วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เน้น พรบ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ.๒๔๐๓

ให้เน้นมาตรา ๓ คำจำกัดความ ขนาดสวน มาตรา ๕มาตรา ๘ มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๘ มาตรา ๑๙ ตรงที่เน้น(เน้นสีเขียว) พรบ.ฉบับนี้มันหม้อข้าว หรือเครื่องมือยังชีพของทุกคนอยู่แล้วไม่น่าจะเอามะพร้าวมาขายสวนเลยนะขอรับ เจ้านายยยยยย

พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพ.ศ. 2503 แก้ไขโดย พ.ร.บ. พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530


-----------------------
ในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชสังวาลย์ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้ไว้ ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2503เป็นปีที่ 15 ในรัชกาลปัจจุบัน
โดยที่เป็นการสมควรจัดให้มีกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง เพื่อช่วยเหลือเจ้าของสวนยางปรับปรุงสวนยางให้ดีขึ้นพระมหากษัตริย์โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา จึงมีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503"
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไปมาตรา 3 ในพระราชบัญญัตินี้
"ต้นยาง" หมายความว่า ต้นยางพารา (HEVEA SPP)
"ยางพันธุ์ดี" หมายความว่า ต้นยางพันธุ์ที่ให้ผลดีตามที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำแนะนำของกรมกสิกรรม
"สวนยาง" หมายความว่า ที่ดินปลูกต้นยางเนื้อที่ไม่น้อยกว่าสองไร่ แต่ละไร่มีต้นยางปลูกไม่น้อยกว่าสิบต้น และโดยส่วนเฉลี่ยไม่น้อยกว่าไร่ละยี่สิบห้าต้น
"สวนขนาดเล็ก" หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่ไม่เกินห้าสิบไร่

"สวนขนาดกลาง" หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่เกินห้าสิบไร่ แต่ไม่ถึงสองร้อยห้าสิบไร่

"สวนขนาดใหญ่" หมายความว่า สวนยางที่มีเนื้อที่ตั้งแต่สองร้อยห้าสิบไร่ขึ้นไป

"เจ้าของสวนยาง" หมายความว่า ผู้ทำสวนยางและมีสิทธิได้รับผลิตผลจากต้นยางในสวนยางที่ทำนั้น
"ยาง" หมายความว่า น้ำยาง ยางแผ่น ยางเครพ ยางก้อน เศษยาง หรือยางในลักษณะอื่นใดอันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใด ๆ ของต้นยาง แต่ไม่รวมถึงวัตถุประดิษฐ์จากยาง
"การปลูกแทน" หมายความว่า การปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ตามที่คณะกรรมการกำหนดแทนต้นยางเก่าหรือไม้ยืนต้นเก่า ทั้งหมดหรือบางส่วน"ปีสงเคราะห์" หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีหนึ่ง ถึง วันที่ 30 กันยายน ของปีถัดไป และให้ใช้ปี พ.ศ. ที่ถัดไปเป็นชื่อสำหรับปีสงเคราะห์นั้น
"เจ้าพนักงานสงเคราะห์" หมายความว่า บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานสงเคราะห์"คณะกรรมการ" หมายความว่า คณะกรรมการสงเคราะห์การทำสวนยาง
"ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
"รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้[ มาตรานี้ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505 และมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518 ]
มาตรา 4 ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง ประกอบด้วยเงินสงเคราะห์ซึ่งส่งสมทบตามพระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า "กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง" เพื่อเป็นทุนใช้จ่ายในการทำสวนยางที่ได้ผลน้อยให้ได้ผลดียิ่งขึ้นให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเป็นนิติบุคคล มีวัตถุประสงค์ เพื่อดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจกระทำการใด ๆ ที่จำเป็น หรือเป็นอุปกรณ์แก่วัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นได้ รวมทั้งการทำสวนยางและสวนไม้ยืนต้น ตลอดจนกิจการที่เกี่ยวข้อง เป็นการสาธิต และส่งเสริม เพื่อประโยชน์ในการสงเคราะห์ กับให้รวมตลอดถึง การดำเนินการส่งเสริม หรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่น ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจตามที่รัฐมอบหมายให้กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางมีสำนักงานแห่งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เรียกว่า " สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง "[มาตรานี้ ได้แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518]
มาตรา 4 ทวิ ในการดำเนินการส่งเสริม หรือสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นตามมาตรา 4 ให้ใช้เงินทุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล หรือจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2518]
มาตรา 5 บุคคลใดส่งยางออกนอกราชอาณาจักรต้องเสียงเงินสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเงินสงเคราะห์ที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำหรับการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ จะต้องได้ รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อนในการกำหนดอัตราเงินสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่ง ให้นำจำนวนเงินสงเคราะห์ ที่กองทุนสงเคราะการทำสวนยาง ต้องจ่ายเพื่อการสงเคราะห์ในแต่ละปี และอัตราอากรขาออก ตามกฏหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ที่เรียกเก็บจากการส่งยางออกนอกราชอาณาจักร มาเป็นหลักในการพิจารณาด้วย โดยถือ อัตราต่อน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัมเป็นเกณฑ์การคำนวณจำนวนเงินสงเคราะห์ที่บุคคลตามวรรคหนึ่งต้องเสีย ถ้าเศษของน้ำหนักยางเกินครึ่งกิโลกรัม ให้คิดเงินสงเคราะห์เท่ากับน้ำหนักยางหนึ่งกิโลกรัม ถ้าเศษของน้ำหนักยางไม่ถึงครึ่งกิโลกรัม ให้ถือเป็นน้ำหนักที่ไม่ต้องนำมาคำนวณสำหรับยางที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร เพื่อเป็นตัวอย่างซึ่งมีน้ำหนักไม่เกินห้ากิโลกรัม หรือยางที่กระทรวง ทบวง กรม เป็นผู้ส่งออกเพื่อเป็นประโยชน์ใด ๆ อันมิใช่เพื่อการค้า ไม่ว่าจะมีน้ำหนักเท่าใด ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียเงินสงเคราะห์[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้งดการเรียกเก็บเงินสงเคราะห์ จากบุคคลผู้ส่งออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งต้องเสียตามมาตรา 5 ได้ โดยกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ จะงดเว้นการเรียกเก็บสำหรับยางทุกชนิดหรือเฉพาะบางชนิดก็ได้
มาตรา 7 เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 ให้ส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และให้ใช้จ่ายในกิจการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้โดยเฉพาะ
มาตรา 8 ผู้จะได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องเป็นเจ้าของสวนยาง ที่มีต้นยางอายุกว่ายี่สิบห้าปีขึ้นไป หรือต้นยางทรุดโทรมเสียหาย หรือต้นยางที่ได้ผลน้อยการสงเคราะห์ต้องจัดทำด้วยการปลูกแทน และจะสงเคราะห์ประการอื่นเพื่อประโยชน์ในการปลูกแทน โดยจ่ายให้แก่เจ้าของสวนยางซึ่งยางพันธุ์ดี พันธุ์ไม้ยืนต้น พันธุ์พืช ปุ๋ย เครื่องมือ เครื่องใช้ จัดบริการอย่างอื่นช่วยเหลือหรือจ่ายเงินให้ก็ได้ ทั้งนี้ จะจัดให้อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้
มาตรา 9 ให้มีคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางคณะหนึ่ง เรียกโดยย่อว่า " ก.ส.ย." ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนายการสำนักงบประมาณ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร อธิบดีกรมศุลกากร ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เป็นกรรมการ และกรรมการอื่นอีกไม่เกินหกคน ซี่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากเจ้าของสวนยางสี่คนและบุคคลอื่นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการยางสองคนให้ผู้อำนวยการเป็นกรรมการและเลขานุการ[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 10 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละสองปีในกรณีที่กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ หรือในกรณีที่ คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการเพิ่มขึ้น ในระหว่างที่ กรรมการซึ่งแต่งตั้งไว้แล้ว ยังมีวาระอยู่ในตำแหน่ง ให้ผู้ได้รับแต่งตั้ง ให้ดำรงตำแหน่งแทน หรือเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่ง เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการ ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้วเมื่อครบกำหนดตามวาระดังกล่าวในวรรคหนึ่ง หากยังมิได้มีการแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ ให้กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นอยู่ในตำแหน่งเพื่อดำเนินงานต่อไป จนกว่ากรรมการซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 11 นอกจากพ้นจากตำแหน่งตามวาระตามมาตรา 10 กรรมการซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง เมื่อ(1) ตาย(2) ลาออก(3) คณะรัฐมนตรีมีมติให้ออก(4) เป็นบุคคลล้มละลาย(5) เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ(6) ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ(7) พ้นจากการเป็นเจ้าของสวนยาง หรือเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการยาง[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 12 การประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด จึงจะเป็นองค์ประชุม ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานกรรมการ เป็นประธานในที่ประชุม ถ้าประธานกรรมการและรองประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]มาตรา 13 ให้คณะกรรมการมีอำนาจและหน้าที่ควบคุมดูแลทั่วไปซึ่งกิจการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และโดยเฉพาะให้มีอำนาจและหน้าที่ดังต่อไปนี้ คือ(1) ดำเนินกิจการสงเคราะห์การทำสวนยาง(2) วางข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการบริหารงานหรือการเงิน เพื่อดำเนินการสงเคราะห์การทำสวนยาง (3) วางข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุ การแต่งตั้ง การถอดถอน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การตัดเงินเดือน การลดขั้นเงินเดือน วินัยของพนักงาน ตลอดจนกำหนดอัตรา ตำแหน่ง เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าพาหนะ เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้านหรือที่พัก ค่าทดแทน และเงินที่ควรจะจ่ายอย่างอื่น(4) วางข้อบังคับว่าด้วยเครื่องแบบพนักงานคณะกรรมการจะมอบอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างให้ผู้อำนวยการดำเนินการก็ได้ โดยกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือระเบียบตาม (2)[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 14 ให้ประธานกรรมการ กรรมการ และเลขานุการคณะกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 15 ให้คณะกรรมการเป็นผู้แต่งตั้ง ถอดถอน และกำหนดอัตราเงินเดือนของผู้อำนวยการด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีให้ผู้อำนวยการได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่นที่พนักงานของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพึงได้รับด้วย[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 16 ให้ ผู้อำนวยการ มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการ ให้เป็นไปตามมติของกรรมการ และให้มีอำนาจบังคับบัญชา พนักงานทุกตำแหน่ง ในเมื่อผู้อำนวยการ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้คณะกรรมการแต่งตั้งผู้รักษาการแทน ให้ผู้รักษาการแทนผู้อำนวยการมีอำนาจและหน้าที่อย่างเดียวกับผู้อำนวยการ เว้นแต่อำนาจ และหน้าที่ของผู้อำนวยการ ในฐานะกรรมการ
มาตรา 17 ในกิจการเกี่ยวแก่บุคคลภายนอก ให้ผู้อำนวยการเป็นตัวแทนของกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเพื่อการนี้ ผู้อำนวยการจะมอบให้บุคคลใด ๆ ปฏิบัติการบางอย่างแทนด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการก็ได้
มาตรา 18 ทุก ๆ ปีสงเคราะห์ ให้คณะกรรมการจัดสรรเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 ดังต่อไปนี้(1) จำนวนไม่เกินร้อยละห้า เป็นค่าใช้จ่าย ในการดำเนินงานค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับกิจการยาง ในอันที่จะป็นประโยชน์แก่เจ้าของสวนยางโดยเฉพาะ มอบไว้แก่กรมวิชาการเกษตรเป็นงวด ๆ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรีกำหนด เงินที่กรมวิชาการเกษตรได้รับนี้ มิให้ถือว่าเป็นรายรับตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ(2) จำนวนไม่เกินร้อยละสิบ เป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางของสำนักงานกองทุนสงเเคราะห์การทำสวนยาง หากเงินจำนวนที่ตั้งไว้นี้ไม่พอจ่ายในงานต่าง ๆ ดังกล่าว ให้รัฐบาลตั้งรายจ่ายเพิ่มเติมในงบประมาณประจำปีตามความจำเป็น(3) จำนวนเงินนอกจาก (1) และ (2) เป็นเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามพระราชบัญญัตินี้ทั้งสิ้น และจะจ่ายเพื่อการอื่นใดมิได้เงินอันเป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 ถ้าหากมี ให้คณะกรรมการจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์การทำสวนยางเพิ่มขึ้นจากที่จัดสรรไว้ตาม (2) เท่าจำนวนที่เห็นว่าจำเป็น ส่วนจำนวนเงินที่เหลือถ้าหากมี ให้จ่ายสมทบเงินที่จัดสรรไว้ เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยาง ในปีสงเคราะห์ถัดไปเงินที่จัดสรรไว้เพื่อการสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (3) หากมีเหลือจ่ายในปีสงเคราะห์ใด ให้นำเงินที่เหลือจ่ายไปสมทบเงินที่จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตาม (3) ในปีสงเคราะห์ถัดไป[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505 และ มาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]มาตรา 19 เงินสงเคราะห์ที่ได้จัดสรรไว้เพื่อสงเคราะห์เจ้าของสวนยางตามมาตรา 18 (3) นั้น แต่ละปี ให้แบ่งส่วนสงเคราะห์ เจ้าของสวนยางตามประเภทของสวนยาง ดังต่อไปนี้ประเภทสวนขนาดใหญ่ ร้อยละสิบประเภทสวนขนาดกลาง ร้อยละยี่สิบประเภทสวนขนาดเล็ก ร้อยละเจ็ดสิบแต่ถ้าสวนประเภทหนึ่งมีผู้ได้รับการสงเคราะห์น้อยกว่าส่วนที่กำหนด ให้คณะกรรมการ มีอำนาจพิจารณานำส่วนที่เหลือ ไปเพิ่มให้แก่สวนประเภทอื่นได้ ในกรณีเช่นว่านี้มิให้นำอัตราส่วนเงินสงเคราะห์ที่กำหนดไว้ข้างต้นมาใช้บังคับเจ้าของสวนยางประเภทเดียวกันอาจได้รับการสงเคราะห์มากน้อยกว่ากัน หรืออาจได้รับการสงเคราะห์ก่อนหลังกัน หรืออาจไม่ได้รับการสงเคราะห์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการจัดสรรตามกำลังเงินสงเคราะห์ที่จัดสรรไว้ และโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะพึงได้จากการเพิ่มปริมาณผลจากต้นยางเป็นส่วนรวมการที่เจ้าของสวนยางรายใดไม่ได้รับการสงเคราะห์ตามวรรคก่อน ย่อมไม่เป็นเหตุ ให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับ การสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไปมาตรา 20 เจ้าของสวนยางผู้ใดประสงค์จะขอรับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ ประจำท้องที่ที่สวนยางนั้นตั้งอยู่ ตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นผู้ทำสวนยาง ในที่ดินที่ตนเช่า หรืออาศัยบุคคลอื่น ผู้ขอรับการสงเคราะห์ ต้องแสดงต่อเจ้าพนักงานสงเคราะห์ ให้เป็นที่พอใจด้วยว่า ผู้ให้เช่า หรือผู้ให้อาศัยได้ให้ความยินยอม ในการที่ตนขอรับการสงเคราะห์ด้วยแล้วเพื่อประโยชน์ในการสำรวจตรวจสอบของคณะกรรมการในการพิจารณาให้การสงเคราะห์ ผู้รับการสงเคราะห์ต้องอำนวยความสะดวก และปฏิบัติการตามคำสั่งของคณะกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามความจำเป็น
มาตรา 21 เจ้าของสวนยาง ซึ่งมีสวนยางแปลงเดียว มีเนื้อที่ไม่เกินสิบห้าไร่ หรือหลายแปลง มีเนื้อที่รวมกัน ไม่เกินสิบห้าไร่ จะขอรับการสงเคราะห์ ด้วยการสร้างสวนยางพันธุ์ดี ในที่ดินแปลงใหม่ ซึ่งที่ดินแปลงนั้น มีเนื้อที่ตั้งแต่ สิบห้าไร่ขึ้นไป แทนการปลูกแทนในที่ดินสวนยางเดิมก็ได้ แต่จะได้รับการสงเคราะห์เพียงเท่าที่จะได้รับ สำหรับสวนยางที่มีอยู่เดิมเท่านั้น[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505]
มาตรา 21 ทวิ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริม ให้มีการทำสวนยางพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ผู้ซึ่ง ไม่มีสวนยางมาก่อน และมีที่ดินเป็นของตนเอง ไม่น้อยกว่าสองไร่ มีความประสงค์จะขอรับ การสงเคราะห์ในการทำสวนยาง ให้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ต่อสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตามแบบและวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวงในการดำเนินการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งให้ใช้เงินอุดหนุนหรือเงินจากงบประมาณประจำปีหรือเงินกู้ที่รัฐบาลจัดให้ให้คณะกรรมการมีอำนาจจัดสรรเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งได้รายละไม่เกินสิบห้าไร่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้นำความในมาตรา 22 และมาตรา 23 มาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามมาตรานี้โดยอนุโลมในกรณีที่ผู้ขอรับการสงเคราะห์ตามวรรคหนึ่งไม่ได้รับการสงเคราะห์ ย่อมไม่เป็นเหตุให้เสียสิทธิในการที่จะได้รับการสงเคราะห์ในปีต่อ ๆ ไป[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2530]
มาตรา 22 เจ้าของสวนยางผู้ได้รับการสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎกระทรวง ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งของคณะกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งการตามพระราชบัญญัตินี้ คณะกรรมการ มีอำนาจสั่งให้ระงับ การสงเคราะห์เสียได้
มาตรา 23 เงินสงเคราะห์ที่เจ้าของสวนยางได้รับสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ได้รับยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีอากรและค่าธรรมเนียมใด ๆ
มาตรา 24 เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และบุคคลที่ได้รับมอบหมายเป็นหนังสือจากคณะกรรมการ มีอำนาจดังต่อไปนี้(1) เข้าไปในสวนยางที่เจ้าของสวนยางขอรับการสงเคราะห์ และที่ดินต่อเนื่องกับสวนยางนั้น เพื่อทำการสำรวจตรวจสอบและรังวัด(2) มีหนังสือเรียกเจ้าของสวนยางผู้ขอรับการสงเคราะห์ และบุคคลใด ๆ ที่มีเหตุควรเชื่อว่าอาจให้ข้อเท็จจริงใด ๆ เกี่ยวแก่การที่จะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้มาให้ถ้อยคำ(3) มีหนังสือเรียกให้บุคคลดังกล่าวใน (2) ส่งหรือแสดงเอกสารใด ๆ อันมีเหตุควรเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์แก่การปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 25 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีสงเคราะห์ทุกปี ให้คณะกรรมการจัดทำงบดุลแสดงฐานะการเงิน โดยมีคำรับรองการตรวจสอบของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและทำรายงานแสดงผลการปฏิบัติงานเสนอต่อรัฐมนตรีให้รัฐมนตรีจัดให้มีการประกาศงบดุล และรายงานดังกล่าวในวรรคก่อนในราชกิจจานุเบกษาโดยมิชักช้า[มาตรานี้ แก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ. กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2505]
มาตรา 26 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่เสียเงินสงเคราะห์ตาม มาตรา 5 หรือเพื่อเสียเงินสงเคราะห์น้อยกว่าที่ควรเสีย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินสิบเท่า ของเงินสงเคราะห์ที่ยังต้องชำระ แต่ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับเงินค่าปรับตามมาตรานี้ให้ถือว่าเป็นเงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ตามมาตรา 5 และให้นำส่งสมทบกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง
มาตรา 27 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่ให้ความสะดวกแก่กรรมการ เจ้าพนักงานสงเคราะห์หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการในการปฏิบัติการตามมาตรา 24 (1) หรือไม่ปฏิบัติตามหนังสือเรียกซึ่งบุคคลดังกล่าวได้เรียกตามมาตรา 24 (2) หรือ (3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบวัน หรือปรับไม่เกินห้าร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 28 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจแต่งตั้ง เจ้าพนักงานสงเคราะห์ และออกกฎหมายกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.บ. พ.ศ. 2503 และ พ.ร.บ. พ.ศ. 2505
จอมพล ส. ธนะรัชต์นายกรัฐมนตรี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.บ. พ.ศ. 2518
สัญญา ธรรมศักดิ์นายกรัฐมนตรี
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พ.ร.บ. พ.ศ. 2530
พลเอก ป. ติณสูลานนท์นายกรัฐมนตรี


หมายเหตุ
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับ พ.ศ. 2503 คือ โดยที่สวนยางในประเทศไทย ส่วนมากเป็นสวนเก่า และเป็นยางที่มิใช่ยาง พันธุ์ดี เป็นเหตุให้การผลิตยาง ไม่ได้ผลตามที่ควรจะได้ และโดยที่การแก้ไข สภาพที่เป็นอยู่ดังกล่าวให้ดีขึ้น ต้องกระทำด้วยการปลูกยางพันธุ์ดี แทนยางเก่า จึงสมควรให้มีกฎหมาย จัดตั้งกองทุนขึ้นเพื่อใช้จ่ายในการนี้เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2505 คือ เพื่อให้มีบทบัญญัติ ให้คณะกรรมการ สงเคราะห์การทำสวนยาง มีอำนาจนำเงินที่เป็นดอกผลของเงินสงเคราะห์ ถ้าหากมีมาใช้จ่าย ในการบริหารงาน สงเคราะห์การทำสวนยาง และสงเคราะห์ผู้ทำสวนยางได้ตามความเหมาะสม และแก้บทบัญญัติ ให้เจ้าของสวนยางสขนาดเล็ก มีโอกาสได้รับการสงเคราะห์การทำสวนยาง ในที่ดินแปลงใหม่ได้ มากยิ่งขึ้นเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 3 พ.ศ. 2518 คือ เนื่องจากไม้ยืนต้นบางชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน และไม้ผลต่าง ๆ เป็นพืชทางเศรษฐกิจ สมควรจะได้ดำเนินการส่งเสริม หรือสงเคราะห์ให้มีการปลูกแทน ต้นเก่าที่ให้ผลน้อย เพื่อให้ได้ผลยิ่งขี้น เช่นเดียวกับต้นยางพารา จึงจำเป็นต้อง ขยายวัตถุประสงค์ของ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ให้สามารถให้ การสงเคราะห์การปลูกแทน สวนไม้ยืนต้นได้ด้วย โดยใช้เงินทุน ค่าใช้จ่ายในการให้การสงเคราะห์ จากรัฐบาลหรือ จากกองทุนสงเคราะห์ เกษตรกร จึงจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับที่ 4 พ.ศ. 2530 คือ เนื่องจากบทบัญญัติ แห่งพระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ในส่วนที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราเงินสงเคราะห์ ในการจัดเก็บเงินสงเคราะห์ จากผู้ส่งยางออกนอกราชอาณาจักร ยังไม่เหมาะสม กับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน สมควรกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดเก็บ เงินสงเคราะห์ ตลอดจน อัตราเงินสงเคราะห์เสียใหม่ โดยกำหนดให้ อัตราการจัดเก็บเงินสงเคราะห์สัมพันธ์กับ ระดับอัตราการจ่ายเงินสงเคราะห์ และอัตราอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร เพื่อให้เงินสงเคราะห์ที่เก็บได้ มีอัตราคงที่แน่นอน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อ การจัดทำแผนการเงิน เพื่อให้การสงเคราะห์แก่เจ้าของสวนยาง ได้แน่นอนยิ่งขึ้น และเพื่อให้อัตราการจัดเก็บ เงินสงเคราะห์ และอัตราอากรขาออก รวมกันแล้ว สามารถแข่งขันกับประเทศ เพื่อนบ้านได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ในด้านการป้องกัน การลักลอบส่งยางออกนอกประเทศ และยังสอดคล้องกับนโยบาย ทางด้านการเงิน ของประเทศ และนอกจากนี้ สมควรแก้ไของค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ตลอดจน วาระการดำรงตำแหน่ง ของกรรมการ กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง เพื่อให้การบริหารงาน ของสำนักงาน กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้ง สมควรกำหนดอัตรา การจัดสรรเงินสงเคราะห์เสียใหม่ เพื่อให้เพียงพอกับการที่จะนำไปใช้จ่ายในการบริหารงานการสงเคราะห์ และเพื่อจะได้ผู้มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ให้ได้รับการสงเคราะห์ปลูกยางพันธุ์ดี รายย่อย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2518มีบทบัญญัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะดังนี้
มาตรา 6 การให้การสงเคราะห์การปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นแทนในสวนไม้ยืนต้นเก่าให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2530มีบทบัญญัติเพิ่มเติมโดยเฉพาะดังนี้
มาตรา 9 ในระหว่างที่ยังมิได้ประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเสียงเงินสงเคราะห์ และอัตราเงินสงเคราะห์ มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง พ.ศ. 2503 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้การเสียเงินสงเคราะห์และอัตราเงินสงเคราะห์เป็นไปตามกฎกระทรวง และประกาศที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา 10 ให้คณะกรรมการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา อยู่ในตำแหน่งต่อไป จนกว่าจะตั้งคณะกรรมการ ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งอย่างช้าต้อง ไม่เกินเก้าสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

ไม่มีความคิดเห็น: