วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ปุ๋ยสั่งตัดพูดกันในที่ประชุมสรุปผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นะ อย่าทำเป็นงง

วันนี้ ๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ ได้มีโอกาสเข้าอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการที่ สกย. จัดขึ้นที่ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น ได้รับฟังบรรยายจากอาจารย์นุชนารถ กังพิสดาร จากสถาบันวิจัยยาง และ ดร.ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์ จากมูลนิธิพลังเวศและชุมชน ฟังๆ ดูคน สกย.
ยังงงงวยกับนิยามคำว่า "ปุ๋ยสั่งตัด" เสียเหลือเกินกลับมาจากอบรมเลยนั่ง เสริชกูเกิลดูปรากฎว่าพูดกันหนาหูในที่ประชุมผู้บริหารระดัยสูงของกระทรวงเกษตรฯ
เพื่อไม่ต้องงงอีกต่อไปโปรดติดตามบัดเดี๋ยวนี้

สรุปผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันพุธที่ 4 มิถุนายน 2551 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชั้น 3
-----------------------------------------------
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

เรื่อง
ข้อสรุป
1. ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
รมว. กษ. แจ้งว่า ปัจจุบันภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพการเกษตรและกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งนโยบาย กษ. เกษตรเพื่อประชาชน การเพิ่มรายได้โดยการเพิ่มผลผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการลดรายจ่ายโดยการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน โครงการปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น กสก. ควรให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทราบ

- รับทราบ
- มอบ กสก. ดำเนินการ
1.2 พืชพลังงาน
รมช. ธีระชัย แจ้งว่า ครม.ได้เห็นชอบให้ใช้ E 85 และมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนร่วมกัน สำหรับในส่วนของ กษ. ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการ โดยได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเห็นว่าผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังมีเพียงพอสำหรับการผลิตเอธานอล
- รับทราบ
1.3 ปุ๋ยปลอมและปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
รมช. ธีระชัย แจ้งผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ตรวจสอบตัวอย่างปุ๋ยจากโรงงานจำนวน 52 ตัวอย่างปรากฏว่า พบปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐานจำนวน 48 ตัวอย่างและยังพบการขายปุ๋ยเกินราคา แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเป็นเรื่องซับซ้อน เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ จึงเสนอข่าวในการป้องปราม
รมว. กษ. ขอให้ วก.และ กสก. ช่วยติดตาม ดูแลเกี่ยวกับการซื้อ ขายปุ๋ย สารเคมีต่าง ๆ ของเกษตรกรและร้านค้า เนื่องจากปัจจุบันปุ๋ยมีราคาสูงมาก ขอให้ทำการปราบปรามอย่างจริงจังเพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ
- รับทราบ
- มอบ วก. และ กสก. ดำเนินการ
1.4 การแสดงความเห็นในการปกป้องอาชีพของเกษตรกร
รมว. กษ. ชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการนำชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกข้าวในประเทศไทยนั้น ในฐานะ รมว. กษ. ต้องการปกป้องคนที่ประกอบอาชีพการเกษตร คุ้มครองพื้นที่ คุ้มครองอาชีพของเกษตรกร เพราะการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทำนาในประเทศจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนาไทย เพราะอาชีพการเกษตรถือเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของประเทศ
นักวิชาการโดยเฉพาะ อ.ระพี สาคริก อ.ประเวศ วสีและภาคประชาชนหลายภาคส่วนได้มีข้อคิดเห็นว่า ควรจะรื้อฟื้นประเพณีการทำพิธีงานรับขวัญแม่โภสพ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงคุณค่าของข้าวและชาวนา ซึ่งได้มอบให้ ที่ปรึกษาฯ ประพัฒน์ หารือกับ อ.ระพี และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดรูปแบบ วันและ เวลาที่เหมาะสม
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาบุกรุกการทำนาในประเทศหลายพื้นที่ และจากการที่ รมว. กษ. มีดำริให้ปกป้องเกษตรกร จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลในระดับพื้นที่
- รับทราบ






- มอบ ทปษ.ฯ ประพัฒน์ ดำเนินการพิธีรับขวัญแม่โภสพ


- ให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอและเกษตรตำบล ติดตามและรายงานข้อมูล

2. สรุปผลการประชุม เมื่อวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2551
- รับรองสรุปผลการประชุม
3. เรื่องสืบเนื่อง
3.1 สถานการณ์ศัตรูพืชระบาด
กสก. รายงานสถานการณ์หอยเชอรี่ระบาด เมื่อกลางเดือน พฤษภาคม 2551 ที่ จ.กำแพงเพชรซึ่งทำความเสียหายเล็กน้อยและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรกำจัดหอยเชอรี่โดยวิธีกล เพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์และทำปุ๋ยชีวภาพ

ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ควรขยายผลให้มากขึ้น และประกาศเป็นแนวทางในการกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะการทำน้ำหมักชีวภาพ
พด. แจ้งว่า ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บหอยเชอรี่มาทำน้ำหมักเพื่อทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งได้ผลค่อนข้างสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่าควรมีผู้รับผิดชอบ จัดทำเป็น Agenda ว่าด้วยเรื่องการป้องกันศัตรูพืชเป็นรายปี
รมว. กษ. เห็นว่า โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ในช่วงเกิดศัตรูพืช โดย เกษตรตำบล น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือได้

-รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.2 โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่และโครงการจัดตั้งนิคมการเกษตร
สปก. รายงานความก้าวหน้าโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ขณะนี้ได้จัดทำ Action Plan เรียบร้อยแล้วทุกจังหวัด โดยจะเปิดโครงการนำร่องครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน2551 ณ จังหวัดชลบุรี สำหรับในปี 2552 ได้รับงบประมาณจำนวน 107.51 ล้านบาทและได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบรองอธิบดีเพื่อติดตาม กำกับ ดูแลและสนับสนุนการทำงานในระดับจังหวัดพร้อมทั้งได้เสนอแผนให้ผู้ตรวจฯ กษ.เพื่อนำไปจัดทำแผนในการตรวจราชการต่อไป
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเป็นนโยบายหลัก ต้องรีบดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ กษ. ได้ดำเนินการก้าวหน้าไปมากแล้วและจะต้องแสดงผลงานให้เห็นถึงความสำคัญ เพื่อของบกลางมาสนับสนุนเพิ่มเติม
- รับทราบ
- มอบ สปก. ดำเนินการและรายงานความคืบหน้า
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นการสร้างอนาคตของชาติ เกษตรกรรุ่นใหม่ควรรับช่วงการทำนาจากพ่อแม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันช่วงปิดเทอมไม่ตรงกับฤดูทำนา จึงเห็นควรหารือกระทรวงศึกษาธิการถึงความเป็นไปได้ในการที่จะปรับระบบการศึกษาให้ปิดเทอมนักเรียนระดับประถมให้สอดคล้องกับฤดูการผลิต
รมว. กษ. กล่าวว่าเนื่องจากโครงการนี้เป็นการสร้างอนาคตทางการเกษตรให้กับคนรุ่นใหม่และเป็นนโยบายสำคัญ ซึ่งทุกหน่วยงานได้ให้ความร่วมมือ เพื่อจะผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรม หลังจากที่โครงการได้ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างความรู้ การแก้ไขปัญหาในเรื่องครบวงจรและเฉพาะทาง ซึ่งจะได้จัดทำรายงานเสนอ ครม. เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนต่อไป
สปก. รายงานผลการดำเนินงานนิคมการเกษตร พื้นที่นำร่องนิคมการเกษตรประกอบด้วย สปก. 10 แห่ง กสส. 4 แห่ง ชป. 1 แห่ง ซึ่งจะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหารูปแบบการบริหารจัดการรายนิคมและองค์ประกอบการดำเนินงานในขนาดที่เหมาะสม ในวันที่ 5 มิถุนายน 2551 และกำหนดเปิดโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ณ นิคมการเกษตร จ. นครราชสีมา
รมว. กษ. กล่าวว่า นิคมการเกษตรคือการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร จัดเป็น Zoning พื้นที่ใดปลูกพืชชนิดใดจะได้ทราบผลผลิตได้ชัดเจน สามารถควบคุมความเสียหายได้ง่าย และให้ พด.ดูแลพื้นที่นาร้างและที่ปรับปรุงแล้ว ถ้ามีความพร้อมอาจประกาศเป็นพื้นที่นิคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการโดยสามารถประสานกับคณะทำงาน รมว. กษ.ได้คือคุณทองแท่ง คุณประภาศรี และคุณสมชาย

3.3 การติดตามความก้าวหน้านโยบายการเกษตรเพื่อความมั่นคง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สป. กษ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2551 ดังนี้ 1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผลงานร้อยละ 26.91 2. การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรฯ ยางพารา (ปรับปรุงสวนยางเดิมและเพิ่มพื้นที่ใหม่ ผลงานร้อยละ 93 และ 36 ตามลำดับ) ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มพื้นที่ใหม่และก่อสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ผลงานร้อยละ 69 และ 78 ตามลำดับ) ลองกอง ผลงานร้อยละ 34.19 ข้าว อยู่ระหว่างดำเนินการ ด้านปศุสัตว์ (ติดตามดูแลแม่โคเนื้อและผสมเทียมผลงานร้อยละ 90 และ 16 ตามลำดับ) แพะ ผลงานร้อยละ 100 และด้านประมง (ผลิตพันธุ์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงโรงเรียนผลงานร้อยละ 59.1 , 22.02 และ 15.5 ตามลำดับ) 3. การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรฯ ( ด้านดินและน้ำ ผลงานร้อยละ 53 และ 36 ตามลำดับ ปะการังเทียมอยู่ระหว่างดำเนินการ) 4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรฯ (พัฒนาเกษตรอาสาผลงานร้อยละ77) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 34.06
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่า ตามข้อกำหนดของรัฐบาลจะต้องสรุปผลการดำเนินงานเสนอ ครม. ทุกเดือนในรูปแบบของข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรคและประเด็นที่ต้องเร่งรัด
รองปลัดฯ ยุคล ให้ข้อคิดเห็นว่า ผลการใช้จ่ายเป็นเงินงบประมาณ ฝ่ายเลขาฯ ควรประสานในพื้นที่ว่ามีงบประมาณที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกันเงินไว้แล้วจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
รองปลัดฯ ฉกรรจ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรรายงานเพิ่มเติมว่านอกจากแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงแล้ว กษ.สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ลดรายจ่ายและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อใช้ในการของบประมาณต่อไป
รมว. กษ. เห็นว่าเรื่องความมั่นคงเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ กษ.ได้รับมอบหมาย ควรเร่งรัดการดำเนินงานและรายงานให้ชัดเจนให้ครอบคลุมตามข้อสังเกตพร้อมทั้งบอกข้อจำกัด เพื่อ ครม. จะได้หาทางแก้ไข
- รับทราบและมอบฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.4 ปราชญ์ชาวบ้าน
รมว. กษ. ให้ข้อสังเกตว่า เรื่องปราชญ์เกษตรเป็นหน้าที่ของ กษ.ที่จะต้องทำนุและบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคลทางด้านการเกษตรซึ่งมีคุณค่าไม่ต่างจากศิลปินแห่งชาติ เพราะถือว่าได้ทำประโยชน์และสร้างคุณูปการให้กับภาคเกษตรมาก เรียกว่าเป็นโครงการปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จึงควรกำหนดคุณสมบัติ ทำการคัดเลือกบุคคลที่สมควรจะได้รับเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ยกย่อง เชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ โดยจัดหาสวัสดิการบางส่วนให้ อาทิ บัตรพิเศษในการเดินทางของปราชญ์ เป็นสิ่งที่ กษ. ควรสืบทอดและรักษาสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินไว้
ให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมอบ สปก.เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- รับทราบและมอบ สปก. ดำเนินการ

4. เรื่องเพื่อทราบ
4.1 สถานการณ์น้ำ
ชป. รายงานการคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงเดือนมิถุนายนของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า การที่เกิดฝนตกในประเทศไทยในช่วงนี้เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านจากทะเลอันดามันผ่านประเทศไทยและ อ่าวไทย โดยครึ่งเดือนแรกมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง และในครึ่งเดือนหลังจะอ่อนกำลังลง ทำให้ครึ่งเดือนแรกเกิดฝนตกมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นจะมีฝนตกลดน้อยลง สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในอ่างทั้งหมดรวม 43,413 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างทั้งหมด โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 มี 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสัก เขื่อนแม่กวง เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนบางพระ และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 มี 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนบางลาง และเขื่อนประแสร์ และสถานการณ์น้ำท่าในลำน้ำสายหลักอยู่ในสภาพปกติ
รมว.กษ. ขอให้มีการระบายน้ำเป็นระยะๆ กรณีมีปริมาณน้ำอยู่ในระดับสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรมีการรายงานการวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
4.2 โครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง
กป. รายงานมติ ค.ร.ม. 27 พ.ค. 2551 ซึ่งเป็นการทบทวน มติ ค.ร.ม. 14 มี.ค. 2549 ที่ให้การช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่ง โดยลดราคาจำหน่ายน้ำมันลิตรละ 2 บาท แต่จะต้องไปเติมน้ำมันที่ห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 5 ไมล์ทะเล ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปใช้บริการได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องคลื่นลมและค่าใช้จ่ายในการออกไปใช้บริการ จึงขอปรับปรุงให้สามารถจำหน่ายน้ำมันบริเวณใกล้ฝั่ง หรือสถานีที่องค์การสะพานปลากำกับดูแลบนฝั่ง ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน โดยจำหน่ายน้ำมันเดือนละ 15 ล้านลิตร ปัจจุบันมีสถานีเข้าร่วมโครงการ 28 สถานี และจะเริ่มจำหน่ายน้ำมันอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มิถุนายน 2551
รมว.กษ. แจ้งว่า สส. ฝ่ายค้านจังหวัดชายทะเล 23 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดสมุทรปราการได้เข้าพบ รมว.กษ. และขอให้หาทางช่วยเหลือ ชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือในขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันอยู่ในระดับลิตรละ 29 บาท แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันขึ้นมากแล้วคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยชาวประมงอีกทางหนึ่ง คือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สทดแทนการใช้น้ำมัน โดยใช้เงินส่วนหนึ่งจากโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร วงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งมี กสส. เป็นเจ้าภาพ และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาในอาทิตย์หน้า
กสส. เสนอขอให้มีการนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอีกรอบหนึ่งก่อนเข้า ค.ร.ม. เนื่องจากเดิมวัตถุประสงค์โครงการฯ เป็นการเสนอให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต และเสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งว่า หากเป็นสหกรณ์ประมงที่มีศักยภาพยังสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางหนึ่ง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่านอกจาก สส. ฝ่ายค้านได้ติดตามการให้ความช่วยเหลือชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวประมง จึงขอให้จัดเตรียมแผนหรือจัดทำกรอบแนวทางช่วยเหลือให้ชัดเจน เพราะคาดว่า สส. ฝ่ายค้านจะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงเสนอให้ กป. เป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลชาวประมง โดยอาจมีการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมาจัดการเรื่องนี้โดยตรง เพราะที่ผ่านมามีหน่วยงานที่มาดำเนินการในเรื่องนี้หลายหน่วยงาน ทำให้การให้ความช่วยเหลือชาวประมงเกิดความล่าช้าและไม่ชัดเจน
รองปลัดฯ ยุคล ชี้แจงว่าเรื่องปัญหาหนี้สินชาวประมง ได้ให้ กป. ประสานกับสมาคมชาวประมงเพื่อแจ้งข้อมูลหนี้แต่ละราย เพื่อจะได้นำมาพิจารณา ในรายละเอียด
กป. รายงานว่าได้เตรียมการเบื้องต้นแล้ว โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง ซึ่งกรรมการฯ ชุดนี้สามารถแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อศึกษาในรายละเอียดแต่ละเรื่องได้ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเสี่ยงภัยหรือแรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะรวมกลุ่มเกษตรกรชาวประมงที่มีจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถขอกู้เงินจาก กสส. ได้

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปพิจารณา
4.3 โครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
กสส. ได้รายงานว่า สืบเนื่องจาก ธ.ก.ส. ได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม. เมื่อ 1 เม.ย.2551 ให้ดำเนินโครงการพักหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งในส่วน กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่มีวงเงินหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกร้อยละ 3 เป็นเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการในลักษณะเงินอุดหนุนเพื่อตั้งเป็นกองทุน เฉลี่ยรายละ 3,000 บาท โดยให้มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้รวบรวมเสนอเป็นโครงการขึ้นมาตามความต้องการของสมาชิก และเนื่องจากในปีงบประมาณ 2552 กสส. ได้รับงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี จำนวน 865 ล้านบาท และไม่ได้รับงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพ ดังนั้น กสส. จึงได้ขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณในปี 2551 มาใช้ จำนวน 19 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอ ค.ร.ม. และจะมีการจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูอาชีพสำหรับเสนอของบประมาณในปีต่อไป
- รับทราบ
4.4 แผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
พด. ได้รายงานผลการประชุมสัมมนา เรื่องแผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อ 18 พ.ค. 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เกษตรกร กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย และผู้ประกอบการ จำนวน 1,235 ราย ซึ่งผลการสัมมนาสรุปได้ 4 ประเด็น คือ การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพชุมชน ให้แก้ไข พรบ. ปุ๋ย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 และให้หน่วยงานภาครัฐศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในไทย ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะนำเสนอ ค.ร.ม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันมีโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชุมชนจำนวนมากที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงขอให้ พด. และผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเข้าไปแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และให้เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนในระยะต่อไป ควรมีการให้ความรู้และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยแก่องค์กรที่จะดำเนินการสร้างให้มากขึ้น เพื่อเป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะงบประมาณส่วนท้องถิ่น จึงขอให้ พด. ประสานกับ อบต. เพื่อเข้ามาดูแลการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้การบูรณาการกับ ปศ. เพื่อนำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ที่ปรึกษาฯ บัวสอน ให้ข้อสังเกตว่า กรณีการให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. อาจเป็นช่องทางเปิดโอกาสให้มีการผลิตปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้คุณภาพมากขึ้น จึงควรมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ชัดเจน
สศก. ได้รายงานความคืบหน้าในการศึกษาถึงความจำเป็นในการสร้างโรงงานปุ๋ยเคมีว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าพอสมควร และยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามกรอบระยะเวลา
พด. รายงานว่า ได้มีการจัดทำร่างแผนแม่บทการขับเคลื่อนการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเฉพาะเรื่องข้าว ขณะนี้ยกร่างเรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงปุ๋ยที่มีปัญหาไม่ว่าจะใช้งบจากแหล่งใด พด. จะเข้าไปดูแล ซึ่งได้มอบให้สถานีพัฒนาที่ดินรายงานการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ซึ่งผลการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งโรงปุ๋ยฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จำนวน 40 กว่าแห่ง ขณะนี้ได้แก้ไขให้สามารถ ขับเคลื่อนได้แล้วบางส่วน สำหรับโรงปุ๋ยฯ ที่มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ คาดว่าประมาณ 3 เดือน สามารถแก้ไขให้ดำเนินการได้
วก. รายงานว่า ตามข้อเสนอของที่ประชุมสัมมนาให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยภายในชุมชนไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. ซึ่ง ตามกฎหมายนั้น ถ้าเป็นการผลิตใช้เองไม่ต้องขออนุญาตจาก วก. แต่หากเป็นการผลิตแล้วมีเหลือสำหรับจำหน่าย จะต้องนำเสนอคณะกรรมการดินและปุ๋ยพิจารณา
กสก. รายงานว่า กสก. ได้ทำการวิจัยทดสอบร่วมกับ มก. พบว่าองค์ประกอบของการลดต้นทุนการผลิตหากดำเนินงาน 4 เรื่อง จะสามารถ ลดต้นทุนการผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 500 บาท คือ การใช้พันธุ์ดี การบริหารจัดการศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การไถกลบตอซัง และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งจากการประชุมร่วมกับ พด. วก. และ กข. สรุปแนวทางดำเนินเป็น 2 ระดับ คือ
1. การใช้ฐานโปรแกรมชุดดินไทยของ พด. เป็นหลักในการเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกร
2. กสก. ได้จัดทำคู่มือเรื่องปุ๋ยสั่งตัด โดยให้ พด. และ กสก. จัดอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 504 ราย ใน 56 จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรไปทำแปลงตัวอย่าง และขยายแนวร่วมรายละ 50 คน
สปก. รายงานว่าได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว ใน 5 จังหวัด เขตพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ 2 แสนไร่ โดยสนับสนุนเครื่องมือตรวจสอบให้กับวิสาหกิจชุมชน และได้ขยายแนวคิดเรื่องนี้ไปสู่วิสาหกิจชุมชนพื้นที่ สปก. 1 ล้านไร่ ใน 18 จังหวัด มีการใช้เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ดินโดยละเอียดร่วมกับ พด. โดยวัดเป็นระวาง และมีการสุ่มตัวอย่างดินอย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในฤดูเพาะปลูกนี้ นอกจากนี้ สปก. ร่วมกับ พด. และ กสก. ให้มีการส่งข้อมูลเรื่องการใช้ปุ๋ยไป ยังมือถือของเกษตรกรในระบบ SMS โดยจะนำร่องในเกษตรกร 2,000 คน
ที่ปรึกษาฯ นิกร เสนอว่า ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนใน 2 ระดับ คือ ในเชิงนโยบาย ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ กษ. ต้องทำอย่างเร่งด่วนในลักษณะการรณรงค์ ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการในเชิงพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินการอยู่แล้ว สำหรับเรื่องโรงปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ วก. นั้น ได้มีข้อตกลงที่ชัดเจนแล้วว่าหากมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายต้องยืนค่ามาตรฐานของ วก. หากมีการใช้ในกลุ่มเกษตรกรก็สามารถใช้ตามค่ามาตรฐานของ พด. ได้
รมว. กษ. เสนอให้ พด. แถลงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะๆและขอให้หน่วยงาน กษ. ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์เรื่องปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นโครงการที่ชี้ให้เห็นถึงจุดคุ้มทุนในการผลิต ซึ่งจะมีส่วนทำให้เกษตรกรปรับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี และถ้าหากจัดในภูมิภาคต่างๆ ก็จะทำให้เกษตรกรกรได้รับประโยชน์รวดเร็ว และกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนขอให้ พด. และ วก. พิจารณามีแนวทางการแก้ไข พรบ. ปุ๋ย เพื่อให้สามารถให้การคุ้มครองเกษตรกรได้ กรณีมีการค้าขายปุ๋ยกำไรเกินควร โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี โดยให้ กษ. สามารถมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ สำหรับข้อเสนอเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำเสนอ ค.ร.ม. ขอให้ พด. นำมาหารือ รมว.กษ. เพื่อปรับปรุงความชัดเจนในบางประเด็น
- รับทราบและรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการ
4.5 โครงการเพิ่มปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
กข. รายงานการจัดทำโครงการฯ เนื่องจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว รมว.กษ.ได้มีนโยบายให้ กข. ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มจากเดิมที่เคยผลิตได้ ปีละ 70,000 ตัน เป็น 100,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 30,000 ตัน) ระยะเวลา 5 ปี รวม 500,000 ตัน แต่เนื่องจาก กข. มีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณจึงขอกู้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อสมทบกับงบประมาณ กข. 42.50 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช 955.50 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,398 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกษตรกร มีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเพื่อปลูกในพื้นที่ 6.7 ล้านไร่ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรไร่ละ 300 บาท
รมว.กษ. มีข้อสังเกตว่า ให้ กข. แนะนำเกษตรกรที่นำพันธุ์ข้าวไปปลูกให้เข้าใจเกี่ยวกับอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ที่เหมาะสม และให้เตรียมข้อมูลชี้แจง ครม. ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 10 มิย. 2551 โดยเฉพาะเกี่ยวกับการขอตั้งงบประมาณใช้คืนกองทุนฯ ให้หารือกับสำนักงบประมาณ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ

4.6 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร
กสส. รายงานความก้าวหน้าผลการจัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ได้มีมติเมื่อ 21 พค. 2551 เห็นชอบโครงการและให้นำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติจัดสรรเงิน กองทุนฯ ให้ กสส. วงเงิน 1,000 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ยและเงินจ่ายขาด 12 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร รวม 3,400 แห่งทั่วประเทศ กำหนดชำระคืนภายในระยะเวลา 5 ปี
สถาบันเกษตรกรต้องจัดทำแผนความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ส่งให้กรมพิจารณา เงินกู้ยืมระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยมีเงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยดังนี้
- ชำระคืนภายในระยะเวลา 12 เดือน ถือว่าชำระเงินสด ไม่คิดดอกเบี้ย
- ชำระคืนเกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี
- รับทราบ

4.7 รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน
ชป. รายงานผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่ 27 พค. 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนการลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ประกอบด้วย แผนปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และแผนบรรเทาอุทกภัย ระยะเวลา 12 ปี (ปี 2552-2563) วงเงินทั้งสิ้น 322,703 ล้านบาท โดยมอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการดังนี้
1. มอบให้ ทส. กษ. และ มท. ดำเนินการตามแผนการฟื้นฟู แหล่งน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน แผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลาง แผนบรรเทาอุทกภัย โดยมีกรอบวงเงินลงทุนในปี 2552-2554 จำนวน 73,885 ล้านบาท
2. มอบให้ กษ. ดำเนินการตามแผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและดำเนินการครบถ้วนตามกฎระเบียบแล้ว จำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี- พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี 2) โครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ไปยังแหล่งเก็บกักน้ำ จ.ระยอง 3) โครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกไปอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี 4) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี ระยะที่ 2 วงเงิน 18,717 ล้านบาท โดยให้เสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติเปิดโครงการเป็นรายโครงการต่อไป
3. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในลุ่มแม่น้ำยม โครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านรองนายกฯ สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนให้เกิดเป็นรูปธรรม
4. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการลงทุน โดยมี รมว.กค. เป็นประธาน พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนและวิธีการระดมทุนที่เหมาะสมต่อไป
5. มอบหมายให้ กษ. และ ทส. เตรียมความพร้อม 16 โครงการ ในการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว โดยให้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการต่างๆ
เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการผันน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนของประเทศ โดยมีรองนายกฯ สหัส บัณฑิตกุล เป็นประธาน
- รับทราบ

4.8 โครงการทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีแก่บุตรหลานเกษตรกรภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง สวก.และธกส.
สวก.รายงานผลการดำเนินงานโครงการซึ่งคณะกรรมการบริหารสำนักงานการวิจัยการเกษตรได้ให้ความเห็นชอบโครงการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2551 ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการจะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบใหม่ที่เหมาะสมมาพัฒนาใช้กับเกษตรกรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมให้เป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.) ได้ทำบันทึกความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยระดับชุมชนกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อจัดทำโครงการร่วมกัน โดยสนับสนุนทุนการศึกษาสาขาการบริหารจัดการน้ำ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการบริหารธุรกิจการเกษตร ให้กับบุตรหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 27 ทุน/ทุนละ 240,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี (2552 – 2554) วงเงินสนับสนุน 6.48 ล้านบาท (สวก. 3.24 ล้านบาท ธกส. 3.24 ล้านบาท)

ทปษ. นิกร และรองฯ ฉกรรจ์ ให้ข้องสังเกตว่ากลุ่มบุคคลเป้าหมายไม่ควรจำกัดเฉพาะลูกหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปปฏิบัติ

4.9 รายงานผลการดำเนินงานเรื่องพืชพลังงานทดแทน
สศก. รายงานความก้าวหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องพืชพลังงาน จำนวน 2 คณะ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ตามข้อสังเกตของ ทปษ.นิกร เกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ซึ่งให้มีเกษตรกรร่วมองค์คณะ ด้วย และให้เป็นอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ
วก. รายงานสถานการณ์การผลิตพืชพลังงานทดแทนดังนี้
1) อ้อยมีพื้นที่เพาะปลูก 6.4 ล้านไร่ ผลผลิต 69.9ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 10.9 ตัน เป็นผลผลิตน้ำตาล 7.2 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันจะใช้เฉพาะกากน้ำตาลมาผลิตเอทานอล ซึ่งนโยบายจะไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยแต่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 10.9 ตันเป็น 11.9 ตัน
2) มันสำปะหลังมีพื้นที่เพาะปลูก 7.42 ล้านไร่ ผลผลิต 27.40 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย3.7 ตัน สำหรับปริมาณการใช้ขณะนี้ใช้ภายในประเทศ (ผลิตมันเส้น แป้งมัน และเอทานอล) และส่งออก ความต้องการ 27.66 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่และผลผลิตมีเพียงพอ สำหรับอนาคตภายใน 5 ปี คาดว่าผลผลิตเพียงพอจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร
ปัจจุบันโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ที่เปิดดำเนินการแล้วมี 1 โรง ได้รับอนุญาตแล้ว พร้อมจะผลิต จำนวน 32 โรง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 11 โรง ในส่วนของอ้อยและกากน้ำตาลมีโรงงานที่ดำเนินการผลิตแล้ว 9 โรง
รมช.ธีระชัย ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องภาคเกษตรโรงน้ำมัน และตัวแทนผู้บริโภคมาร่วมหารือ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ผลิตภาคเกษตรสามารถผลิตวัตถุดิบได้อย่างเพียงพอ โดยได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนการผลิตวัตถุดิบและเอทานอล พร้อมทั้งแผนการส่งเสริมการใช้เอทานอล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอ ค.ร.ม.
3) ปาล์มน้ำมัน ปี 2551 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 2.9 ล้านไร่ ผลผลิตปาล์มสด 7.87 ตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2.72 ตัน ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 1.38 ล้านตัน ใช้ในประเทศ 9 แสนตัน ส่งออก 1.3 แสนตัน และผลิตไบโอดีเซลประมาณ 3.5 แสนตัน ขณะนี้มีโครงการที่จะส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นโครงการของธกส. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
ทปษ.ฯ นิกร แจ้งว่า รมว.กษ. ได้มอบหมายให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ซึ่งสืบเนื่องมาจากคณะทูตได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และท่านฑูตวสินจากกรุงโซลขอพระราชทานวินิจฉัยว่าปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตด้านพลังงานทำให้หลายประเทศมีการนำพื้นที่มาปลูกพืชผลิตพลังงานทดแทนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีแนวพระราชดำริ ต้องการให้ทุกฝ่ายพิจารณา ให้รอบครอบในการที่จะกำหนด จัดสรรพื้นที่ เพื่อปลูกพืชต่างๆ โดยให้มีความสมดุล ซึ่ง ถ้าหากอะไรมากเกินไปก็จะเหลือเฟือทำให้เกิดความเดือดร้อน
รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ กษ. จัดนิคมการเกษตรและจัดโซนนิ่งอยู่แล้ว เพราะเป็นการพิจารณาสภาพความเหมาะสมของลักษณะภูมิศาสตร์ควบคู่ด้วย
ปลัด กษ. แจ้งว่าเกี่ยวกับพืชพลังงาน จากการไปประชุม UN-Convention เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศเยอรมันได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าประเด็นการใช้พื้นที่ปลูกพืชพลังงาน ขณะนี้เป็นประเด็นที่หยิบยกมาเป็นเรื่องสำคัญของทั่วโลกและปรากฏว่ามีผู้ที่พยายามจะตำหนิเกี่ยวกับการนำพื้นที่ปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงาน ซึ่งประเทศกลุ่มโอเปคเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องดังกล่าว และไม่อยากให้มีการนำสิ่งอื่นมาทดแทนน้ำมัน รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่า กษ. ควรดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงต่อไป
- รับทราบ และดำเนินการตามแนวทางของกษ.

4.10 รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
สศก.รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ กษ.ปี2551 จากระบบ
GFMIS ณ 31 พ.ค. 2551 ดังนี้
1) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดได้รับงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงรวม 67,209 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 34,331 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.1 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (ปีก่อนร้อยละ 44.6) แยกเป็น
(1) ส่วนราชการ ได้รับ 64,772 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 32,884 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ของงบส่วนราชการ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 60.2 ของรายจ่ายประจำ (ปีก่อนร้อยละ 52.2) และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 41.0 ของรายจ่ายลงทุน (ปีก่อนร้อยละ 35.6)
(2) รัฐวิสาหกิจ ได้รับ 2,436 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 1,448 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.4 ของงบรัฐวิสาหกิจ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 59.1 ของรายจ่ายประจำ และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 78.26 ของรายจ่ายลงทุน
2) เงินกันเหลื่อมปี 10,706 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 5,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.6
3) งบประมาณปี 2551 คงเหลือ ณ 31 พ.ค. 2551 จำนวน 32,877 ล้านบาทเงินกันเหลื่อมปี คงเหลือ 4,856 ล้านบาท รวมงบประมาณคงเหลือทั้งสิ้น 37,734 ล้านบาท
รมว.กษ. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 เนื่องจากใกล้สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 และจากประสบการณ์ในสภา การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะนำผลการใช้จ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันมาประกอบในการพิจารณางบประมาณปี 2552 ขอให้แต่ละหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามปฏิทินงบประมาณและให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ
- รับทราบ และให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
4.11 มติคณะรัฐมนตรีที่เสนอโดย กษ.
สศก. รายงานมติคณะรัฐมนตรีที่ กษ. ได้นำเสนอ นับตั้งแต่ รมว.กษ. เข้ามาบริหาร กษ. ถึง 3 มิ.ย. 2551 ได้ผลักดันงานสำคัญตามกรอบนโยบาย โดยได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 19 เรื่อง
- รับทราบ
5. เรื่องอื่น ๆ
5.1 การเตรียมการจัดทำคำชี้แจงงบประมาณประจำปี 2552
(เสนอสภาวาระ 1)
สศก. แจ้งกำหนดการจัดเตรียมคำชี้แจงงบประมาณฯ ตามปฏิทินงบประมาณ 2552 สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2551 ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานกลางในการจัดทำคำชี้แจงภาพรวมของ กษ. ขอให้หน่วยงาน จัดเตรียมข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญและผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2551 ข้อมูลสำคัญงบประมาณปี 2552 และประเด็นที่คาดว่าจะถูกอภิปรายโดยสำเนาให้ สศก. ดำเนินการภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2551
รมว. กษ. ขอความร่วมมือให้แต่ละหน่วยงานจัดทำคำชี้แจงและให้แต่ละหน่วยงานไปประจำศูนย์ปฏิบัติการฯ เพื่อรับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปประเด็นคำถาม คำตอบเพื่อ รมต. สามารถตอบข้อซักถามได้ และเตรียมความพร้อมการชี้แจงงบประมาณในคณะกรรมาธิการด้วย

- รับทราบและ มอบให้ทุกหน่วยงานดำเนินการ

5.2 การจัดงานวันกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่าตามที่ ปศ.ได้จัดงานดังกล่าว ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ จ.นครราชสีมา นั้นว่าเป็นเรื่องที่ดี เห็นควรให้มีการจัดงานในพื้นที่เดิม หลังการเก็บเกี่ยวประจำทุกปี และให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายระยะเวลาการจัดงาน พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้โค กระบือทำนา เพื่อลดพลังงานและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
- มอบ ปศ.ดำเนินการ
5.3 การแก้ปัญหาผลไม้
กสส. รายงานการแก้ไขปัญหาผลไม้ โดย กสส.สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรจำหน่ายผลไม้ที่มีคุณภาพ ภาคตะวันออกและภาคใต้ วงเงิน 170 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ภาคตะวันออก จำนวน 11 สหกรณ์ได้กู้ยืมเงินจำนวน 70 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อนำไปรวบรวมผลไม้จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าจังหวัดปลายทางและห้างสรรพสินค้าในราคานำตลาดซึ่งราคาสูงกว่าผู้ซื้อทั่วไป และจัดEvent ต่างๆ ขายได้มูลค่า 1.55 ล้านบาท
- รับทราบ
5.4 โครงการตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพ
มาตรฐานอาหารปลอดภัยภายใต้สัญลักษณ์ Q
มกอช. รายงานว่าตั้งแต่ปี 2549 ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบแหล่งจำหน่ายสินค้า Q
และได้ตรวจประเมินตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมทั้ง
มอบสัญลักษณ์ Q จำนวน 34 แห่งและห้างสรรพสินค้าจำนวน 7 แห่งและ
ได้อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลในการตรวจรับรองทั่วประเทศ ในปี 2551 ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง
- รับทราบ
5.5 พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551
มกอช.แจ้งว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
22 ก.พ.2551 และจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ตรงกับวันที่ 20 ส.ค.2551
ที่ปรีกษาฯ นิกร แจ้งว่ากฎหมายที่ผ่านสภาในช่วงที่ผ่านมาบางฉบับ
เสียงรับรองไม่ครบ ซึ่งทางรัฐบาลได้มีดำริให้พิจารณาหาก พ.ร.บ.ใดมี
เสียงไม่ครบให้นำเสนอใหม่ เพราะถ้าปล่อยไว้จะมีปัญหา สำหรับ พ.ร.บ.
ดังกล่าวให้ไปตรวจสอบ ซึ่ง ที่ปรึกษาฯ นิกร จะรับไปติดตามให้อีกทาง
- มกอช. ดำเนินการ
5.6 การขอคืนเงินประกันลำไย
รมว. กษ. แจ้งว่าได้รับหนังสือจากจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับเกษตรกรขอคืนเงินประกันลำไยปี 2546 กิโลกรัมละ 3 บาท วงเงิน 3 แสนบาทเศษขอให้ อตก.ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดผลกระทบและให้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานอย่างเข้มงวด
- รับทราบและมอบ อตก. ดำเนินการ
5.7 การประกันภัยความเสี่ยงให้เกษตรกร
ที่ปรึกษาฯนิกร กล่าวว่าเรื่องการประกันความเสี่ยงเกษตรกรมีผล
การศึกษารายละเอียดเรียบร้อยแล้วโดย สศก.(คุณวัลลาภ์ นุตะมาน) ได้
กำหนดรายละเอียดไว้ครบถ้วนแล้วและได้มีการยกร่าง พรบ.เรียบร้อยแล้ว หากจะดำเนินการก็สามารถสั่งการให้ สศก.ดำเนินการต่อไป
รองฯ ยุคล ชี้แจงว่า รมว.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยมีรองฯ ยุคล
เป็นประธานและได้ประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมานำเสนอข้อมูล และได้ข้อสรุปโดยให้ สศก.นำเสนอภาพรวมพร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานและได้แต่งตั้งคณะทำงาน ขณะเดียวกันได้
ศึกษาการดำเนินงานของ ธกส.ซึ่งมีความชัดเจนและได้ดำเนินการมาแล้ว
3 ปี และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเริ่มมีความเข้าใจและทราบประโยชน์
ของการประกัน
รมว.กษ. แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่าง กษ.กับ กค. ซึ่งไม่มีผู้รับเป็นเจ้าภาพ ทั้งๆที่ ธกส.ดำเนินการและเป็นผู้ถือเงินซึ่งน่าจะรับเป็นเจ้าภาพ และ กษ.ควรเป็นผู้นำเสนอเรื่อง ปกติทุกปีรัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน
ชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัย ประมาณไร่ละ 400 กว่าบาท ซึ่งใช้งบกลาง ดังนั้น ควรนำเงินดังกล่าวมาดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุน โดยให้สำรวจพื้นที่การเกษตรจากจำนวน 130 ล้านไร่ ว่ามีพื้นที่ที่จะต้องประกันภัยจากภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากจำนวนเท่าไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับคำนวณงบประมาณในการจัดตั้งเป็นกองทุนประกันภัย โดยให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวจ่ายสมทบ และให้ กษ.พิจารณารูปแบบที่ได้ศึกษาไว้แล้วผนวกกับรูปแบบของ ธกส. เพื่อเสนอ ครม.และมอบให้ กค. รับผิดชอบเพราะต้องใช้งบประมาณจากงบกลางเพื่อสมทบกองทุนเบื้องต้น
- รับทราบ มอบคณะกรรมการฯดำเนินการ โดยรับข้อสังเกตไปพิจารณา

สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
มิถุนายน 2551




สรุปผลการประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันพุธที่ 4 มิถุนายน 2551 เวลา 9.30 น.
ณ ห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ชั้น 3
-----------------------------------------------
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

เรื่อง
ข้อสรุป
1. ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
รมว. กษ. แจ้งว่า ปัจจุบันภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพการเกษตรและกลุ่มประชาชนทั่วไป ซึ่งนโยบาย กษ. เกษตรเพื่อประชาชน การเพิ่มรายได้โดยการเพิ่มผลผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการลดรายจ่ายโดยการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด การปลูกพืชเพื่อบริโภคในครัวเรือน โครงการปุ๋ยสั่งตัด เพื่อลดต้นทุนการผลิต การใช้พลังงานทดแทน สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น กสก. ควรให้การสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ พืชผักสวนครัวรั้วกินได้ เพื่อเป็นการลดรายจ่ายและควรประชาสัมพันธ์ให้ผู้สนใจทราบ

- รับทราบ
- มอบ กสก. ดำเนินการ
1.2 พืชพลังงาน
รมช. ธีระชัย แจ้งว่า ครม.ได้เห็นชอบให้ใช้ E 85 และมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงานและกระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนร่วมกัน สำหรับในส่วนของ กษ. ได้ให้ความมั่นใจแก่ผู้ประกอบการ โดยได้หารือกับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเห็นว่าผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังมีเพียงพอสำหรับการผลิตเอธานอล
- รับทราบ
1.3 ปุ๋ยปลอมและปุ๋ยไม่ได้มาตรฐาน
รมช. ธีระชัย แจ้งผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเฉพาะกิจฯ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ตรวจสอบตัวอย่างปุ๋ยจากโรงงานจำนวน 52 ตัวอย่างปรากฏว่า พบปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้มาตรฐานจำนวน 48 ตัวอย่างและยังพบการขายปุ๋ยเกินราคา แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเป็นเรื่องซับซ้อน เกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ จึงเสนอข่าวในการป้องปราม
รมว. กษ. ขอให้ วก.และ กสก. ช่วยติดตาม ดูแลเกี่ยวกับการซื้อ ขายปุ๋ย สารเคมีต่าง ๆ ของเกษตรกรและร้านค้า เนื่องจากปัจจุบันปุ๋ยมีราคาสูงมาก ขอให้ทำการปราบปรามอย่างจริงจังเพื่อเป็นการคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ
- รับทราบ
- มอบ วก. และ กสก. ดำเนินการ
1.4 การแสดงความเห็นในการปกป้องอาชีพของเกษตรกร
รมว. กษ. ชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการนำชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนปลูกข้าวในประเทศไทยนั้น ในฐานะ รมว. กษ. ต้องการปกป้องคนที่ประกอบอาชีพการเกษตร คุ้มครองพื้นที่ คุ้มครองอาชีพของเกษตรกร เพราะการให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนทำนาในประเทศจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวนาไทย เพราะอาชีพการเกษตรถือเป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายของประเทศ
นักวิชาการโดยเฉพาะ อ.ระพี สาคริก อ.ประเวศ วสีและภาคประชาชนหลายภาคส่วนได้มีข้อคิดเห็นว่า ควรจะรื้อฟื้นประเพณีการทำพิธีงานรับขวัญแม่โภสพ เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงคุณค่าของข้าวและชาวนา ซึ่งได้มอบให้ ที่ปรึกษาฯ ประพัฒน์ หารือกับ อ.ระพี และองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดรูปแบบ วันและ เวลาที่เหมาะสม
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่า ขณะนี้ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาบุกรุกการทำนาในประเทศหลายพื้นที่ และจากการที่ รมว. กษ. มีดำริให้ปกป้องเกษตรกร จึงขอให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลในระดับพื้นที่
- รับทราบ






- มอบ ทปษ.ฯ ประพัฒน์ ดำเนินการพิธีรับขวัญแม่โภสพ


- ให้ทุกหน่วยงาน โดยเฉพาะเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอและเกษตรตำบล ติดตามและรายงานข้อมูล

2. สรุปผลการประชุม เมื่อวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2551
- รับรองสรุปผลการประชุม
3. เรื่องสืบเนื่อง
3.1 สถานการณ์ศัตรูพืชระบาด
กสก. รายงานสถานการณ์หอยเชอรี่ระบาด เมื่อกลางเดือน พฤษภาคม 2551 ที่ จ.กำแพงเพชรซึ่งทำความเสียหายเล็กน้อยและสามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว ซึ่งได้ประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรกำจัดหอยเชอรี่โดยวิธีกล เพื่อนำไปใช้เลี้ยงสัตว์และทำปุ๋ยชีวภาพ

ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ความเห็นว่า ควรขยายผลให้มากขึ้น และประกาศเป็นแนวทางในการกำจัดศัตรูพืชโดยเฉพาะการทำน้ำหมักชีวภาพ
พด. แจ้งว่า ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บหอยเชอรี่มาทำน้ำหมักเพื่อทดแทนปุ๋ยไนโตรเจนซึ่งได้ผลค่อนข้างสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่าควรมีผู้รับผิดชอบ จัดทำเป็น Agenda ว่าด้วยเรื่องการป้องกันศัตรูพืชเป็นรายปี
รมว. กษ. เห็นว่า โครงการรณรงค์ต่าง ๆ ในช่วงเกิดศัตรูพืช โดย เกษตรตำบล น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเหลือได้

-รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.2 โครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่และโครงการจัดตั้งนิคมการเกษตร
สปก. รายงานความก้าวหน้าโครงการสร้างและพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ขณะนี้ได้จัดทำ Action Plan เรียบร้อยแล้วทุกจังหวัด โดยจะเปิดโครงการนำร่องครั้งแรกวันที่ 3 มิถุนายน2551 ณ จังหวัดชลบุรี สำหรับในปี 2552 ได้รับงบประมาณจำนวน 107.51 ล้านบาทและได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมอบรองอธิบดีเพื่อติดตาม กำกับ ดูแลและสนับสนุนการทำงานในระดับจังหวัดพร้อมทั้งได้เสนอแผนให้ผู้ตรวจฯ กษ.เพื่อนำไปจัดทำแผนในการตรวจราชการต่อไป
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่าโครงการดังกล่าวเป็นนโยบายหลัก ต้องรีบดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ กษ. ได้ดำเนินการก้าวหน้าไปมากแล้วและจะต้องแสดงผลงานให้เห็นถึงความสำคัญ เพื่อของบกลางมาสนับสนุนเพิ่มเติม
- รับทราบ
- มอบ สปก. ดำเนินการและรายงานความคืบหน้า
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นการสร้างอนาคตของชาติ เกษตรกรรุ่นใหม่ควรรับช่วงการทำนาจากพ่อแม่ แต่เนื่องจากปัจจุบันช่วงปิดเทอมไม่ตรงกับฤดูทำนา จึงเห็นควรหารือกระทรวงศึกษาธิการถึงความเป็นไปได้ในการที่จะปรับระบบการศึกษาให้ปิดเทอมนักเรียนระดับประถมให้สอดคล้องกับฤดูการผลิต
รมว. กษ. กล่าวว่าเนื่องจากโครงการนี้เป็นการสร้างอนาคตทางการเกษตรให้กับคนรุ่นใหม่และเป็นนโยบายสำคัญ ซึ่งทุกหน่วยงานได้ให้ความร่วมมือ เพื่อจะผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรม หลังจากที่โครงการได้ดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง ได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างความรู้ การแก้ไขปัญหาในเรื่องครบวงจรและเฉพาะทาง ซึ่งจะได้จัดทำรายงานเสนอ ครม. เพื่อเสนอของบประมาณสนับสนุนต่อไป
สปก. รายงานผลการดำเนินงานนิคมการเกษตร พื้นที่นำร่องนิคมการเกษตรประกอบด้วย สปก. 10 แห่ง กสส. 4 แห่ง ชป. 1 แห่ง ซึ่งจะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหารูปแบบการบริหารจัดการรายนิคมและองค์ประกอบการดำเนินงานในขนาดที่เหมาะสม ในวันที่ 5 มิถุนายน 2551 และกำหนดเปิดโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์ในวันที่ 20 มิถุนายน 2551 ณ นิคมการเกษตร จ. นครราชสีมา
รมว. กษ. กล่าวว่า นิคมการเกษตรคือการปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตร จัดเป็น Zoning พื้นที่ใดปลูกพืชชนิดใดจะได้ทราบผลผลิตได้ชัดเจน สามารถควบคุมความเสียหายได้ง่าย และให้ พด.ดูแลพื้นที่นาร้างและที่ปรับปรุงแล้ว ถ้ามีความพร้อมอาจประกาศเป็นพื้นที่นิคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการโดยสามารถประสานกับคณะทำงาน รมว. กษ.ได้คือคุณทองแท่ง คุณประภาศรี และคุณสมชาย

3.3 การติดตามความก้าวหน้านโยบายการเกษตรเพื่อความมั่นคง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้
สป. กษ. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรฯ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปี 2551 ดังนี้ 1. การสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ผลงานร้อยละ 26.91 2. การพัฒนาและฟื้นฟูอาชีพภาคเกษตรฯ ยางพารา (ปรับปรุงสวนยางเดิมและเพิ่มพื้นที่ใหม่ ผลงานร้อยละ 93 และ 36 ตามลำดับ) ปาล์มน้ำมัน (เพิ่มพื้นที่ใหม่และก่อสร้างโรงสกัดน้ำมันปาล์ม ผลงานร้อยละ 69 และ 78 ตามลำดับ) ลองกอง ผลงานร้อยละ 34.19 ข้าว อยู่ระหว่างดำเนินการ ด้านปศุสัตว์ (ติดตามดูแลแม่โคเนื้อและผสมเทียมผลงานร้อยละ 90 และ 16 ตามลำดับ) แพะ ผลงานร้อยละ 100 และด้านประมง (ผลิตพันธุ์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและประมงโรงเรียนผลงานร้อยละ 59.1 , 22.02 และ 15.5 ตามลำดับ) 3. การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรฯ ( ด้านดินและน้ำ ผลงานร้อยละ 53 และ 36 ตามลำดับ ปะการังเทียมอยู่ระหว่างดำเนินการ) 4. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการองค์กรฯ (พัฒนาเกษตรอาสาผลงานร้อยละ77) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ร้อยละ 34.06
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่า ตามข้อกำหนดของรัฐบาลจะต้องสรุปผลการดำเนินงานเสนอ ครม. ทุกเดือนในรูปแบบของข้อจำกัด ปัญหา อุปสรรคและประเด็นที่ต้องเร่งรัด
รองปลัดฯ ยุคล ให้ข้อคิดเห็นว่า ผลการใช้จ่ายเป็นเงินงบประมาณ ฝ่ายเลขาฯ ควรประสานในพื้นที่ว่ามีงบประมาณที่อยู่ระหว่างดำเนินการและกันเงินไว้แล้วจำนวนเท่าไร ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น
รองปลัดฯ ฉกรรจ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรรายงานเพิ่มเติมว่านอกจากแก้ปัญหาเรื่องความมั่นคงแล้ว กษ.สามารถทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่ม ลดรายจ่ายและมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นได้อย่างไร เพื่อใช้ในการของบประมาณต่อไป
รมว. กษ. เห็นว่าเรื่องความมั่นคงเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลที่ กษ.ได้รับมอบหมาย ควรเร่งรัดการดำเนินงานและรายงานให้ชัดเจนให้ครอบคลุมตามข้อสังเกตพร้อมทั้งบอกข้อจำกัด เพื่อ ครม. จะได้หาทางแก้ไข
- รับทราบและมอบฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ รับข้อสังเกตไปดำเนินการ
3.4 ปราชญ์ชาวบ้าน
รมว. กษ. ให้ข้อสังเกตว่า เรื่องปราชญ์เกษตรเป็นหน้าที่ของ กษ.ที่จะต้องทำนุและบำรุงรักษาทรัพยากรบุคคลทางด้านการเกษตรซึ่งมีคุณค่าไม่ต่างจากศิลปินแห่งชาติ เพราะถือว่าได้ทำประโยชน์และสร้างคุณูปการให้กับภาคเกษตรมาก เรียกว่าเป็นโครงการปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน จึงควรกำหนดคุณสมบัติ ทำการคัดเลือกบุคคลที่สมควรจะได้รับเป็นปราชญ์ของแผ่นดิน ยกย่อง เชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ โดยจัดหาสวัสดิการบางส่วนให้ อาทิ บัตรพิเศษในการเดินทางของปราชญ์ เป็นสิ่งที่ กษ. ควรสืบทอดและรักษาสมบัติอันล้ำค่าของแผ่นดินไว้
ให้แต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อดำเนินการให้เป็นรูปธรรม โดยมอบ สปก.เป็นเจ้าภาพร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- รับทราบและมอบ สปก. ดำเนินการ

4. เรื่องเพื่อทราบ
4.1 สถานการณ์น้ำ
ชป. รายงานการคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงเดือนมิถุนายนของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า การที่เกิดฝนตกในประเทศไทยในช่วงนี้เกิดจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดผ่านจากทะเลอันดามันผ่านประเทศไทยและ อ่าวไทย โดยครึ่งเดือนแรกมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง และในครึ่งเดือนหลังจะอ่อนกำลังลง ทำให้ครึ่งเดือนแรกเกิดฝนตกมากในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากนั้นจะมีฝนตกลดน้อยลง สำหรับสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในอ่างทั้งหมดรวม 43,413 ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างทั้งหมด โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 มี 4 แห่ง ได้แก่ เขื่อนป่าสัก เขื่อนแม่กวง เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนบางพระ และเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 มี 3 แห่ง ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนบางลาง และเขื่อนประแสร์ และสถานการณ์น้ำท่าในลำน้ำสายหลักอยู่ในสภาพปกติ
รมว.กษ. ขอให้มีการระบายน้ำเป็นระยะๆ กรณีมีปริมาณน้ำอยู่ในระดับสูง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อคิดเห็นว่า ควรมีการรายงานการวิเคราะห์รูปแบบการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ
4.2 โครงการจำหน่ายน้ำมันในเขตทะเลอาณาเขตให้ชาวประมงชายฝั่ง
กป. รายงานมติ ค.ร.ม. 27 พ.ค. 2551 ซึ่งเป็นการทบทวน มติ ค.ร.ม. 14 มี.ค. 2549 ที่ให้การช่วยเหลือชาวประมงชายฝั่ง โดยลดราคาจำหน่ายน้ำมันลิตรละ 2 บาท แต่จะต้องไปเติมน้ำมันที่ห่างจากฝั่งไม่น้อยกว่า 5 ไมล์ทะเล ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กไม่สามารถออกไปใช้บริการได้ เนื่องจากมีปัญหาเรื่องคลื่นลมและค่าใช้จ่ายในการออกไปใช้บริการ จึงขอปรับปรุงให้สามารถจำหน่ายน้ำมันบริเวณใกล้ฝั่ง หรือสถานีที่องค์การสะพานปลากำกับดูแลบนฝั่ง ระยะเวลาดำเนินการ 6 เดือน โดยจำหน่ายน้ำมันเดือนละ 15 ล้านลิตร ปัจจุบันมีสถานีเข้าร่วมโครงการ 28 สถานี และจะเริ่มจำหน่ายน้ำมันอย่างเป็นทางการในวันที่ 4 มิถุนายน 2551
รมว.กษ. แจ้งว่า สส. ฝ่ายค้านจังหวัดชายทะเล 23 จังหวัด ยกเว้นจังหวัดสมุทรปราการได้เข้าพบ รมว.กษ. และขอให้หาทางช่วยเหลือ ชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ซึ่งโครงการนี้เป็นการให้ความช่วยเหลือในขณะที่สถานการณ์ราคาน้ำมันอยู่ในระดับลิตรละ 29 บาท แต่ปัจจุบันราคาน้ำมันขึ้นมากแล้วคงจะไม่เพียงพอ ดังนั้นวิธีที่จะช่วยชาวประมงอีกทางหนึ่ง คือการสนับสนุนเงินทุนเพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์ให้สามารถใช้แก๊สทดแทนการใช้น้ำมัน โดยใช้เงินส่วนหนึ่งจากโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร วงเงิน 1,000 ล้านบาท ซึ่งมี กสส. เป็นเจ้าภาพ และจะเสนอให้ ครม. พิจารณาในอาทิตย์หน้า
กสส. เสนอขอให้มีการนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอีกรอบหนึ่งก่อนเข้า ค.ร.ม. เนื่องจากเดิมวัตถุประสงค์โครงการฯ เป็นการเสนอให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการซื้อปัจจัยการผลิต และเสนอทางเลือกอีกทางหนึ่งว่า หากเป็นสหกรณ์ประมงที่มีศักยภาพยังสามารถกู้ยืมเงินจากกองทุนพัฒนาสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอีกทางหนึ่ง
ที่ปรึกษาฯ นิกร ให้ข้อสังเกตว่านอกจาก สส. ฝ่ายค้านได้ติดตามการให้ความช่วยเหลือชาวประมงที่ประสบปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นแล้ว ยังมีเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้สินชาวประมง จึงขอให้จัดเตรียมแผนหรือจัดทำกรอบแนวทางช่วยเหลือให้ชัดเจน เพราะคาดว่า สส. ฝ่ายค้านจะติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด ดังนั้นจึงเสนอให้ กป. เป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลชาวประมง โดยอาจมีการจัดตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมาจัดการเรื่องนี้โดยตรง เพราะที่ผ่านมามีหน่วยงานที่มาดำเนินการในเรื่องนี้หลายหน่วยงาน ทำให้การให้ความช่วยเหลือชาวประมงเกิดความล่าช้าและไม่ชัดเจน
รองปลัดฯ ยุคล ชี้แจงว่าเรื่องปัญหาหนี้สินชาวประมง ได้ให้ กป. ประสานกับสมาคมชาวประมงเพื่อแจ้งข้อมูลหนี้แต่ละราย เพื่อจะได้นำมาพิจารณา ในรายละเอียด
กป. รายงานว่าได้เตรียมการเบื้องต้นแล้ว โดยการจัดตั้งคณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคประมง ซึ่งกรรมการฯ ชุดนี้สามารถแต่งตั้งอนุกรรมการเพื่อศึกษาในรายละเอียดแต่ละเรื่องได้ เช่น ปัญหาหนี้สิน ปัญหาการเสี่ยงภัยหรือแรงงานต่างด้าว เป็นต้น นอกจากนี้เรายังสามารถที่จะรวมกลุ่มเกษตรกรชาวประมงที่มีจำนวนมากเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถขอกู้เงินจาก กสส. ได้

- รับทราบและรับข้อสังเกตไปพิจารณา
4.3 โครงการลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร
กสส. ได้รายงานว่า สืบเนื่องจาก ธ.ก.ส. ได้รับอนุมัติจาก ค.ร.ม. เมื่อ 1 เม.ย.2551 ให้ดำเนินโครงการพักหนี้และฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรที่เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. ซึ่งในส่วน กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการ ลดภาระหนี้เกษตรกรรายย่อยและยากจนผ่านสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ที่มีวงเงินหนี้ไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้กับสมาชิกร้อยละ 3 เป็นเวลา 2 รอบบัญชี สำหรับกิจกรรมฟื้นฟูอาชีพ กสส. ได้จัดทำเป็นโครงการในลักษณะเงินอุดหนุนเพื่อตั้งเป็นกองทุน เฉลี่ยรายละ 3,000 บาท โดยให้มีสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรเป็นผู้รวบรวมเสนอเป็นโครงการขึ้นมาตามความต้องการของสมาชิก และเนื่องจากในปีงบประมาณ 2552 กสส. ได้รับงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ย ร้อยละ 3 ต่อปี จำนวน 865 ล้านบาท และไม่ได้รับงบประมาณเพื่อฟื้นฟูอาชีพ ดังนั้น กสส. จึงได้ขอโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณในปี 2551 มาใช้ จำนวน 19 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอ ค.ร.ม. และจะมีการจัดทำเป็นแผนฟื้นฟูอาชีพสำหรับเสนอของบประมาณในปีต่อไป
- รับทราบ
4.4 แผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี
พด. ได้รายงานผลการประชุมสัมมนา เรื่องแผนพัฒนาทางรอดเกษตรกรไทยสู่ทางเลือกการผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี เมื่อ 18 พ.ค. 2551 ณ โรงแรมมิราเคิล กรุงเทพฯ โดยผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เกษตรกร กลุ่มผู้ผลิตปุ๋ย และผู้ประกอบการ จำนวน 1,235 ราย ซึ่งผลการสัมมนาสรุปได้ 4 ประเด็น คือ การรณรงค์ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี การขับเคลื่อนการดำเนินงานโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพชุมชน ให้แก้ไข พรบ. ปุ๋ย (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 และให้หน่วยงานภาครัฐศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีในไทย ซึ่งแผนงานดังกล่าวจะนำเสนอ ค.ร.ม. เพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ ให้ข้อคิดเห็นว่า ปัจจุบันมีโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชุมชนจำนวนมากที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จึงขอให้ พด. และผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดเข้าไปแก้ไขเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ และให้เร่งรัดการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สำหรับการสร้างโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนในระยะต่อไป ควรมีการให้ความรู้และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างโรงงานผลิตปุ๋ยแก่องค์กรที่จะดำเนินการสร้างให้มากขึ้น เพื่อเป็นการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะงบประมาณส่วนท้องถิ่น จึงขอให้ พด. ประสานกับ อบต. เพื่อเข้ามาดูแลการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง และให้การบูรณาการกับ ปศ. เพื่อนำมูลสัตว์มาใช้ประโยชน์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ที่ปรึกษาฯ บัวสอน ให้ข้อสังเกตว่า กรณีการให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. อาจเป็นช่องทางเปิดโอกาสให้มีการผลิตปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยไม่ได้คุณภาพมากขึ้น จึงควรมีการกำหนดมาตรการตรวจสอบดูแลให้ชัดเจน
สศก. ได้รายงานความคืบหน้าในการศึกษาถึงความจำเป็นในการสร้างโรงงานปุ๋ยเคมีว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าพอสมควร และยังอยู่ระหว่างดำเนินการตามกรอบระยะเวลา
พด. รายงานว่า ได้มีการจัดทำร่างแผนแม่บทการขับเคลื่อนการใช้ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเฉพาะเรื่องข้าว ขณะนี้ยกร่างเรียบร้อยแล้ว สำหรับโรงปุ๋ยที่มีปัญหาไม่ว่าจะใช้งบจากแหล่งใด พด. จะเข้าไปดูแล ซึ่งได้มอบให้สถานีพัฒนาที่ดินรายงานการแก้ไขปัญหาเป็นระยะ ซึ่งผลการแก้ไขเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งโรงปุ๋ยฯ ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จำนวน 40 กว่าแห่ง ขณะนี้ได้แก้ไขให้สามารถ ขับเคลื่อนได้แล้วบางส่วน สำหรับโรงปุ๋ยฯ ที่มีประสิทธิภาพไม่เต็มที่ คาดว่าประมาณ 3 เดือน สามารถแก้ไขให้ดำเนินการได้
วก. รายงานว่า ตามข้อเสนอของที่ประชุมสัมมนาให้กลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปุ๋ยภายในชุมชนไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ วก. ซึ่ง ตามกฎหมายนั้น ถ้าเป็นการผลิตใช้เองไม่ต้องขออนุญาตจาก วก. แต่หากเป็นการผลิตแล้วมีเหลือสำหรับจำหน่าย จะต้องนำเสนอคณะกรรมการดินและปุ๋ยพิจารณา
กสก. รายงานว่า กสก. ได้ทำการวิจัยทดสอบร่วมกับ มก. พบว่าองค์ประกอบของการลดต้นทุนการผลิตหากดำเนินงาน 4 เรื่อง จะสามารถ ลดต้นทุนการผลิตได้เฉลี่ยไร่ละ 500 บาท คือ การใช้พันธุ์ดี การบริหารจัดการศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ การไถกลบตอซัง และการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ซึ่งจากการประชุมร่วมกับ พด. วก. และ กข. สรุปแนวทางดำเนินเป็น 2 ระดับ คือ
1. การใช้ฐานโปรแกรมชุดดินไทยของ พด. เป็นหลักในการเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกร
2. กสก. ได้จัดทำคู่มือเรื่องปุ๋ยสั่งตัด โดยให้ พด. และ กสก. จัดอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 504 ราย ใน 56 จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรไปทำแปลงตัวอย่าง และขยายแนวร่วมรายละ 50 คน
สปก. รายงานว่าได้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว ใน 5 จังหวัด เขตพื้นที่ ทุ่งกุลาร้องไห้ 2 แสนไร่ โดยสนับสนุนเครื่องมือตรวจสอบให้กับวิสาหกิจชุมชน และได้ขยายแนวคิดเรื่องนี้ไปสู่วิสาหกิจชุมชนพื้นที่ สปก. 1 ล้านไร่ ใน 18 จังหวัด มีการใช้เครื่องมือตรวจสอบวิเคราะห์ดินโดยละเอียดร่วมกับ พด. โดยวัดเป็นระวาง และมีการสุ่มตัวอย่างดินอย่างน้อย 2 จุด เพื่อให้มีความชัดเจนในระดับหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในฤดูเพาะปลูกนี้ นอกจากนี้ สปก. ร่วมกับ พด. และ กสก. ให้มีการส่งข้อมูลเรื่องการใช้ปุ๋ยไป ยังมือถือของเกษตรกรในระบบ SMS โดยจะนำร่องในเกษตรกร 2,000 คน
ที่ปรึกษาฯ นิกร เสนอว่า ควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนใน 2 ระดับ คือ ในเชิงนโยบาย ซึ่งถือเป็นนโยบายที่ กษ. ต้องทำอย่างเร่งด่วนในลักษณะการรณรงค์ ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการในเชิงพื้นที่ ซึ่งหน่วยงานต่างๆ มีการดำเนินการอยู่แล้ว สำหรับเรื่องโรงปุ๋ยอินทรีย์ที่ไม่ผ่านมาตรฐานของ วก. นั้น ได้มีข้อตกลงที่ชัดเจนแล้วว่าหากมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อจำหน่ายตามกฎหมายต้องยืนค่ามาตรฐานของ วก. หากมีการใช้ในกลุ่มเกษตรกรก็สามารถใช้ตามค่ามาตรฐานของ พด. ได้
รมว. กษ. เสนอให้ พด. แถลงความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมทั้งการรณรงค์เพื่อสร้างความเข้าใจและยอมรับในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมีเป็นระยะๆและขอให้หน่วยงาน กษ. ร่วมกันจัดทำโครงการรณรงค์เรื่องปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นโครงการที่ชี้ให้เห็นถึงจุดคุ้มทุนในการผลิต ซึ่งจะมีส่วนทำให้เกษตรกรปรับมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนการใช้ปุ๋ยเคมี และถ้าหากจัดในภูมิภาคต่างๆ ก็จะทำให้เกษตรกรกรได้รับประโยชน์รวดเร็ว และกว้างขวางมากขึ้น ตลอดจนขอให้ พด. และ วก. พิจารณามีแนวทางการแก้ไข พรบ. ปุ๋ย เพื่อให้สามารถให้การคุ้มครองเกษตรกรได้ กรณีมีการค้าขายปุ๋ยกำไรเกินควร โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี โดยให้ กษ. สามารถมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตได้ สำหรับข้อเสนอเรื่องปุ๋ยอินทรีย์ที่จะนำเสนอ ค.ร.ม. ขอให้ พด. นำมาหารือ รมว.กษ. เพื่อปรับปรุงความชัดเจนในบางประเด็น
- รับทราบและรับข้อสังเกตของที่ประชุมไปดำเนินการ
4.5 โครงการเพิ่มปริมาณการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
กข. รายงานการจัดทำโครงการฯ เนื่องจากเกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มมากขึ้น ทำให้ขาดแคลนเมล็ดพันธุ์ข้าว รมว.กษ.ได้มีนโยบายให้ กข. ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพิ่มจากเดิมที่เคยผลิตได้ ปีละ 70,000 ตัน เป็น 100,000 ตัน (เพิ่มขึ้น 30,000 ตัน) ระยะเวลา 5 ปี รวม 500,000 ตัน แต่เนื่องจาก กข. มีข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณจึงขอกู้เงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 400 ล้านบาท เพื่อสมทบกับงบประมาณ กข. 42.50 ล้านบาท เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตและขยายพันธุ์พืช 955.50 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 1,398 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้เกษตรกร มีเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดีเพื่อปลูกในพื้นที่ 6.7 ล้านไร่ และยังช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรไร่ละ 300 บาท
รมว.กษ. มีข้อสังเกตว่า ให้ กข. แนะนำเกษตรกรที่นำพันธุ์ข้าวไปปลูกให้เข้าใจเกี่ยวกับอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่ที่เหมาะสม และให้เตรียมข้อมูลชี้แจง ครม. ซึ่งคาดว่าจะพิจารณาในวันที่ 10 มิย. 2551 โดยเฉพาะเกี่ยวกับการขอตั้งงบประมาณใช้คืนกองทุนฯ ให้หารือกับสำนักงบประมาณ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปดำเนินการ

4.6 โครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร
กสส. รายงานความก้าวหน้าผลการจัดทำโครงการสนับสนุนสินเชื่อฯ ซึ่งคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร ได้มีมติเมื่อ 21 พค. 2551 เห็นชอบโครงการและให้นำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติจัดสรรเงิน กองทุนฯ ให้ กสส. วงเงิน 1,000 ล้านบาท ปลอดดอกเบี้ยและเงินจ่ายขาด 12 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรแก่สถาบันเกษตรกร รวม 3,400 แห่งทั่วประเทศ กำหนดชำระคืนภายในระยะเวลา 5 ปี
สถาบันเกษตรกรต้องจัดทำแผนความต้องการใช้ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ส่งให้กรมพิจารณา เงินกู้ยืมระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี โดยมีเงื่อนไขการคิดดอกเบี้ยดังนี้
- ชำระคืนภายในระยะเวลา 12 เดือน ถือว่าชำระเงินสด ไม่คิดดอกเบี้ย
- ชำระคืนเกิน 12 เดือน ให้คิดดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี
- รับทราบ

4.7 รายงานความก้าวหน้าการพัฒนาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการชลประทาน
ชป. รายงานผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เมื่อวันที่ 27 พค. 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมเห็นชอบร่างแผนการลงทุนพัฒนาและบริหารจัดการน้ำและการชลประทาน ประกอบด้วย แผนปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็ก แผนพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน และแผนบรรเทาอุทกภัย ระยะเวลา 12 ปี (ปี 2552-2563) วงเงินทั้งสิ้น 322,703 ล้านบาท โดยมอบให้หน่วยงานที่รับผิดชอบไปดำเนินการดังนี้
1. มอบให้ ทส. กษ. และ มท. ดำเนินการตามแผนการฟื้นฟู แหล่งน้ำขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน แผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดเล็กและขนาดกลาง แผนบรรเทาอุทกภัย โดยมีกรอบวงเงินลงทุนในปี 2552-2554 จำนวน 73,885 ล้านบาท
2. มอบให้ กษ. ดำเนินการตามแผนขยายและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการชลประทานขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมและดำเนินการครบถ้วนตามกฎระเบียบแล้ว จำนวน 4 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี- พุมดวง จ.สุราษฎร์ธานี 2) โครงการผันน้ำจากพื้นที่จังหวัดจันทบุรี ไปยังแหล่งเก็บกักน้ำ จ.ระยอง 3) โครงการผันน้ำจากลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกไปอ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี 4) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองจันทบุรี ระยะที่ 2 วงเงิน 18,717 ล้านบาท โดยให้เสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติเปิดโครงการเป็นรายโครงการต่อไป
3. เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในลุ่มแม่น้ำยม โครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ โดยมีท่านรองนายกฯ สนั่น ขจรประศาสน์ เป็นประธาน เพื่อเร่งรัดแก้ไขปัญหาน้ำขาดแคลนให้เกิดเป็นรูปธรรม
4. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการลงทุน โดยมี รมว.กค. เป็นประธาน พิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนและวิธีการระดมทุนที่เหมาะสมต่อไป
5. มอบหมายให้ กษ. และ ทส. เตรียมความพร้อม 16 โครงการ ในการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว โดยให้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการต่างๆ
เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนการผันน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุนของประเทศ โดยมีรองนายกฯ สหัส บัณฑิตกุล เป็นประธาน
- รับทราบ

4.8 โครงการทุนการศึกษาต่อระดับปริญญาตรีแก่บุตรหลานเกษตรกรภายใต้บันทึกความร่วมมือระหว่าง สวก.และธกส.
สวก.รายงานผลการดำเนินงานโครงการซึ่งคณะกรรมการบริหารสำนักงานการวิจัยการเกษตรได้ให้ความเห็นชอบโครงการเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2551 ตามนโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ต้องการจะสร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรแบบใหม่ที่เหมาะสมมาพัฒนาใช้กับเกษตรกรไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเป็นการยกระดับอาชีพเกษตรกรรมให้เป็นอาชีพที่มีความสำคัญ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(สวก.) ได้ทำบันทึกความร่วมมือการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยระดับชุมชนกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เพื่อจัดทำโครงการร่วมกัน โดยสนับสนุนทุนการศึกษาสาขาการบริหารจัดการน้ำ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวและการบริหารธุรกิจการเกษตร ให้กับบุตรหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 27 ทุน/ทุนละ 240,000 บาท ระยะเวลา 3 ปี (2552 – 2554) วงเงินสนับสนุน 6.48 ล้านบาท (สวก. 3.24 ล้านบาท ธกส. 3.24 ล้านบาท)

ทปษ. นิกร และรองฯ ฉกรรจ์ ให้ข้องสังเกตว่ากลุ่มบุคคลเป้าหมายไม่ควรจำกัดเฉพาะลูกหลานเกษตรกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- รับทราบและรับข้อสังเกตไปปฏิบัติ

4.9 รายงานผลการดำเนินงานเรื่องพืชพลังงานทดแทน
สศก. รายงานความก้าวหน้าการแต่งตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องพืชพลังงาน จำนวน 2 คณะ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ตามข้อสังเกตของ ทปษ.นิกร เกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ซึ่งให้มีเกษตรกรร่วมองค์คณะ ด้วย และให้เป็นอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมการนโยบายและแผนฯ
วก. รายงานสถานการณ์การผลิตพืชพลังงานทดแทนดังนี้
1) อ้อยมีพื้นที่เพาะปลูก 6.4 ล้านไร่ ผลผลิต 69.9ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 10.9 ตัน เป็นผลผลิตน้ำตาล 7.2 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันจะใช้เฉพาะกากน้ำตาลมาผลิตเอทานอล ซึ่งนโยบายจะไม่เพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยแต่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จาก 10.9 ตันเป็น 11.9 ตัน
2) มันสำปะหลังมีพื้นที่เพาะปลูก 7.42 ล้านไร่ ผลผลิต 27.40 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย3.7 ตัน สำหรับปริมาณการใช้ขณะนี้ใช้ภายในประเทศ (ผลิตมันเส้น แป้งมัน และเอทานอล) และส่งออก ความต้องการ 27.66 ล้านตัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่และผลผลิตมีเพียงพอ สำหรับอนาคตภายใน 5 ปี คาดว่าผลผลิตเพียงพอจากการเพิ่มผลผลิตต่อไร
ปัจจุบันโรงงานผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง ที่เปิดดำเนินการแล้วมี 1 โรง ได้รับอนุญาตแล้ว พร้อมจะผลิต จำนวน 32 โรง และอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง 11 โรง ในส่วนของอ้อยและกากน้ำตาลมีโรงงานที่ดำเนินการผลิตแล้ว 9 โรง
รมช.ธีระชัย ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องภาคเกษตรโรงน้ำมัน และตัวแทนผู้บริโภคมาร่วมหารือ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้ผลิตภาคเกษตรสามารถผลิตวัตถุดิบได้อย่างเพียงพอ โดยได้ตั้งคณะทำงาน เพื่อจัดทำแผนการผลิตวัตถุดิบและเอทานอล พร้อมทั้งแผนการส่งเสริมการใช้เอทานอล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 15 วัน เพื่อนำเสนอ ค.ร.ม.
3) ปาล์มน้ำมัน ปี 2551 มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 2.9 ล้านไร่ ผลผลิตปาล์มสด 7.87 ตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 2.72 ตัน ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ 1.38 ล้านตัน ใช้ในประเทศ 9 แสนตัน ส่งออก 1.3 แสนตัน และผลิตไบโอดีเซลประมาณ 3.5 แสนตัน ขณะนี้มีโครงการที่จะส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นโครงการของธกส. ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ
ทปษ.ฯ นิกร แจ้งว่า รมว.กษ. ได้มอบหมายให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ซึ่งสืบเนื่องมาจากคณะทูตได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และท่านฑูตวสินจากกรุงโซลขอพระราชทานวินิจฉัยว่าปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตด้านพลังงานทำให้หลายประเทศมีการนำพื้นที่มาปลูกพืชผลิตพลังงานทดแทนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆสถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นกับประเทศไทยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีแนวพระราชดำริ ต้องการให้ทุกฝ่ายพิจารณา ให้รอบครอบในการที่จะกำหนด จัดสรรพื้นที่ เพื่อปลูกพืชต่างๆ โดยให้มีความสมดุล ซึ่ง ถ้าหากอะไรมากเกินไปก็จะเหลือเฟือทำให้เกิดความเดือดร้อน
รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปในทิศทางที่ กษ. จัดนิคมการเกษตรและจัดโซนนิ่งอยู่แล้ว เพราะเป็นการพิจารณาสภาพความเหมาะสมของลักษณะภูมิศาสตร์ควบคู่ด้วย
ปลัด กษ. แจ้งว่าเกี่ยวกับพืชพลังงาน จากการไปประชุม UN-Convention เรื่องความหลากหลายทางชีวภาพที่ประเทศเยอรมันได้รับทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าประเด็นการใช้พื้นที่ปลูกพืชพลังงาน ขณะนี้เป็นประเด็นที่หยิบยกมาเป็นเรื่องสำคัญของทั่วโลกและปรากฏว่ามีผู้ที่พยายามจะตำหนิเกี่ยวกับการนำพื้นที่ปลูกพืชอาหารไปปลูกพืชพลังงาน ซึ่งประเทศกลุ่มโอเปคเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องดังกล่าว และไม่อยากให้มีการนำสิ่งอื่นมาทดแทนน้ำมัน รมว.กษ. ให้ข้อสังเกตว่า กษ. ควรดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงต่อไป
- รับทราบ และดำเนินการตามแนวทางของกษ.

4.10 รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551
สศก.รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ กษ.ปี2551 จากระบบ
GFMIS ณ 31 พ.ค. 2551 ดังนี้
1) ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัดได้รับงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลงรวม 67,209 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 34,331 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51.1 ของงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง (ปีก่อนร้อยละ 44.6) แยกเป็น
(1) ส่วนราชการ ได้รับ 64,772 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 32,884 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 50.8 ของงบส่วนราชการ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 60.2 ของรายจ่ายประจำ (ปีก่อนร้อยละ 52.2) และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 41.0 ของรายจ่ายลงทุน (ปีก่อนร้อยละ 35.6)
(2) รัฐวิสาหกิจ ได้รับ 2,436 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 1,448 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 59.4 ของงบรัฐวิสาหกิจ โดยเบิกจ่ายรายจ่ายประจำได้ร้อยละ 59.1 ของรายจ่ายประจำ และเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนได้ร้อยละ 78.26 ของรายจ่ายลงทุน
2) เงินกันเหลื่อมปี 10,706 ล้านบาท เบิกจ่ายได้ 5,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 54.6
3) งบประมาณปี 2551 คงเหลือ ณ 31 พ.ค. 2551 จำนวน 32,877 ล้านบาทเงินกันเหลื่อมปี คงเหลือ 4,856 ล้านบาท รวมงบประมาณคงเหลือทั้งสิ้น 37,734 ล้านบาท
รมว.กษ. ให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 เนื่องจากใกล้สิ้นสุดไตรมาสที่ 3 และจากประสบการณ์ในสภา การพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญจะนำผลการใช้จ่ายงบประมาณของปีปัจจุบันมาประกอบในการพิจารณางบประมาณปี 2552 ขอให้แต่ละหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามปฏิทินงบประมาณและให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ
- รับทราบ และให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
4.11 มติคณะรัฐมนตรีที่เสนอโดย กษ.
สศก. รายงานมติคณะรัฐมนตรีที่ กษ. ได้นำเสนอ นับตั้งแต่ รมว.กษ. เข้ามาบริหาร กษ. ถึง 3 มิ.ย. 2551 ได้ผลักดันงานสำคัญตามกรอบนโยบาย โดยได้นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี รวม 19 เรื่อง
- รับทราบ
5. เรื่องอื่น ๆ
5.1 การเตรียมการจัดทำคำชี้แจงงบประมาณประจำปี 2552
(เสนอสภาวาระ 1)
สศก. แจ้งกำหนดการจัดเตรียมคำชี้แจงงบประมาณฯ ตามปฏิทินงบประมาณ 2552 สภาผู้แทนราษฎรจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2552 ในวันที่ 25-26 มิถุนายน 2551 ซึ่ง สศก. ในฐานะหน่วยงานกลางในการจัดทำคำชี้แจงภาพรวมของ กษ. ขอให้หน่วยงาน จัดเตรียมข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญและผลการใช้จ่ายงบประมาณปี 2551 ข้อมูลสำคัญงบประมาณปี 2552 และประเด็นที่คาดว่าจะถูกอภิปรายโดยสำเนาให้ สศก. ดำเนินการภายในวันที่ 18 มิถุนายน 2551
รมว. กษ. ขอความร่วมมือให้แต่ละหน่วยงานจัดทำคำชี้แจงและให้แต่ละหน่วยงานไปประจำศูนย์ปฏิบัติการฯ เพื่อรับผิดชอบประเด็นที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปประเด็นคำถาม คำตอบเพื่อ รมต. สามารถตอบข้อซักถามได้ และเตรียมความพร้อมการชี้แจงงบประมาณในคณะกรรมาธิการด้วย

- รับทราบและ มอบให้ทุกหน่วยงานดำเนินการ

5.2 การจัดงานวันกระบือและโคเนื้อแห่งชาติ
ที่ปรึกษาฯ เปรมศักดิ์ แจ้งว่าตามที่ ปศ.ได้จัดงานดังกล่าว ณ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ จ.นครราชสีมา นั้นว่าเป็นเรื่องที่ดี เห็นควรให้มีการจัดงานในพื้นที่เดิม หลังการเก็บเกี่ยวประจำทุกปี และให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อขยายระยะเวลาการจัดงาน พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการใช้โค กระบือทำนา เพื่อลดพลังงานและสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
- มอบ ปศ.ดำเนินการ
5.3 การแก้ปัญหาผลไม้
กสส. รายงานการแก้ไขปัญหาผลไม้ โดย กสส.สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรจำหน่ายผลไม้ที่มีคุณภาพ ภาคตะวันออกและภาคใต้ วงเงิน 170 ล้านบาท ขณะนี้สหกรณ์ภาคตะวันออก จำนวน 11 สหกรณ์ได้กู้ยืมเงินจำนวน 70 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 เพื่อนำไปรวบรวมผลไม้จำหน่ายให้แก่ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าจังหวัดปลายทางและห้างสรรพสินค้าในราคานำตลาดซึ่งราคาสูงกว่าผู้ซื้อทั่วไป และจัดEvent ต่างๆ ขายได้มูลค่า 1.55 ล้านบาท
- รับทราบ
5.4 โครงการตรวจรับรองแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรคุณภาพ
มาตรฐานอาหารปลอดภัยภายใต้สัญลักษณ์ Q
มกอช. รายงานว่าตั้งแต่ปี 2549 ได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคทราบแหล่งจำหน่ายสินค้า Q
และได้ตรวจประเมินตลาดสดในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พร้อมทั้ง
มอบสัญลักษณ์ Q จำนวน 34 แห่งและห้างสรรพสินค้าจำนวน 7 แห่งและ
ได้อบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลในการตรวจรับรองทั่วประเทศ ในปี 2551 ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 แห่ง
- รับทราบ
5.5 พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551
มกอช.แจ้งว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ
22 ก.พ.2551 และจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน ตรงกับวันที่ 20 ส.ค.2551
ที่ปรีกษาฯ นิกร แจ้งว่ากฎหมายที่ผ่านสภาในช่วงที่ผ่านมาบางฉบับ
เสียงรับรองไม่ครบ ซึ่งทางรัฐบาลได้มีดำริให้พิจารณาหาก พ.ร.บ.ใดมี
เสียงไม่ครบให้นำเสนอใหม่ เพราะถ้าปล่อยไว้จะมีปัญหา สำหรับ พ.ร.บ.
ดังกล่าวให้ไปตรวจสอบ ซึ่ง ที่ปรึกษาฯ นิกร จะรับไปติดตามให้อีกทาง
- มกอช. ดำเนินการ
5.6 การขอคืนเงินประกันลำไย
รมว. กษ. แจ้งว่าได้รับหนังสือจากจังหวัดลำพูนเกี่ยวกับเกษตรกรขอคืนเงินประกันลำไยปี 2546 กิโลกรัมละ 3 บาท วงเงิน 3 แสนบาทเศษขอให้ อตก.ประสานกับกระทรวงพาณิชย์ในการหาแนวทางแก้ไขเพื่อลดผลกระทบและให้สั่งการเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบควบคุมการดำเนินงานอย่างเข้มงวด
- รับทราบและมอบ อตก. ดำเนินการ
5.7 การประกันภัยความเสี่ยงให้เกษตรกร
ที่ปรึกษาฯนิกร กล่าวว่าเรื่องการประกันความเสี่ยงเกษตรกรมีผล
การศึกษารายละเอียดเรียบร้อยแล้วโดย สศก.(คุณวัลลาภ์ นุตะมาน) ได้
กำหนดรายละเอียดไว้ครบถ้วนแล้วและได้มีการยกร่าง พรบ.เรียบร้อยแล้ว หากจะดำเนินการก็สามารถสั่งการให้ สศก.ดำเนินการต่อไป
รองฯ ยุคล ชี้แจงว่า รมว.ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโดยมีรองฯ ยุคล
เป็นประธานและได้ประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง โดยได้เชิญผู้เกี่ยวข้องมานำเสนอข้อมูล และได้ข้อสรุปโดยให้ สศก.นำเสนอภาพรวมพร้อมกำหนดแนวทางการดำเนินงานและได้แต่งตั้งคณะทำงาน ขณะเดียวกันได้
ศึกษาการดำเนินงานของ ธกส.ซึ่งมีความชัดเจนและได้ดำเนินการมาแล้ว
3 ปี และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเริ่มมีความเข้าใจและทราบประโยชน์
ของการประกัน
รมว.กษ. แจ้งว่าเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่าง กษ.กับ กค. ซึ่งไม่มีผู้รับเป็นเจ้าภาพ ทั้งๆที่ ธกส.ดำเนินการและเป็นผู้ถือเงินซึ่งน่าจะรับเป็นเจ้าภาพ และ กษ.ควรเป็นผู้นำเสนอเรื่อง ปกติทุกปีรัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน
ชดเชยให้แก่เกษตรกรที่ประสบภัย ประมาณไร่ละ 400 กว่าบาท ซึ่งใช้งบกลาง ดังนั้น ควรนำเงินดังกล่าวมาดำเนินการจัดตั้งเป็นกองทุน โดยให้สำรวจพื้นที่การเกษตรจากจำนวน 130 ล้านไร่ ว่ามีพื้นที่ที่จะต้องประกันภัยจากภัยแล้งและน้ำท่วมซ้ำซากจำนวนเท่าไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับคำนวณงบประมาณในการจัดตั้งเป็นกองทุนประกันภัย โดยให้เกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าวจ่ายสมทบ และให้ กษ.พิจารณารูปแบบที่ได้ศึกษาไว้แล้วผนวกกับรูปแบบของ ธกส. เพื่อเสนอ ครม.และมอบให้ กค. รับผิดชอบเพราะต้องใช้งบประมาณจากงบกลางเพื่อสมทบกองทุนเบื้องต้น
- รับทราบ มอบคณะกรรมการฯดำเนินการ โดยรับข้อสังเกตไปพิจารณา

สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
มิถุนายน 2551

ไม่มีความคิดเห็น: