วันอังคารที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

อาหาร 12 อย่างที่ควรเป็น Organic

อาหาร 12 อย่างที่ควรเป็น Organic
ประภาพร วีรกิจ (1 พฤษภาคม 2551)

จากบทความเรื่อง “The Dirty Doze: Top 12 Foods to Eat Organic ” จากเว็บไซด์ http://www.thedailygreen.com/ เมื่อปลายเดือนมีนาคม เกี่ยวกับปัญหาความไม่ปลอดภัยของอาหาร ซึ่งบทความนี้ได้กล่าวถึงอาหาร 12 ชนิด ที่มีความเสี่ยงจากการปนเปื้อนสารเคมีการเกษตรค่อนข้างสูง ซึ่งผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงหรือระมัดระวังในการเลือกบริโภค และถ้าเป็นไปได้ก็ควรเลือกซื้ออาหารที่ผลิตจากระบบเกษตรอินทรีย์ หรือผู้บริโภคที่ไม่สามารถที่จะบริโภคอาหารเกษตรอินทรีย์ได้ทั้งหมด 100 % แต่อย่างน้อยที่สุด ผู้บริโภคควรเลือกอาหาร 12 ชนิดจากระบบการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากอาหาร 12 ชนิดนี้มีความเสี่ยงในการใช้สารเคมีอย่างเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นสารกำจัดศัตรูพืช สารเร่งการเจริญเติบโต และฮอร์โมนต่างๆ
อาหาร 12 ชนิดใน 4 กล่ม ที่ต้องระมัดระวัง คือ
เนื้อสัตว์ (1): เนื่องจากในระบบการเลี้ยงสัตว์ทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไก่ หมู หรือวัว ยังมีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโต ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีอื่น ซึ่งสารเคมีเหล่านี้จะตกค้างสะสมอยู่ในเนื้อสัตว์ต่างๆ และเมื่อเราบริโภคเนื้อสัตว์ต่างๆ สารเคมีเหล่านั้นก็จะถ่ายทอดมาถึงผู้บริโภค และสะสมอยู่ในร่างกายของเรา ถึงแม้ว่าปริมาณสารเคมีตกค้างดังกล่าวจะต่ำกว่าเกณฑ์กำหนดมาตรฐานขององค์กรอาหารและยา แต่เมื่อมีการสะสมในร่างกายของเรามากขึ้น ก็จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
นม (2): ตลอดจนผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนม ซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ ก็จะมีปัญหาในลักษณะเดียวกันกับเนื้อสัตว์ คือมีการใช้สารเคมีต่างๆ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงสัตว์และการแปรรูป ที่สามารถตกค้างในผลิตภัณฑ์นม เนย และชีสด้วย แต่ในกระบวนการผลิตเกษตรอินทรีย์นั้น จะไม่ไมีการใช้ยาปฏิชีวนะ และสารเคมีเพื่อเร่งการเจริญเติบโต เช่น rGBH or rbST
ผักและผลไม้ ได้แก่ ผักสลัด (3), มันฝรั่ง (4), เซอราลี่ (5), พริกหวาน (6), ลูกพีช (7), สตอเบอร์รี่ (8), องุ่น (9), แอปเปิ้ล (10) และมะเขือเทศ (11) เนื่องจากในระบบการปลูก พีชดังกล่าว จะมีการใช้สารเคมีการเกษตรเฉลี่ยมากกว่า 29 ชนิดเพื่อปกป้องให้ผิวสวย ดูน่ากิน สารเคมีเหล่านี้จะตกค้างอยู่ในเนื้อของผักและผลไม้ ทำให้การล้างและปอกเปลือกไม่สามารถที่จะชะล้างสารเคมีตกค้างได้ โดยเฉพาะสตอเบอร์รี่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากถึง 89 กิโลกรัม/ไร่ และถ้าเป็นสตอเบอร์รี่ที่ปลูกนอกฤดูก็จะยิ่งมากกว่านี้ ดังนั้น ถ้าหาผักผลไม้ที่เป็นเกษตรอินทรีย์ม่ได้ ผู้บริโภคก็ควรหันมาบริโภคผลไม้ ที่มีการผลิตแบบธรรมชาติ เช่น กล้วยน้ำว้า เป็นต้น
กาแฟ (12): ในกลุ่มประเทศที่ผลิตกาแฟส่วนใหญ่ไม่ได้มีข้อกำหนดในการใช้สารเคมีและสารกำจัดศัตรูพืช ดังนั้น กาแฟเองก็มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนสูง แต่ถ้าสามารถเลือกได้ ควรเลือกซื้อกาแฟไม่ใช่เฉพาะที่เป็นเกษตรอินทรีย์ แต่เป็นกาแฟที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการค้าที่เป็นธรรม (Fair Trade) เพราะกาแฟอินทรีย์-แฟร์เทรด เป็นกาแฟที่ได้จากระบบการผลิตและการแปรรูป ที่ไม่มีการใช้สารเคมีสังเคราะห์ในทุกขั้นตอน อีกทั้งยังเป็นกาแฟที่ผู้ผลิตได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในระบบการค้าด้วย
อ่านรายละเอียดบทความเต็ม คลิกที่นี่้
ที่มา : www.greennet.or.th

ไม่มีความคิดเห็น: