วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การบริหารงานพัสดุของราชการ

การบริหารงานพัสดุ

1. งบประมาณงานปรับปรุงวงเงิน 6 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานของ ชคบ. แต่พื้นที่ทำงานอยู่ต่างสำนักงานของ ชคบ. ขอทราบว่าจะดำเนินการประกวดราคา ที่ สชป. ที่ ชคบ. สังกัดหรือที่จังหวัดต่างสำนักงาน
ตอบ การดำเนินการประกวดราคาในกรณีดังกล่าว ขอให้พิจารณาว่าการเบิกจ่ายจะต้องเบิกจ่ายเงิน ณ จังหวัดใด ก็ให้ดำเนินการรับและเปิดซองประกวดราคา ณ ศาลากลางจังหวัด นั้น ไม่ว่าสำนักตั้งอยู่ที่จังหวัดใดก็ตาม

2. ระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยระเบียบบริหารงบประมาณระดับจังหวัด พ.ศ.2524 ได้
ถูกยกเลิกโดยระเบียบสำนักนายกฯ ว่าด้วยระเบียบบริหารงบประมาณแบบบูรณาการ
ดังนั้น แผนจัดซื้อ/จัดจ้าง จะต้องส่งหารือผู้ว่าอีกหรือไม่ โปรดชี้แจงด้วย เพราะขณะนี้มีปัญหาทางปฏิบัติ และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การดำเนินการจัดหาต้องล่าช้าออกไป
ตอบ ในเรื่องนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินงานของหน่วยตรวจสอบภายใน

3. การมอบอำนาจในการดำเนินงานด้านพัสดุ
- การมอบอำนาจให้ข้าราชการสังกัดกรมชลประทาน จะกล่าวถึง การสั่งซื้อหรือการสั่งจ้าง ดำเนินงาน วิธีพิเศษ
- การมอบอำนาจด้านบริหารงานพัสดุให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กล่าวถึง การสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง การดำเนินงาน วิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษ
ขอทราบว่า “วิธีพิเศษ” และ “วิธีกรณีพิเศษ” เป็นอย่างไร และแตกต่างกันอย่างไร และจะดำเนินการได้เมื่อใด
ตอบ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 ได้กำหนดวิธีการซื้อและวิธีการจ้าง โดยวิธีพิเศษ และวิธีกรณีพิเศษไว้ดังนี้
การซื้อโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การซื้อครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
1. เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาด โดยส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของต่างประเทศ
2. เป็นพัสดุที่ซื้อเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
3. เป็นพัสดุเพื่อใช้ในราชการลับ
4. เป็นพัสดุที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือ
เพื่อประโยชน์ของส่วนราชการและจำเป็นต้องซื้อเพิ่ม ( Repeat Order )
5. เป็นพัสดุที่จำเป็นต้องซื้อโดยตรงจากต่างประเทศหรือดำเนินการโดยผ่านองค์การระหว่างประเทศ
6. เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะ ซึ่งหมายความรวมถึงอะไหล่ รถประจำตำแหน่ง หรือยารักษาโรคที่ไม่ต้องจัดซื้อตามชื่อยาสามัญในบัญชียาหลักแห่งชาติ
7. เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง
8. เป็นพัสดุที่ได้ดำเนินการซื้อโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
การจ้างโดยวิธีพิเศษ ได้แก่ การจ้างครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท ให้กระทำ
ได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
1. เป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญพิเศษ
2. เป็นงานจ้างซ่อมพัสดุที่จำเป็นต้องถอดตรวจ ให้ทราบความชำรุดเสียหายเสีย
หายก่อนจึงจะประมาณค่าซ่อมได้ เช่น งานจ้างซ่อม เครื่องจักร เครื่องมือกล เครื่องยนต์ เครื่องไฟฟ้า หรืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
3. เป็นงานที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ
4. เป็นงานที่ต้องปกปิดเป็นความลับของทางราชการ
5. เป็นงานที่จำเป็นต้องการจ้างเพิ่ม ในสถานการณ์ที่จำเป็น หรือเร่งด่วน หรือเพื่อ
ประโยชน์ของส่วนราชการและจำเป็นต้องจ้างเพิ่ม ( Repeat Order )
6. เป็นงานที่ได้ดำเนินการจ้างโดยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผลดี
การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นๆ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ ในกรณีดังต่อไปนี้
1. เป็นผู้ผลิตพัสดุหรือทำงานจ้างนั้นเอง และนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง
2. มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ซื้อหรือจ้างและกรณีนี้ให้รวมถึง
หน่วยงานอื่นที่มีกฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดด้วย

4. ตามคำสั่งกรมฯ ที่ ข.1350/2546 การอนุมัติการจัดซื้อจัดจ้างเฉพาะส่วนที่เกินอำนาจ ชคป. มอบอำนาจอนุมัติให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับกรณีของ ชคบ. ในส่วนที่เกินอำนาจการอนุมัติจะเป็นอำนาจของ ผส.ชป. ใช่หรือไม่
ตอบ ได้มีการยกเลิกคำสั่งกรมฯ ที่ ข.1350 / 2546 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546และให้ใช้คำสั่งที่ 1378 / 2546 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 แทน ซึ่งได้ระบุชัดเจน แล้วว่า การจัดซื้อจัดจ้างที่เกินอำนาจของ ชคป. ชคบ. ชศพ. ชคน. ชคส. ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเครื่องจักรกล 1 – 7 และหัวหน้า สำนักงานจัดรูปที่ดินจังหวัดให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

5. ในกรณีในเรื่องการประกวดราคา หากโครงการไม่ดำเนินการเอง จะให้สำนักฯ เป็นผู้ดำเนินการประกวดราคาได้หรือไม่ และขอให้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติ
ตอบ นโยบายของกรมฯ ต้องการให้โครงการชลประทานเป็นผู้ดำเนินการเองในกรณีที่วงเงินดำเนินการเป็นไปตามที่ได้มอบอำนาจให้

6. การมอบอำนาจในการดำเนินงานด้านพัสดุ ให้แก่ข้าราชการของกรมชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัด
- ได้มอบหมายอำนาจให้ ผู้อำนวยการสำนักชลประทาน และผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีปกติ วงเงินไม่เกิน 50,000,000.- บาท และกรณีพิเศษวงเงินไม่เกิน 25,000,000.- บาท ซึ่งมีวงเงินเท่ากันจะให้โครงการดำเนินการอย่างไร เมื่อการสั่งซื้อหรือการสั่งจ้างเกินอำนาจของโครงการ
ตอบ ให้โครงการชลประทานส่งเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างที่เกินอำนาจของตน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการอนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะดำเนินการเอง หรือส่งเรื่องให้กรมชลประทานเป็นผู้ดำเนินการต่อไป

7. คำสั่งกรมฯ ที่ ข.1350/2546 ลว. 31 ตค.46 ข้อ 1) เขียนว่า มอบอำนาจให้ ผวจ. มีอำนาจจัดซื้อ-จัดจ้างเฉพาะส่วนเกินไปจากที่กรมฯ มอบหมายให้แก่ ชคป. ฉะนั้น ถ้าในส่วนที่อยู่นอกเหนือจาก ชคป. ถ้าจะมอบให้ ผวจ. ควรกำหนดให้ชัดเจนเป็นเฉพาะส่วนที่เกินไปจากที่กรมฯ มอบหมายให้ ชคป. จะแก้ไขเพิ่มเติมได้หรือไม่

ตอบ ได้แก้ไขคำสั่งกรม ฯ ที่ 1350 / 2546 ลงวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เป็นคำสั่งกรม ฯ
ที่ข.1378 / 2546 ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 แล้ว ซึ่งมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: