วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ

ให้เน้นประเภทของการลา ลาได้กี่วัน ใครมีอำนาจอนุมัติ ดูหนังสือเทียบดอำนาจของผู้อนุมัติของสกย.ที่อดีตผอ.สกย.(สายันห์)ลงนามปี2550


ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการพ.ศ. ๒๕๓๕
----------------------


โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ
ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๓๕" ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปข้อ ๓ ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. ๒๕๒๐
(๒) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๒๕
(๓) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๒๗
(๔) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานใน
องค์การระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๒๙บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ มติของคณะรัฐมนตรี และคำสั่งอื่นใด ในส่วนที่มีกำหนดไว้แล้ว
ในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดแย้งกับระเบียบนี้ ให้ใช้ระเบียบนี้แทนข้อ ๔ ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบ และมีอำนาจตีความและ
วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ส่วนการลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม
ตามหมวด ๓ ให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รักษาการ และมีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
ในกรณีที่การตีความหรือวินิจฉัยปัญหาของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดกระทรวง
ยุติธรรมขัดแย้งกัน ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีวินิจฉัยชี้ขาด


หมวด ๑บททั่วไป
-------------------
ข้อ ๕ ในระเบียบนี้

"ปลัดกระทรวง" ให้หมายความรวมถึงปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดทบวงและ
ปลัดกรุงเทพมหานครด้วย


"หัวหน้าส่วนราชการ" หมายความว่า อธิบดี หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
และมีฐานะเป็นกรม ผู้ว่าราชการจังหวัด และให้หมายความรวมถึงผู้อำนวยการสำนักในสังกัด
กรุงเทพมหานคร นายกราชบัณฑิตยสถาน และเลขานุการรัฐมนตรีในฐานะบังคับบัญชาสำนักงาน
เลขานุการรัฐมนตรีด้วย

"หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง" หมายความว่า ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีปลัดกระทรวง
ปลัดทบวงหรือปลัดกรุงเทพมหานคร ในฐานะบังคับบัญชาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนัก
งานปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดทบวง หรือสำนักปลัดกรุงเทพมหานคร หัวหน้าส่วนราชการที่มี
ฐานะเป็นกรมซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมซึ่งไม่สังกัด
สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง

"เข้ารับการตรวจเลือก" หมายความว่า เข้ารับการตรวจเลือกเพื่อรับราชการเป็น
ทหารกองประจำการ"เข้ารับการเตรียมพล" หมายความว่า เข้ารับการระดมพล เข้ารับการตรวจสอบพล
เข้ารับการฝึกวิชาทหาร หรือเข้ารับการทดลองความพรั่งพร้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร"องค์การระหว่างประเทศ" หมายความว่า องค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นด้วย
ความตกลงระหว่างประเทศทั้งในระดับรัฐบาลและระดับเอกชน และสำหรับองค์การสหประชาชาติ
ให้หมายความรวมถึง ทบวงการชำนัญพิเศษและองค์การอื่นใดในเครือสหประชาชาติด้วย"องค์การต่างประเทศ" หมายความว่า องค์การหรือสถาบันต่างประเทศตามที่
ผู้รักษาการตามระเบียบจะได้ประกาศรายชื่อให้ทราบ"การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ" หมายความรวมถึง การไปปฏิบัติงาน
ตามโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ การไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศการไปปฏิบัติงานใน

ต่างประเทศในลักษณะเดียวกันกับการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ รวมทั้งการไป
ปฏิบัติงานในหน่วยงานขององค์การระหว่างประเทศหน่วยงานขององค์การต่างประเทศ หรือ
หน่วยงานของรัฐบาลต่างประเทศซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย โดยได้รับเงินเดือนหรือค่าตอบแทนใน
ลักษณะเดียวกันกับเงินเดือนจากองค์การระหว่างประเทศ องค์การต่างประเทศหน่วยงานของ
รัฐบาลต่างประเทศหรือจากประเทศที่ไปปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงการเดินทางไปราชการ
ตามระเบียบว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการหรือการจัดการประชุมของทางราชการ
การไปรับราชการประจำในต่างประเทศ การไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ตาม
ระเบียบหรือข้อบังคับว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ

"ลาติดตามคู่สมรส" หมายความว่า ลาติดตามสามีหรือภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายที่เป็น
ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ หรือ
ทางราชการสั่งให้ไปปฏิบัติงานในต่างประเทศตามความต้องการของทางราชการตามกฎหมายว่าด้วย
การกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ไปทำการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการหรือเต็ม
เวลาทำงาน ตั้งแต่ ๑ ปีขึ้นไป แต่ไม่รวมถึงกรณีที่คู่สมรสลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติ
การวิจัย ณ ต่างประเทศ


ข้อ ๖ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยยระเบียบ
ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการ
พลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
ข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู ข้าราชการตำรวจตามกฎหมายว่าด้วย
ระเบียบข้าราชการตำรวจ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ และ
ข้าราชการกรุงเทพมหานครตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่กระทรวง ทบวง กรมใดมีเหตุพิเศษซึ่งจะต้องวางหลักเกณฑ์และขั้นตอนวิธีปฏิบัติ
เกี่ยวกับการลาประเภทใดเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากที่ระเบียบนี้กำหนด ให้กระทรวง หรือทบวง
เจ้าสังกัดขอความเห็นผู้รักษาการตามระเบียบเพื่อประกอบการพิจารณากำหนดเป็นระเบียบของกระทรวง
หรือทบวง นั้นได้

ข้อ ๗ การลาทุกประเภทตามระเบียบนี้ ถ้ามีกฎหมาย ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรี
กำหนดเกี่ยวกับการลาประเภทใดไว้เป็นพิเศษ ผู้ลาและผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะต้อง

ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบหรือมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการลาประเภทนั้นด้วย


ข้อ ๘ ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตและอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับ
ข้าราชการแต่ละประเภทให้เป็นไปตามตารางที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้ส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีข้าราชการหลายประเภทให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต
การลาของส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นมีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาสำหรับข้าราชการทุก
ประเภทที่อยู่ในสังกัดส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น
ในกรณีที่ผู้มีอำนาจอนุญาตการลาตามระเบียบนี้ไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติราชการได้
และมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนไม่อาจรอขออนุญาตจากผู้มีอำนาจได้ ให้ผู้ลาเสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้มี
อำนาจอนุญาตการลาชั้นเหนือขึ้นไปเพื่อพิจารณา และเมื่ออนุญาตแล้วให้แจ้งให้ผู้มีอำนาจอนุญาต
ตามระเบียบทราบด้วย
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลาจะมอบหมายหรือมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่
ผู้ดำรงตำแหน่งใด เป็นผู้พิจารณาหรืออนุญาตแทนก็ได้

ข้อ ๙ ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการ ณ หน่วยงานอื่นใดของทางราชการ
หากประสงค์จะลาป่วย ลาคลอดบุตร ลากิจส่วนตัว ลาพักผ่อน หรือลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือ
เข้ารับการเตรียมพล ในช่วงเวลาที่ไปช่วยราชการ ให้เสนอขออนุญาตลาต่อผู้บังคับบัญชาของ
หน่วยงานที่ไปช่วยราชการ แล้วให้หน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดของผู้นั้น
ทราบอย่างน้อยปีละครั้ง
การลาประเภทอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง ให้เสนอขออนุญาตลาต่อส่วนราชการ
เจ้าสังกัดตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับการลาประเภทนั้น

ข้อ ๑๐ การนับวันลาตามระเบียบนี้ให้นับตามปีงบประมาณ
การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวณวันลา
ให้นับต่อเนื่องกันโดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย
เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับวันลาป่วยที่มิใช่วันลาป่วยตามกฏหมายว่าด้วย
การสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ วันลากิจส่วนตัว
และวันลาพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ
การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะเป็นในปีเดียวกันหรือไม่ก็
ตาม ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่ง ถ้าจำนวนวันลาครั้งหนึ่งรวมกันเกินอำนาจของผู้มีอำนาจอนุญาต

ระดับใด ให้นำใบลาเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับมาปฏิบัติราชการระหว่างลา ให้ถือว่าการลาเป็นอัน
หมดเขตเพียงวันก่อนวันเดินทางกลับ และวันราชการเริ่มต้นตั้งแต่วันออกเดินทางกลับเป็นต้นไป
การลาครึ่งวันในตอนเช้าหรือตอนบ่าย ให้นับเป็นการลาครึ่งวันตามประเภทของการลา
นั้นๆ
ข้าราชการซึ่งได้รับอนุญาตให้ลา หากประสงค์จะยกเลิกวันที่ยังไม่ได้หยุดราชการ
ให้เสนอขอถอนวันลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลา และให้ถือว่าการลา
เป็นอันหมดเขตเพียงวันที่ขอถอนวันลานั้น

ข้อ ๑๑ เพื่อควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีลงเวลา
การปฏิบัติราชการของข้าราชการในสังกัด โดยมีสาระสำคัญตามตัวอย่างท้ายระเบียบนี้ หรือจะ
ใช้เครื่องบันทึกเวลาการปฏิบัติราชการแทนก็ได้
ในกรณีจำเป็น หัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง จะกำหนดวิธี
ลงเวลาปฏิบัติราชการหรือวิธีควบคุมการปฏิบัติราชการของข้าราชการที่มีการปฏิบัติราชการใน
ลักษณะพิเศษเป็นอย่างอื่นตามที่เห็นควรก็ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องมีหลักฐานให้สามารถตรวจสอบวัน
เวลา การปฏิบัติราชการได้ด้วย

ข้อ ๑๒ การลาให้ใช้ใบลาตามแบบท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วน
จะใช้ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือจะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ทั้งนี้ต้องส่งใบ
ลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ

ข้อ ๑๓ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างการลาตามระเบียบนี้ หรือ
ในระหว่างวันหยุดราชการ ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ
หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอขออนุญาตต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอขออนุญาตต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานคร
ให้เสนอขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การอนุญาตของหัวหน้าส่วน ราชการตามวรรคหนึ่ง เมื่ออนุญาตแล้วให้รายงาน
ปลัดกระทรวงทราบด้วย

ข้อ ๑๔ การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้ว่าราชการ

จังหวัดและนายอำเภอในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจอนุญาตให้ข้าราชการ
ในราชการบริหารส่วนภูมิภาคในสังกัดจังหวัดหรืออำเภอนั้นๆ ไปประเทศนั้นได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน
๗ วัน และ ๓ วันตามลำดับข้อ

๑๕ ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษ
ซึ่งเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไปในท้องที่นั้น หรือพฤติการณ์พิเศษซึ่งเกิดขึ้นกับข้าราชการผู้นั้นและมีได้เกิดจาก
ความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของข้าราชการผู้นั้นเอง โดยพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวร้ายแรง
จนเป็นเหตุขัดขวางทำให้ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการ ณ สถานที่ตั้งตามปกติ ให้ข้าราชการผู้นั้นรีบ
รายงานพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นรวมทั้งอุปสรรคขัดขวางที่ทำให้มาปฏิบัติราชการไม่ได้ต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงทันทีในวันแรกที่สามารถมาปฏิบัติ
ราชการได้
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานต่อปลัดกระทรวงหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงให้
รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานคร ให้รายงานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เห็นว่าการที่ข้าราชการผู้นั้นมาปฏิบัติราชการไม่ได้ เป็น
เพราะพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่งจริง ให้สั่งให้การหยุดราชการของข้าราชการผู้นั้นไม่นับเป็น
วันลาตามจำนวนวันที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้อันเนื่องมาจากพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวในกรณีที่หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เห็นว่าการที่ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการยังไม่สมควรถือ
เป็นพฤติการณ์พิเศษตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าวันที่ข้าราชการผู้นั้นไม่มาปฏิบัติราชการเป็นวันลากิจส่วนตัว


หมวด ๒
ประเภทการลา
-------------------------
ข้อ ๑๖ การลาแบ่งออกเป็น ๙ ประเภท คือ
(๑) การลาป่วย
(๒) การลาคลอดบุตร
(๓) การลากิจส่วนตัว
(๔) การลาพักผ่อน
(๕) การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
(๖) การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
(๗) การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
(๘) การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
(๙) การลาติดตามคู่สมรส


ส่วนที่ 1 การลาป่วย
--------------------

ข้อ ๑๗ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ
ผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็นจะเสนอหรือ
จัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้
ในกรณีที่ข้าราชการผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่น
ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว
การลาป่วยตั้งแต่ ๓๐ วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองของแพทย์ซึ่งเป็นผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียนและ
รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมแนบไปกับใบลาด้วย ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควรผู้มี
อำนาจอนุญาตจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์ซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้
การลาป่วยไม่ถึง ๓๐ วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน
ถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองแพทย์ตามวรรคสามประกอบใบลา หรือสั่งให้
ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้


ส่วนที่ ๒การลาคลอดบุตร
------------------------
ข้อ ๑๘ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้จะให้ผู้อื่น
ลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว และมีสิทธิลาคลอดบุตร
โดยได้รับเงินเดือนครั้นหนึ่งได้ ๙๐ วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์
การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งยังไม่ครบกำหนดวันลาของการลา
ประเภทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลาคลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลา
คลอดบุตร



ส่วนที่ ๓การลากิจส่วนตัว
-------------------------
ข้อ ๑๙ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลากิจส่วนตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็น
ไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทันจะเสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมด้วยระบุเหตุจำเป็นไว้แล้ว หยุดราชการ
ไปก่อนก็ได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มีอำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
ในกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่งได้ ให้เสนอหรือจัดส่ง
ใบลาพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตทันทีในวันแรก
ที่มาปฏิบัติราชการ

ข้อ ๒๐ ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ ๑๘ แล้ว หากประสงค์จะลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร
เพิ่มอีก ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือน
ได้อีกไม่เกิน ๓๐ วันทำการ


ข้อ ๒๑ ข้าราชการมีสิทธิลากิจส่วนตัว รวมทั้งลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่อง
จากการลาคลอดบุตร โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน ๔๕ วันทำการ
ข้าราชการผู้ที่ได้ใช้สิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตร
ตามข้อ 20 ในปีใดแล้ว ให้มีสิทธิลากิจส่วนตัวโดยได้รับเงินเดือนได้อีกตามจำนวนวันที่เหลืออยู่



ข้อ ๒๒ ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรและลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการ
ลาคลอดบุตร โดยมีสิทธิได้รับเงินเดือนตามข้อ ๑๘ และข้อ ๒๐ แล้ว หากประสงค์จะลากิจส่วนตัว
เพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อไปอีก ให้ลาได้ไม่เกิน ๑๕๐ วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา

ข้อ ๒๓ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว เว้นแต่กรณีการลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร

ตามข้อ 20 และข้อ 22 ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้น
ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้

ส่วนที่ ๔
การลาพักผ่อน
----------------------

ข้อ ๒๔ ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ ๑๐ วันทำการ เว้นแต่
ข้าราชการดังต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง ๖ เดือน (๑) ผู้ซึ่งได้รับบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก (๒) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก (๓) ผู้ซึ่งลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเพื่อสมัคร
รับเลือกตั้ง แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง ๖ เดือน นับแต่วันออกจากราชการ (๔) ผู้ซึ่งถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่น นอกจากกรณีไปรับราชการทหาร
ตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และกรณีไปปฏิบัติงานใดๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ
แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก


ข้อ ๒๕ ถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือลาพักผ่อนประจำปีแล้ว
แต่ไม่ครบ ๑๐ วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ แต่วันลาพักผ่อน
สะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันจะต้องไม่เกิน ๒๐ วันทำการ
สำหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑๐ ปีให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อน
สะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน ๓๐ วันทำการ

ข้อ ๒๖ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาพักผ่อน ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา
ตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต และเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้


ข้อ ๒๗ การอนุญาตให้ลาพักผ่อน ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือ
หลายครั้งก็ได้ โดยมิได้เสียหายแก่ราชการ


ข้อ ๒๘ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลาพักผ่อนซึ่งหยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการ
จำเป็นเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้


ข้อ ๒๙ ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา
หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้ ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
ตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้



ส่วนที่ ๕การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
-------------------------

ข้อ ๓๐ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา หรือข้าราชการที่
นับถือศาสนาอิสลามซึ่งประสงค์จะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตก่อนวันอุปสมบท
หรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า ๖๐ วัน
ในกรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อนตามวรรคหนึ่ง ให้ชี้แจงเหตุผล
ความจำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้

ข้อ ๓๑ ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับ
อนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ตามข้อ ๓๐ แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบ
พิธีฮัจย์ภายใน ๑๐ วัน นับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน
๕ วันนับแต่วันที่ลาสิกขา หรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังจากการเดินทางไปประกอบ
พิธีฮัจย์
ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลา
ไปประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว หากปรากฎว่ามีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบท
หรือไปประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปฏิบัติและขอถอน
วันลา ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต พิจารณาหรืออนุญาตให้ถอนวันลาอุปสมบทหรือไปประกอบ
พิธีฮัจย์ได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว




ส่วนที่ ๖การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
----------------------------

ข้อ ๓๒ ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับ
บัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๔๘ ชั่วโมง ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้า
รับการเตรียมพลให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๔๘ ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียก
เป็นต้นไป และให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพลตามวันเวลาในหมายเรียกนั้น
โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาตและให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงหัวหน้า
ส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการ ให้รายงานลาต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
ให้รายงานลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้รายงานลาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ข้อ ๓๓ เมื่อข้าราชการที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
แล้วให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติต่อผู้บังคับบัญชาภายใน ๗ วัน เว้นแต่กรณีที่
มีเหตุจำเป็นหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง ปลัดกระทรวง ผู้ว่าราชการ
กรุงเทพมหานคร หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดตามข้อ ๓๒ อาจขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน ๑๕ วัน



ส่วนที่ ๗การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย
--------------------------
ข้อ ๓๔ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ณ
ต่างประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้า
ส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
สำหรับการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศ ให้เสนอหรือ
จัดส่งใบลาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อ
พิจารณาอนุญาต เว้นแต่ข้าราชการกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกรุงเทพมหานคร
สำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วน

ราชการขึ้นตรงและข้าราชการในราชบัณฑิตยสถานให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุญาต




ส่วนที่ ๘การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
-------------------------
ข้อ ๓๕ ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้เสนอ
หรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดเพื่อพิจารณา โดยถือปฏิบัติ
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในส่วนนี้

ข้อ 36 การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ มี ๒ ประเภท คือ
"ประเภทที่ ๑" ได้แก่ การไปปฏิบัติงานในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(๑) การไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิก
และเป็นวาระที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานในองค์การนั้น
(๒) รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันธ์ที่จะต้องนำไปปฏิบัติงานตามความตกลงระหว่าง
ประเทศ
(๓) ประเทศไทยต้องส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
ตามความต้องการของรับบาลไทย

"ประเภทที่ ๒" ได้แก่ การไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากประเภทที่ ๑ข้อ ๓๗ ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) เป็นข้าราชการประจำตอลดมาเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าห้าปี
ก่อนถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงาน เว้นแต่ผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติกำหนด
เวลาห้าปีให้ลดเป็นสองปี
สำหรับผู้ที่เคยไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ มาแล้ว
จะต้องมีเวลาปฏิบัติราชการในส่วนราชการไม่น้อยกว่าสองปี นับแต่วันเริ่มกลับเข้าปฏิบัติหน้าที่
ราชการ หลังจากที่เดินทางกลับจากการไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒

ครั้งสุดท้าย
(๒) ผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ ต้องมีอายุ
ไม่เกินห้าสิบสองปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ได้รับอนุญาติให้ไปปฏิบัติงาน
(๓) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการมีความรู้ความสามารถเหมาะสม มีความประพฤติ
เรียบร้อยและไม่อยู่ในระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัย
การขอยกเว้นหรือผ่อนผันคุณสมบัติตาม (๑) วรรคสอง และ (๒) ให้เสนอเหตุผล
ความจำเป็นต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไปข้อ ๓๘ ให้ข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศยื่น
ใบลาต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาต และมีคำสั่งให้
ข้าราชการผู้นั้นลาไปปฏิบัติงานได้โดยถือว่าเป็นการไปทำการใดๆ อันจะนับเวลาระหว่างนั้นเหมือน
เต็มเวลาราชการ มีกำหนดเวลาไม่เกินสี่ปีสำหรับการไปปฏิบัติงานประเภทที่ ๑ หรือมีกำหนดเวลา
ไม่เกินหนึ่งปีสำหรับการไปปฏิบัติงานประเภทที่ ๒ โดยไม่รับเงินเดือน เว้นแต่อัตราเงินเดือนที่
ได้รับจากองค์การระหว่างประเทศต่ำกว่าอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น
ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือนจากทางราชการสมทบ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินเดือนจากองค์การระหว่าง
ประเทศแล้วไม่เกินอัตราเงินเดือนของทางราชการที่ข้าราชการผู้นั้นได้รับอยู่ในขณะนั้น

ข้อ ๓๙ ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
หากประสงค์จะอยู่ปฏิบัติงานต่อ ให้ยื่นเรื่องราวพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่ทาง
ราชการจะได้รับต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด เพื่อพิจารณาอนุญาตและ
มีคำสั่งให้ข้าราชการผู้นั้นไปปฏิบัติงานได้โดยถือว่าไปเป็นการกระทำใดๆ อันจะนับเวลา
ระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการ
ไปทำการ ซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการได้อีกแต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกินสี่ปี
การอนุญาตให้ข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานประเภทที่ ๒ เกินกว่าหนึ่งปี ให้ผู้บังคับบัญชา
สั่งให้ผู้นั้นออกจากราชการในช่วงเวลาที่ไปปฏิบัติงานเกินหนึ่งปีด้วย

ข้อ ๔๐ ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด ได้มีคำสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานตามข้อ
๓๘ หรือให้ไปปฏิบัติงานต่อหรือให้ออกจากราชการตามข้อ ๓๙ แล้ว ให้ส่วนข้าราชการส่งสำเนาคำสั่ง
ดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง และองค์กรกลางบริหารงานบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบด้วย

ข้อ ๔๑ ให้กระทรวง ทบวง กรมเจ้าสังกัด จัดทำสัญญาผูกมัดข้าราชการที่ไปปฏิบัติงาน

ในองค์การระหว่างประเทศประเภทที่ ๒ ให้กลับมารับราชการในส่วนราชการเป็นเวลาหนึ่งเท่า
ของระยะเวลาที่ไปปฏิบัติงาน ข้าราชการผู้ใดไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศแล้ว
ไม่กลับมารับราชการ หรือกลับมารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ชดใช้เงินเบี้ยปรับแก่
ทางราชการดังนี้ (๑) ไม่กลับเข้ารับราชการเลย ให้ชดใช้เป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือนเดือน
สุดท้ายที่ได้รับ คูณด้วยระยะเวลาที่ลาไปปฏิบัติงานที่คิดเป็นเดือน เศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวัน
ให้คิดเป็นหนึ่งเดือน (๒) กลับมาเข้ารับราชการไม่ครบกำหนดตามสัญญา ให้ชดใช้เบี้ยปรับตาม (๑)
ลดลงตามส่วนการทำสัญญาตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
เมื่อจัดทำแล้วให้ส่งให้กระทรวงการคลัง และสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแห่งละ ๑ ชุดด้วย

ข้อ (๔๒) ข้าราชการที่ไปปฏิบัติงานในองค์ระหว่างประเทศ เมื่อปฏิบัติงานแล้ว
เสร็จให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายในสิบวัน นับแต่วันถัดจากวันเสร็จสิ้นการปฏิบัติงาน
และให้รายงานผลการไปปฏิบัติงานให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ ภายในสามสิบวัน นับแต่วันกลับ
มาปฏิบัติหน้าที่ราชการ
การรายงานผลการไปปฏิบัติงานตามวรรคหนึ่ง ให้ใช้แบบรายงานการไปปฏิบัติงาน
ในองค์การระหว่างประเทศ ตามที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้

ส่วนที่ ๙การลาติดตามคู่สมรส
--------------------------
ข้อ ๔๓ ข้าราชการซึ่งประสงค์ติดตามคู่สมรส ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับ
บัญชาตามลำดับจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาอนุญาต
ให้ลาได้ไม่เกินสองปี และในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาได้อีกสองปี แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน
สี่ปี ถ้าเกินสี่ปี ให้ลาออกจากราชการสำหรับปลัดกระทรวงสำหรับปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถาน
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อ

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุญาต

ข้อ ๔๔ การพิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการติดตามคู่สมรส ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาต
ให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้โดยมิให้เสียหายแก่ราชการ แต่เมื่อรวมแล้วจะต้องไม่เกินระยะ
เวลาตามที่กำหนดในข้อ ๔๓ ละจะต้องเป็นกรณีที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงาน
ในต่างประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันไม่ว่าจะอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในประเทศเดียว
กันหรือไม่ข้อ ๔๕ ข้าราชการที่ได้ลาติดตามคู่สมรสครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ ๔๓ ในช่วง
เวลาที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศติดต่อกันคราวหนึ่งแล้ว ไม่มี
สิทธิขอลาติดตามคู่สมรสอีก ว้นแต่คู่สมรสจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานประจำ
ในประเทศไทยแล้วต่อมาได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไปปฏิบัติงานในต่างประเทศอีก
ในช่วงเวลาใหม่จึงจะมีสิทธิของลาติดตามคู่สมรสตามข้อ ๔๓ ได้ใหม่

หมวด ๓
การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม
----------------------------
ข้อ ๔๖ การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน
หมวดนี้ เว้นแต่กรณีที่ไม่มีกำหนดไว้ให้เป็นไปตามที่กำหนดในหมวด ๑ และหมวด ๒

ข้อ ๔๗ การลาทุกประเภท การลาหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษและการไป
ต่างประเทศของประธานศาลฎีกาให้อยู่ในดุลพินิจของประธานศาลฎีกาและแจ้งให้คณะกรรมการ
ตุลาการทราบ ทั้งนี้ ให้เลาขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งให้กระทรวงยุติธรรมทราบด้วย

ข้อ ๔๘ การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ การไปต่างประเทศและการลา
ทุกประเภทนอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ของอธิบดี ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
และอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค อธิบดีผู้พิพากษาศาลชั้นต้น อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลาง
อธิบดีผู้พิพากษาภาค ให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการตุลาการเป็นผ็พิจารณาอนุญาตและ
แจ้งให้คณะกรรมการตุลาการทราบ ทั้งนี้ ให้เลขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งให้กระทรวงยุติธรรม
ทราบด้วย

ข้อ ๔๙ การหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษ การไปต่างประเทศและการลาทุกประเภทนอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะ
ยุติธรรม ให้เป็นไปตามตาราง หมายเลข ๖ เว้นแต่กรณีตามข้อ ๕๐ และข้อ ๕๑

ข้อ ๕๐ การลาทุกประเภทและการหยุดราชการเพราะพฤติการณ์พิเศษของข้าราชการ
ตุลาการที่ไปทำงานตำแหน่งข้าราชการธุรการหรือตำแหน่งการเมืองในกระทรวงยุติธรรมรวมทั้ง
ผู้ช่วยพิพากษาที่มิได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในศาล ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาอนุญาต


ข้อ ๕๑ ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมผู้ประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การ
ระหว่างประเทศ ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมที่จะพิจารณาอนุญาตโดยความ
เห็นชอบของคณะกรรมตุลาการข้อ


๕๒ การขออนุญาตไปต่างประเทศซึ่งอยู่ติดเขตแดนประเทศไทย ให้ผู้พิพากษาหัวหน้า
ศาลในท้องที่ที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศใด มีอำนาจให้ผู้พิพากษา ผู้ช่วยผู้พิพากษา ดะโต๊ะ
ยุติธรรมที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในศาลนั้นๆ ไปประเทศดังกล่าวได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน ๗ วัน
หมวด ๔การลาของข้าราชการเมือง และข้าราชการเมืองกรุงเทพมหานคร
---------------------------
ข้อ ๕๓ การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในดุลพินิจ
ของนายกรับมนตรี และแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ

ข้อ ๕๔ การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของข้าราชการเมือง ให้เป็น
อำนาจของนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล หรือในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัด รองนายกรัฐมนตรี
หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต

ข้อ ๕๕ การลาทุกประเภทและการลาไปต่างประเทศของข้าราชการเมืองกรุงเทพ
มหานครให้เป็นอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภากรุงเทพมหานคร แล้วแต่
กรณี เป็นผู้พิจารณาอนุญาต


ประกาศ ณ วันที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๕



อานันท์ ปันยารชุน
นายกรัฐมนตรี

ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539
----------------------
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ.2535 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (8)
แห่งพระราชบัญญัติรพะเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 นายกรัฐมนตรี
โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จึงวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2539
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เป็นต่อไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกความในข้อ 18 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 18 ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาคลอดบุตร ให้เสนอหรือ
จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันที่ลา เว้นแต่
ไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว และมีสิทธิลาคลอดบุตรโดยได้รับเงินเดือนครั้งหนึ่งได้
การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด ก่อนหรือหลังวันที่คลอดบุตร
ก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน
ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ลาคลอดบุตรและได้หยุดราชการไปแล้ว
แต่ไม่ได้คลอดบุตรตามกำหนด หากประสงค์จะถอนวันลาคลอดบุตรที่หยุดไป ให้ผู้มี











อำนาจอนุญาต อนุญาตให้ถอนวันลาคลอดบุตรได้ โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้ว
เป็นวันลากิจส่วนตัว
การลาคลอดบุตรคาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดซึ่งไม่ครบกำหนด
วันลาของการลาประเถทนั้น ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลง และให้นับเป็นการลา
คลอดบุตรตั้งแต่วันเริ่มวันลาคลอดบุตร
ข้อ 4 ให้ยกเลิกความในข้อ 20 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ.2535
ข้อ 5 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 21 ข้าราชการมีสิทธิลากิจส่วนตัว โดยได้รับเงินเดือนปีละ
ไม่เกิน 45 วันทำการ
ข้อ 6 ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ. 2535 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
ข้อ 22 ข้าราชการที่ลาคลอดบุตรตามข้อ 18 แล้ว หากประสงค์
จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน
150 วันทำการ โดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
ข้อ 7 ให้ยกเลิกความในข้อ 23 แห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ
พ.ศ.2535 และให้ใช้ความต่อไปนื้แทน
ข้อ 23 ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว เว้นแต่กรณีการลากิจส่วนตัว
เพื่อเลี้ยงดูบุตรตามข้อ 22 ซึ่งได้หยุดราชการไปยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็น
เกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาหรือผู้มีอำนาจอนุญาตจะเรียกตัวมาปฏิบัติราชการก็ได้

ประกาศ ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2539
(ลงชื่อ) บรรหาร ศิลปอาชา
(นายบรรหาร ศิลปอาชา)
นายกรัฐมนตรี

ไม่มีความคิดเห็น: