วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ตัวอย่างคำถามวิชาการเรื่องยาง

ตัวอย่างคำถามเกี่ยวกับยางพาราและเกษตรทั่วไป

ข้อ1. พื้นที่ที่สามารถปลูกยางได้ถึงระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกินเท่าไร..(600 เมตร)
ข้อ2.พื้นที่ที่สามารถปลูกยางควรมีความลาดเทไม่เกิน..........(35 องศา)
ข้อ3.อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยางพาราเฉลี่ยตลอดปีเท่าไร......... (28 องศาเซลเซียส)
ข้อ4. ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยางพาราหน้าดินควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า...... (1เมตร)
ข้อ 5. ช่วง pH ดินที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยางพาราเป็น เท่าไร...........(4.0-5.5)
ข้อ 6. ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราในพื้นที่ราบสำหรับเขตปลูกยางใหม่เป็นเท่าไร และปลูกได้กี่ต้นต่อไร่.....(3 คูณ 7 เมตร 76ต้น ต่อไร่)
ข้อ7.ระยะปลูกที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราในพื้นที่ลาดเทเป็นเท่าไร......(3 คูณ 8 เมตร,67 ต้นต่อไร่)
ข้อ8.ปุ๋ยบำรุงสำหรับดินทุกชนิดในแหล่งปลูกยางเดิมคือสูตรใด............(20-8-20)
ข้อ 9.ปุ๋ยบำรุงสำหรับดินทุกชนิดในแหล่งปลูกยางเดิมคือสูตรใด.........(20-10-12)
ข้อ 10.ปุ๋ยบำรุงสำหรับต้นยางเปิดกรีดคือสูตรใด..........(30-5-18)
ข้อ11.ระบบการกรีดยาง 1/3S d/2 หมายถึง ...........(กรีดหนึ่งในสามของลำต้น วันเว้นวัน)
ข้อ 12.เปิดกรีดยางที่ระดับความสูงเท่าไรจากพื้นดิน.........(150 เซนติเมตร)
ข้อ 13. ความลาดชันของรอยกรีดควรทำมุมเท่าไรกับแนวระดับ.........(30 เซนติเมตร)
ข้อ 14. มีดที่ใช้สำหรับการกรีดยางมีชื่อว่า...............(มีดเจ๊ะบง)
ข้อ 15. การติดรางรองน้ำยาง ห่างจากรอยกรีดด้านหน้าลงมาระยะเท่าไร........(30 เซนติเมตร)
ข้อ 16. พันธุ์ยางชั้นที่ให้ผลผลิตเนื้อยางสูงคือ...........(สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 266,BPM 24 และพันธุ์ RRIM6000)
ข้อ 17. พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อยางและเนื้อไม้สูง คือพันธุ์....(PB 235,PB 255,PB 260 และRRIC 110)
ข้อ 18. พันธุ์ยางผลผลิตเนื้อไม้สูง คือพันธุ์..........(พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50, AVROS 2037 และ BPM 1)


คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2550 ซึ่งได้แบ่งพันธุ์ยางออกเป็น 3 กลุ่ม คือ


กลุ่มพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง คัดเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ให้น้ำยางมาก
กลุ่มพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้ คัดเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ให้น้ำยางมาก และเนื้อไม้มาก
กลุ่มพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้ คัดเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ให้เนื้อไม้มาก
โดยในแต่กละกลุ่มก็จะแบ่งพันธุ์ยางออกเป็นชั้น ๆ ได้ แก่
ยางพันธุ์ชั้น 1 หมายถึง พันธุ์ยางที่ปลูกได้โดยไม่จำกัดจำนวนเนื้อที่ปลูก
ยางพันธุ์ชั้น 2 หมายถึง พันธุ์ยางที่ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเนื้อที่ถือครอง และต่ละพันธุ์ ต้องปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
ยางพันธุ์ชั้น 3 หมายถึง พันธุ์ยางที่ปลูกได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเนื้อที่ถือครอง และต่ละพันธุ์ ต้องปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่
คำแนะนำพันธุ์ยาง ปี 2550 ของสถาบันวิจ้ยยาง ในแต่ละกลุ่ม และชั้น ซึ่งจะขอกล่าวเฉพาะ ยางพันธุ์ชั้น 1 มีดังนี้


กลุ่มพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยาง
ยางพันธุ์ชั้น 1 มีจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง 251, สถาบันวิจัยยาง 226, BPM 24 และ RRIM 600

กลุ่มพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตน้ำยางและเนื้อไม้
ยางพันธุ์ชั้น 1 มีจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ PB 235, PB 255 และ PB 260 (พันธุ์ PB 255 และ PB 260 สถาบันวิจัยยาง ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ปลูกยางใหม่)


กลุ่มพันธุ์ยางเพื่อผลผลิตเนื้อไม้
ยางพันธุ์ชั้น 1 มีจำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา 50, AVROS 2037 และ BPM 1


ไม่ได้มีเท่านี้นะขอรับ เรื่อง พืชคลุมดิน ๔ ชนิด ในบล็อก(อนุเว็บ) นี้มีเพียบเชิญ
คลิกหาเอา ส่วนเรื่องตลาดยาง ราคา FOB(Free on Bord) ก็ราคาที่ท่าเรือกรุงเทพ ส่งสินค้าแค่พ้นกราบเรือ ไปศึกษาดู ทั้งแนวทางพัฒนากลุ่ม(เล่มสีเขียว) สหกรณ์ฯ ระเบียบตรวจสวน การเขียนโครงการโดยดูเรื่องค่าอาหาร ค่าตอบแทนวิทยากรภายนอก/ภายในตามระเบียบว่าด้วยการอบรมฯของราชการปี ๒๕๔๙ โอ๊ยสาธยายไม่หมดจริงๆขออภัย๕๕๕๕

ไม่มีความคิดเห็น: