วันอาทิตย์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2551

กรณีศึกษา : ปัญหาดินเค็มกับการปลูกยางพารา




กรณีศึกษา : ปัญหาดินเค็มกับการปลูกยางพารา


เรื่อง/ภาพ โกศล บุญคง

1.ความสำคัญของปัญหาดินเค็ม
จากผลการศึกษาหัวข้อ “การศึกษาสถานการณ์ดินเค็ม-น้ำเค็มในปัจจุบันกับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนในพื้นที่ ผลกระทบท้ายเขื้อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ของเศกสรรค์ ยงวณิชย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , วีระศักดิ์ จารุชัยนิวัฒน์ หมวดงบประมาณแผ่นดินด้วยทุนปีงบประมาณ 2548 มหาวิทยาลัยขอนแก่น สรุปได้ดังนี้ 1) ในปัจจุบันสถานการณ์ดินเค็ม น้ำเค็ม ในพื้นที่ศึกษามีความ และการกระจายตัวของพื้นที่ดินเค็มในปัจจุบันนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีความแห้งแล้ง สูงขึ้น และมีการตัดต้นไม้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม 2)ปัญหาดินเค็มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชน คือ เมื่อปลูกพืชในบริเวณที่เป็นดินเค็มจะทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ โดยเฉพาะข้าวซึ่งเป็นพืชที่ปลูกเป็นหลัก จะไม่สามารถงอกงามได้ โดยข้าวที่เกิดในบริเวณนั้นจะมีเมล็ดลีบ ให้ผลผลิตไม่มากเท่าที่ควร และถ้าปัญหารุนแรงมาก เกิดภาวะดินเค็ม และความแห้งแล้ง ข้าวที่ปลูกในบริเวณนั้นจะตายไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ 3)ด้านความต้องการของชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาดินเค็ม และแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจนั้น สรุปได้ว่า ต้องการให้ขุดลอกหนองน้ำสาธารณะและลำห้วยเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อทำการเกษตรอย่างเพียงพอในทุกพื้นที่ ต้องการให้ดูแลราคาสินค้าเกษตรที่ผลิตในพื้นที่ให้มีการ ประกันราคา ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา บางพื้นที่ มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพภายในหมู่บ้านอยู่แล้ว เช่นกลุ่มทอผ้า ชาวบ้าน และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่งเสริมสนับสนุนในทุก ๆ ด้าน ต้องการให้มีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อให้คนในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียงมีงานทำ ไม่อพยพแรงงานไปทำงานต่างถิ่น พร้อมทั้งเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานด้านการเกษตร


2. เกษตรกรที่ปลูกยางพาราในพื้นที่ดินเค็ม

มีเกษตรกร 2 รายดำเนินการปลูกยางพาราในพื้นที่ดินเค็ม เมื่อ เดือนมิถุนายน 2551แล้วมาปรึกษาที่ สกย.จ.นครราชสีมา คือ
นางวรรณวิษา วันเดอร์ปลูค บ้านเลขที่ 14 ถนนหนองขาม ต.บัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โทร. 08-1207-4529
นางปราณี จีนชาวสวน บ้านเลขที่ 147 ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครชัยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ โทร. 0-2669-8774,08-9224-7956
ทั้งสองรายที่ตั้งสวนอยู่ที่ บ้านหนองคู หมู่ 1 ต.พะเนียง อ.โนนแดง จ.นครราชสีมา
ได้ดำเนินการปลูกยางพาราในพื้นที่นาดอน เพราะเห็นว่ามีที่ดินอยู่แล้วไม่อยากไปหาซื้อที่ดินใหม่อีก จึงได้ไถปรับสภาพพื้นที่ให้เป็นที่ราบ เอาคันนาออกและขุดหลุมปลูกยาง แม้จะทราบจากการพูดคุยจากชาวบ้านแถวนั้น บ้างแล้วว่าอาจจะมีปัญหาดินเค็ม เพราะสังเกตว่ามีเพียงต้นหญ้าบางชนิดที่ขึ้นปกคลุมอยู่ในบริเวณนี้ ส่วนต้นไม้ขนาดลำต้นสูง ไม่มี แต่ได้รับคำยืนยันจากเกษตรกรว่าก็อยากลองสู้กันดูสักตั้งหนึ่ง จึงได้แนะนำให้ขุดดินตัวอย่างไปวิเคราะห์ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเพื่อทราบคุณสมบัติเบื้องต้นของดินแต่ยังไม่ทราบผล
เกษตรกรปลูกยางแบ่งเป็นพื้นที่ 3 แปลงย่อย แต่อยู่ละแวกเดียวกันอยู่ไม่ห่างไกล กันมากนัก ปลูกไปทั้งหมด 70 ไร่
จากการตรวจสอบเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 พบว่าต้นยางแสดงอาการดังในภาพ
ต่อไปนี้

แปลงที่ 1. เป็นที่ต่ำไม่สามารถระบายน้ำออกได้หมด ความเค็มถูกน้ำดันขึ้นมาบริเวณผิวดินทำให้ต้นยางตายหมดทั้งแปลง เนื้อที่ประมาณ 30 ไร่




การแก้ปัญหาของเกษตรกร ไถปรับพื้นที่ และซื้อหน้าดินจากแปลงข้างเคียงมาถมใหม่ เตรียมใส่ปุ๋ยคอกเพิ่ม

แปลงที่ 2. สภาพพื้นที่ไม่ต่ำมาก ระบายน้ำได้ และน้ำที่รดอาจมีความเข้มข้นของเกลือไม่มากนัก มีขอบใบแห้งที่ใบแก่ ฉัตรล่าง
ขอบใบแห้งยังแสดงอาการไม่มาก เฉพาะขอบบางด้านของใบ

ที่รอบแปลงยาง ได้ปลูกแก้วมังกรไว้ งามดี


แปลงที่ 3. มีสภาพพื้นที่สูงกว่าสองแปลงที่กล่าวมาแล้ว แต่การระบายน้ำออกยังด้อยกว่าแปลงที่ 2 มีอาการที่ขอบใบแก่บางฉัตร

ขอบใบแก่แห้งคล้ายน้ำร้อนลวก เพราะสะสมเกลือไว้มาก



คราบเกลือน้ำบ่อ จากบ่อที่ขุดลึก 5 เมตร ตักขึ้นมารดต้นมะนาวจะเห็นคราบเกลือชัดเจน
อย่างนี้ชิมดูก็รู้ว่าน้ำเค็ม
คุณเล็ก(วรรณวิษา วันเดอร์ปลูค) ดูอาการใบไหม้ของต้นยาง
อาการเริ่มไหม้จากขอบใบเข้ามา
วิธีการแก้ไข ของเกษตรกรเอาแกลบโรยระหว่าง แถวยางและโคนต้นบางส่วนเพื่อดูดซับความเค็ม ต้นยางจะแสดงอาการน้อยลง ได้ แนะนำให้ปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวยางเพื่อปรับปรุงสภาพดิน
แปลงของพี่ชายปลูกพร้อมกัน มิ.ย. 2551 ที่อำเภอบัวใหญ่อยู่ติดกับป่าไม่มีอาการจากดินเค็ม
แต่สภาพดินทรายจัด เหมือนกันกับที่โนนแดง

3.ผลของดินเค็มที่กระทบต่อพืช


ความเค็ม เกลือที่ปนอยู่ในนํ้าชลประทาน หรือมาจากนํ้าใต้ดินเค็มที่อยู่ตื้นใกล้ผิวดิน
ทําให้เกิดเกลือสะสมในดินบริเวณรากพืช เมื่อมีปริมาณมากขึ้นทําให้พืชไม่สามารถดึงนํ้าจากดินได้ตามปกติ เมื่อนํ้าที่จะนําไปใช้ได้ลดลง พืชก็จะมีอัตราการเจริญเติบโตลดลง มีอาการคล้ายพืชขาดนํ้า เช่นเหี่ยว สีเขียวเข้มขึ้น ใบหนาขึ้น มีสารเคลือบใบ อาการที่แสดงออกมาขึ้นกับระยะการเจริญเติบโตของพืชมักจะสังเกตได้ชัดเจนในระยะต้นอ่อน แต่บางกรณีที่เกิดไม่รุนแรงก็ไม่เห็นอาการผิดปกติเหล่านี้ เนื่องจากมีอาการเหมือนกันหมดทั้งแปลงเกลือที่ทําให้เกิดปัญหาดินเค็ม

4.พืชบ่งชี้ว่ามีปัญหาดินเค็มใน จ.นครราชสีมา
บ้านกระเชา อ.ด่านขุนทด บริเวณนาเกลือ พบ Lindernia viatica ใบสีแดงอวบนํ้าใบสีเขียวไม้อวบนํ้า ผักปราบ (Murdanniab nudiflora) ในที่มีความชื้นมาก เทียนนา (Jussiaealinifloria) ผักเบี้ย (Portulaca spp.) หญ้าชันอากาศ (Panicum repens) หญ้าปล้อง (Echinochloaoryzoides) ผักเบี้ย ( Trienthema triqueta) ผักมิ (Bacopa monnieri)
บ้านสระจระเข้ อ.ด่านขุนทด บริ เวณนาเกลือ พบหนวดปลาดุก (Fimbristylis
miliacea) กก (Cyperus spp.) ผักปลาบ (Commelina spp.). Ludwigia hyssopifolia Tragusracemosus หญ้ารังนก (Chloris babata) หญ้ชันอากาศ (Panicum repens) ผักเบี้ยหิน(Trienthema triqueta) และหญ้าปากควาย (Dactylocenium aegyptum)
บ้านกุ่มพญา อ.ขามทะเลสอ พบขลู่ (Pluchea indica) Fimbristylis
semarangensis หญ้ากุกหมู (Fimbristylis monostachyos) ) ผักเบี้ยหิน (Trienthema triqueta)หญ้าชันอากาศ (Panicum repens) และหญ้าปากควาย (Dactylocenium aegyptum)
บ้านหนองแดง อ.ประทาย พบ Eragrostis elongate ผักขม (Amaranthus viridis)กระเมง (Eclipta prostrata) หิ่งเม่นฝอย (Crotalaria linifolia) Merremia tridenta และสร้อยนกเขา
(Synostema bacciformis)

5.สาเหตุของปัญหาดินเค็ม


1.การทำนาเกลือของชาวบ้าน โดยการขูดคราบเกลือมาละลายน้ำ แล้วต้มเพื่อทำเกลือสินเธาว์ขายเช่นในเขตจังหวัด นครราชสีมา อุดรธานี และสกลนคร น้ำเกลือแพร่เข้าไปในเขตนาข้าว เช่นอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

2. การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินเช่น การปลูกพืชไร่ มันสําปะหลัง ปอ ทําให้พื้นที่ป่าไม้ถูกบุกรุกทําลาย ปี 2541 พื้นที่ป่าไม้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคงเหลือเพียง ล้านไร่ หรือ 25.3 เปอรืเซ็นตืของพื้นที่ทั้งประเทศ (กรมป่าไม้, 2541) เมื่อต้นไม้ที่เคยใช้นํ้าปริมาณมากถูกทําลาย สมดุลการใช้นํ้าในพื้นที่ก็เสียไป มีนํ้าส่วนเกินที่ไหลจาก เนินรับนํ้าไปเพิ่มเติมนํ้าใต้ดินเค็มในที่ลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่จ่ายนํ้าหรือพื้นที่ให้นํ้า ถูกยกระดับขึ้นมาใกล้ ผิวดินทําให้ที่ลุ่มซึ่งนาข้าวกลายเป็นดินเค็ม และความเค็มจะค่อยๆ ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เช่น พื้นที่ดินเค็ม อ.ขามทะเลสอ อ.ด่านขุนทด อ.โนนไทย จ.นครราชสีมา
3. การใส่ปุ๋ยเคมีบ่อยและมากเกินไป

6. บทสรุปของเอกสารการแก้ปัญหาดินเค็มของกรมพัฒนาที่ดิน
ในรายงานเอกสารเผยแพร่เรื่องการจัดการดินเค็มของกรมพัฒนาที่ดินกล่าวว่าการแก้ปัญหาดินเค็ม ควรรู้ว่าดินเค็มบริเวณนั้นเกิดจากสาเหตุใด จะทําให้แก้ปัญหาได้ตรงจุดและครบวงจร คือมีวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาต่อไป การแก้ปัญหาดินเค็มเพื่อทําการเกษตรจะต้องลดความเค็มของดินลงด้วยวิธีการธรรมชาติโดยใช้นํ้ าฝนหรือใช้นํ้าชลประทานชะล้างเกลือ การปลูกพืชจําเป็นต้องเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้ดินด้วยอินทรียวัตถุชนิดต่างๆ ที่หาได้ในพื้นที่ เช่น ปุ๋ยคอก แกลบปุ๋ยหมัก พืชปุ๋ยสด อาจใช้ยิบซัมคลุกเคล้ากับดินในกรณีเป็นดินเค็มโซดิก เลือกพืชชนิดและพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และระดับความเค็ม ปลูกพืชในระยะเวลาที่เหมาะสม มีการจัดการนํ้าที่เพียงพอกับความต้องการของพืชและสามารถควบคุมระดับนํ้าใต้ดินเค็มได้ ให้ปุ๋ยเคมีครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งเมื่อเก็บเกี่ยวพืชไปแล้วไม่ ปล่อยให้หน้าดินว่าง ควรมีการคลุมดินด้วยเศษพืชหรือปลูกพืชคลุมดินเพื่อลดการสะสมเกลือที่ชั้นดินบน กรณีที่ดินเค็มมากเลือกปลูกพืชที่ทนเค็มจัด อาจมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไม่สูง แต้ได้ช่วยฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและเพิ่มคุณค่าให้กับพื้นดิน


7. แนวทางแก้ไข

7.1 ติดตามผลอย่างใกล้ชิด แนะนำการปลูกพืชคลุมดินใช้พันธุ์เพอราเรียเพราะ
เมล็ดราคาไม่แพงเถาใหญ่ ดูและง่ายใบร่วงกลับสู่ดินมาก
7.2 เอาผลวิเคราะห์ดินมาประมวลเพื่อแนะนำเกษตรกรให้ตรงตามปัญหา
7.3 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ
7.4 เอาแกลบใส่รอบโคนต้นยางให้มากเพื่อดูดซับความเค็ม และไถยกร่องเพื่อหนีเกลือ

8.หนังสืออ้างอิง

กรมพัฒนาที่ดิน, “การจัดการดินเค็ม” : [URL : www.ldd.go.th/P_Technical03001_1
คู่มือปุ๋ยอินทรีย์(ฉบับนักวิชาการ) เอกสารวิชาการลำดับที่ : 20/2548 กรมวิชาการเกษตร.

ไม่มีความคิดเห็น: