนผู้นำเข้าปุ๋ยโดยเร็วที่สุด ซึ่งหากเป็นไปได้คาดว่าจะมีการหารือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องการปรับลดราคาและแก้ปัญหาราคาปุ๋ยต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารหน้า 3. ทางกระทรวงพาณิชย์ จะเร่งดำเนินการเช็คสต๊อกปุ๋ยอย่างละเอียด ทั้งระยะเวลาที่ดำเนินการสั่งซื้อ และปริมาณการสั่งซื้อ เพื่อจะได้ทราบว่ามีการค้ากำไรปุ๋ยเกินควรหรือไม่ ขณะเดียวกันก็จะสามารถทราบสาเหตุของการที่ทำให้ราคาปุ๋ยขยับตัวสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และประเด็นสุดท้าย คือ กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้คณะทำงานเรื่องปุ๋ยประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ในการร่วมกันตรวจสอบปริมาณความต้องการการใช้ปุ๋ยภายในประเทศ และช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ปุ๋ยมาก เพื่อป้องกันปุ๋ยขาดตลาด “จากข้อมูลราคาปุ๋ยที่กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์ได้ตรวจพบ พบข้อสังเกตว่าราคาปุ๋ยปี 2550 กับปัจจุบันมีความต่างกันมาก จากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในปีผ่านมามีการนำเข้า 4 แสนกว่าตัน ราคาต้นทุนตันละ 8,177 บาท เมื่อรวมกับค่าบริหารจัดการ 5% และกำไร 2 % แล้ว ราคานำเข้าเฉลี่ยอยู่ที่ 10,700 บาท แต่ปัจจุบันกลับพบว่าราคาปุ๋ยขายปลีกอยู่ที่ตันละ 17,700 เมื่อนำมาขายให้แก่เกษตรกรอยู่ที่ตันละ 18,000 ซึ่งเมื่อเทียบราคาปีที่แล้วกับปีนี้เกษตรกรต้องซื้อปุ๋ยแพงขึ้นถึง 7 พันบาท/ตัน ส่วนข้อมูลการนำเข้าปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปีที่แล้วจำนวน 3.6 แสนตัน เฉลี่ยต้นทุนตันละ 14,517 บาท เมื่อรวมกับค่าบริหารจัดการและกำไรจะอยู่ที่ 16,000/ตัน แต่ปัจจุบันราคาปุ๋ยสูตร 15-15-15 อยู่ที่ 19,300 บาท และขายให้แก่เกษตรกรในราคา 19,500 บาท ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ เห็นว่าเป็นราคาที่มีความผิดปกติและไม่เป็นธรรมกับเกษตรกร ” นายสมศักดิ์ กล่าว ทั้งนี้ หากผลการเจรจากับเอกชนนำเข้าปุ๋ย ซึ่งมีบริษัทผู้นำเข้ารายใหญ่ประมาณ 3 – 4 รายไม่สามารถปรับลดราคาลงได้ หรือเป็นราคาที่เกษตรกรได้รับความเดือนร้อน กระทรวงเกษตรฯ ก็ได้เตรียมมาตรการเสริมที่จะนำเข้าปุ๋ยจากประเทศผู้ผลิตปุ๋ยโดยตรง เพื่อนำเข้าปุ๋ยราคาที่เหมาะสมให้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกัน จะเร่งรณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกรในการใช้ปริมาณปุ๋ยเคมีผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ที่สามารถผลิตเองได้ในอัตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง
ที่มา : www.moac.go.th/buider/moaco2/information/view_index.php?id=4531

ไม่มีความคิดเห็น: