วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แนวตอบข้อสอบปลายภาค ภาคที่ ๑/๒๕๕๕

แนวตอบข้อสอบปลายภาค วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ รหัส ๒๕๖๕๐๔ ๓ (๓-๐) คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ผู้ออกข้อสอบ อาจารย์โกศล บุญคง ผศ.สมนึก ขวัญเมือง คำสั่ง ข้อสอบทั้งหมดมี ๔ ข้อ ให้นักศึกษาทำข้อสอบทุกข้อ คะแนนเต็ม ๑๐๐ คะแนน สอบวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๕ เวลา ๙.๐๐-๑๒.๐๐ น. ************************************************* ข้อ ๑. ให้นักศึกษาอธิบายถึงรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรว่าหมายถึงอะไร ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้ประเทศไทยอยู่ในระบบรัฐสภานั้น ให้นักศึกษาอธิบายระบบรัฐสภา ( Parliamentary System ) มาให้เข้าใจ (๒๕ คะแนน) แนวคำตอบ รัฐธรรมนูญที่ใช้ในปัจจุบันมี ๒ ประเภทด้วยกัน คือ ๑. รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร (unwritten constitution) หรือรัฐธรรมนูญประเภทจารีตประเพณี ซึ่งอังกฤษเป็นต้นแบบของรัฐธรรมนูญประเภทนี้ เนื่องจากวิวัฒนาการทางการปกครองประชาธิปไตยของอังกฤษ ที่อาศัยขนบธรรมเนียมประเพณี และเอกสารอื่นๆ ที่มาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น จากคำพิพากษาของศาล ธรรมเนียมปฏิบัติที่เคยปฏิบัติสืบต่อกันมาจนผู้ปกครองไม่อาจละเมิดได้ เอกสารสำคัญ เช่น มหากฎบัตร (magna carta) พระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิ (bill of rights) พระราชบัญญัติสืบสันตติวงศ์ (act of settlement) เป็นต้น ดังนั้นอังกฤษจึงไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นรูปของเอกสารกฎหมายที่รวมกันเป็นลายลักษณ์อักษรทั้งหมดในฉบับเดียวกันนั่นเอง ๒.รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (written constitution) เป็นรัฐธรรมนูญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในรัฐสมัยใหม่ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 พร้อมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตย และรวมถึงรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการด้วย เพราะบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญของประเทศระบบเผด็จการมีบทบัญญัติกำหนดให้พรรคคอมมิวนิสต์ หรือสถาบันทางการเมืองการปกครองของรัฐมีอำนาจเบ็ดเสร็จ แต่ในรัฐธรรมนูญของประเทสที่ปกครองระบบประชาธิปไตยจะระบุการจำกัดอำนาจของรัฐและรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนั้นรัฐธรรมนูญแบบลายลักษณ์อักษร (written constitution) คือการกำหนดหลักเกณฑ์ระเบียบการเมืองการปกครอง และการบริหารของรัฐเป็นตัวบทกฎหมาย เรียบเรียงเป็นเรื่องๆ และรวบรวมให้อยู่ในฉบับเดียวกัน เมื่อจะใช้ให้เป็นหลักการปกครองก็อ้างบทบัญญัติในเอกสารที่ทำไว้นี้ ส่วนกฎหมายอื่นนอกนี้นั้นไม่นับเป็นรัฐธรรมนูญ ประเทศที่จัดการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันตามสถิติข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีเป็นจำนวนมาก และกระจายอยู่ในหลายภูมิภาคของโลก แต่ถ้าพิจารณาในแง่ของรูปแบบ โดยทั่วไป เราอาจแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบหรือระบบ ได้แก่ (๑) ระบบรัฐสภา (๒) ระบบประธานาธิบดี และ (๓) ระบบผสม ระบบรัฐสภา เป็นระบบโครงสร้างการปกครองที่มีอังกฤษเป็นต้นแบบ ลักษณะสำคัญของระบบรัฐสภาคือ รัฐบาลหรือฝ่ายบริหารมาจากการตั้งของฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา และต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภา กล่าวคือรัฐบาลอยู่ในอำนาจได้ขึ้นอยู่กับความไว้วางใจของรัฐสภา ถ้ารัฐสภาไม่ไว้วางใจเมื่อใด เมื่อนั้นรัฐบาลก็ขาดความชอบธรรมที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป นั่นก็คือ ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจโดยเด็ดขาดระหว่างอานาจฝ่ายนิติบัญญัติกับอานาจฝ่ายบริหาร Bernard E. Brown และคณะ ได้กล่าวถึงโครงสร้างการปกครองระบบรัฐสภาว่าประกอบด้วยลักษณะสาคัญ ๕ ประการคือ ( ๑) ความเป็นประชาธิปไตย การตัดสินใจทางการเมืองกระทาโดยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเพียงปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้นำดังกล่าว (๒) อานาจสูงสุดเป็นของรัฐสภา ตามกฎหมาย รัฐสภาจะทาอะไรก็ได้ และไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ศาลที่จะประกาศว่าการกระทาของรัฐสภาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (๓) การเชื่อมโยงระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอานาจบริหาร ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายเสียงข้างมากในสภาเป็นฝ่ายบริหาร ในขณะเดียวกันก็รักษาตาแหน่งในสภาของตนในฐานะสมาชิกรัฐสภาไว้ด้วย คือไม่มีการแบ่งแยกอำนาจโดยเด็ดขาดระหว่างอานาจฝ่ายบริหารกับอานาจฝ่ายนิติบัญญัติ (๔) ความเป็นอิสระของฝ่ายตุลาการ แม้ว่าฝ่ายการเมืองจะมีความเชื่อมโยงกัน แต่ฝ่ายตุลาการเป็นอิสระและปลอดจากการแทรกแซงโดยอิทธิพลทางการเมือง ผู้พิพากษาดารงตำแหน่งตลอดชีพ และได้มีการพัฒนาธรรมเนียมปฏิบัติที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดในการประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรม (๕) การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล โดยปกติจะมีการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นกฎหมายที่แก้ไขยาก และเป็นกฎหมายที่กฎหมายอื่นที่มีฐานะหรือศักดิ์ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งไม่ได้ ถ้าขัดหรือแย้งก็จะไม่มีผลบังคับใช้ ประเทศไทยมีการปกครองระบบรัฐสภาเป็นประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ดังนี้ มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ซึ่งเป็นการปกครองแบบมีผู้แทน ซึ่งรัฐบาลได้รับแต่งตั้งจากผู้แทน ขัดกับ "การปกครองแบบ ประธานาธิบดี" อันมีประธานาธิบดีที่ประชาชนเลือกตังเข้ามา เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและประมุขรัฐบาล ภายใต้ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา รัฐบาลบริหารประเทศโดยมอบหน้าที่ให้คณะรัฐมนตรีทำหน้าที่บริหาร ตลอดจนถูกวิจารณ์ ตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างต่อเนื่องโดยสภานิติบัญญัติซึ่งได้รับเลือกจากประชาชน ระบบรัฐสภามีสิทธิถอดถอนนายรัฐมนตรีได้เมื่อถึงเวลาที่สภาเห็นว่าผู้นั้นทำหน้าที่ไม่เป็นไปตามความคาดหวังของฝ่ายนิติบัญญัติ การถอดถอนนี้เรียกว่า การอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยที่ฝ่ายนิติบัญญัติตัดสินใจว่าจะถอดนายกรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งหรือไม่โดยการสนับสนุนเสียงข้างมากต่อการถอดถอนผู้นั้นในบางประเทศ นายกรัฐมนตรียังสามารถยุบสภาและเรียกการเลือกตั้งใหม่ได้เมื่อใดก็ตามที่ผู้นั้นเลือก และตามแบบนายกรัฐมนตรีจะจัดการเลือกตั้งเมื่อผู้นั้นทราบดีว่าตนได้รับการสนับสนุนดีจากสาธารณะที่จะได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา ในประชาธิปไตยระบบรัฐสภาอื่น แทบไม่เคยจัดการเลือกตั้งพิเศษ แต่นิยมรัฐบาลเสียงข้างน้อยกะทั่งการเลือกตั้งปกติครั้งถัดไป ระบบรัฐสภามีนายกรัฐมนตรีเป็นประมุขรัฐบาลและประมุขฝ่ายบริหาร จะมีพระมหากษัตริย์หรือประธานาธิบดีเป็นประมุขก็ได้ แต่ไม่มีอำนาจบริหาร สรุป ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หมายความว่า อำนาจอธิปไตย หรือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากปวงชนชาวไทย อันมีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและศาลตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยอำนาจขององค์กรทั้ง 3 ฝ่าย จะต้องเป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน และอยู่ในลักษณะการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ข้อ ๒. หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญหมายถึงอะไร และวิธีการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดต่อรัฐธรรมนูญในประเทศต่าง มีกี่วิธี ขอให้อธิบาย และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร จงอธิบายและยกหลักกฏหมายประกอบ (๒๕ คะแนน) แนวคำตอบ คำตอบประเด็นที่ ๑ หลักความเป็นกฎหมายสูงสูดของรัฐธรรมนูญ ได้นำมาสู่แนวคิดในการสร้างระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นกฎหมายสูงสุด และให้ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญที่มีสถานะเหนือกฎหมายใดๆนั้นเกิดผลได้จริง ทั้งนี้โดยการกำหนดให้มีองค์กรที่มีหน้าที่ควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยองค์กรนิติบัญญัติไว้ในองค์กรที่แตกต่างกันไป แล้วแต่ระบบการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญในประเทศนั้นๆยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้กำหนดให้ศาลยุติธรรมทุกศาล มีอำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงกันข้ามกับให้ระบบที่ใช้อยู่ในประเทศออสเตรีย และประเทศฝรั่งเศส ที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ และคณะตุลาการรัฐธรรมนูญตามลำดับ เป็นองค์กรพิเศษองค์กรเดียวที่มีอำนาจในการควบคุมกฎหมาย มิให้ขัดรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ เป็นต้น ๑. การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภา เป็นระบบที่ได้รับการยอมรับในประเทศฝรั่งเศส ในสมัยสาธารณรัฐที่ ๑– ๓(ค.ศ. ๑๗๘๙–๑๙๔๖) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่แนวคิดอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ของปรัชญาเมธีคนสำคัญรุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ได้มีอิทธิพล อย่างมากในระบอบรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้แนวคิดของรุสโซ จึงส่งผลต่อระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญในประเทศฝรั่งเศสด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ตามแนวคิดของรุสโซ แม้รัฐธรรมนูญมีสถานะสูงสุด ที่กฎหมายใดจะขัดหรือแย้งมิได้ แต่การวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภา (loi) ซึ่งเป็นการแสดงออกของเจตนารมณ์ร่วมกันของปวงชน โดยองค์กรอื่นใดจึงมิอาจจะกระทำมิได้ นักนิติศาสตร์ได้อธิบายว่า “รัฐสภา” จะเป็นผู้ทำหน้าที่วินิจฉัยเองว่ากฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ และเมื่อรัฐสภาได้ตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับแล้ว ก็ย่อมเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่ากฎหมายนั้นไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แนวคิดที่ว่า กฎหมาย (loi) เป็นการแสดงออกซึ่งอำนาจอธิปไตยของปวงชน ซึ่งทำให้ไม่อาจมีองค์กรใดที่จะมีอำนาจในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญนี้ จึงปฏิเสธข้อเสนอของ ซีเอเยส์ (Sieyes) ที่จัดตั้งองค์กรทางการเมืองขึ้น ทำหน้าที่ในการรักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ หรือที่เรียกว่า “คณะลูกขุนผู้พิทักษ์” (jury constitutionnaire) โดยได้มีการแก้ไขเป็นคณะกรรมการรัฐธรรมนูญ และมีลักษณะเป็นองค์กรพิเศษที่มีอำนาจในการควบคุมร่างกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ ในยุคต่อมา ๒. การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรม การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรม ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรก ในการตัดสินคดี Marbury V. Madison. ของศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๑๘๐๓ ซึ่งศาลสูงสุดได้วางหลักว่า ศาลทั้งหลายมีอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยว่า กฎหมายที่ตราขึ้น โดยสภาคองเกรส ซึ่งมีข้อมีความขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะได้ โดยประธานศาลสูงสุด John Mashall ได้ให้เหตุผลว่าเมื่อศาลเป็นผู้ใช้อำนาจตุลาการ ศาลจึงมีอำนาจหน้าที่ในการใช้บังคับกฎหมายแก่กรณีต่างๆที่เกิดขึ้น ซึ่งก็เป็นความจำเป็นอยู่เอง ที่ศาลจะต้องตรวจสอบ ตีความและวินิจฉัยว่าอะไรคือกฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับได้ ดังนั้น ถ้ามีกฎหมายขัดรัฐธรรมนูญ และรัฐธรรมนูญนี้มีศักดิ์ที่สูงกว่ากฎหมายใดๆ ที่ตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ศาลก็มีหน้าที่ที่จะต้องวินิจฉัยชี้ขาด โดยยึดหลักว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่สำคัญที่สุด และกฎหมายที่ขัดรัฐธรรมนูญเป็นโมฆะ เพราะมิฉะนั้นแล้ว การปฏิเสธหลักการดังกล่าวย่อมจะเป็นการทำลายรากฐานของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรสำหรับกระบวนการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยศาลยุติธรรม ในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ด้วยเหตุที่ระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกา เป็นระบบกระจายอำนาจ การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น จึงอยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลยุติธรรมทุกศาล ไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โดยมีกระบวนการพิจารณาอันเป็นสาระสำคัญ ดังนี้ นับตั้งแต่ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ ได้วางหลักไว้ในการตัดสินคดี Marbury V. Madison ในปี ค.ศ.๑๘๐๓ เป็นต้นมา หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรก็ได้รับการรับรองและคุ้มครองอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก โดยมีศาลยุติธรรมเป็นองค์กรที่มีอำนาจในการควบคุมกำหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญ และมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อระบบควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ในเวลาต่อมา ๓. การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยองค์กรพิเศษ แนวคิดในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญโดยองค์กรพิเศษองค์กรเดียว ได้ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรก โดย Hans Kelsen นักปรัชญากฎหมาย ชาวออสเตรีย ซึ่งเสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรพิเศษที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดรัฐธรรมนูญขึ้นโดยเฉพาะ Kelsen ได้อธิบายว่า การวินิจฉัยว่ากฎใดใช้บังคับมิได้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ เป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ เมื่อโดยปกติแล้ว กฎหมายที่ประกาศใช้บังคับ ย่อมต้องได้รับการเคารพและปฏิบัติตาม การระงับผลของกฎหมายโดยการวินิจฉัยว่ากฎหมายใช้บังคับมิได้ จึงเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติในทางลบ (negative act of legislation) ดังนั้น ศาลพิเศษที่จัดตั้งขึ้นจึงต้องมีรากฐานที่มาจากองค์กรนิติบัญญัติ โดยให้องค์กรนิติบัญญัติมีส่วนในการแต่งตั้ง และเป็นการสมควรที่จะจัดตั้งศาลพิเศษที่มีอำนาจเพิกถอนกฎหมายของรัฐสภา เพื่อให้คำวินิจฉัยนั้นเกิดผลบังคับเป็นการทั่วไป คำตอบประเด็นที่สองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการควบคุมมิให้กฎหมายขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจแก่ศาลรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและร่างกฎหมายนั้น มีสองรูปแบบกล่าวคือ กรณีการตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (หรือกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่แล้ว) หากเป็นการส่งมาโดยศาลอื่นนั้น รัฐธรรมนูญให้อ้างอิงกับมาตรา ๖ ของรัฐธรรมนูญที่ใช้คำว่า “(บทบัญญัติใดของกฎหมาย) ... ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” แต่ในการตรวจสอบแบบเดียวกัน (คือบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีผลบังคับแล้ว) ในกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินหรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติส่งความเห็นให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น รัฐธรรมนูญกลับใช้คำว่า “(บทบัญญัติของกฎหมาย)... มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” หรือกรณีของการตรวจสอบร่างกฎหมายที่อยู่ในกระบวนการตราหรือประกาศให้มีผลใช้บังคับ กรณีการตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา ๑๔๑ ใช้คำว่า “พิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ” ในขณะที่การตรวจสอบร่างพระราชบัญญัติตามมาตรา ๑๕๔ ใช้คำว่า “...มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ” และ “...ตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่ามีถ้อยคำแตกต่างกันอยู่บ้างแต่ทั้งนี้ก็เพื่อคุมครองความเป็นสูงสุดของรัฐธรรมนูญ แยกได้เป็นสองกรณี ดังนี้ กรณีที่ ๑ การควบคุมมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญก่อนกฎหมายบังคับใช้ รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ กำหนดไว้ดังนี้ มาตรา ๑๕๐ ร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยตามมาตรา ๑๔๖ หรือร่างพระราชบัญญัติใดที่รัฐสภาลงมติยืนยันตามมาตรา ๑๔๗ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัตินั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอีกครั้งหนึ่ง (๑) หากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกของทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา เห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้เสนอความเห็นต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี แล้วให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับความเห็นดังกล่าวส่งความเห็นนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบโดยไม่ชักช้า (๒) หากนายกรัฐมนตรีเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ให้ส่งความเห็นเช่นว่านั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย และแจ้งให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาทราบโดยไม่ชักช้า ในระหว่างที่ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้นายกรัฐมนตรีระงับการดำเนินการเพื่อประกาศใช้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ และข้อความดังกล่าวเป็นสาระสำคัญ ให้ร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นอันตกไป ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัตินั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้แต่มิใช่กรณีตามวรรคสาม ให้ข้อความที่ขัดหรือแย้งนั้นเป็นอันตกไป และให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการตามมาตรา ๑๔๖ หรือมาตรา ๑๔๗ แล้วแต่กรณี ต่อไป มาตรา ๑๕๑ บทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ ให้นำมาใช้บังคับกับร่างข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ร่างข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา และร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ยังมิได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วยโดยอนุโลม กรณีที่ ๒ การตรวจสอบ ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้ว การควบคุมมิให้กฎหมายขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ โดยให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ประกาศใช้บังคับแล้ว กรณีที่พระราชบัญญัติได้ประกาศใช้บังคับแล้ว หากต่อมาปรากฏว่าบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีการควบคุมกฎหมายที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบแล้วมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยกำหนดให้มีช่องทางการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยได้ ๔ กรณี คือ ๑) การพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๑) การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๑ ต้องเป็นกรณีที่มีคดีเกิดขึ้นในศาลก่อน ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร หรือศาลอื่น และไม่ว่าคดีจะอยู่ระหว่างการพิจารณาในชั้นศาลใดก็ตาม หากศาลเห็นเองหรือคู่ความ(โจทก์-จำเลย หรือผู้ฟ้อง-ผู้ถูกฟ้อง)ในคดีนั้นโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ (ในกรณีนี้ศาลสามารถพิจารณาต่อไปได้แต่ต้องรอการพิพากษาคดีไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ)บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยนี้หมายถึง กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภาหรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น ๒) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอ (รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ มาตรา ๒๔๕) การควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๔๕ ไม่จำเป็นต้องเป็นคดีในศาลก่อนเหมือนกับกรณีตาม ๑) การเสนอเรื่องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยหลักการแล้วเป็นกรณีที่มีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินก่อน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวม หรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการร้องเรียน สำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้น มีความหมายเดียวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายตาม ๑) ซึ่งหมายถึง กฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น ๓) การพิจารณาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นผู้เสนอ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีที่เห็นชอบตามที่มีผู้ร้องเรียนว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดกระทบต่อสิทธิมนุษยชนและมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่บัญญัติให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการเสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญสำหรับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้น มีความหมายเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วตาม ๑) และ ๒) กล่าวคือเป็นกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติซึ่งตราขึ้นโดยองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือรัฐสภา หรือกฎหมายที่ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ เช่น พระราชกำหนดที่ได้รับการพิจารณาอนุมัติจากรัฐสภาแล้ว เป็นต้น ๔) การพิจารณาวินิจฉัยคำร้องของบุคคลซึ่ง ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๑๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐เป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่ง กฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอ่นื ได้แล้ว สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการยื่นคำร้องให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับ รัฐธรรมนูญได้กำหนดบทเฉพาะกาลให้ศาลรัฐธรรมนูญออกเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีพิจารณาและการทำคำวินิจฉัยได้ แต่ทั้งนี้ต้องตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญได้ออก “ข้อกำหนด ฯ” มาใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามข้อกำหนด ฯ ข้อ ๒๑ และข้อ ๒๒ บัญญัติว่า "ข้อที่ ๒๑ บุคคลที่ ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ การใช้สิทธิตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นไกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้วทั้งนี้ตามมาตรา ๒๑๑ มาตรา ๒๔๕ (๑) และมาตรา ๒๕๗ วรรคหนึ่ง (๒) ของรัฐธรรมนูญ" ”ข้อ ๒๒ การยื่นคำร้องของบุคคลตามข้อ ๒๑ นอกจากต้องดำเนินการตามข้อ ๑๘ แล้ว ให้ระบุเหตุที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้วด้วย” ผู้ที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในกรณีนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ดังนี้ (๑) ต้องเป็นบุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้อันสืบเนื่องมาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย (๒) บุคคลนั้นต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ และ (๓) ต้องเป็นกรณีที่บุคคลนั้นไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้วการใช้สิทธิของบุคคลในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว หมายความว่า หากบุคคลใดสามารถใช้สิทธิทางศาลตาม ๑)หรือสามารถใช้สิทธิโดยการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตาม ๒) หรือสามารถใช้สิทธิโดยการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตาม ๓) ได้ บุคคลนั้นจะต้องใช้สิทธิตามช่องทางนั้นก่อนนอกจากว่าไม่สามารถใช้สิทธิตามช่องทางนั้นได้แล้ว จึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ การใช้สิทธิของบุคคลในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญต้องเป็นกรณีที่ไม่อาจใช้สิทธิโดยวิธีการอื่นได้แล้ว หมายความว่า หากบุคคลใดสามารถใช้สิทธิทางศาลตาม ๑) หรือสามารถใช้สิทธิโดยการร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดินตาม ๒) หรือสามารถใช้สิทธิโดยการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตาม ๓) ได้ บุคคลนั้นจะต้องใช้สิทธิตามช่องทางนั้นก่อนนอกจากว่าไม่สามารถใช้สิทธิตามช่องทางนั้นได้แล้ว จึงจะมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ข้อ ๓. ให้นักศึกษาตอบคำถามสองข้อย่อยต่อไปนี้ ข้อ ๓.๑ การที่มีข่าวทางสื่อมวลชนทีนิวส์ เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๕๕ ว่า “ประธานคณะกรรมการประสานงานร่วมพรรคฝ่ายค้าน หรือ วิปฝ่ายค้าน กล่าวถึงการตั้งกระทู้ถามสดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสัปดาห์นี้ว่า มีเรื่องที่เข้าข่ายอยู่ในกระทู้ถามสด ๒ เรื่อง คือ เรื่องแรกคือกรณีน้ำท่วม ที่ยังเป็นปัญหาใหญ่ โดยจะถามถึงความคืบหน้าในการป้องกันและแก้ไข หลังรัฐบาลยืนยันว่าปีนี้น้ำไม่ท่วมว่าเชื่อถือได้มากเพียงใด ใช้งบประมาณจำนวนเท่าไหร่ รวมทั้งปัญหาการเยียวยาที่ยังค้างจากปีที่แล้ว และงบประมาณการดำเนินงานสามารถเปิดเผยได้หรือไม่ เพราะที่ผ่านมาพบการทุจริตกว่าร้อยละ 35 ของงบประมาณ สำหรับกระทู้ถามสดกรณีการกำกับดูแลตำรวจของรัฐบาล เนื่องจาก พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ระดมตำรวจไปที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งอาจจะเข้าข่ายข่มขู่คุกคามพรรคการเมือง สืบเนื่องจากกรณีที่ นายราเมศ รัตนเชวง ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ส่งหนังสือร้องเรียนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติว่ามีการติดภาพถ่ายของ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ขณะให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประดับยศพล.ต.ท.ให้ ทั้งนี้มองว่าอาจเป็นการผิดวินัยร้ายแรง เนื่องจากแทนที่ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ จะไปชี้แจงกับ ผบ.ตร. แต่กลับนำตำรวจมาบุกพรรคประชาธิปัตย์” การตั้งกระทู้ถามสด เป็นการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรอันมีความเกี่ยวข้องกับหลักการถ่วงดุลอำนาจ (Check and balance) ตามแนวคิดของมองเตสกิเออร์(Montesquieu) อย่างไร จงอธิบาย มาให้เข้าใจ (๑๒.๕ คะแนน) แนวคำตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้กำหนดให้รัฐสภาประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยรัฐสภาเป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทย กล่าวคือ ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่างฝ่ายต่างมาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งสิ้น แต่อาจจะด้วยวิธีการและจำนวนที่แตกต่างกันออกไป โดยหลักการใหญ่ ๆ รัฐสภามีหน้าที่พิจารณาออกกฎหมายบังคับให้แก่ประชาชนตามขั้นตอนที่รัฐธรรมนูญกำหนด กฎหมายที่จะออกมาจากรัฐสภาต้องผ่านความเห็นชอบทั้งจากสภาผู้แทนราษฎรและจากวุฒิสภา จึงจะนำขึ้นทูลเกล้า ฯ ให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ดังนั้น อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาของไทยในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขจึงมีอำนาจหน้าที่ ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลตามที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งตรวจสอบติดตามผลการปฏิบัติงานของรัฐบาลโดยบัญญัติไว้ในส่วนที่ ๙ ว่าด้วยการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ดังนี้ มาตรา ๑๕๖ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ แต่รัฐมนตรีย่อมมีสิทธิที่จะไม่ตอบเมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ควรเปิดเผยเพราะเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือประโยชน์สำคัญของแผ่นดิน มาตรา ๑๕๗ การบริหารราชการแผ่นดินเรื่องใดที่เป็นปัญหาสำคัญที่อยู่ในความสนใจของประชาชน เป็นเรื่องที่กระทบถึงประโยชน์ของประเทศชาติหรือประชาชน หรือที่เป็นเรื่องเร่งด่วน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรก่อนเริ่มประชุมในวันนั้นว่าจะถามนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินเรื่องนั้นโดยไม่ต้องระบุคำถาม และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในวาระการประชุมวันนั้น การถามและการตอบกระทู้ตามวรรคหนึ่งให้กระทำได้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินนั้นได้เรื่องละไม่เกินสามครั้ง ทั้งนี้ ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นอกจากนั้น ในส่วนของวุฒิสภาอันมีสมาชิกวุฒิสภาเป็นสมาชิก นอกจากจะมีหน้าที่ในการกลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว วุฒิสภายังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อแต่งตั้งและถอดถอนบุคคลหรือองค์กรอิสระตามที่รัฐธรรมบัญญัติไว้อีกด้วย เช่น ถอดถอนนายกรัฐมนตรี นักการเมือง เป็นต้น ดังนั้นการตั้งกระทู้ถามสดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรตามประเด็นในคำถามจึงเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นไปตามหลักการถ่วงดุลอำนาจ(check and balance) ของมองเตสกิเออร์มองเตสกิเออ (Montesquieu) นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น ๓ ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์การเมืองชาวกรีกโบราณ บนพื้นฐานหรือมีเป้าประสงค์ประการสำคัญแหล่งหลักการคือการให้อำนาจแต่ละฝ่ายถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกันทั้งสามฝ่าย และเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์กรภาครัฐที่ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่าฝ่ายใด การถ่วงดุลอำนาจ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การแบ่งแยกอำนาจมิได้หมายความว่า องค์กรผู้ใช้อำนาจทั้งสาม คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการจะต้องมีอำนาจเท่าเทียมกัน โดยอำนาจใดอำนาจหนึ่งอาจอยู่เหนืออีกอำนาจหนึ่งได้และอีกฝ่ายหนึ่งก็มีขั้นตอนในการลดอำนาจของอีกฝ่ายตามที่รัฐธรรมนูญได้ให้ไว้ อาจกล่าวได้ว่า การถ่วงดุลอำนาจมักเป็นเรื่องของอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร โดยในที่นี้จะขอยกตัวอย่าง การถ่วงดุลอำนาจระหว่างอำนาจนิติบัญญัติกับอำนาจบริหาร ดังนี้ 1. กรณีฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจเหนือฝ่ายบริหาร หมายถึง อำนาจที่สภาผู้แทนราษฏรเปิดประชุมเพื่ออภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อรัฐบาลบริหารประเทศเกิดความผิดพลาดเสียหาย หรือมีการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งเมื่อมีการลงมติภายหลังการอภิปราย หากรัฐบาลได้รับเสียงสนับสนุนหรือไว้วางใจน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขณะนั้น ก็จะมีผลให้รัฐบาลต้องลาออก เพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยผลของการเปิดอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล อาจจะเป็นการไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียวก็มีผลถึงคณะรัฐมนตรีร่วมคณะทุกคน ต้องพ้นความเป็นรัฐมนตรี แต่หากเป็นการเปิดอภิปรายเฉพาะรัฐมนตรีบางคน รัฐมนตรีคนที่ได้รับเสียงไม่ไว้วางใจเกินกึ่งหนึ่งก็จะพ้นจากการเป็นรัฐมนตรีเฉพาะราย ส่วนนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคนอื่น ๆ ที่ไม่ถูกอภิปรายก็ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้ต่อไป คณะรัฐมนตรีมีหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหนึ่งคนและรัฐมนตรีอีกไม่เกิน 35 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขึ้น โดยนายกรัฐมนตรี ต้องแต่งตั้งมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือผู้เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2. กรณีฝ่ายบริหารมีอำนาจสูงสุดเหนือฝ่ายนิติบัญญํติ กรณีฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ หมายถึง การใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีอันมีนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าคณะรัฐมนตรี มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมดต้องพ้นสภาพ ซึ่งมักจะเกิดจากสภาผู้แทนราษฎรเกิดความวุ่นวาย หรือเกิดวิกฤติจนไม่สามารถควบคุมได้ หรือร่างกฎหมายสำคัญของรัฐบาลไม่ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น จึงเห็นได้ว่า ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารต่างมีอำนาจที่จะถ่วงดุลซึ่งกันและกันให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น ส่วนฝ่ายตุลาการเป็นอำนาจที่เป็นอิสระเฉพาะ เนื่องจากการพิจารณาคดีความต่าง ๆ ย่อมต้องเป็นกลางและเป็นไปตามตัวบทกฎหมาย ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ จึงอาจกล่าวได้ว่าฝ่ายตุลาการเป็นฝ่ายที่มิได้มีการถ่วงดุลหรือคานอำนาจกับฝ่ายใด กล่าวโดยสรุปได้ว่า อำนาจอธิปไตยแบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ อำนาจทั้งสามฝ่ายจะมีการถ่วงดุลกันอยู่ เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพมิให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งใช้อำนาจจนเกินขอบเขต ข้อ ๓.๒ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติวิธีการและขั้นตอนตั้งแต่การเสนอร่างกฎหมายจนกระทั่งประกาศใช้กฎหมาย เอาไว้ มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง(๑๒.๕ คะแนน) แนวคำตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติวิธีการและขั้นตอนตั้งแต่การเสนอร่างกฎหมายจนกระทั่งประกาศใช้กฎหมาย เอาไว้ดังนี้ ขั้นตอนที่ ๑ ขั้นตอนเสนอร่างกฎหมาย รัฐธรรมนูญได้กำหนดผู้มีสิทธิริเริ่มเสนอร่างกฎหมาย ดังนี้ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญผู้มีสิทธิเสนอได้ คือ (๑) คณะรัฐมนตรี (๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๑๐ ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือ (๓) ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งประธานศาลหรือ ประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้น ร่างพระราชบัญญัติ ผู้มีสิทธิเสนอได้คือ พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้น โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ผู้มีอำนาจในการเสนอร่างพระราชบัญญัติมีด้วยกันทั้งสิ้น 4 ฝ่าย ได้แก่ (๑) คณะรัฐมนตรี (๒) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐ คน (๓) ศาลหรือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดองค์กร และกฎหมายที่ประธานศาลและประธานองค์กรนั้นเป็นผู้รักษาการ หรือ (๔) ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ คน เข้าชื่อเสนอกฎหมายที่กำหนดในหมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยและหมวดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ การเสนอร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี เริ่มตั้งแต่กระบวนจัดทำร่างพระราชบัญญัติจากส่วนราชการ กระทรวง กรม หรือหน่วยงานของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้จัดทำ โดยหน่วยราชการอาจใช้ข้าราชการหรือนิติกรภายในหน่วยงานเป็นผู้ร่าง หรืออาจว่าจ้างนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญให้จัดทำโครงการศึกษาวิจัยและมอบหมายให้ผู้วิจัยทำหน้าที่ยกร่างกฎหมายขึ้นด้วยก็ได้ หรือในบางกรณีฝ่ายการเมืองอาจเป็นผู้ริเริ่มให้มีร่างพระราชบัญญัติใหม่หรือร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขกฎหมายเดิม เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ร่างกฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องในทางนโยบายการบริหารประเทศ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการของร่างพระราชบัญญัติแล้ว ก็จะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางด้านการร่างกฎหมายของรัฐบาลเป็นผู้ตรวจพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาแบ่งแยกออกเป็นกรรมการร่างกฎหมายต่างๆ จำนวน 12 คณะ แต่ละคณะประกอบด้วยกรรมการร่างกฎหมายจำนวนประมาณ 9 คน การประชุมแบ่งออกเป็น ๓ วาระ ได้แก่ วาระที่ ๑ การพิจารณาหลักการทั่วไปและสาระสำคัญของกฎหมาย วาระที่ ๒ เป็นการตรวจพิจารณารายมาตรา โดยจะเป็นการตรวจพิจารณาทั้งในแง่เนื้อหากฎหมาย (content) แบบของกฎหมาย (format) รวมถึงถ้อยคำที่ใช้ วาระที่ ๓ เป็นการตรวจพิจารณาความสมบูรณ์ของร่างพระราชบัญญัติทั้งฉบับ เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งร่างกฎหมายกลับไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ถ้าร่างพระราชบัญญัติที่ผ่านการตรวจพิจารณานั้นมีการแก้ไขเล็กน้อยหรือเป็นการแก้ไขตามแบบการร่างกฎหมายสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) และสภาผู้แทนราษฎรต่อไปตามลำดับในระเบียบวาระ ยกเว้นในกรณีที่คณะรัฐมนตรีร้องขอไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎรให้ สภาพิจารณาร่างกฎหมายนั้นเป็นเรื่องด่วนซึ่งจะได้รับการพิจารณาก่อน นอกจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ผู้ที่จะเสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวด้วยการเงินจะต้องมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี จึงจะเสนอได้ ร่างกฎหมายที่เกี่ยวด้วยการเงินบางฉบับคือ ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดินนั้น ในทางปฏิบัติคณะรัฐมนตรีจะที่เป็นผู้เสนอ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหารจะรู้สภาพการเงินของประเทศ รายรับ รายจ่ายต่าง ๆ เป็นอย่างดี ร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงินนั้น หมายความถึง ร่างพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยเรื่องใดเรื่องหนึ่ง คือ การตั้งขึ้น หรือยกเลิก หรือลด หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือผ่อน หรือวางระเบียบการบังคับอันเกี่ยวกับภาษีหรืออากร การจัดสรร รับ รักษา หรือจ่ายเงินแผ่นดิน หรือการโดนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน หรือการกู้เงิน การค้ำประกัน การใช้เงินกู้ หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินของรัฐ หรือเงินตรา ขั้นตอนที่ ๒ การพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรการ จะพิจารณาจะแบ่งเป็น ๓ วาระตามลำดับ ได้แก่ วาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการ ในวาระที่ ๑ จะเป็นการพิจารณาว่าจะรับหลักการแห่งร่างกฎหมายนั้นหรือไม่ โดยให้ผู้เสนอร่างกฎหมายอภิปรายชี้แจงหลักการและเหตุผลต่อสภาผู้แทนราษฎร กรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติของคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงซึ่งรับผิดชอบร่างพระราชบัญญัติจะเป็นผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติในนามคณะรัฐมนตรี จากนั้นจึงเปิดให้มีการอภิปรายคัดค้านหรือสนับสนุนโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อการอภิปรายสิ้นลงสุดแล้วที่ประชุมจะลงมติว่าจะรับหลักการแห่งร่างกฎหมายฉบับนั้นหรือไม่ ถ้าที่ประชุมมติรับหลักการก็จะเข้าสู่การพิจารณาในวาระที่ ๒ แต่ถ้าไม่รับหลักการ ร่างกฎหมายนั้นก็เป็นอันตกไป วาระที่ ๒ ขั้นการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการและการพิจารณารายมาตรา การพิจารณาในวาระที่ ๒ สามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ขั้นตอน คือ การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ และการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรภายหลังจากที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ในขั้นตอนแรก คือการพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการ โดยมากจะเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและบุคคลภายนอกก็ได้ กรรมาธิการแต่ละคนอาจเพิ่มมาตราขึ้นใหมหรือตัดทอนหรือแกไขมาตราเดิมได แตตองไมขัดกับหลักการแห่งรางพระราชบัญญัตินั้น หากที่ประชุมคณะกรรมาธิการนั้นเห็นด้วยก็จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไปตามนั้น แต่ถ้าคณะกรรมาธิการส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และกรรมาธิการผู้นั้นยืนยันที่จะขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม กรรมาธิการผู้นั้นก็มีสิทธิ “ขอสงวนความเห็น” ของตนไว้เพื่ออภิปรายในที่ประชุมสภาให้ที่ประชุมเป็นผู้ชี้ขาด เมื่อคณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นโดยแสดงร่างเดิมและร่างที่แก้ไขเพิ่มเติม พร้อมทั้งรายงานต่อประธานสภา ขั้นตอนที่สอง คือการพิจารณารายมาตราในที่ประชุมใหญ่ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินั้นอีกครั้ง ในการพิจารณานี้จะเป็นการพิจารณารายมาตราไปจนจบ ถ้ามีมาตราใดแก้ไขเพิ่มเติม หรือมีผู้สงวนคำแปรญัตติ หรือกรรมาธิการสงวนความเห็นไว้ ก็จะหยุดการพิจารณาไว้ก่อน และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้อภิปรายเฉพาะในมาตรานั้นๆเท่านั้น หลังจากนั้นสภาจะพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง วาระที่ ๓ ขั้นลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย ในขั้นตอนนี้ที่ประชุมสภาจะลงมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับร่างกฎหมาย โดยจะไม่มีการอภิปรายใดๆ อีก หากลงมติเห็นชอบก็จะส่งให้วุฒิสภาพิจารณาต่อไป แต่ถ้าผลการลงมติไม่เห็นชอบร่างกฎหมายก็จะตกไป ในลำดับถัดมา สภาผู้แทนราษฎรจะเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อวุฒิสภา วุฒิสภาจะมีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวุฒิสภาได้รับร่างนั้นแล้ว ก็จะดำเนินการโดยการแบ่งเป็น ๓ วาระเช่นเดียวกับการพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎร ขั้นตอนที่ ๓ การพิจารณาของวุฒิสภา ขั้นตอนหรือกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมายของวุฒิสภามีลักษณะทำนองเดียวกับของสภาผู้แทนราษฎร แต่ที่แตกต่างก็คือ วุฒิสภาต้องพิจารณาร่างกฎหมายสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบแล้ว ให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด กล่าวคือ ถ้าเป็นร่างกฎหมายทั่วไปต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จ ภายใน ๖๐วัน แต่ถ้าร่างกฎหมายนั้นเป็นร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงิน วุฒิสภาต้องพิจารณา ให้เสร็จภายใน ๓๐ วัน ทั้งนี้ เว้นแต่วุฒิสภาจะได้ลงมติให้ขยายเวลาออกไปเป็นกรณีพิเศษซึ่งต้อง ไม่เกิน ๓๐ วัน (กำหนดวันดังกล่าวให้หมายถึงวันในสมัยประชุม และให้เริ่มนับแต่วันที่ร่างกฎหมายนั้นมาถึงวุฒิสภา) ถ้าวุฒิสภาพิจารณาไม่เสร็จภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าวุฒิสภาได้ให้ความเห็นชอบในร่างกฎหมายนั้น แต่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรไม่มีกำหนดเวลาใด ๆ ส่วนกระบวนการหรือขั้นตอนการพิจารณาของวุฒิสภานั้นข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้กำหนดไว้มีลักษณะทำนองเดียวกับของสภาผู้แทนราษฎรที่ได้กล่าวมาแล้ว กล่าวคือ โดยปกติวุฒิสภาจะพิจารณาร่างกฎหมายเป็น ๓ วาระ วาระที่ ๑ ขั้นรับหลักการหรือเห็นชอบด้วยกับหลักการ การพิจารณาในวาระที่ ๑ นี้ วุฒิสภาจะพิจารณาและลงมติว่าจะรับร่างพระราชบัญญัตินั้นไว้พิจารณา หรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร หากวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วย ก็ให้ยับยั้งร่างกฎหมายนั้นไว้ก่อน และส่งร่างกฎหมายนั้นคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎร หากวุฒิสภามีมติรับร่างพระราชบัญญัติไว้พิจารณา วุฒิสภาก็จะพิจารณาในลำดับต่อไปเป็นวาระที่สอง วาระที่ ๒ เป็นการพิจารณารายละเอียดเรียงลำดับมาตรา การพิจารณาในวาระที่สอง วุฒิสภาจะพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง หรือกรรมาธิการเต็มสภาซึ่งโดยปกติจะพิจารณาโดยคณะกรรมาธิการที่วุฒิสภาตั้ง การพิจารณาโดยกรรมาธิการเต็มสภาจะกระทำได้ต่อเมื่อสมาชิกเสนอญัตติโดยมีผู้รับรองไม่น้อยกว่าสิบคน และที่ประชุมวุฒิสภาอนุมัติ ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโดยกรรมาธิการเต็มสภานั้น วุฒิสภาจะตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อพิจารณาปัญหาใดโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินั้นก็ได้ เมื่อพิจารณาเรียงลำดับมาตราจนจบร่างฯ นั้นแล้ว วุฒิสภาจะพิจารณาทั้งร่างเป็นการสรุปอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์โดยสมาชิกอาจขอแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำได้ แต่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อความใดไม่ได้ นอกจากเนื้อความที่ยังเห็นว่าขัดแย้งกันอยู่ จากนั้นก็จะเป็นการพิจารณาในวาระที่ ๓ วาระที่ ๓ ขั้นลงมติให้ความเห็นชอบ การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติในวาระที่สามนี้ไม่มีการอภิปราย วุฒิสภาจะลงมติว่าเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร หรือถ้าในการพิจารณาในวาระที่สองได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมายนั้น วุฒิสภาก็จะลงมติว่าให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหมายความว่าให้แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ได้พิจารณาไว้ในวาระที่สอง และมติไม่แก้ไขเพิ่มเติมหมายความว่าวุฒิสภาเห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎรโดยไม่มีการ แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อวุฒิสภามีมติเห็นชอบด้วยหรือไม่เห็นชอบด้วยกับสภาผู้แทนราษฎร หรือให้แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ หากวุฒิสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ ก่อนที่จะส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปยังสภาผู้แทนราษฎร หากมีข้อความผิดพลาดซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา วุฒิสภาอาจนำร่างพระราชบัญญัตินั้นกลับมาทบทวนข้อผิดพลาดนั้นได้ หากที่ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นชอบ โดยให้กระทำได้เท่าที่จำเป็นและให้กระทำโดยกรรมาธิการเต็มสภา ในกรณีที่วุฒิสภาแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติ และเมื่อทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้ตั้งกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ให้เสนอให้แต่ละสภาพิจารณา เมื่อกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ให้รายงานและเสนอร่างกฎหมายนั้นต่อสภาทั้งสองเพื่อพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติที่คณะกรรมาธิการร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ถ้าสภาทั้งสองต่างเห็นชอบด้วยร่างกฎหมายที่คณะกรรมาธิการ ร่วมกันได้พิจารณาแล้ว ให้ดำเนินการเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อไป แต่ถ้าสภาใดสภาหนึ่งไม่เห็นชอบด้วย ก็ถือว่า “ ยับยั้ง ” ร่างกฎหมายไว้ก่อน เพื่อรอเวลาในการยกขึ้นมาพิจารณา ข้อ ๔. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้บัญญัติหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไว้อย่างไร ให้อธิบาย (๒๕ คะแนน) แนวคำตอบ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๑ ว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้ (๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่า ด้วย การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้ (๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภา พิจารณาเป็นสามวาระ (๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนน โดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟัง ความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมด้วย การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอา เสียงข้างมากเป็นประมาณ (๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป (๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนน โดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่า กึ่งหนึ่ง ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับ โดยอนุโลม เงื่อนไขในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญคือ ๑. รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๕๐ บัญญัติในมาตรา 68 บัญญัติว่า "บุคคลจะใช้สิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้มิได้" ๒. ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้ *************************************************************** บทพิสูจน์ความแกร่ง แห่งเพชรแท้ ความแน่วแน่ที่จะไป...ให้ถึงฝัน จะย่อท้อหวั่นไหว ทำไมกัน หวังและวันแห่งเส้นชัย...ไม่ไกลเกิน **********************************************

ไม่มีความคิดเห็น: