วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

Cost of Production of Smallholder


Cost of Production of Smallholder
อเนก กุณาละสิริ สุภาพร บัวแก้ว สมจิตต์ ศิขรินมาศจุมพฏ สุขเกื้อ พัชรินทร์ ศรีวารินทร์ส่วนเศรษฐกิจการยาง สถาบันวิจัยยาง
บทคัดย่อ
การศึกษาต้นทุนการผลิตของสวนยางขนาดเล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบค่าใช้จ่ายในการผลิตยางแผ่นดิบของเกษตรกร ตั้งแต่เริ่มปลูกสร้างสวนยาง การดูแลรักษา การกรีดยางเก็บน้ำยางและทำแผ่น โดยสร้างแบบจำลองต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบ เพื่อให้การวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของต้นทุนการผลิต จะอยู่ที่ราคาที่ได้รับในแต่ละวัน เป็นหลัก เพราะส่วนหนึ่งของต้นทุนการผลิตคือ ค่าจ้างกรีดยาง จะแบ่งผลผลิต โดยคนกรีดยาง จะได้รับร้อยละ 40 ของผลผลิตซึ่งถ้าราคายางมีการเปลี่ยนแปลง ต้นทุนก็จะแปรผันไปตามราคายางแผ่นดิบที่เปลี่ยนไป จากการนำข้อมูลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของแต่ละภาคการผลิตยางมีการวิเคราะห์ผลที่ได้ คือ ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบเฉลี่ย กิโลกรัมละ 39.12 บาท ณ ระดับราคายางท้องถิ่นเฉลี่ย (ม.ค. 47 – ธ.ค. 47) กิโลกรัมละ 45.46 บาท ผลผลิตตลอดอายุยาง 22 ปี เฉลี่ยไร่ละ 276 กิโลกรัม โดยการวิเคราะห์แบ่งออกเป็นต้นทุนก่อนเปิดกรีด (ปีที่ 1-6) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.34 บาท หรือร้อยละ 18.76 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนการบำรุงรักษาช่วงยางให้ผลผลิต (ปีที่ 7-22 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.72 บาท หรือร้อยละ 14.61 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนการกรีดเก็บน้ำยางและทำแผ่น (ปีที่ 7-22) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.06 บาท หรือร้อยละ 53.84 ของ ต้นทุนทั้งหมด ส่วนค่าอุปกรณ์ทำยางแผ่นดิบ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.23 บาท หรือร้อยละ 5.71 ของต้นทุนทั้งหมด และค่าที่ดินเฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.77 บาท หรือร้อยละ 7.08 ของต้นทุนทั้งหมด ต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่ค่าจ้างแรงงานกรีดเก็บน้ำยางและทำแผ่น ซึ่งเป็นต้นทุนที่ผันแปรไปตามสภาวะราคาแผ่นดิบตลาดท้องถิ่น ถ้าเกษตรกรหรีดยางด้วยแรงงานของครอบครัว ก็จะรับรายได้ส่วนนี้ไปด้วย ณ ระดับราคากิโลกรัมละ 45.46 บาท เกษตรกรจะคุ้มทุนในการปลูกสร้างสวนยาง ในปีที่ 13 โดยรายได้จะสูงกว่าค่าใช้จ่าย ซึ่งการคิดต้นทุนต่อกิโลกรัมใช้มูลค่าปัจจุบัน (Net present Value) มาเป็นตัวปรับและใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนค่าใช้จ่ายที่เป็นตัวเงินช่วงที่ยางยังไม่ให้ผลผลิตปีที่ 1-6 ไร่ละ 16,944 บาท ค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาช่วงยางให้ผลผลิตปีที่ 7-22 ไร่ละ 25,675 บาท ค่าใช้จ่ายการกรีดเก็บน้ำยางและทำแผ่น ไร่ละ 93,506 บาท ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ทำยางแผ่นดิบ ไร่ละ 9,846 บาท ค่าใช้จ่ายด้านที่ดิน ไร่ละ 10,076 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายตลอดอายุยางปีที่ 1-22 ไร่ละ 157,047 บาท การคิดต้นทุนเป็นการประมาณการค่าใช้จ่ายและสามารถคาดการสถานการณ์การผลิต และสามารถการผลิต และสามารถกำหนดปัจจัยการผลิตได้อย่างเหมาะสม ในการแข่งขันด้านการผลิตของประเทศต่อไป


ที่มา : http://www.rubberthai.com/

ไม่มีความคิดเห็น: