วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552


พ่อบุ่น บุญบำรุง อดีตกำนันแหนบทองคำผู้สานฝันการเป็นเจ้าของสวนยางแปลงแรกของจังหวัดชัยภูมิ




โกศล บุญคง เรื่อง/ภาพ


พ่อบุ่น บุญบำรุง กับผู้เขียนในวันที่พูดคุยรำลึกเรื่องราวในอดีตถึงการปลูกยาง

แว่วเสียงเพลงที่ลำนำว่า “จากอีสานบ้านนามาอยู่กรุงจากแดนทุ่งลุยลาย ชัยภูมิบ้านเดิมถิ่นเกิดกาย บ่ได้หายจากจร.......” จากเสียงร้องของนักร้องลูกทุ่งเย็นจิตร พรเทวีซึ่งเป็นเพลงที่โด่งดังมากในอดีต หลายคนอาจจะยังนึกไม่ออกว่าแล้วบ้านทุ่งลุยลายนี้ ตั้งอยู่ที่ส่วนใหนของประเทศไทยกันแน่ เรามาทำความรู้จักกันเลย บ้านทุ่งลุยลายตั้งอยู่ที่หมู่ ๑ ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เส้นทางที่ออกจากบ้านห้วยยางตำบลห้วยยาง มุ่งตรงไปยังเขื่อนจุฬาภรณ์นั่นเอง เมื่อเดินทางผ่านหมู่บ้านทุ่งลุยลายเลยไปอีกเพียง ๑๒ กิโลเมตรเท่านั้น ก็จะถึงเขื่อนจุฬาภรณ์

ประวัติบ้านทุ่งลุยลาย

ในอดีตบ้านทุ่งลุยลายเป็นผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยความหลากหลายของพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ พ่อพรม บุญบำรุง ผู้ใหญ่บ้านคลองบอน อำเภอคอนสาร ได้เข้ามาบุกเบิกพื้นที่บ้านทุ่งลุยลายเป็นคนแรก พ่อพรมและลูกๆ ได้ก่อสร้างฝายกั้นน้ำ ๖ แห่ง ได้แก่ฝายซำปลากั้ง ห้วยยาง ร่องแว่ ร่องจาน ห้วยเดื่อ และซำปลากั้งน้อยเพื่อทำนาข้าว ช่วงแรกชาวบ้านจะมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงควายให้คนคอนสาร(ไทคอนสาร) เพื่อแบ่งลูกกัน
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๐๖ ผู้คนเริ่มอพยพขึ้นมาอยู่อาศัยมากขึ้นมาจากบ้านคลองบอน บ้านาเกาะ บ้านห้วยยาง บ้านคอนสาร บ้านนาเขิน และบ้านนาอ้อม อีกประมาณ ๒๐ หลังคาเรือน ต่อมาจึงได้มีการตั้งหมู่บ้านขึ้นมีผู้ใหญ่บ้านรักษาการแทน(นายพรม บุญบำรุง) ขึ้นอยู่ภายใต้การปกครองของบ้านด้อแด้ ตำบลห้วยยาง มีการจัดทำทะเบียนบ้านอย่างเป็นทางการ พัฒนาถนนหนทางและปลูกบ้านอยู่อาศัยคนละ ๒ ไร่
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้รับการจัดตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ และมีการสำรวจเพื่อจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่
ปีพ.ศ. ๒๕๐๙ สร้างโรงเรียนประชาบาลทุ่งลุยลาย และวัดทุ่งลุยลาย และในปีนี้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้เข้ามาสำรวจป่าไม้เพื่อให้สัมปทานแก่โรงเลี่อยภูเขียว จึงได้มีการทำถนนเข้าไปตัดไม้บริเวณภูเขาทั้งหมดจนถึงทุ่งกะมัง เมื่อไม้ถูกตัดผู้คนก็อพยพขึ้นมาทำกินมากขึ้นอีก โดยมาจากจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ อุดรธานี นครราชสีมา นครพนม และเพชรบูรณ์
ในปีเดียวกันนี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตได้ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจพื้นที่เพื่อสร้างเขื่อนจุฬาภรณ์ ได้สร้างถนนเพื่อนำเครื่องจักรเข้ามาเริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖
ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ รัฐบาลได้ประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ได้ขับไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่เป็นจำนวนมาก
ปี พ.ศ. ๒๕๑๖ รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติภูซำผักหนาม ครอบคลุมพื้นที่บ้านทุ่งลุยลาย บ้านทุ่งพระ และบ้านห้วยยาง เนื้อที่ประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ ไร่ ได้มีการจับกุม และทำลายทรัพย์สินชาวบ้านจำนวนมาก
ต่อมาได้มีการจัดสรรที่ดินบ้านน้ำทิพย์ บ้านหนองชียงรอด บ้านมอตาเจ๊ก และบ้านหนองหญ้าโก้งให้กับชาวบ้านที่ถูกอพยพ และลูกจ้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจัดที่ดินเป็นพื้นที่ทำกิน ๑๕ ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย ๒ ไร่ ต่อครอบครัว แต่พื้นที่บางส่วนมีชาวบ้านครอบครองอยู่ก่อนแล้วชาวบ้านที่ถูกอพยพไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ จนทำให้ชาวบ้านได้ร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิตติขจร จึงได้มีการยกเลิกคำสั่งอพยพชาวบ้านทุ่งลุยลาย
ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ หลังเหตุการณ์ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ ทหารและเจ้าหน้าที่ป่าไม้ได้อพยพชาวบ้านออกไปยังพื้นที่รองรับ จำนวน ๒ แห่ง คือบ้านน้ำทิพย์ บ้านหนองเชียงรอด ของอำเภอคอนสาร บ้านอ่างทอง บ้านหนองขาม บ้านหนองหญ้าปล้อง บ้านวังขอนแดง บ้านซำจำปา และบ้านซำแดงของอำเภอสีชมพู โดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง โดยการกล่าวหาว่าชาวบ้านเป็นคอมมิวนิสต์ แต่ต่อมารัฐบาลได้มีนโยบายเมืองล้อมป่า จึงได้มีการผ่อนปรนมากขึ้น
ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐได้ใช้วิธีการปลูกป่าไล่ชาวบ้านออกจากพื้นที่ เมื่อต้นไม้โตขึ้นชาวบ้านก็ทำไร่ไม่ได้ ซึ่งเกิดในพื้นที่บริเวณป่าโคกโคกยาง ผาผึ้ง และดงซำเตย
ปี พ.ศ. ๒๕๓๘-๒๕๔๓ กรมป่าไม้ได้เสนอโครงการเตรียมประกาศเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง และได้มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เกิดปัญหาทับซ้อนกับที่ดินทำกินของเกษตรกรในหมู่ ๑ หมู่ ๒ และหมู่ ๖
จากปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ถึงปัจจุบันได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างผู้แทนชาวบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐให้เดินสำรวจแนวเขตป่าให้ชัดเจน แต่การแก้ปัญหายังหาข้อยุติไม่ได้

สิ่งดลใจให้เกิดความฝันในการปลูกยางพารา

ก่อนเริ่มปลูกยางพาราพ่อบุ่น บุญบำรุง ยึดอาชีพทำไร่อ้อย ส่งในโควต้าของโรงงานน้ำตาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ต่อมาได้หันมาปลูกลำไย ลิ้นจี่และเป็นคนแรกที่นำพันธุ์มะขามหวานจากจังหวัดเพชรบูรณ์มาปลูกในบ้านทุ่งลุยลาย ในด้านการเป็นผู้นำ นายบุ่น บำรุง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สองต่อจากนายพรม บุญบำรุงซึ่งเป็นพี่ชาย โดยเป็นผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๖-๒๕๒๑ ต่อจากนั้นได้รับเลือกเป็นกำนันต่อ จนเกษียณเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ต้นกำเนิดแห่งแนวคิดในการปลูกยางพาราเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่ขณะดำรงตำแหน่งกำนันตำบลทุ่งลุยลายนั้น จังหวัดชัยภูมิได้จัดทัศนศึกษาโดยนำคณะกำนันผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน แพทย์ประจำตำบลไปดูงานการบริหารเทศบาลตำบลแสนสุข ซึ่งอยู่ในการบริหารของกำนันเป๊าะ(นายสมชาย คุณปลื้ม) คนดังแห่งภาคตะวันออกนั่นเอง ขณะที่ได้ฟังคำบรรยายจากกำนันเป๊าะ ตอนหนึ่งได้พูดถึงความมั่นคงในการปลูกสร้างพืชยืนต้นว่า “ถ้าพูดถึงการปลูกต้นไม้ทุกชนิด สู้ยางพาราไม่ได้ซักอย่าง อยากได้เงินก็กรีด ขี้เกียจก็หยุด ผลผลิตเก็บไว้นานก็ได้ พ่อค้ายิ่งชอบไม่เสียหายเหมือนไม้ผล” เมื่อกลับจากการดูงานก็คิดอยู่ในใจตลอดมาว่าจะต้องปลูกยางพาราให้ได้
อดีตกำนันบุ่นเล่าต่อว่า ช่วงนั้นช่างสิทธิ์(นายประสิทธิ์ จันทาทูม) ซึ่งเป็นลูกจ้างของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำงานเป็นช่างที่เขื่อนจุฬาภรณ์มาบอกว่าหลานของตนไปรับจ้างกรีดยางอยู่ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี นับว่าโอกาสของการได้ต้นยางมาปลูกได้เปิดทางให้แล้ว ตนจึงได้ไปชวนนายวิไล คำฉันท์ รวมเป็นสามคนเหมารถกระบะไปหาซื้อต้นยางชำถุงที่จังหวัดจันทบุรี ราคาต้นละ ๗.๕๐ บาท ได้ต้นยางมา ๑,๐๐๐ ต้น แบ่งกันสามคนได้คนละ ๓๐๐ กว่าต้น เพื่อได้ทดลองปลูกกันก่อนในปี พ.ศ. ๒๕๒๖











สวนยางแปลงแรก ปลูกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖ จำนวน ๓๐๐ ต้น

การปลูกยางในช่วงแรกนี้จะวางแถวลงตามแนวลาดชันของพื้นที่ด้วยความที่ยังขาดความรู้ในการทำขั้นบันได และเห็นว่าเป็นการสะดวกในการปลูกพืชแซมประเภทข้าวโพด และถั่วแดง ซึ่งก่อนหน้านั้นชาวบ้านแถบนี้ก็ยึดเป็นอาชีพกันอยู่แล้ว ระยะปลูกยางใช้ระยะระหว่างต้น ๓ เมตร ระหว่างแถว ๘ เมตรตามรูปแบบที่สอบถามมาจากจังหวัดจันทบุรี หลังจากปลูกไปแล้วสองปีสังเกตเห็นว่าต้นยางมีการเจริญเติบโตดี ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ จึงเหมารถไปซื้อต้นยางชำถุงมาปลูกเพิ่มอีก ๓,๐๐๐ ต้น ส่วนเพื่อนร่วมเดินทางในคราวแรกไม่ไปด้วยแล้วเพราะต้นยางของนายวิไล คำฉันท์ ปลูกไว้ในที่มีน้ำซับไม่บำรุงรักษาต้นยางตายหมด ส่วนของช่างสิทธิ์ถูกทิ้งให้อยู่ร่วมกับป่าปัจจุบันเหลืออยู่ ๕๐ ต้น อยู่ปากทางเข้าสวนกำนันบุ่นนั้นเองเอาพื้นที่ไปปลูกบ้านและต้นที่เหลือก็มีร่องรอยการกรีดอยู่เช่นกัน
จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๖ วันที่รอคอยก็มาถึงคือต้นยางมีอายุถึง ๘ ปีแล้วได้ขนาดเปิดกรีดเพื่อเอาน้ำยางเสียที พ่อบุ่น บุญบำรุง และลูกๆ ก็ได้เหมารถกระบะเดินทางไปบ้านจันดี อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะสืบทราบมาว่าที่นี่มีอุปกรณ์ในการดรีดยางครบทุกชนิด จึงได้ซื้อถ้วยรับน้ำยางดินเผา ลิ้นยาง ลวดรัดต้นยาง จำนวน ๔,๐๐๐ ชุด มีดกรีดยาง เครื่องรีดยางชนิดรีดลื่นและชนิดรีดดอกอีกอย่างละหนึ่งตัว แต่ด้วยความที่ถ้วยรับน้ำยางดินเผา จำได้ว่าจะต้องวิ่งไปขนถึงสองเที่ยว เมื่อได้อุปกรณ์ในการเปิดกรีดยางครบถ้วนแล้ว ปัญหาใหญ่ที่รออยู่คือไม่มีใครในครอบครัวมีความรู้ความสามารถในการกรีดยางและการทำยางแผ่นเลย จึงได้ว่าจ้างคนกรีดยางมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชจำนวน ๓ คน ซึ่งพ่อบุ่นจำชื่อไม่ได้แล้ว มารับจ้างกรีดยางและพร้อมกันนั้นให้ช่วยสอนลูกๆ ของพ่อบุ่นถึงวีธีการกรีดยางและสูตรในการทำยางแผ่นไปด้วยกัน ยางแผ่นดิบที่ได้ต้องจ้างเหมารถกระบะบรรทุกไปส่งขายที่จังหวัดระยองเพราะในพื้นที่ยังไม่มีแหล่งรับซื้อได้ราคาในช่วงนั้น ๑๗ บาทต่อกิโลกรัม









ภาพแสดง ถ้วยรับน้ำยางดินเผาที่ซื้อจากบ้านจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช



วันที่ได้มารู้จักกับ สกย.


จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๓๖ มีการออกข่าวการปลูกยางพาราของอดีตกำนันนายบุ่น บุญบำรุง แห่งบ้านทุ่งลุยลายเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ ข่าวทราบถึงนายประสาน กถนานนท์ หัวหน้าแผนกพัฒนานิเทศเผยแพร่และประชาสัมพันธ์(ตำแหน่งในขณะนั้น) ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดของแก่น ซึ่งตอนนั้นมีเขตในการดูแลเกษตรกรชาวสวนยางครอบคลุมถึง ๖ จังหวัดรวมถึงจังหวัดชัยภูมิด้วย ได้นำนางจำนูญ ฐิตะฐาน ซึ่งดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในขณะนั้น ไปตรวจเยี่ยม อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ สกย.ได้เริ่มดำเนินการส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกยางพาราในพื้นที่แห่งใหม่ ระยะที่ ๒ เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ในเขตตำบลทุ่งลุยลาย และบ้านทิกแล้ง หมู่ ๖ ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ เป็นต้นมาจนมาสิ้นสุดโครงการรุ่นสุดท้ายในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ พ่อบุ่นมีบทบาทอย่างสูงยิ่งในการชักชวนเกษตรกรให้เข่าร่วมโครงการกับ สกย. จนทำให้พื้นที่ทุ่งลุยลายที่เคยเป็นภูเขาหัวโล้นในหน้าแล้งเพราะปลูกแต่ข้าวโพด อ้อย และถั่วแดง เขียวชอุ่มไปด้วยสวนยางพาราในปัจจุบัน

รางวัลชีวิตและการดำเนินชีวิตในปัจจุบันของพ่อบุ่น


พ่อบุ่น บุญบำรุง เป็นกำนันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จนเกษียณในตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ตั้งใจทำงานในหน้าที่จนได้รับรางวัลกำนันแหนบทองคำเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ปัจจุบันอายุ ๘๑ ปี ๖ เดือน แล้ว ยังมีสายตาดีมากอ่านหนังสือพิมพ์รายวันได้อย่างสบาย โดยฝากรถเร่ที่มาขายของในพื้นที่ซื้อมาให้ งานอื่นก็ไม่ได้ทำมากแล้วเห็นแต่เพียงแต่เก็บเอาแผ่นยางที่ผึ่งแดดแล้ว ขึ้นราวเก็บในโรงอบแผ่นยางก็ยังทำได้ เพียงแต่การได้ยินลดน้อยลงไปต้องคุยให้เสียงดังๆ จึงจะพูดได้เข้าใจกัน การดำเนินชีวิตตอนนี้ ใชัชีวิตอยู่กับยายฮี ภรรยาคู่ร่วมสุขร่วมทุกข์ เพียงสองคนในกระต๊อบกลางสวนใกล้ๆกับโรงเก็บแผ่นยางนั่นเอง ท่านบอกว่าแบ่งสวนยางให้ลูกๆ ไปหมดแล้วเก็บไว้กับตนเองยามชราเพียง ๒๐ ไร่เท่านั้น โดยให้บุตรชายเป็นคนกรีดและแบ่งครึ่งกันกับตนเอง สุขภาพยังแข็งแรงดี ถ้าทราบข่าวว่า สกย. มีกิจกรรมประชุมกับชาวบ้าน ท่านก็จะลงมาสมทบด้วยไม่เคยขาด










พ่อบุ่น กำลังนำยางแผ่นที่ผึ่งแดด จนสะเด็ดน้ำแล้วขึ้นแขวนในโรงอบ


หนังสืออ้างอิง

ขอขอบคุณ นายบุ่น บุญบำรุง บ้านเลขที่ ๑ หมู่ ๑ ตำบลทุ่งลุยลาย อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ๓๖๑๒๐ ผู้ให้ข้อมูล.
ศูนย์นิเวศชุมชนศึกษาและเครือข่ายองค์กรชาวบ้านอนุรักษ์ลุ่มน้ำเซิ้ง,มูลนิธิเกษตรยั่งยืน,“กรณีศึกษาผลกระทบและปัญหาการปลูกยางพาราในพื้นที่ตำบลทุ่งลุยลาย อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ”.[URL] : Http//http://www.sathai.org/. ๒๕๕๒.

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

พืชคลุมดิน Mucuna bracteata












ภาพเมล็ดมูคูนา
และดอกถั่วมูคูนา



Mucuna Bracteata A wild legume Mucuna bracteata collected is drought resistant and shade tolerant. Nitrogen fixing capacity of this was found to be high. It grows fast and covers the field very quickly thus, it suppresses all weeds. The seed rate is 200g for planting in 420 points (1 ha).

The desirable characteristics of Mucuna Bracteata (ลักษณะที่โดดเด่นของถั่วมูคูนา)

►Very vigorous growth

►Easy establishment and low seed rate

►Non-palatability to cattle

► High-drought tolerance

►Shade tolerance

►Presence of alleolo chemical to enhance competitive ability against weed growth

►High biomass productions

►Low labour and chemical Requirements for its establishment

► Tolerance to pest and diseases

►Good control against soil erosion


Among the four, Pueraria Javanica is the best as it is easier to establish. Both Pueraria and Mucuna grow faster and smoother weeds better than others under the conditions in South India.
Pretreatment of Mucuna Bracteata Seeds. (การเตรียมเมล็ดก่อนปลูก)

As a part of value addition to the Mucuna bracteata seeds exported by us, we have been constantly experimenting with methods to improve the germination of the seeds.
Described below is the method that we found to give the best results, so far and improves germination by about 50-75%:

1. Take cleaned Mucuna bracteata seeds (free from soil and other debris) in an acid resistant container (Glass or Plastic).
2. Add Concentrated Sulphuric acid (85%) gently while stirring with a wooden stick till a thin layer of acid coating is formed over the seeds.
3. Approximately for every kilogram of seeds 50 cc. Of Sulphuric acid is needed.
4. Continued the stirring for 30 minutes. By this time the outer hard coating which prevents the absorption of water by the seeds is dissolved and forms a black substance.
5. Transfer the treated seeds to another container/bucket containing cold/normal water. Please ensure that the seeds are added to the water and not water to seeds.
6. Decant the water and add fresh water.
7. Now rub the seeds between two hands to remove the scars on the seeds.
8, Repeat this for two more times till the seeds are free from acid.
9. Spread the seeds over any absorbent surface, like sack and cloth and dry them under shade.
10. Sow them as early as possible.

We have also observed that the following method of sowing gives the best results in case of Mucuna bracteata.

1. Plant Density-200 to 300 grams per hectare.
2. Mark the areas in which seeds are to be planted.
3. Dig a one cubic feet pit.
4. Fill it with loose sand mixed with Supplements for early nodulation/growth.
5. Sow two seeds per pit, taking into consideration, 50% germination probability.
* Further reference on Mucuna bracteata go to http://cheriachagelmathews.tripod.com/
Nadampadom Rubber Estate since 1951 exports Cover Crop seeds, Tree seeds, Shrub seeds, Shade seeds, and grass seeds. It is a subsidiary of Chemmanur group of companies. The seeds are collected from the disease free growing fields, plantations and estates.
Nadampadom Rubber Estate exports seeds to different parts of the world. They include Singapore, Malaysia, Indonesia, Thailand, Papua New Guinea, Holland, Brazil, Ghana, Cameroon, Ivory Coast and Uganda.

อ้างที่มาของบทความ : http://www.covercrop.org/
อ้างอิงภาพ :
เมล็ดมูคูนา http://www.botanic-art.com/images/Mucuna%20bean2%20w.jpg

การบำรุงรักษาพืชคลุมดิน








การปลูกพืชคลุมดินในสวนยาง

ในระยะยางอ่อน ปัญหาสำคัญคือ วัชพืชสามารถเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินเป็นวิธีหนึ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตของวัชพืชได้ และลดการชะล้างและพังทลายของดิน ตลอดจนสามารถปรับปรุงโครงสร้างและเพิ่มธาตุอาหารในดินด้วย

ประโยชน์ของพืชคลุมดิน

· ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน
· รักษาความชุ่มชื้นในดิน
· เพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
· เพิ่มธาตุอาหารโดยเฉพาะไนโตรเจนในดิน และหมุนเวียนธาตุอาหาร
· ควบคุมวัชพืช
· ช่วยลดระยะเวลายางอ่อน
· ผลตกค้างของพืชคลุมดินทำให้ผลผลิตยางเพิ่มขึ้น

ข้อจำกัดของพืชคลุมดิน

· เป็นแหล่งอาศัยของโรคและแมลง
· เป็นเหตุให้เกิดไฟไหม้ในสวนยางได้ง่าย
· เป็นการเพิ่มโรครากให้แก่ต้นยาง
· ขึ้นพันต้นยาง ทำให้เสียหาย

ชนิดของพืชคลุมดินที่ปลูกในสวนยาง
พืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ใช้ปลูกในสวนยางที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. คาโลโปโกเนียม (Calopgonium mucunoides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโต
ได้รวดเร็ว สามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดภายหลังปลูกภายใน 2 – 3 เดือน แต่จะตายภายใน 18 – 24 เดือน มีเมล็ดเล็กแบน สีน้ำตาบอ่อนเกือบเหลือง มีเมล็ดประมาณ 65,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
2. เพอราเรีย (Pueraria phaseoloides) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตค่อนข้าง
เร็วสามารถคลุมพื้นที่ทั้งหมดหลังปลูกภายใน 5 – 6 เดือน คลุมดินได้ดีเมื่ออายุเกิน 2 ปี ควบคุมวัชพืชได้ดีกว่าพืชคลุมดินอื่นอยู่ภายใต้ร่มเงาได้ดี ใบใหญ่หนา เมล็ดเล็กค่อนข้างกลม ยาว สีน้ำตามแก่มีเมล็ดประมาณ 76,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
3. เซ็นโตรซีมา (Centrosema pubescens) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตช้า แต่
หนาทึบ และอยู่ได้นานขึ้นได้ดีภายใต้ร่มเงา ใบเล็ก เมล็ดเล็กแบนมีลาย และมีเมล็ดประมาณ 40,000 เมล็ดต่อกิโลกรัม
4. ซีรูเลียม (Calopogonium caeruleum) เป็นพืชคลุมดินที่เจริญเติบโตใน
ระยะแรกช้าสามารคลุมพื้นที่ได้หนาแน่นภายใน 4 – 6 เดือน ทนทานต่อร่มเงาได้ดี ไม่ตายในหน้าแล้ง ใบสีเขียวเข้มค่อนข้างหนาและเป็นมัน แผ่นใบมีขน เมล็ดมีสีเขียวอ่อนจนถึงน้ำตาลแก่ ผิวเมล็ดเรียบเป็นมันวาวมีเมล็ดประมาณ 26,200 เมล็ดต่อกิโลกรัม

เนื่องจากลักษณะและการเจริญเติบโตของพืชคลุมดินแต่ละชนิดแตกต่างกัน การปลูกพืชคลุมดินให้คลุมตลอดอายุต้นยางอ่อน ควรปลูกหลายชนิดรวมกันตามสัดส่วน และเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดินควรมีความงอกมากกว่าร้อยละ 80 ปลูกโดยวิธีหว่าน ในเขตปลูกยางเดิม ปลูกแบบเป็นหลุมในพื้รที่ปลูกยางแห่งใหม่

การเตรียมเมล็ดพันธุ์พืชคลุมดิน

เมล็ดพืชคลุมดินมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็งทำให้น้ำซึมผ่านเข้าไปในเมล็ดยาก เมื่อนำไปปลูกเมล็ดจะงอกน้อย จึงควรกระตุ้นให้เมล็ดงอกดีขึ้นโดยปฏิบัติดังนี้
1. แช่ในน้ำอุ่น ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดพืชคลุมดินคาโลโปโกเนียม เซ็นโตรซีมา และเพอราเรียนำไปแช่ในน้ำอุ่น (น้ำเดือด : น้ำเย็น อัตรา 2:1) นาน 12 ชั่วโมง นำเมล็ดไปผึ่งให้แห้งหมาดๆ แล้วนำไปคลุกกับหินฟอสเฟต (25% Total P2O5) เพื่อนำปลูกต่อไป ควรเตรียมเมล็ดพืชคลุมดินเพื่อปลูกให้หมดในแต่ละครั้ง การเก็บไว้นานเกินไปจะทำให้ความงอกเสื่อมลง
2. แช่ในน้ำกรด ใช้ปฏิบัติกับเมล็ดซีรูเลียม โดยแช่ในกรดกำมะถันเข้มข้นนาน 10 นาที นำไปล้างน้ำแล้วผึ่งให้แห้ง

ช่วงเวลาการปลูกพืชคลุมดิน

เวลาในการปลูกพืชคลุมดินมีหลายปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น ฤดูกาล อายุของต้นยาง การปลูกพืชคลุมดินให้ประสบความสำเร็จมีข้อควรพิจารณาดังนี้
1. ฤดูกาลและเวลา ควรปลูกต้นฤดูฝน เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตควบคุมวัชพืช
และติดฝักให้เมล็ดได้ดีกว่าการปลูกล่าช้าออกไปเป็นการป้องกันการชะล้างหน้าดินได้เร็วขึ้น นอกจากนั้นในช่วงฤดูแล้งก็ยังสามารถดำรงชีพอยู่ได้เพราะมีเถาที่แข็งแรง แม้ว่าใบจะร่วงหล่นไปก็ตาม เมื่อถึงฤดูฝนถัดไปเถาที่มีชีวิตอยู่นี้ และเมล็ดที่ร่วงหล่นอยู่บางส่วนก็จะเจริญงอกงามต่อไป ในสภาพดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์หรือในเขตแห้งแล้งไม่ควรปลูกพืชคลุมดินทิ้งไว้ข้ามฤดูกาลก่อนการปลูกยางเพราะพืชคลุมดินอาจทำความเสียหายให้กับต้นยาง โดยแย่งความชื้นในดินในช่วงฤดูแล้ง
2. การปลูกพืชคลุมดินหลังปลูกพืชแซมยาง เมื่อเลิกปลูกพืชแซมยาง และยางมี อายุไม่เกิน 2 ปี ควรปลูกพืชคลุมดินตามคำแนะนำ โดยเพิ่มจำนวนแถวให้มากขึ้นเป็น 4 และ 3 แถว สำหรับระยะปลูกยาง 8 และ 7 เมตรหรือต่ำกว่า 7 เมตรตามลำดับ ซึ่งปริมาณเมล็ดพันธุ์ที่จะใช้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 33 และร้อยละ 50 ของปริมาณที่ปลูกตามปกติ สำหรับยางอายุประมาณ 3 ปี ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินควรปลูกพืชคลุมดินซีรูเลียมเพราะซีรูเลียมทนต่อสภาพร่มเงา

การดูแลรักษาพืชคลุมดิน

เพื่อให้พืชคลุมดินเจริญเติบโตได้หนาแน่น คลุมพื้นที่และควบคุมวัชพืชได้เร็วขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้
1. การควบคุมและกำจัดวัชพืช กำจัดวัชพืชก่อนปลูกพืชคลุมดิน โดยการไถพรวนหรือปลูกพืชคลุมดินโดยไม่ต้องไถพรวน ซึ่งต้องใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เมื่อปลูกพืชคลุมดินแล้วให้กำจัดวัชพืช ดังนี้
1.1 ใช้สารเคมี มี 2 ประเภท คือ
1) สารเคมีประเภทก่อนวัชพืชงอก (Pre-emergence herbicides) ได้แก่ alachlor 258 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ หรือ oxyfluorfen 36 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ สารเคมีดังกล่าวผสมน้ำ 80 ลิตร เพื่อใช้ในพื้นที่ 1 ไร่ (1,600 ตารางเมตร) ควรฉีดพ่นสารเคมีในขณะที่ดินมีความชื้นจึงจะมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืช
2) สารเคมีประเภทหลังวัชพืชงอก (Pose-emergence herbicides) ได้แก่ fluazifop-buty1 80-120 กรัม (สารออกฤทธิ์) ต่อไร่ สามารถฉีดได้ทั่วทั้งแปลงพืชคลุมดิน เพื่อทำลายวัชพืชตระกูลหญ้าที่มีอายุปีเดียว และข้ามปีการผสมน้ำเช่นเดียวกับการเคมี 2 ชนิดแรก
1.2 ใช้วิธีทางกายภาพ เช่น ใช้แรงงานขุด หรือใช้รถแทรกเตอร์ลากขอนไม้หรือลูกกลิ้งทับลงไปบนพืชคลุมดิน เพื่อให้วัชพืชโดยเฉพาะหญ้าคาล้มลงเปิดโอกาสให้พืชคลุมดินเจริญได้ดี
1.3 ใช้วิธีผสมผสานระหว่างวิธีกายภาพ และใช้สารเคมี เป็นวิธีที่ควรปฏิบัติ เพราะสามารถควบคุมวัชพืชได้ดี และประหยัดค่าใช้จ่าย

2. การใส่ปุ๋ยพืชคลุมดินตระกูลถั่ว ที่ใช้โดยทั่วไปได้แก่ปุ๋ยหินฟอสเฟต
ซึ่งเป็น อาหารหลักที่สำคัญของพืชคลุมดิน สำหรับปุ๋ยไนโตรเจนไม่จำเป็นต้องใส่ให้พืชคลุมดินตระกูลถั่วเพราะไรโซเบียมที่ปมของรากพืชคลุมดินสามารถตรึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้ได้ แต่ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากก็ควรใช้ปุ๋ยที่มีธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมบำรุงเล็กน้อยในระยะ 2-3 สัปดาห์แรกหลังจากปลูก หลังจากนั้นจึงใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตอย่างเดียว
วิธีใส่ปุ๋ย ก่อนปลูกพืชคลุมดินระหว่างแถวยาง ใช้เมล็ดพืชคลุมดินคลุกกับปุ๋ยหินฟอสเฟต 1.5 เท่าของน้ำหนักเมล็ดพืชคลุมดิน กล่าวคือ ถ้าในพื้นที่ 1 ไร่ จะต้องใช้เมล็ดพืชคลุมดิน 1.5 กิโลกรัมต่อไร่ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟต 2.3 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟตในอัตราต่างๆ บำรุงพืชคลุมดินเป็นระยะ

3. การป้องกัน และกำจัดแมลง
3.1 ศัตรูประเภททำลายใบ ฝัก และลำต้น ได้แก่ หนอนผีเสื้อ ด้วยปีกแข็ง ทาก และหอยทาก ถ้าระบาดในช่วงพืชคลุมดินอายุน้อย ควรกำจัดด้วยแรงงาน หรือสารเคมีต่างๆ ตามความเหมาะสม
3.2 ศัตรูประเภททำลายกัดกินราก เช่น ไส้เดือนฝอยและหนอนทราย อาจทำให้พืชคลุมดินชะงักการเจริญเติบโตได้ ใช้สารเคมีประเภทดูดซึมหว่านเป็นจุดๆ

4. โรคที่พบมาก คือโรคที่เกิดจากเชื้อรา Rhiaoctonia solani
ทำให้แห้งตายเป็น หย่อมๆ โดยเชื้อราจะเข้าทำลายใบ และลำต้น โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศมีความชื้นมากๆ ขณะที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันเมื่อสภาพอากาศไม่อำนวยเชื้อราจะหยุดทำลายโดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีควบคุม

5. การควบคุมพืชคลุมดิน และการปฏิบัติรักษาอื่นๆ เพื่อให้ต้นยาง


เจริญเติบโตเป็นปกติ ไม่ชะงักการเจริญเติบโตในช่วงแรก ควรปฏิบัติดังนี้
5.1 การปลูกพืชคลุมดินใกล้เคียงกับการปลูกยาง ในปีแรกให้ควบคุมพืชคลุมดินห่างจากแถวยาง 1.5 – 2 เมตร ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพดิน ถ้าดินค่อนข้างเป็นดินทราย ควรให้ห่างแถวยางมากขึ้นเพื่อไม่ให้รากพืชคลุมดินแย่งความชื้นในดิน
5.2 การปลูกพืชคลุมดินหลังปลูกยาง 1 ปีขึ้นไป ควรควบคุมให้พืชคลุมดินห่างแถวยางได้ไม่เกิน 1 เมตร เพื่อสะดวกต่อการปฏิบัติงาน และป้องกันไม่ให้พืชคลุมดินเลื้อยพันต้นยาง
5.3 การปฏิบัติต่อพืชคลุมดินในฤดูแล้ง ควรทำแนวกันไฟกว้าง 8 เมตร รอบสวนยางและไถเปิดร่องตรงกลางระหว่างแถวยาง หรือขุดหลุมเป็นระยะๆ แล้วกวาดเศษซากลงในร่องหรือหลุมนั้น

**********************************************************************************