วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดและสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง


การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดและสรีระที่เหมาะสมกับการเพิ่มผลผลิตสวนยาง

Tapping Exploitation Physiology Research and Development on Increasing Rubber Productivity
อารักษ์ จันทุมา พิชิต สมพโชค พิสมัย จันทุมา พนัส แพชนะศจีรัตน์ แรมลี นภาวรรณ เลขะวิวัฒน์ รัชนี รัตนวงศ์ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6ศูนย์วิจัยยางสงขลา สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 8ศูนย์วิจัยยางสุราษฏร์ธานี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7ศูนย์วิจัยยางหนองคาย สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3
บทคัดย่อ
โครงการวิจัยประกอบด้วย 4 งานทดลอง งานที่ 1) การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดกับพันธ์ยางในเขตปลูกยางเดิม ผลทดลอง RRIT 226 ตอบสนองกรีดถี่ และสารเร่งน้ำยาง ยืดอายุกรีดยาง BPM 24 กรีด 1/2S 2d/3 ผลผลิต สูงสุ 10.6 กก./ต้น/ปี กรีด 1/4S d/1 สลับหน้าให้ผลผลิตมากกว่า กรีดหน้าเดียว AVROS 2037 และ MT/c/11-9/70 ไม่มีผลกระทบจากกรีด PB260 และ BPM 24 เส้นรอบต้นลดจากไม่กรีด 4.8 และ 6.8 เซนติเมตร งานที่ 2) ระบบกรีดยางกับพันธุ์ยางในเขต ปลูกยางใหม่ ผลทดลอง RRIM 600 กรีด 1/3S วันกรีด 3d/4 และ 2d/3 ให้ผลผลิตสะสมสูงกว่า 1/2S แต่สิ้นเปลืองเปลือกมากกว่า 1/3S d/2 ตั้งแต่ 18-29% การเพิ่มจำนวนวันกรีดในพื้นที่แห้งแล้ว 3d/4 กรีด 141 วัน/ปี 2d/3 กรีด 126 วัน/ปี d/2 กรีด 91 วัน/ปี d/3 กรีด 64 วัน/ปี 1/3S 2d/3 เหมาะสุด 288 กก./ไร่/ปี งานที่ 3) ระบบกรีดที่มีผลกับต้นยางสภาพแวดล้อมต่างๆ การกรีดปรกติและเจาะอัดแก๊สเร่งน้ำยาง 9 ปี กับต้นยางอายุ 20 ปี 6 พันธุ์ การเจาะอัดแก๊สให้ผลผลิตมากกว่า กรีดปรกติ 157-332% ผลกระทบต่อคุณภาพเนื้อไม้ การเจาะอัดแก๊สไม่ทำให้สมบัติเชิงกลของไม้ยางลดต่ำลงผิดไปกรีดปกติ การเก็บรักษาก๊าซคาร์บอนในสวนยาง RRIM600 อายุ 2-25 ปี มวลชีวภาพ(กก./ต้น)Y=0.0082X2.5623 , R2 = 0.96, X เส้นรอบต้น (ซม.) ที่1.7 เมตร สูงจากพื้นดิน มวลชีวภาพ RRIM 600 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มากกว่า ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มากกว่าภาคตะวันออกและมากกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์ประกอบชีวเคมีน้ำยางต่อระบบกรีดกับยาง 6 พันธุ์ ใช้สารเร่งน้ำยาง 0, 2, 4, 8, และ 12 ครั้ง/ปี กรีด 1/2S d/3 6d/7 พันธุ์ยาง GT 1 เมทาโบลิซึมปานกลาง น้ำตาลปานกลาง RRIM 600, RRIC 110, PR 261, PR 255, BPM 25 เมทาลิซึมปานกลางน้ำตาลสูงและ PB235 เมทาโบลิซึมสูงน้ำตาลปานกลาง กลาง การกรีดสลับหน้าเร่งเพิ่มการให้ผลผลิตโดยเปิดกรีด 2 หน้าต่างระดับ 0.8 เมตร กรีด ? S d/2 สลับวันกรีด ผลผลิต 3 ปีแรก 3.07, 4.46 และ 5.62 กก./ต้น/ปี ใช้กับ RRIM 600 ที่เริ่มเปิดกรีด 3 ปี แรก ได้ผลผลิตสูงกว่า กรีดปรกติ 27% โดยไม่ใช้สารเร่งน้ำยาง ปีที่4-5 ผลผลิต สูงกว่ากรีดปรกติ 15% งานที่ 4) ทำแผนที่อาหารสะสมในต้นยาง วัดการกระจาย แป้งน้ำตาลตามระดับความสูงจากโคนถึง 3 เมตร สูงจากพื้น ตามฤดูกาล ใบร่วง ผลิใบ ฤดูร้อนและฤดูฝน ต้นยางไม่กรีด, กรีดปรกติ, กรีด+ET. ผลทดลองฤดูใบร่วงแป้งน้ำตาลมาก 60-80 มิลลิกรัมน้ำตาล กลูโคส ต่อ กรัมตัวอย่างแห้ง ฤดูผลิใบมีน้ำตาล 20-60 และผลการกรีดมีแป้งมากที่รากแก้ว
ที่มา : www.rubberthai.com

ไม่มีความคิดเห็น: