วันพุธที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2551


น้ำในดินหลังการทำสวนยางพารา ที่ตะพงใน จ.ระยอง


ผู้วิจัย : พงษ์ศักดิ์ วิทวัสชุติกุล, วารินทร์ จิระสุขทวีกุล

จากการใช้ soil moisture plot ค้นหาการใช้น้ำของสวนยางพาราที่มีขนาดอายุต่าง ๆ กันโดยเปรียบเทียบกับพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณ บ้านตะพงใน อ.เมือง จ.ระยอง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2530 ถึงเดือนธันวาคม 2531 ปรากฏผลดังต่อไปนี้ คือ อินทรียวัตถุที่เกิดขึ้นจากการสลายตัวของซากเศษเหลือของใบและกิ่งยางพารา ช่วยให้รากยางเจริญเติบโตได้ดีในผิวดิน ดินมีความพรุนมากขึ้นและระบบการระบายน้ำของพื้นที่ก็ดีขึ้นด้วย แม้ว่าน้ำในดินจะมีการสูญเสียไปบ้างในขณะที่ยางพารายังมีขนาดเล็กอยู่ แต่หลังจากที่ยางพาราปกคลุมพื้นที่ได้หมดแล้ว เรือนยอดและซากเศษเหลือที่ผิวดินจะช่วยรักษาความชุ่มชื้น ของดินได้ดีขึ้น และเมื่อยางอายุมากขึ้น ไม้พื้นล่างที่เกิดขึ้นตามมาภายหลังมีส่วนช่วยในการรักษาความเย็น ความชื้น และก่อให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำภายในสวนให้กลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นดิน เพิ่มความชื้นและน้ำให้กับดินมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่อากาศมีความชื้นสูง เช่นจังหวัดระยองนี้

ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนยางพารา ที่มีพืชเศรษฐกิจชนิดต่าง ๆ ที่อยู่ร่วมกันในลักษณะที่คล้ายคลึงกับป่า ธรรมชาติเป็นไม้พื้นล่าง ทั้งนี้นอกจากจะเป็นรายได้ต่อประชาชนแล้ว ยังมีส่วนช่วยในการปรับปรุงระบบการระบาย น้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่มากขึ้นอีกด้วย ที่มา : http://www.forest.go.th/Research/watershade/abstracts/wst51.htm

ไม่มีความคิดเห็น: